ประวัติความเป็นมาของพวกเรา

ประวัติความเป็นมาของพวกเรา

ความเป็นมาของที่ดินพวกเรา

(Our Land’s History)

ที่ดินที่เราอาศัยอยู่กันตอนนี้ครึ่งหนึ่งเคยเป็นสวนเกษตรเชิงเดี่ยวของไม้ไผ่ตรงหรือไม่ไผ่ใหญ่ อีกครึ่งหนึ่งเป็นสวนผลไม้ธรรมดาทั่วๆไป ได้แก่ ลิ้นจี่ มังคุด ทุเรียน จนกระทั่งประมาณ 15 ปีที่แล้ว ตอนที่เจ้าของคนใหม่ได้หยุดใช้สารพิษทางการเกษตรทุกอย่างและได้ปลูกผลไม้หลากหลายสายพันธ์มากยิ่งขึ้น  เขาไม่มีเวลาดูแลสวนมากนัก เขาใช้ชีวิตอยู่ที่อื่นและมีหลายอย่างอื่นที่ต้องทำ ดังนั้นที่ดินแห่งนี้ไม่ได้ใช้สอยนับตั้งแต่นั้นมา กับการที่เจ้าของคนใหม่เข้ามาดูไม่หลายครั้งต่อปีเพื่อตัดหญ้าและปลูกต้นผลไม้เพิ่มเติมอีกบางชนิด เขาอยากจะให้มีใครสักคนมาช่วยเขาดูแลที่ดิน หรือขายที่ดินให้กับคนที่อยากจะทำต่อไปในทางที่เขาได้ทำมา มีหลายคนในหมู่บ้านสนใจที่จะซื้อ (ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องสิทธิในการใช้น้ำที่มากับที่ดิน) แต่พวกเขาคงจะใช้รถแมกโคไถขุดบนที่ดินทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงเรื่องผลไม้แปลกๆหรือผลไม้หายากที่มาจากทวีปอื่นๆและเรื่องสายพันธ์ทุเรียนป่าต่างๆ และหากพวกเขาซื้อที่ดินที่นี่ไปก็คงจะทำการเพาะปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองในรูปแบบของเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว ร่วมกับการใช้สารแบบเต็มชุด อาทิเช่น ยากำจัดวัชพืช ยากำจัดแมลง ยากำจัดเชื้อราและปุ๋ยเคมี สิ่งนี้คงจะเป็นเรื่องที่น่าสังเวชและเป็นปัญหาเสื่อมโทรมหลักๆอย่างแท้จริงต่อระบบนิเวศ ดังนั้นเจ้าของสวนได้ตัดสินใจที่จะรอต่อไปเพื่อได้จอกับโอกาสเหมาะๆ โดยพื้นฐานแล้วพื้นดินแห่งนี้แค่กำลังรอคอยใครบางคนที่จะเข้าดูและและรักษาด้วยความตระหนักรู้

ความป็นมาส่วนตัวของพวกเรา (Our Personal History)

เดฟ (Dave) ​ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยในช่วงแรกๆของปี 2014 ทำงานเล็กๆน้อยๆ ในสวนเกษรตกรรมถาวรหรือสวนแบบแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบทจากภาคใต้ของประเศไทย ณ จังหวัดกระบี่ ครั้งแรกได้เข้าพักเป็นคนอาสาสมัคร จากนั้นกลายมาเป็นสมาชิกชองสวนที่พักอยู่เป็นประจำ ในที่สุด เขาก็ได้เริ่มดำเนินโครงงานเอง ตอนที่เจ้าของสวนที่นั่นได้ย้ายออกไปอยู่ที่จังหวัดอื่นในปี 2016

ในช่วงแรกๆของปี 2017 กานต์ (Karn) ได้ย้ายไปอยู่ในสวนนั้นที่จังหวัดกระบี่ พวกเราพักอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นเวลา สองปี จนกระทั่งพวกเราได้ตัดสินใจว่าจะต้องเริ่มทำสวนที่เป็นของพวกเราเอง ในสวนที่กระบี่พวกเราต้องจ่ายค่าเช่าทุกๆเดือนและเจ้าของสวนได้วางแผนที่จะขายที่ดินในราคาที่เกินเอื้อมสำหรับพวกเรา

สวนที่จังหวัดกระบี่เคยเป็นสวนน้ำมันปาล์มกว่าครึ่งเฮกเตอร์ที่ปลูกไว้ในแบบเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวเป็นเวลา 7 ที่แล้ว และตอนที่พวกเราย้ายออกจากสวนนั้น มันเหลือต้นปาล์มน้ำมันเพียงแค่ 3ต้น ที่เหลือถูกแทนที่ด้วยบ่อน้ำขนาดใหญและมีความหลากหลาย มีต้นผลไม้หลากหลายสายพันธุ์ แปลงปลูกผักที่มีดินดำ ดินสมบูรณ์ และบ้านดินและบ้านไม้ไผ่ พวกเราได้เห็นพื้นดินที่นั่นได้รับการรักษา ต้นไม้ต้างๆที่ปลูกไว้ก็โตสูงมากกว่าหลังคาบ้าน เราได้เห็นนกและแมลงต่างๆกลับคืนมาอยู่และสร้างแหล่งอาศัยถาวรที่นี่ และพวกเราทั้งสองคนพึงพอใจเป็นอย่างมากกับความก้าวหน้าที่พวกเราได้ทำไป พวกเราชื่บชอบพื้นที่แห่งนั้นและชอบการใช้ชีวิตของพวกเราที่นั่นจริงๆ ดังนั้นพวกเราก็เสียใจมากจากการที่ได้มาทราบอย่าชัดเจนว่าพวกเราไม่สามารถอยู่ที่นั่นได้อีก จากนั้นพวกเราก็ได้พบกับพื้นดินแห่งใหม่นี้จากเพื่อนที่กระบี่ คนที่รู้จักกับอีกคนที่มีที่ดินในอุดมการณ์ของพวกเราเพื่อที่จะตั้งแหล่งที่อยู่อาศัย พวกเราได้ขว้าโอกาสนั้นไว้ และเพียงแค่หนึ่งดือนหลังจากที่เจ้าของที่ดินได้ติดต่อเราไปเพื่อแจ้งให้เราทราบว่า ที่ดินของเขาอาจจะเป็นที่ดินที่เหมาะสมกับพวกเรา พวกเราจึงเก็บข้าวเก็บของและย้ายออกไปจากสวนเดิมที่กระบี่ มันคือการตัดสินใจที่พวกเราจะไม่เคยรู้สึกเสียดายเลยทีเดียว!

แม้กระทั่งในช่วงที่อยู่ที่กระบี่ พวกเราก็ได้มุ่งไปในทางที่ถูกพิจารณาได้ว่า รุนแรงมากกว่า โครงการเกษตรกรรมถาวรมากกว่าที่อื่นๆ  พวกเราได้นำเอาแรงบันดาลใจมาจากชนพื้นเมือง และทำการทดลองด้วยการ กลับคืนไปจุดเดิม ที่มีการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมากกว่า การพิสูจน์นี้ยังคงลำบากอยู่หลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลทางสิ่งแวดล้อมที่กว้างกว่า เนื่องจากสวนที่จังหวัดกระบี่ตั้งอยู่ติดกับถนนเส้นหลัก ที่ซึ่งมีการจราจรเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นก็เพราะว่า มีการขยายตัวของมืองแบบกระจัดกระจาย และมีโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มอยู่อีกทางด้านหนึ่งของหมู่บ้าน และมีสนามบินอยู่ห่างออกไปเพียง 20 กิโลมตรเท่านั้น ในตอนกลางคืนพวกเรายังได้ยินเสียงครื่องบินที่กำลังบินข้ามผ่านศรีษะไป เสียงดังที่มาจากโรงงานปาล์มก็ได้ยินเสียงมาแต่ไกลๆ สียงรถสิบล้อใหญ่ๆที่บรรทุกลูกปาล์มคันแล้วคันเล่า รวมถึงเสียงดังอันน่ารำคาญจากรถจักรยานยนต์ของเหล่าวัยรุ่นในหมู่บ้านทั้งหลาย

ที่นี่ที่จัหวัดจันทบุรี พวกเราอยู่ไกลออกมาจากถนนเส้นหลักอย่างมาก และมันก็ไม่มีเสียงรบกวนใดๆในยามค่ำคืน แต่กลับเป็นเสียงของจักจั่นและจิ้งหรีดร้องที่บรรเลงเพลงให้พวกเราฟัง พวกเราใช้ชีวิตอยู่โดยไม่มีไฟฟ้าและหุงต้มอาหารด้วยเตาฟืนแบบบ้านๆ มีเพื่อนบ้านที่อยู่ไม่ติดกันนักเพียงไม่กี่กี่คนที่นี่ (ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะอยู่ใครอยู่มันไม่ได้มารบกวนกันท่าไหร่นัก) แต่ความหน่าแน่ของประชากรต่ำกว่าเยอะบนภูขาที่เราอาศัยอยู่ การย้ายมาอยู่ที่นี่ได้เปิดทางให้พวกเราได้ฝึกฝนสิ่งที่ได้สั่งสมมาในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และผลสุดท้ายมันก็ปรากฏให้เห็นว่าเส้นทางที่พวกเราเลือกเดินนั้นมันถูกต้องแล้วสำหรับพวกเรา 

ความป็นมาของเรื่องอาหารป่า (The Food Jungle’s History)

ส่วนครึ่งบนของสวนพวกเราจะเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆไปสู่สิ่งที่พวกเราให้คำจำกัดความเอาไว้ นั่นก็คือ Food Jungle  (และจะขยายลงมาสู่ที่ดินส่วนล่างตามลำดับ ซึ่งเป็นส่วนที่พวกเราฝึกปฏิบัตรตามหลักของเกษตรกรรมถาวร) พวกเราจะเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับความคืนหน้าหรืออัพเดทความคลื่อนไหวของสวนในทุกๆ 4 เดือน และเขียนอธิบายเกี่ยวกับเราทำอะไรกันบ้างและสิ่งที่เราทำไว้นั้นมันเป็นอย่างไรบ้าง

เดือนกุมภาพันธ์ February 2019

เฮ้อ!! สามเดือนที่แล้วเป็นช่วงที่มีงานค่อนข้างเยอะ! ภาพด้านบนนี้คือที่ดินอีกครึ่งหนึ่งส่วนบนของสวนพวกเรา จนกระทั่งถึงตอนนี้สวนป่าไม้ยังคงแลดูซ้ำซากจำเจ เนื่อกจากว่าพวกเราคงไม่เคยจำเป็นต้องใช้เยอะขนาดนั้น และพวกเราก็ทำการปลูกต้นผลไม้และต้นไม้ป่าเบิกนำเพิ่มเติมในสวนไม้ไผ่ด้วย พวกเราตัดสินใจที่จะนำเอาไม้ไผ่ที่อยู่ส่วนกลางออก เหลือไว้เพียงแค่ด้านข้างๆทั้งสองฝั่งที่เป็นเชิงเขาค่อนขข้างชัน (เพื่อที่จะให้กอและรากของต้นไม้ไผ่ช่วยยึดจับดินเอาไว้และป้องกันการกัดเซาะของหน้าดินในฤดูฝน) และทางด้านซายมือคือไม้ไผ่ที่อยู่ติกับเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งจะใช้สำหรับงานก่อสร้างและใช้เก็บหน่อไม้ไว้ทำอาหารได้มากเกินพอ รวมถึงการนำเอาไม้ไผ่ต้นที่แห้งแล้วหรือส่วนที่หักหล่นลงมาเอาไปใช้ทำเป็นถ่าน  นี่คือสิ่งที่จะมาเต็มเติมความฝันของพวกเรา นั่นก็คือป่าดงดิบที่ดูเหมือนสวนอาหารป่า!!

พวกเราจะช่วยธรรมชาติในการสร้างระดับของความหลากหลายที่หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามันจะเข้ากันได้ ถ้าไม่ใช่เรื่องจำนวนของสายพันธุ์อันโดดเด่นที่อยู่ที่นี่มาก่อนชาวสวนได้ตัดถางที่ดินครั้งแรก พวกราก็จะนำเอาผืนป่าที่อยู่ใกล้เคียงมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับพวกเรา และทำการปลูกต้นผลไม้สายพันธุ์ต่างถิ่นและพันธุ์พืชต่างๆที่มีประโยชน์หรือดูสวยงามมาปลูกอย่างระมัดระวังด้วยเช่นกัน ครั้งแรกพวกเราได้ทำการตัดถางไม้พุ่มหรือพืชเถาจ่างๆที่อยู่ใต้บริเวณต้นไม้ไผ่ตรง เพื่อที่ว่าเวลาที่เราตัดต้นไผ่ที่เราอยากจะตัดออกจะง่ายมากขึ้นเวลาทำงาน ดังนั้นสวนด้านบนมันก็จะดูเหมือนว่ามีคนอยู่มีคนดูแล (เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้แจ้งเรามาเช่นนั้น พื่อทำให้มองเห็นชัดเจนระหว่างที่ดินของพวกเราและเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ) จากนั้นด้วยความช่วยเหลือของครอบครัวชาวเขมร เราได้เอาไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลางของสวนไม้ไผ่ออกทั้งหมด (พวกเขาจะเอาลำต้นไผ่ไปขายให้กับหมู่บ้านชาวเลในเมืองจันทบุรี คนที่เขาใช้ลำไม้ไผ่ไปเลี้ยงหอย) พวกเราเริ่มขุดเอากอไม้ไผ่ออกกันเองสองคนโดยไม่ได้มีความช่วยเหลือใดๆ และได้ทำทางดินเล็กๆเพื่อให้เดินง่ายขึ้นบริเวณที่ลาดชันนิดหน่อย เราปล่อยให้กิ่งไม้ไผ่ต่างๆย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ (ถึงแม้ว่าเพื่อนบ้านแถวนี้แนะนำให้พวกเราว่า “แค่เผามันให้หมดเลย” “ที่ดินจะได้แลดูดีและสะอาด”) แต่วิธีการไม่เผาใบและกิ่งก้านรวมถึงกอของไม้ไผ่นั้นมีประโยชน์มหาศาสลทีเดียว เพราะว่าชิ้นส่วนเหล่านั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวยึดจับความชื้นให้กับต้นไม้ที่เหลือ และยังสร้างแหล่งอาศัยให้กับสัตว์เล็กๆได้ด้วย เช่น หนู กบเขียด กิ้งก่า และงูชนิดต่างๆรวมถึงเหล่าแมลงต่างๆได้อีกด้วย พวกเราเหลือต้นไม้ต้นใหญ่ๆเอาไว้ (บางต้นก็ป็นต้นมะม่วงป่า)  เหลือต้นไม้ตระกูลปาล์มไว้ด้วยเช่นกัน ได้แก่ (ต้นหวาย ต้นเต่าร้าง ต้นสลักป่า ต้นหมายป่า และต้นสาคู ทั้งหมดที่กล่าวไปใช้กินเป็นอาหารได้หมด) ต้นเล็กๆที่โดนตัดไปที่โคนต้นจะเกิดเองอีกทันทีตอนที่ฤดูฝนมาถึง ช่วงที่เราตัดไม้ไผ่มันเป็นช่วงฤดูร้อน ดังนั้นจึงยังไม่ทำการเพาะปลูกใดๆทั้งนั้นช่วงนี้ เพราะจะต้องหาบเอาน้ำเดินขึ้นสู่เนินเขาคงจะเป็นงานที่หนักเกินไปคิดบวกกับที่ต้องรดน้ำให้กับต้นไม้ทั้งหมดที่เราเอามาจากสวนเดิมในบริเวณส่วนล่างของสวนอีก จึงพอไหวถ้าทำแค่ส่วนล่างก่อนในฤดูนี้ มาดูกันว่าพื้นที่แห่งนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร!!!

เดือนมิถุนายน 2019

ความต่อเนื่องที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ประมาณหลังจากหนึ่งเดือนที่ฝนได้ตกกระหน่ำลงมาทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นสีเขียวและเติบโต!  พวกเราเก็บต้นไม้ป่าเบิกนำที่แข็งแรงๆไว้ท่ามกลางต้นไม้ไผ่ตรง (ตามที่เห็นได้จากภาพด้านล่าง) เพื่ออาศัยการใช้ร่มเงา ป้องกันดินจากฝน สร้างผลผลิตทางชีวมวล เป็นแหล่งอาหารสำหรับนกต่างๆ ค้างคาวและผึ้ง รวมถึงเป็นตัวที่จะช่วยยึดจับคาร์บอนด้วย กอไม้ไผ่ ลำต้นไม้ไผ่และกิ้งก้านไม้ไผ่ไม่ได้ถูกเผาทิ้ง (เพียงแค่ในปริมาณล็กน้อยที่ถูกเผาเพื่อทำถ่านใช้สอย พวกเรากองกอไม้ไผ่ไว้รวมกันสำหรับให้มันย่อยสลายไปเอง โดยมันก็จะปลดปล่อยสารอาหารและสารชีวมวลลงสู่ดินไปเรื่อยๆและหล่อเลี้ยงผืนป่าแห่งใหม่นี้  นับตั้งแต่การอัพเดทครั้งก่อนเมื่อน กุมภาพันธ์  พวกเราได้ทำการเพิ่มการขุดคลองน้ำสามชั้นเพื่อป้องการดินถูกกัดเซาะไปกับน้ำฝน ซึ่งตามคลองที่เราขุดเราจะปลูกต้นไม้หรือพชตระกูลถั่วไว้ด้วย (แทบจะมองไม่เห็นเลยในรูป) ได้ขุดเอากอไม้ไผ่เกือบทุกกอบริเวณตรงกลาง โดยการใช้ จอบและเสียม ได้ทำการขุดหลุมสำหรับเผาถ่าน เพื่อทำให้เป็นถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์ biochar แบกเอาถังเก็บน้ำดื่ม ที่บรรจุน้ำได้ 2000 ลิตรขึ้นไปตั้งไว้สวนด้านบนเพื่อเก็บน้ำฝนดื่ม และได้ทำการปลูกทุเรียนสองชนิด มะม่วงสามชนิด ต้นสาเก (breadfruit) ต้นมะขามป้อม (Indian gooseberry) ขนุนสองชนิด ต้นอโวคาโด้ น้อยหน่าสายพันธุ์ rollinia ต้นโกโก้ ต้นมะม่วงหิมพานต์ ต้นสะตอ (petai) ต้นเสาวรส ต้นอะบิวหลายต้น (abiu) กล้วยนิดห่อย มันห้านาที ต้นมะรุม เผือก ต้นชะอม (climbing wattle) ต้นหวาย (rattan) ต้นสัก (teak) ต้นคำแสด (achiote) ต้นกาแฟ และต้นผลไม้พื้นบ้านนิดหน่อย สมุนไพรจำพวก ขิง ข่า ขมิ้น กระวาน รวมถึงผักป่าต่างๆด้วย  ในระหว่างบริเวณที่เราทำการปลูกต้นผลไม้ไว้ เราก็จะเลือกต้นไม้ป่ามาปลูกสับหว่างกันอย่างระมัดระวัง จากสายพันธุ์ไม้ป่าเนื้อแข็งที่ถูกคุกคามของพันธุ์ไม้ป่าขนาดใหญ่ที่มีในป่าแถบนี้ ต้นไม้เหล่านั้นได้มาจาก ศูนย์เพาะชำต้นกล้า ของกรมป่าไม้ ต้นไม้ที่เราได้เลือกมาปลูกนั้นจะเป็นต้นที่จะเป็นป่าชั้นสูงสำหรักสวนอาหารป่าของพวกเรา ต้นไม้เหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นและเสริมสร้างชั้นดิน และเหมาะสมสำหรับการปลูกแซมกับต้นผลไม้ต่างๆ แล้วก็จะสูงได้ถึง 45 เมตรเมื่อเวลาผ่านไป ไม้ป่าทั้งหมดที่เราปลูกก็เป็นที่รู้จักกันดีในนางของการมีความเกื้อหนุนกันหรือร่วมมือกันกับเชื้อรา mycorrhizal ที่เป็นแหล่งที่มาของเชื้อเห็ดหลายชนิดที่กินได้ โดยเพาะอย่างยิ่งต้นยางนานั่นเอง พวกเรามีพืชผักต่างๆสำหรับกินเป็นอาหารแล้ว เรามีของใช้อย่างไม้สำหรับทำฟืนก่อไฟ เส้นใยไว้ทำเชือก ไม้ป่าสำหรับใช้สอยต่างๆ เรามีใบไม้เพื่อสำหรับทำหลังคามุงอยู่ได้ เรามีพืชและไม้ที่ทำเป็นสีย้อมผ้าแล้ว เรามีน้ำมัดที่ใช้ขัดเงา มีกาวใสที่ใช้ทาหรือติดปิดรู เรามีไม้สำหรับทำลูกธนูแล้วด้วย และพืชที่ใช้เบื่อปลาก็อยู่ในสายพันธุ์ที่พวกเราทำการเลือกสรรค์ไว้แล้ว ฉะนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต หรือ จะเป็นอย่างไรในอนาคต พวกเราก็ค่อนข้างจะอยู่ได้อย่างปลอดภัย!

เดือนตุลาคม October 2019

เป็นเวลาอีกสี่เดือนผ่านไป ดังนั้นนี่คือสิ่งที่เราเอามาอัพเดทกัน ของบริเวณส่วนบนของสวนพวกเรา หลังจากผ่านพ้นฤดูฝนอันซุกโซน  มันช่างน่าอันศจรรย์ใจมากๆที่ได้เห็นระบบนิวศในเขตร้อนที่ถูกรบกวนในระบบปลานกลางได้รับการฟื้นฟู กับความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยจากชาวสวนผู้ขยันขันแข็งทั้งสองคน! หนึ่งในเป้าหมายของพวกเราคือมีระดับชั้นของป่าเต็มไปหมดภายในเวลา 10 ปี แต่ ณ ตอนนี้เหมือนเราจะทำสำเร็จได้ในอีก 5 นี้ จากการอัพเดทครั้งที่แล้วที่พวกเราได้ปลูกต้นไม้ต่างๆทั้งหมดที่เราคาดคิดไว้และที่มีในโรงเพาะชำต้นกล้าของเราไปแล้วนั้น ตอนนี้เรามีต้นซาฟู safou (หรือ ผลไม้ที่มีเนื้อเหมือนเนย butter fruit) ต้นพีชปาล์ม peach palm มีทุเรียนชนิดใหม่อีกสามสายพันธุ์ ต้นมัลเบอร์รี่และมีกล้ายพันธุ์มากขึ้น มีพันธุ์ไม้เนื้อแข็งเพิ่มอีกและต้นไม่ป่าขนาดใหญ่อีก  พืชที่ทนร่มอีกนิดหน่อยอย่าง ต้นผักเหมียง ต้นกระวาน ขมิ้น ขิงและขา และในส่วนบนของสวนทางด้านซ้ายมือพวกเราได้เริ่มขุดดินทำแปลงปลูกผักสับหว่างกับกอไม้ไผ่ (มองไม่เห็นในรูป) ฤดูหน่อไม้เกือบจะสิ้นสุดลงแล้ว นั่นจึงทำให้พวกเราต้องกิน ลำต้นเทียมของ pseudostem กล้วยป่าที่อยู่ข้างในสุดของลำต้นที่มันเกิดเองเต็มไปหมดในทุกๆบริเวณที่เราใช้กัยเป็นประจำ นอกจากนั้นแล้วช่วงนี้เราได้เก็บสมันไพรกึ่งป่าและผักกึ่งป่าต่างๆมากินด้วย เช่น ยอดผักชายา (Chaya) หรือคะน้าเม็กซิโกเป็นไม้พุ่ม ยอดผักชะอม ยอดขี้เหล็ก (siamese cassia) ใบกระเพราะ (holy basil) ผักกาดไร่ (fireweed) ใบมะรุม (moringa) ยอดอ่อนใบลูกเนียง (jenkol) เป็นต้น เราได้เก็บกินแม้กระทั่งชนิดของลูกเดือยเป็นลูกแรกที่มีรสชาติหวานนิดๆที่มันเกิดเองทุกที่ตามพุ่มเล็กๆ ขอบคุณฝูงนกฝูงกาที่นำเอาเมล็ดมาปล่อยแถวนี้ด้วย!

พวกเรารู้สึดดีใจที่ได้เห็นทุกอย่างเติบโตและงอกงาม นี่คงจะเป็นรูปแบบเดียวของความยั่งยืนอย่างแท้จริงในแง่ของความสำเร็จ!

ความเป็นมาเรื่องบ่อน้ำของพวกเรา (Our Pond’s History)

การเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่ยิ่งใหญ่มากของพวกเราที่ได้ประสบการณ์มาช่วงปีที่แล้วก็คือ เรื่องบ่อน้ำกินน้ำใช้ของพวกเรา บ่อน้ำแห่งนี้ถูกขุดไว้เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วโดยการใช้รถแม็กโคคันเล็กๆช่วยขุดและนับตั้งแต่นั้นมาบ่อน้ำนี้ก็ไม่ค่อยได้รับการดูแลมากนัก ในเชิงทฤษฏีแล้วบ่อน้ำแห่งนี้มันตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ทางกรมป่าไม้อนุญาติให้ใช้น้ำได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ ก็ทุกๆคนต้องการใช้น้ำกัน บ่อน้ำอยู่ที่ส่วนล่างสุดของหุบเล็กๆต่อจากทางคลองน้ำไหลออกมาจากป่า และมันตั้งอยู่ในบริวณที่ต่ำมากที่สุดของสวนพวกเรา พวกเราถือว่าโชคดีมากๆ เนื่องจากบ่อน้ำแห่งนี้มี “ตาน้ำผุดธรรมชาติ” มันเติมน้ำในบ่อตลอดทั้งปี และน้ำที่มาจากทางอื่นก็มีแค่น้ำที่ไหลออกมาจากป่าช่วงฤดูฝน ซึ่งไม่มีใครอยู่สูงไปกว่าสวนพวกเรา ดังนั้นน้ำในบ่อนี้ปลอดภัยไร้กังวลเรื่องสารเคมีไปเลย ระดับบน้ำในบ่อก็ไม่ค่อยจะลดลงเท่าไหร่นัก (ช่วงฤดูร้อนจัดๆน้ำอาจจะลดลงอยู่ประมาณ  30 เซนติมตร) แต่ตามที่จ้าของสวนคนก่อนได้บอกไว้กับเราว่า ถ้าคุณปั่นน้ำออกไปใช้เป็น 10,000 ลิตรในเวลาหนึ่งวัน วันรุ่งขึ้นน้ำก็จะอยู่ในระดับเดิมได้อีก

เดือนตุลาคม 2018

ครั้งแรกที่พวกเรามาดูพื้นที่แห่งนี้ บ่อน้ำที่ว่าแทบจะมองไม่เห็นตัวน้ำเลยจริงๆ มันดูเหมือนกับหนองหรือบึงที่ปกคลุมไปด้วยใบไม้ น้ำเป็นสีดำคล้ำ และมีกลิ่นหมักเหมือนน้ำน้ำ บ่อน้ำถูกปกคลุมอยู่ในต้นไม้ไผ่ ไม้พุ่มและไม้เถาและอื่นๆหมดลย เต็มไปด้วยเศษไม้เน่า เศษไม้ไผ่ และเศษดินเศษทรายที่ไหลมากับน้ำทับถมกันอยู่แน่น รวมถึงมันเป็นความลำบากในการที่จะมองหาชายแดนของบ่อน้ำ มันมีงูต่างๆและทากดูดเลือดอยู่เต็มไปหมด ที่สำคัญไม่มีแสงแดดเข้าถึงผิวหน้าขอน้ำได้เลย

หลังจากที่ได้ย้ายถิ่นมาอยู่ที่นี่ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2017 พวกเราก็เริ่มทำงานกันทันทีเลยที่มาถึง บ่อน้ำคือเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่งที่จะต้องทำและมันคือเรื่องที่น่าเศร้าอย่างยิ่งเรื่องหนึ่ง เนื่องจากว่าเราเองก็ไม่รู้มันจะต้องใช้วลานานท่าไหร่ถึงบ่อน้ำจะได้รับการรักษาและฟื้นฟูสภาพได้ และพวกเราก็จำเป็นต้องรีบมีใช้น้ำ เพื่อใช้รดน้ำให้กับต้นไม้ทั้งหมดที่เราเอามาจากสวนเดิม เพื่อใช้อาบน้ำและใช้สำหรับซักเสื้อผ้า

เดือนมกราคม  2019

หลังจากนั้นได้ประมาณสองเดือน (ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นช่วงที่พวกเราได้ทำอย่างอื่นด้วย) เราได้ทำการตัดถางและทำความสะอาดบริเวณบ่อน้ำ (และโดนทากดูดเลือดกัดเอาค่อนข้างเยอะตอนที่ทำงานที่นั่น) เราดึงอาโคนต้นไม้เน่าๆออกมาจากน้ำ ขุดขี้โคลนออกถังแล้วถังล่า (ขี้โคลนที่เราเอาออกมาเราเอาไปเทลงไว้ตามโคนต้นผลไม้ต่างๆ เพิ่มสารอาหารให้ดินไปในตัว) และในที่สุดรูปร่างหน้าตาของบ่อน้ำก็มองเห็นได้  น้ำดูอึมครึมกว่าแต่ก่อน (เพราะว่าเราพากันขุดขี้โคลและดึงเอาเศษเน่าเปื่อยต่างๆออก) แต่กลิ่นของน้ำดีขึ้นหลังจากเสร็จภารกิจนั้น ขอบของบ่อน้ำมีต้นสลักป่าอยู่แล้ว ลูกสลักป่าเปรี้ยวเกินจะทนจริงๆ มีต้นกล้วยป่าแล้วนิดหน่อย มีต้นคลุ้มแล้วค่อนข้างเยอะ (ต้นคลุ้ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ Donax canniformis คือพืชยืนต้นชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับจักสานของใช้ เช่นทำเสื่อ ทำตระกร้าใส่ของต่างๆ รวมถึงใช้เป็นสมุนไพรได้ด้วย) และขอบบ่อยังไม่ไม้ไผ่ป่าอีกจำนวนมาก เมื่อเอาเศษไม้ต่างๆนานาๆออกจากบ่อน้ำเสร็จ ครั้งแรกเลยเราก็ทำการปล่อยผักตยชวา ผักบุ้ง ผักกระเฉดน้ำ พืชน้ำที่กินได้ ดอกบัวแดง แต่มันไม่รดอาจจะเตากินหมด และในสุดท้ายก็มีเหลืออยู่บ้างเราจึงมีอาหารกินที่หลากหลายมากขึ้นจากบ่อน้ำ

เดือนธันวาคม  2019

นับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ พวกเราได้นำเอา พึ่งกึ่งน้ำ (semi-) aquatic plants หลายสายพันธุ์มาปลูก พืชกึ่งน้ำคือพืชที่อยู่เหนือน้ำและอยู่บนดินได้โดยมักเลื้อยไปตามแนวผิวน้ำและผิวดินที่มีความชื้น ซึ่งพืชเหล่านี้ก็มีประโยชน์ทั้งในเรื่องกินเป็นอาหารและกินเป็นสมุนไพรบำรุงร่างกาย รวมถึงยังช่วยปรับคุณภาพของน้ำให้ใสและสะอาดโดยเฉพาะผักตบชวา (water hyacinth) พืชกึ่งน้ำ ที่เราปลูกไว้ก็จะมี ดังนี้  ผักกระเฉดน้ำ (water mimosa) ผักบุ้ง (morning glory) ผักสลัดน้ำ หรือ วอเตอร์เครส (watercress) ใบเตย (pandanus) ผักแพว (Vietnamese coriander) ผักแขยง หรือ ผักกะออม (rice paddy herb) ใบบัวบก (centella) ตับเต่านา หรือตับเต่าน้ำ (Frogbit) ผักพายใหญ่ หรือ ผักก้านจอง (Yellow Burhead) ใบชะพลู (Wildbetal leafbush) เป็นต้น

ณ ตอนนี้น้ำก็ใสและมีสีน้ำเงินดำอมเขียวเกือบจะทุกวัน มองดูแล้วงามตาจริงๆ สีน้ำแบบนี้บ่งบอกถึงคุณภาพของน้ำได้เป็นอย่างดี  ในช่วงฤดูร้อน พวกเรายังคงทำการขุดเอาขี้โคลนที่อุดมไปด้วยสารอาหารเป็นประจำทุกๆสัปดาห์ เพื่อใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ให้กับต้นผลไม้  ซึ่งมีผลพลอยได้ไปด้วยกันกับเป็นการทำให้บ่อน้ำลึกยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือใช้ขี้โคลนทำให้เป็นชั้นพื้นดินกันการชะล้างหน้าดินในฤดูฝน น้ำแทบจะไม่มีกลิ่นเลยท่าที่สังเกตได้ พวกเราใช้น้ำจากบ่อมาต้ม ทำน้ำชา ทำกาแฟ หุงข้าว ทำอาหาร รวมถึงใช้เป็บน้ำอาบ ใช้ล้างภาชนะต่างๆและใช้ซักเสื้อผ้ามาเป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้ว โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการใช้น้ำแต่อย่างใด

พวกราปล่อยปลาสามสายพันธุ์ ได้แก่ ปลาดุก (catfish) ปลานิล (tilapia) และปลาสวาย (iridescent shark) ซึ่งเป็นญาติกันกับปลาดุก ด้วยการมีครีบจึงทำให้ปลาสวายแลดูเหมือน ปลา shark ตัวจิ๋ว ตามชื่อเรียกภาษาอังกฤษ เราได้ปล่อยหอยที่กินได้สามชนิด ได้แก่ หองเชอรี่ หรือหอยโข่ง (Golden applesnail) หอยปัง และหอมขม หรือหอยจูบ (River snail หรือ Pond snail) ได้ปล่อยปูนา (rice paddy crab)ไปหนึ่งสายพันธุ์ และพวกเราได้มาพบว่ามีปลาไหล (Asian swamp eels) มากเพียงพอที่เราสามารถจับมารับประทานได้นิดหน่อยทุกๆดือน มีเต่าด้วยสองสามตัวเป็นอย่างน้อยในบ่อน้ำ และมีตัวเงินตัวทอง หรือตัวเหี้ย (monitor lizard)  ขนาดท่าเกับจระเข้เล็กๆมาหากินแถวบ่อน้ำนี้เป็นบางครั้งอีกด้วย จำนวนสายพันธุ์ของนกต่างๆได้มีเพิ่มขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด และมีงูหลายชนิดอย่างไม่น่าเชื่อ บริเวณบ่อน้ำมันก็จะมีพืชป่าที่กินได้และเกิดเองตามธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย เช่น กล้วยป่า (wild bananas) มะเขือพวง (turkey berries) ผักกาดไร่ (fireweed) ต้นกะตังใบ (Bandicoot Berry) ชนิดของไม้ไผ่ที่เราได้เอามาปลูกเพิ่ม เช่นไม้ไผ่ลืมแห้ง ที่จะออกหน่อทั้งปีเลยทีเดียวตอนที่มันเติบโตเต็มที่เราคงจะได้เก็บหน่อกินกันทุกฤดู นอกจากพืชเหล่านี้แล้วเราก็ได้ปลูก ต้นตะขบฝรั่ง (Jamaican cherry)ไว้ด้วย ส่วนใหญ่ปลูกไว้ให้นกกิน  ปลูกกล้วยเล็บมือนาง (lady finger banana) ด้วยส่วนใหญ่กระรอกและลิงจะได้กินมากกว่าพวกเรา และปลูกต้นมะพร้าวสามสี่ต้นเพื่อช่วยให้จับหน้าดินบริเวณบ่อเอาไว้และสำหรับดื่มกินน้ำมะพร้าวและใช้ประอาหารคาวและหวานสำหรับพวกเราในอนาคต พวกเรายังคงต้องต่อสู้กับไม้ไผ่ป่าครั้งหนึ่งต่อปีแต่จากนี้ไปคงจะง่ายขึ้นแล้วล่ะ ในบ่อน้ำนี้ยังคงมีงูน้ำที่ไม่มีพิษอาศัยอยู่ แต่ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเร็วๆนี้พวกเราจะสามารถลงเล่นว่ายน้ำในบ่อได้อีกด้วย 

No comments.