บทรีวิวหนังสือ Restoring the Kinship Worldview
Restoring the Kinship Worldview
Indigenous Voices Introduce 28 Precepts for Rebalancing Life on Planet Earth!
เขียนโดย Wahinkpe Topa (Four Arrows) and Darcia Narvaez, PhD
ดาวน์โหลดบทรีวิวฉบับเต็มได้ที่นี่
หนังสือเล่มนี้มุ่งนำเสนอความเชื่อมโยงกันของโลกทัศน์ หรือ มุมมองทางโลกของชนพื้นเมืองอเมริกันและชนพื้นเมืองโดยทั่วไป (Indigenous worldview) ที่โดยส่วนใหญ่มีพื้นฐานองค์ความรู้และความเข้าใจโลกไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ซึ่งผู้เขียนทั้งสองท่านได้นำเอาคติพจน์ดั้งเดิมและเชาวน์ปัญญาของชนพื้นเมือง (Indigenous Wisdom) มานำเสนอต่อชาวโลกมากถึง 28 คติพจน์ด้วยกันจากทั้งเล่ม เพื่อนำเอาความสมดุลกลมกลืนของสรรพชีวิตทั้งหลายกลับคืนมาสู่โลกได้อีกครั้ง ซึ่งผู้เขียนทั้งสองได้นำเสนอมุมมองทางโลกโดยทั่วไปที่ยึดถือกันในวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองมาแบ่งปันในตัวบทนำ มากถึง 40 มุมมองด้วยกัน โดยการนำมาเปรียบเทียบกับโลกทัศน์กระแสหลัก (Dominant worldview) ไว้อย่างชัดเจนว่า มุมมองทางโลกทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก!
แต่ละบทตอนจะเริ่มต้นด้วยเรื่องเล่าเก่าแก่ผ่านแต่ละช่วงปีจากเสียงสะท้อนชนพื้นเมืองอเมริกันต่อเรื่องราวนั้นๆ และมีบทสนทนาเพื่อสะท้อนมุมมองของผู้เขียนทั้งสองต่อเรื่องเล่าที่พวกเขานำเสนอในทุกตัวบทต่างๆ ไว้อย่างเชี่ยวชาญและทรงพลัง หนังสือเล่มนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเล่มที่จะช่วยเปิดใจ เปิดโลกทัศน์ในรูปแบบใหม่ที่เราทั้งหลายอาจจะไม่เคยคาดคิดมาก่อน กับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของชนพื้นเมือง ปรัชญา จิตวิทยา และวิญญาณศาสตร์ ด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกันกับทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ ผ่านมุมมองที่ผู้เขียนทั้งสองเรียกกันว่า “Kinship” หรือ ความสัมพันธ์ที่เราต่างก็เป็นญาติมิตรกับทุกสิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา ผ่านมุมมอง “Kinship Ecology” ซึ่งเป็นมุมองทางโลกที่มนุษย์ดำรงอยู่อย่างใกล้ชิดกับสรรพชีวิตอื่นๆ ในระบบนิเวศและในโลกธรรมชาติ มันคือมุมมองที่ว่า มนุษย์และธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวขยายทางนิเวศวิทยาที่มีบรรพบุรุษและจุดกำเนิดร่วมกัน (Senos et al.,2006,397) เขาได้นิยามมุมมองทางโลกในแบบเครือญาติ หรือ “Kincentric worldview” ขึ้นมา ว่าเป็นมุมมองที่เน้นย้ำถึงความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างชุมชนชีวิต (Web of life) ที่ติดต่อสื่อสารถึงกันอยู่ตลอดเวลา!
จากบทสนทนาด้วยการถกเถียงและสะท้อนมุมมองของนักวิทยาศาสตร์สายจิตวิทยา และนักเขียนสายภูมิปัญญาดั้งเดิมของชนพื้นเมืองอเมริกัน เล่มนี้จึงถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะเปิดหนทางใหม่ๆ สำหรับการศึกษาวิจัยและเรียนรู้เรื่องทางจิตวิทยาชนพื้นเมือง หรือ “Indigenous phychology” ทั้ง Four Arrows และ Darcia Narvaez (ผู้เขียน) ได้ส่งต่อองค์ความรู้ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่พวกเขาได้รับมาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของชนเผ่าพื้นเมืองหลากหลายกลุ่มคนด้วยกัน ในตอนบทนำพวกเขาได้ยกโลกทัศน์กระแสหลัก และโลกทัศน์ชนพื้นเมืองขึ้นมาเปรียบกันให้ชาวโลกได้เห็นภาพใหญ่ร่วมกันว่ามีรากฐานของแนวคิดที่ต่างกันเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้:
ตัวอย่างที่ตนยกมาให้นึกคิดร่วมกันด้านบนนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากทั้งหมดกว่า 40 โลกทัศน์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จากมุมมองทางโลกกระแสหลักและของชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลก ซึ่งแสดงให้พวกเราได้เห็นชัดเจนขึ้นว่าเราอยากจะมีมุมมองทางโลกในแบบไหนกันแน่นับจากนี้เป็นต้นไป Mork E. Koltko-Rivera ได้อธิบายเรื่องมุมมองทางโลกและแนวคิดของเหล่าชนพื้นเมืองทั้งหลายไว้ว่า มันคืออัตวิสัยที่มีอยู่ในโลกธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งอยู่แล้ว และมันตรงกันข้ามกับมุมมองทางโลกและแนวคิดของชาวตะวันตกอย่างชัดเจน! ที่ซึ่งมองเห็นทุกสิ่งอย่างแบ่งแยกออกจากกันไปหมด ทั้งนี้แล้วการที่ชนพื้นเมืองทั่วโลกจะมีความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้ได้ก็เป็นเพราะ โดยส่วนใหญ่แล้วกลุ่มชนพื้นเมืองต่างๆ ก็คุ้นชินอยู่กับวิถีการดำรงอยู่อย่างเป็นมิตรกับทุกสิ่งมีชีวิตมาตั้งแต่แรก พวกเขาเป็นผู้คนที่มีประสบการณ์ชีวิตที่เปิดสัมผัสกว้างออกไปในทุกๆ ด้าน ทั้งทางกาย จิต และวิญญาณมาโดยตลอด) จึงกลายมาเป็นกลุ่มคนที่มีความเข้าใจโลกอย่างลึกซึ้งและเป็นองค์รวมมากที่สุด!
“หนังสือเล่มนี้จะช่วยเหลือให้พวกเราได้เรียนรู้ถึงแก่นแท้ของการหยั่งรู้ทางจิตวิญญาณ เพราะเราคือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่แยกออกจากธรรมชาติ”
ผู้เขียนทั้งสองยังมุ่งนำเสนอหนทางในการได้องค์ความรู้ที่มาจากแหล่งที่อยู่อาศัยหนึ่งๆ อีกด้วย หรือ “Place-based knowledge” ซึ่งถือเป็นองค์ความรู้ดั้งเดิมที่ได้มาจากการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนและผืนแผ่นดินในแต่ละพื้นที่นั่นเอง คติพจน์ที่ผู้เขียนมุ่งนำเสนอตลอดทั้งเล่มก็มีการยึดถือร่วมกันในกลุ่มชนพื้นเมืองทั่วโลกทั้งนั้น และจากตัวอย่างโลกทัศน์ที่เหลือกว่า 40 มุมมองทางโลกของชนพื้นเมืองที่ผู้เขียนทั้งสองได้นำเสนอในหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่นำมาจากหนังสืออีกเล่มของ Four Arrows ในปี ค.ศ. 2020 ชื่อว่า“Red Road: Linking Diversity and Inclusion initiatives to Indigenous Worldview”
นอกจากนี้แล้วหนังสือเล่มนี้ยังช่วยเหลือกลุ่มคนที่มีแนวคิดแบบ “Eurocentric mindset” อีกด้วย เพื่อให้ได้เริ่มต้นเสาะหาแนวคิดแบบ “Kincentric relationship” กับโลกได้มากยิ่งขึ้น Dennis Martinez ได้อธิบายความหมายของ “Kincentric” ไว้ว่ามันคือหนทางเพื่อที่จะรวบรวมความสมดุลกลมกลืนทั้งหมดทุกอย่าง ระหว่างผู้คนและชุมชนชีวิตในโลกธรรมชาติให้กลับคืนมาอยู่ร่วมกันได้อีกครั้ง แนวทางการวางตัวในแบบ “Kincentrism” คือก้าวแรกที่จะนำเราไปสู่การหวนกลับคืนมาตระหนักรู้ที่ยึดเอาโลกเป็นฐานตั้ง หรือ “Earth-based consciousness” และยังเป็นจุดเริ่มต้นสำรับการรื้อฟื้นความเป็นท้องถิ่น “Relocalizing” และการฟื้นฟูองค์ความรู้ที่ได้มาจากพื้นที่ดินทำกินนั้นๆ กันอีกครั้ง หรือ “Restoring place-based knowledge”
มีนักมานุษยวิทยาท่านหนึ่งที่เขียนหนังสืออยู่หลายต่อหลายเล่มเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง และโศกนาฏกรรมต่อการสูญเสียความเป็นชนพื้นเมืองไปทั่วโลกชื่อว่า Wade Davis เขาเคยได้กล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์หนึ่งว่า “สิ่งหนึ่งที่มันครอบงำมนุษย์สายพันธุ์เรามากที่สุดมันก็คือความสามรถในการหลงลืม จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมมนุษย์เราถึงสามารถปรับตัวได้แทบจะกับทุกอย่างกับความเสื่อมถอยทางจริยธรรมหรือทางสิ่งแวดล้อม” พอได้ยินเช่นนี้ทางฝั่ง Four Arrows ผู้ร่วมเขียนหนังสือเล่มนี้เอง ก็เอะใจกับคำกล่าวนี้และติดต่อไปถึง Wade Davis ว่าเขาหมายถึงมนุษย์เราทั้งสายพันธุ์จริงๆ ไหม? เพราะแท้จริงแล้วเรื่องนี้มันตรงกันข้ามกับมุมมองทางโลกของชนพื้นเผ่าพื้นเมือง และพฤติกรรมอันผิดแปลกเช่นนี้มันคือปรากฏการณ์ที่พึ่งจะเกิดขึ้นมาในโลกทัศน์กระแสหลักของชาตะวันตกนี้เองนะ Wade Davis เองก็ได้ออกมาบอกว่าเขาเห็นด้วยอย่างยิ่งกับ Four Arrows และได้ขอโทษในสิ่งที่เขาพูดออไปอีกด้วย ความผิดพลาดที่เขาแสดงต่อชาวโลกมักพบเห็นกันอยู่บ่อยๆ ที่หลายคนทั่วโลกก็คิดกันเสมอว่า “ธรรมชาติของมนุษย์คือชอบทำลายล้างสิ่งอื่น” แต่มันพึ่งจะเริ่มปรากฏขึ้นมาเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของประวัติศาสตร์ของมานุษยชาติทั้งหมดเท่านั้น! นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการสร้างความเข้าใจถึงคติคำสอนของชนพื้นเมืองจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้น Four Arrows จึงเสนอคติพจน์อีกอย่างที่ควรจะรวมถึงคือเรื่องความสามารถในการจดจำ หรือ “The capacity to remember”ของมนุษย์เราอีกด้วย
โลกทัศน์ของชนพื้นเมือง (Indigenous Worldview) ต่างก็ไม่กำหนดไว้เพียงเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ใดๆ หรือเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มันแสดถึงวัฒนธรรมทั้งหลายของชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลก พวกเขาคือกลุ่มคนที่ยังมีผู้อนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิม โลกทัศน์ดั้งเดิม ซึ่งเป็นมุมมองที่ยึดเอาโลกเป็นฐานตั้ง (Earth-based worldview) ทุกคนทั้งหมดทั่วโลกต่างก็เป็นคนพื้นเมือง คนพื้นถิ่น และจึงเป็นผู้ที่จะมีสิทธิ์และมีความรับผิดชอบที่จะสนับสนุนให้ชนพื้นเมืองทั้งหลายได้มีอำนาจเป็นอิสระ มีศักดิ์ศรี และมีวิถีการใช้ที่ดินตามแนวทางดั้งเดิมของพวกเขาได้สืบต่อไป ผลลัพธ์จากการร่วมมือกันของผู้เขียนทั้งสองคือความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าเกี่ยวกับ “ความหมายของการเป็นมนุษย์ ที่เป็นเพียงหนึ่งในสมาชิกของชุมชนชีวิตบนโลกใบนี้ ด้วยมุมมองที่ตรงกันข้ามกับการยึดเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง หรือการยึดเอาวัตถุนิยมเป็นศูนย์กลาง” ดังนั้นมุมมองทางโลกของชนเผ่าพื้นเมืองจึงลึกซึ้งยิ่งกว่าเรื่องทางวัฒนธรรม ศาสนา และปรัชญา การเข้าใจบทบาทของมนุษย์เราในโลกได้อย่างถ่องแท้ ถือเป็นวิธีการที่จะปกป้องรักษาระบบชีวิตไว้ได้ดีมากที่สุด!
เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้คืออะไร?
เป้าหมายหลักๆ เลยก็เพื่อการเปลี่ยนผ่านออกไปจากโลกทัศน์แกระแสหลัก (Dominant worldview) ไปสู่โลกทัศน์ดั้งเดิมของชนพื้นเมืองให้ได้มากยิ่งขึ้น เราจำเป็นที่จะต้องปลดปล่อยดวงจิตของเราให้หลุดออกไปจากการโดนครอบงำโดยมุมมองกระแสหลักให้ได้ก่อน เพราะจิตใจของคนยุคใหม่ดื่มด่ำอยู่กับความฟุ่มเฟือยของอารยธรรม จากการโดนปกครอง จากการโดนกดขี่ควบคุมชีวิต จากการตัดขาดและความเหินห่างไปจากโลก ด้วยความเป็นสังคมอุตสาหกรรมและสังคมทุนนิยม
“จุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่เป็นการย้อนกลับคืนไปสู่หนทางดั้งเดิมของชนพื้นเมืองอย่างละเอียดยิบทั้งหมดเป๊ะๆ แต่ถือเป็นแนวทางเพื่อการนำเอาคุณค่าอันเหมาะสมต่างๆ ของการดำรงอยู่ในแบบชนพื้นเผ่าพื้นเมืองมาปรับใช้สำหรับโลกยุคใหม่ และเพื่อเป็นแนวทางใหม่ในการดำรงชีวิตของผู้คนในยุคอนาคต”
เอาล่ะผู้เขียนรีวิวจะขอยกเอาคติพจน์ที่โดดเด่นและมีความสำคัญไม่แพ้กับคติพจน์อื่นๆ ที่เหลือจากทั้งเล่มมานำเสนอให้กับผู้อ่านเพียงบางส่วนเท่านั้น เพื่อได้สัมผัสถึงความลุ่มลึกของโลกทัศน์ชนพื้นเมืองร่วมไปด้วยกัน โดยทุกคติพจน์ในแต่ละบทตอน จะมีการเล่าเรื่องดั้งเดิมของชนพื้นเมืองอเมริกันเอง และต่อด้วยบทสนทนาพร้อมกับการสะท้อนมุมมองของผู้เขียนทั้งสองต่อเรื่องราวนั้นๆ เพื่อตัวบทรีวิวจะไม่ยาวเกินไป ตนจะขอยกเอาบทสะท้อนโดยรวม ระหว่างผู้เขียนทั้งสองท่านมานำเสนอเป็นส่วนใหญ่ มาเริ่มกันเลย!^.^
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 1 คือ “Recognition of Spiritual Energies in Nature, Mourning Dove (Okanagan and Sinixt) (1884-1936)” หรือ การสำนึกรู้ถึงพลังจิตวิญญาณต่างๆ ในธรรมชาติ
พอผู้เขียนได้ฟังเสียงสะท้อนของชนพื้นเมืองผ่านประเด็นนี้เสร็จ ทาง Four Arrows ก็ได้เกริ่นขึ้นมาว่า หนทางการดำรงอยู่ในโลกของพื้นเมืองเชื่อว่า วิญญาณทั้งหลายล้วนพัวพันอยู่กับธรรมชาติ “เรื่องความเชื่อทางจิตวิญญาณคือแก่นแท้ของความเป็นคนพื้นเมือง” ทุกสิ่งอย่างบนโลกนี้มีจิตวิญญาณและมีบทบาทหน้าที่ของตนเอง นับไปตั้งแต่พืชสมุนไพรจนถึงมนุษย์เรา ทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนอยู่อาศัยและแบ่งปันพลังงานลี้ลับที่เชื่อมโยงทุกสิ่งอย่างถึงกันและกัน ในโลกแห่งจิตวิญญาณเช่นนี้จึงไม่มีอะไรที่เป็น มัน หรือ it เพราะทุกสรรพสิ่งมีจิตวิญญาณเท่าเทียมกันกับมวลมนุษย์ ตัวบทนี้สรุปได้ว่า การตระหนักรู้ถึงพลังงานลี้ลับต่างๆ ในธรรมชาติ ต่างก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จากเรื่องเล่าของ Mourning Dove ที่เปิดเผยไว้ว่าในวัฒนธรรมของชนเผ่าของเขา เด็กๆ ล้วนเติบโตมากับการปล่อยให้ออกไปค้นหาผู้นำทางจิตวิญญาณ หรือ “Gaudian spirit” ตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อประมาณช่วงอายุ 6 หรือ 7 ขวบ โดยจะให้เด็กๆ ออกไปข้างนอกคนเดียวในยามค่ำคืน ทั้งเด็กชายและเด็กหญิง พอเด็กๆ เริ่มโตมากกว่าเดิม พ่อแม่ก็จะปล่อยให้ออกไปไกลกว่าเดิมยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งในแต่ละครั้งที่ออกไปข้างนอก เด็กๆ มักได้รับคำสอนว่า “ไม่ต้องวิ่งหนีไปจากสัตว์หรืออะไรก็ตามที่ปรากฎตัวต่อหน้าพวกเขาในช่วงที่ออกค้นหาผู้นำทางจิตวิญญาณของตน” เด็กๆ จะสามารถสัมผัสกับพลังเหนือธรรมชาติจากที่ไหนก็ได้ อาทิ แหล่งน้ำ หน้าผา ผืนป่า ภูเขา ซากต้นไม้ที่สายฟ้าผ่า ซากสัตว์ตาย ตามกองไฟเก่าๆ และอีกมากมาย สิ่งที่น่าทึ่งมากที่สุดก็คือการปล่อยให้เด็กเล็กๆ ออกไปเชื่อมโยงกับพลังทางจิตวิญญาณในพื้นที่ธรรมชาติคนเดียว เพราะนี่มันแสดงถึง ความศรัทธาอันลึกซึ้งต่อโลกธรรมชาติมาตั้งแต่เป็นเด็กของพวกเขา “และยังแสดงให้เห็นอีกว่าชนพื้นเมืองทั่วโลกไม่เคยตัดขาดจากความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งมาตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว” ทาง Darcia Narvaez ก็สะท้อนต่อว่าการเชื่อมโยงกับจิตวิญญาณทางธรรมชาติสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ มันเกิดขึ้นได้ภายในชุมชนที่อยู่อาศัยด้วยกันทั้งชีวิต แต่หากเราไม่มีชุมชนเช่นนั้น ก็สามารถเชื่อมโยงเองได้ในทุกๆ กิจกรรมที่เราใส่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นงบ้างรอบๆ ตัวเราในพื้นที่ธรรมชาติ เพียงเท่านี้มันก็ช่วยเหลือให้พวกเราย้อนกลับคืนมาเชื่อมโยงกับจิตวิญญาณอื่นๆ ได้ทั้งนั้นเลย!
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 2 คือ “Nonhierarchical Society, WENONA VICTOR HALL (STÓ:LŌ)” หรือ สังคมที่ไร้อำนาจชนชั้น
ตัวบทนี้พูดถึงการแบ่งอำนาจชนชั้นภายในชุมชนคนพื้นเมืองโดยทั่วไปแล้ว มักตั้งอยู่บนระดับของการเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับสังคมที่แบ่งอำนาจชนชั้นกันอย่างสุดโต่ง การที่ใครคนใดคนหนึ่งจะมีอำนาจได้ตามโลกทัศน์โดยทั่วไปของชนพื้นเมือง หมายถึงได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจระหว่างบุคคล หรือระหว่างกลุ่มคน และอำนาจทางจิตวิญญาณโดยรวมของกลุ่ม ซึ่งคนนั้นๆ จะมีอำนาจได้จะต้องมีการเคารพความอิสระของคนอื่นๆ และช่วยเหลือกันเป็นแบบรวมหมู่ เรื่องอำนาจชนชั้นจึงแตกต่างกันกันมากๆ ในชุมชนของคนพื้นเมือง มันตั้งอยู่บนความสัมพันธ์กันกับคนอื่นๆ มันคือมุมมองที่เป็นองค์รวมเน้นการเคารพความแตกต่างของแต่ละคนที่จะทำเพื่อคนทั้งกลุ่ม ทั้งหญิงและชายต่างก็เป็นเหมือนปีกนกเหยี่ยวที่จะช่วยให้ตัวนกออกโบยบินได้ ดังนั้นทั้งหญิงและชายจึงเป็นความสมดุลของนกทั้งตัว
สำหรับสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ก็จะมีอุดมการณ์แบบชาวล่าอาณานิคม อย่างเช่น จะยึดเอาอารยธรรมตะวันตกเป็นศูนย์กลาง (Eurocentrism) ยึดการเหยียดเชื้อชาติ (Racism) ยึดการกดขี่ด้วยอำนาจ (Oppression) ยึดการครองอำนาจโดยชนชั้นปกครอง (Hegemonic control) ที่ต่างก็ถูกนำมาใช้เพื่อโฆษณาและปกป้องกฎเกณฑ์การขึ้นปกครอง (colonial regime) ทั้งนั้น ซึ่งมันสำเร็จผลได้ก็เป็นเพียงเพราะการใช้อำนาจสูงสุดในการบังคับกดขี่คนอื่นๆ ที่เหลือให้ปฏิบัติตามกรอบที่ตั้งไว้ทั้งหมดโดยชนชั้นปกครองเพียงหยิบมือ จึงไม่มีผู้ชนะภายใต้รูปแบบการปกครองของชาวอาณานิคม เพราะมีการบีบบังคับความหลากหลายของมวลมนุษย์ และยึดเอกสิทธิ์ทางอำนาจโดยไม่ได้รับคำยินยอมจากใครอื่น “นี่คือความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในการแบ่งอำนาจชนชั้นของชนพื้นเมือง!” ทั้งนี้การดำรงอยู่ในสังคมที่มีชนชั้นถือเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เหล่านักศึกษาวิจัยจำนวนมากพบว่ามันพึ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานนี้เอง!
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 5 คือ “Emphasis on Community Welfare, DOÑA ENRIQUETA CONTRERAS (ZAPOTECAN)”
สังคมชนพื้นเมืองให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันในชุมชนที่มีสวัสดิการทางสังคมที่เอื้อต่อกันและกัน ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับสังคมยุคใหม่ (นิยามของสังคมยุคใหม่ที่ตนหมายถึงในที่นี้ก็คือ สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรม และสังคมโลกาภิวัตน์ที่พึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูง ตามลำดับ) ที่แบ่งแยกทุกสิ่งอย่างออกจากกันและเน้นความเป็นปัจเจกนิยมอย่างสุดโต่ง รวมถึงยังตัดขาดจากจริยธรรมอันดีและโลกธรรมชาติอีกด้วย ตัวบทนี้เปิดเรื่องเล่าจาก ชาว Zapotecan ทางตอนเหนือในภูมิภาค Sierra ของรัฐวาฮากา ประเทศเม็กซิโก (Northern Sierra of the state of Oaxaca, Mexico)
พวกเขาได้สืบทอดวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนานเป็นพันๆ ปี ซึ่งวัฒนธรรมส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ชีวิต หรือ “Life principle” อยู่ 4 อย่าง ได้แก่ 1.ทุกสิ่งอย่างมีชีวิต 2.มีความเคารพนับถือพระแม่ธรรมชาติ 3. มีความเคารพนับถือบรรพบุรุษ 4.ความสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์และพระแม่ธรรมชาติ กฎเกณฑ์ทั้งสี่อย่างนี้คือพื้นฐานของการกระทำสิ่งต่างๆ มาตลอดในวัฒนธรรมของพวกเขา แต่พอถึงยุคถูกล่าอาณานิคม วัฒนธรรมของพวกเขาก็โดนทำลายล้าง ผู้คนโดนฆ่า ทั้งเหล่าหมอพื้นบ้าน แต่ก็ยังหลงเหลืออยู่บ้าง และพวกเขาก็พลอยได้เรียนรู้ต่อมาจากผู้คนเหล่านั้น บางครั้ง ชาว Zapotecan ก็แอบคิดว่าตัวเองเป็นคนที่อยู่ในมุมของการถูกหลงลืม แต่หัวใจของพวกเขาก็ยังส่องแสงประกายอยู่ เพราะยังได้อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมของตนอยู่ต่อไป พวกเขาได้เปิดใจและเชื่อมโยงกันกับพระแม่ธรรมชาติ สิ่งเหล่านั้นจึงติดตรึงอยู่ภายในตัวของพวกเขาเสมอ “นี่คือพลังอันยิ่งใหญ่ของพระแม่ธรรมชาติ เพราะไม่มีใครที่จะแก้ไขโลกใบนี้ได้ แต่มันคือเหล่าผู้หญิงทั่วโลกที่จะเป็นคนทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้น ผู้หญิงทั้งหลายจะต้องนำเอาพลังอำนาจของพวกเขากลับคืนมาอีกครั้ง”
Darcia สะท้อนเรื่องเล่านี้ต่อว่า นี่คือตัวอย่างที่ดีมาก เพราะนั่นแสดงให้เราเห็นว่า องค์วามรู้ของชนเผ่าพื้นเมืองทั้งหลายมันยังคงมีอยู่ มันยังมีการนำมาสอนต่อและก็ยังมีผู้คนที่สัมผัสกับประสบการณ์เช่นนั้นอยู่ ชาวยุโรปไม่ได้กวาดล้างความรู้ของชนพื้นเมืองอเมริกันไปจนสิ้นซากเสียทีเดียว องค์ความรู้ส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่อย่างลึกซึ้ง ตามที่เหล่าผู้อาวุโสได้กล่าวไว้ว่า “องค์ความรู้ส่วนใหญ่ของพวกเขาได้รับมาจากแหล่งที่อยู่อาศัยหนึ่งๆ ตอนที่เราเคารพให้เกียรติ เฝ้าสังเกตการณ์และรับฟัง จากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากมนุษย์ องค์ความรู้เช่นนี้เองจะช่วยให้สังคมที่แตกแยกในยุคใหม่ได้หวนกลับคืนมาอยู่อาศัยร่วมกันได้อีกครั้ง”
แม้ว่าจะอยู่ในมือง แต่คุณก็ยังอาศัยอยู่บนโลกใบนี้เช่นกัน ฉะนั้นการใส่ใจในเรื่องสวัสดิการชุมชน หรือ “Community welfare” คือจุดสำคัญมากๆ สำหรับความอยู่รอดของมวลมนุษย์ ไม่ว่าเราจะรับรู้มันหรือไม่ก็ตาม พวกเราทั้งหมดต่างก็ต้องพึ่งพากันและกันตลอดไป การใส่ใจเรื่องผลประโยชน์สุขของส่วนรวม หรือ “common good” คือการอนุรักษ์อย่างแท้จริง C.A. Bowers ได้เขียนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ที่แท้จริงไว้ว่า มันไม่ใช่การอนุรักษ์นิยมในแบบของสหรัฐฯ หรอกนะ เขาชี้แนะว่าพวกเราควรคิดกันใหม่อีกครั้งเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “conservatism” คือมันควรหมายถึงไปในแง่ของวิกฤตขั้นรุนแรงทางนิเวศวิทยา เขาชี้เสริมด้วยว่า พวกเราควรถามตัวเองว่า เราต้องการอนุรักษ์และปกป้องอะไร? อนุรักษ์นิยมอันแท้จริง หมายถึง “ความอยู่ดีมีสุข และความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศท้องถิ่น ที่ประกอบไปด้วย สัตว์ต่างๆ พืชพรรณพื้นถิ่นต่างๆ เส้นทางของสายน้ำ ผืนป่า และอื่นๆ อีกมากมาย”
จากตัวอย่างขององค์ความรู้พื้นถิ่น หรือ “Native knowledge” ของ ชาว Kogi ในทวีปอเมริกาใต้ที่อาศัยอยู่บนภูเขาสูง ไม่และค่อยติดต่อกับคนภายนอกมานานหลายศตวรรษจนกระทั่งปี ค.ศ.1990 ที่พึ่งมีผู้สื่อข่าวจากสำนักบีบีซีได้เข้าไปหาพวกเขา เพื่อนำเอาข้อความตักเตือนที่สำคัญมากๆ จากพวกเขามาสู่สังคมโลกยุคใหม่ให้ฟังกัน ซึ่งสาระสำคัญที่ ชาว Kogi ได้ส่งถึงสังคมโลกยุคใหม่ รวบรวมอยู่ในหนังสารคดีเรื่องนี้เลย From the Heart of the World: The Elder Brother’s warning ว่าผู้คนทั้งหลายในโลกยุคใหม่ล้วนเป็นเพียงน้องชายคนเล็ก พวกเขามีสิ่งที่คล้ายๆ กับที่เราเรียกกันว่านักบวช แต่เขาเรียกกันว่า “Mamas” ที่ถูกเลี้ยงดูมาตั้งแต่แบเบาะเพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับพระแม่ธรรมชาติได้อย่างลึกซึ้ง หรือที่เขาเรียกกันว่า“Aluna” ซึ่งจะเป็นคนที่สัมผัสถึงความอ่อนแอของโลกและตักเตือนถึงความหายนะทางนิเวศวิทยา
ตัวอย่างบางส่วนตามคำกล่าวของ ชาว Kogi ในหนังสารคดีเรื่องนี้มีท่อนหนึ่งตนอยากจะขอยกมานำเสนอ เขากล่าวกันว่า พระแม่ผู้ยิ่งใหญ่พร่ำสอนว่าพวกเราคือความถูกต้องและความผิดพลาด “ตอนนี้พวกเรากำลังขุดเอาหัวใจ หู และดวงตาของพระแม่ออกมา หยุดขุดได้แล้ว หยุดขุดได้แล้ว หยุดตัดต้นไม้กันได้แล้ว พวกเขาเจ็บปวด มันเหมือนการตัดขาของเราเอง หากต้นพืชพรรณไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมะสม พวกเขาก็จะล้มตายไป นั่นคือสิ่งที่มันเป็น” ชาว Kogi มีความรู้ทางนิเวศวิทยาอย่างลึกซึ้งมาโดยตลอด พวกเขาคือผู้ที่ได้เฝ้าเห็นเป็นพยานของการเปลี่ยนเปลงทางสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลมาเป็นพันๆ ปีแล้ว และเหล่านักวิทยาศาสตร์พึ่งจะได้สังเกตปรากฏการณ์เช่นนี้เมื่อไม่นานมานี้เอง ช่วงปีศตวรรษที่ 19 ชาว Kogi ได้แสดงให้ชาวโลกได้เห็นถึงความเชื่อมโยงถึงกันภายในชุมชนชีวิตของพวกเขานั้นลึกซึ้งเพียงใด ไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะท้องถิ่นแต่ทุกอย่างมันเชื่อมโยงถึงกันไปทั่วผืนโลก รูปพรรณสัณฐานต่างๆ ของโลกทั้งหมดเชื่อมโยงติดต่อกันกับทุกสิ่งอื่น และพวกเขารู้อีกด้วยว่าจะให้โลกอุดมสมบูรณ์สืบไปต่อได้อย่างไร นี้คือความตระหนักรู้ของบรรพบุรุษชนพื้นเมืองทั้งมวล
ชาว Kogi คืออีกหนึ่งแบบอย่างที่ทรงคุณค่าต่อการยึดมั่นให้ประเทศต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากชุมชนคนพื้นเมืองได้ย้อนคืนกลับมาสู่โลกที่ทุกชีวิตเป็นญาติมิตรต่อกันอีกครั้ง สารคดีเรื่องนี้ยังเปิดเผยอีกว่า “เหล่าชนพื้นเมืองทั้งหลายคือผู้เป็นตัวแทนของบรรพบุรุษพวกเราทั้งหมด และเป็นผู้ที่รับฟังผู้อื่นและสิ่งอื่นๆ” การฟังอันแท้จริง หรือ “True listening” คือการฟังที่จะช่วยเหลือเราได้อยู่หลายอย่าง เช่น:
1. มันทำให้เราจดจำความสำคัญโดยรวมทั้งหมดได้ในระยะยาวเกี่ยวกับการตัดสินใจและการกระทำของพวกเรา
2. การฟังเหล่าผู้อาวุโสช่วยให้เราไม่หลงลืมความเกี่ยวข้องกันของทุกสรรพสิ่ง
3.การฟังทำให้เราพึงพอใจและประทับใจธรรมชาติของความรู้สึกต่างๆ
4. การฟังทำให้เรามีความอ่อนน้อมถ่อมตนโดยแท้ 5.การฟังทำให้เราจดจำได้จริงๆ ว่าตัวเองเป็นใคร ด้วยความประทับใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับผู้คนที่อยู่มาก่อน เป็นต้น
ถ้าคนรุ่นใหม่ได้เริ่มต้นเรียนรู้สิ่งนี้ พวกเขาก็จะเป็นผู้นำของผู้เฒ่าได้ในอนาคต ถ้าเด็กรุ่นใหม่ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี วิถีการฟังแบบดั้งเดิมของชนพื้นเมืองด้วยการสื่อสารทางจิต ด้วยความเมตตา ความเข้าใจที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์ อย่างไร้ความเกรงกลัว กับการมีหลักการที่คิดเผื่อคนอีก 7 รุ่นข้างหน้าไว้ในใจเสมอ นี่คือการฝึกฝนภูมิปัญญาอันแท้จริง ลักษณะบุคลิกภาพของชนพื้นเมืองตามที่กล่าวไป มันแสดงถึงสิ่งที่ John Young (นักจิตวิทยา) ได้ลงความเห็นถึงสัญญาณของบุคคลที่มีสุขภาพดี หรือ “A Healthy person” ซึ่งเขาและเพื่อร่วมทีมได้เรียนรู้มาจากการร่วมมือกันกับชนพื้นเมืองทั่วโลก ดังนี้:
- มีจิตนิ่ง อารมณ์ความรู้สึกอยู่กับปัจจุบัน และมีความคิดสร้างสรรค์
- ภายในใจ (อ่อนโยนคล้ายเด็ก)
- แข็งแรงและเต็มไปด้วยพละกำลัง
- ฟังคนอื่นโดยไม่โต้แย้ง
- เชื่อมโยงกับโลกอย่างเด่นชัด
- อ่อนน้อมถ่อมตน
- ใจกว้าง
- ช่วยเหลือผู้อื่นจากใจจริง ทำดีกับคนอื่นเป็นการตอบแทนบุญคุณ
- ดำรงอยู่อย่างมีความหมายและมีชีวิตที่เติมเต็ม ตระหนักรับรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของทุกสิ่งอย่าง
- ให้ความรักต่อคนอื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และให้อภัยผู้อื่น
จากลักษณะของคนที่มีสุขภาพดีที่กล่าวไป Darcia เธอหวังว่าเหล่าผู้นำโลกจะมีลักษณะเช่นนี้กันบ้าง! แต่ในวัฒนธรรมที่เจริญแล้ว หรือ “civilized culture” หลายๆ วัฒนธรรมได้ทำลายพัฒนาการของภูมิปัญญาดั้งเดิม และมีการเลี้ยงดูเด็กแบบผิดๆ อาทิเช่น การทำโทษเด็กสำหรับบาปเดิมของพวกเขา และทำให้เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัย โกรธเคืองและเกรงกลัว ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ เด็กๆ ไม่มีโอกาสได้รักษาเยียวยาบาดแผลทางกายและใจ เด็กคนนั้นๆ ก็จะไม่ปรับตัวให้เข้ากับความเป็นอยู่ของชุมชนที่ดีได้เท่าไหร่ ทั้งในชุมชนมนุษย์และที่ไม่ใช่มนุษย์
James Clark Moloney ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ว่า: “เด็กคนหนึ่งที่ผิดหวังบ่อยมากเกินไปในช่วงวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่กำลังมีพัฒนาการไปสู่การมีความรู้สึกนึกคิดที่จะอยู่ติดตัวเขาไปตลอด และก่อให้กลายไปเป็นคนที่น่าเกลียด มีปมด้อย และไร้ประโยชน์” มันจึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนหนึ่งๆ ที่จะให้ความห่วงใยต่อคุณภาพชีวิต ถ้าเขาเองก็ไม่ได้รับความห่วงใยมาตั้งแต่แรก!
โลกทัศน์ของชนพื้นเมืองกับความอยู่ดีมีสุขของชุมชน ล้วนแสดงถึงความเป็นผู้นำของผู้หญิง หรือ “Feminine leadership” โดยการมองเด็กๆ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์และเชื่อมโยงพวกเขากับโลกธรรมชาติคือหนทางของการมีชุมชนที่เข้มแข็งและสุขสมบูรณ์ บทนี้สรุปก็คือตามคำกล่าวของ Doña Queta ที่ว่ามันคือการปลดปล่อยให้ตัวและดวงจิตได้เชื่อมโยงกับพระแม่ธรรมชาติ และจากคำกล่าวของ John Young ที่ว่าผู้ใหญ่โดยทั่วไปของชนเผ่าพื้นเมืองมีความสุขภายในอย่างบริสุทธิ์ใจ และในโลกที่พัฒนาและมีนักจิตวิทยาอย่างเราที่บอกชาวโลกว่า ประสบการณ์ชีวิตช่วงแรกเริ่ม หรือ “An early life experience” มีอิทธิพลต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์และการมีจริยธรรมทางวัฒนธรรมสูงมาก ความเกี่ยวข้องกันในการเลี้ยงดูเด็กๆ ของชนพื้นเมืองดั้งเดิม ที่เชื่อมโยงพวกเรากับที่ดินและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในโลกธรรมชาติคือหนทางของการมีชุมชนที่สมบูรณ์นั่นเอง!
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 6 คือ “High Respect for the Sacred Feminine, PAULA GUNN ALLEN (LAGUNA PUEBLO; 1939–2008)”
บทนี้เล่าถึงว่าถ้าสังคมอเมริกันฉลาดที่จะนำเอาสังคมดั้งเดิมต่างๆ ของชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันมาใช้เป็นแบบอย่างในการจัดตั้งสังคม ตำแหน่งหรือบทบาทของผู้หญิงในสังคมก็คงอยู่ตรงกลาง การแบ่งสิ่งของและอำนาจก็คงเท่าเทียมกันมากกว่านี้ ผู้สูงอายุคงได้รับการเคารพนับถือให้เกียรติ เรื่องทางสังคมและทางวัฒนธรรมคงได้รับการปกป้องมาตั้งแต่แรก นอกจากนี้การทำลายชุมชนชีวิตบนโลกและทรัพยากรธรรมชาติของโลกคงลดน้อยลง เรื่องทางจิตวิญาณตามธรรมชาติของมนุษย์และอมนุษย์ คงกลายมาเป็นหลักการสำคัญอันดับแรกในการจัดตั้งสังคมมนุษย์ ความเชื่อที่ปฏิเสธประวัติศาสตร์และประเพณี คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า:
ชาวอเมริกันโดยส่วนใหญ่หลงลืมจุดกำเนิดของตัวเองครั้งใหญ่ตามบริบทของชนพื้นเมืองอเมริกัน ชาวอเมริกันยิ่งยโสและไม่รู้จักต้นกำเนิดทางวัฒนธรรมของตนเอง จึงก่อให้เกิดการโน้มน้าวทางศาสนาเดียวของชาวยุโรปและชาวตะวันออกกลาง ที่มีการแบ่งอำนาจชนชั้น และยึดถือวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่มาอย่างยาวนาน ในสังคมของชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาโดยส่วนใหญ่จะไม่แตะต้องเรื่องการโดนกดขี่จากชายเป็นใหญ่!
พวกเขาพัฒนาระบบความคิดอย่างละเอียดอ่อน ที่ประกอบขึ้นด้วย วิทยาศาสตร์พื้นบ้าน ปรัชญา และการบริหารปกครองที่ตั้งอยู่บนความเชื่อมั่นในพลังของผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง ความอิสระของแต่ละคน การร่วมมือกัน ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความอิสระของมนุษย์ และฐานะทางสังคมที่เท่าเทียมกัน สินค้าและการบริการต่างๆ เคารพผู้อื่น เคารพชีวิต และจึงกลายมาเป็นสังคมที่รักสันติภาพเป็นหนทางของชีวิต ให้ความสำคัญของการเป็นญาติมิตรกับทุกสิ่งอย่าง ความสมดุลกลมกลืนในความสัมพันธ์ที่ศักดิ์สิทธิ์และเรื่องทางโลกระหว่างชนเผ่าต่างๆ หลักการเหล่านี้โดยส่วนใหญ่เป็นการปกครองโดยผู้หญิง หรือ หรือ “Gynarchy” ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดามากกว่าจะเป็นข้อยกเว้น
Four Arrows สะท้อนว่ามันคือผู้ชายที่เป็นคนลั่นไกปืนในการกราดยิงคนผิวดำส่วนใหญ่ของตำรวจ รวมถึงการเข็นฆ่ากันส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ชาย ธุรกิจและบรรษัทส่วนใหญ่ก็มักจะนำโดยผู้ชายที่รับผิดชอบต่อการทำให้พระแม่ธรรมชาติต้องปนเปื้อนสารพิษ เขาเชื่ออีกว่าแม้หากให้ผู้หญิงที่ไม่ใช่ชนพื้นเมืองขึ้นมาเป็นผู้นำมากกว่า สังคมก็จะมีโอกาสสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ที่มันจะน่าอยู่มากกว่า และในช่วงไม่กี่ร้อยปีมานี้ เราก็คงจะมีสงครามน้อยลง หรือ ถ้าหากให้ผู้หญิงชนพื้นเมืองขึ้นเป็นผู้นำสังคมมากกว่า โอกาสอาจจะสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ก็เป็นได้ สังคมชนพื้นเมืองต่างๆ หลังยุคล่าอาณาณิคม (Post-contact) ต่างก็ดำรงอยู่อย่างสงบสุข และไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมปนเปื้อน วันนี้เรารู้อีกด้วยว่าอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มีน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่มีเลยบนพื้นที่ทำกินทำกินของชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิม และสังคมชนพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นสังคมที่ผู้หญิงเป็นผู้นำ หรือ “Matriarchal societies” แม้จะมีสังคมที่ชายเป็นใหญ่บ้างแต่เสียงของผู้หญิงก็ยังมีพลังอำนาจเป็นอย่างมาก โลกทัศน์ดั้งเดิมแทบจะทุกมุมมองของชนพื้นเมืองตั้งอยู่บนพื้นฐานตามหลักปฏิบัติของผู้หญิง หรือ “Feminine principle” การเป็นเจ้าครองโลกของชาวตะวันตก ล้วนกดขี่อำนาจและบทบาทของผู้หญิงออกแทบจะทุกอย่างจนเหลือน้อยมาก รวมถึงเรื่องทางการสนทนา การเกษตร เศรษฐกิจ สังคมสงบสุข การเลี้ยงลูก วิทยาศาสตร์ และการเมือง!
Darcia สะท้อนต่อว่าตามที่ Goettner-Abendroth ได้ชี้แนะถึงคำว่า “Patriarchy หรือ ปิตาธิปไตย” มันเกี่ยวข้องกับการกุมอำนาจทางสังคมโดยผู้ชาย ส่วนรากศัพท์ของคำว่า “Arche” จากคำ “Matriarchy” ที่หมายถึงไปในทางต้นแบบหรือแม่แบบ (Archetype) เธอชี้แนะเพิ่มอีกว่าด้วยการขาดคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน จึงทำให้คำว่า “Matriarchy หรือ มาตาธิปไตย” เข้าใจกันผิดๆ ว่ามันคือการปกครองโดยผู้หญิง การศึกษาในสายผู้หญิงมีอำนาจเป็นหลักในสังคมยุคใหม่ ได้กำหนดความหมายของคำนี้ที่ตรงมากกว่า ดังนี้ “Matriarchy” หมายถึง สังคมต่างๆ ที่มีผู้หญิงเป็นผู้นำ มีศูนย์กลางที่ตั้งอยู่บนแนวคิดหลักปฏิบัติของผู้หญิง ที่เป็นแหล่งเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ทุกคน
ดังนั้น “Matriarchy” ไม่ได้อ้างถึง “การปกครองอยู่เหนือใคร” แต่มันคือ “การปกครองที่เท่าเทียมกันและปกครองด้วยความอิสระทางเพศที่ไม่ได้เข้มงวดอะไร” นอกจากนี้ Goettner-Abendroth ยังได้ระบุลักษณะของสังคมที่เป็น“Matriarchies” ทั่วโลกไว้ว่า มันคือการทำเศรษฐกิจร่วมกัน อาทิ เป็นเศรษฐกิจแบบแลกเปลี่ยนของกินของใช้กัน เป็นแบบสืบต่อจากแม่ ไร้การครอบครองแบบสืบทอดเครือญาติ ยึดความเห็นของคนส่วนใหญ่ด้วยความเสมอภาค เป็นต้น
นักประวัติศาสตร์ชื่อ Marvin Bram ได้อธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวตะวันตกว่ามันคือเรื่องที่เกี่ยวกับการล้มล้างความหลากหลายของคำ และปกครองโลกด้วยวิธีเดียว ซึ่งมันก็เกิดขึ้นมาด้วยกันกับการล้มล้างหลักการของผู้หญิงที่มีวัฏจักรของการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย และเกิดใหม่ ทิ้งไปด้วย หลักการของผู้ชายเป็นใหญ่เน้นย้ำอยู่แค่กับ ความก้าวหน้าที่เป็นเส้นตรงอย่างเดียว และการครอบครองธรรมชาติและความตาย มนุษย์ครองโลกปัจจุบันผ่านทางการเมือง บริษัทธุรกิจ ศาสนา และสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านการทำลายกฎของการปฏิบัติต่อสิ่งอื่นเหมือนสิ่งมีชีวิต ผ่านการให้คุณค่าผู้ชายเหนือกว่าผู้หญิง!
Darcia สะท้อนต่อว่าสิ่งที่ทำให้ผู้ชายและหญิงขาดความเท่าเทียมกันส่วนใหญ่ก็เป็นเพราะ “การเน้นเรื่องการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การเลี้ยงสัตว์ และการอยู่ในสังคมเกษตรกรรมต่างๆ” ที่มีส่วนในการถอดถอนความสมดุลทางเพศสภาพออกไปอย่างรุนแรง แต่คุณรู้ไหมว่าถ้าให้ผู้ชายอยู่ใกล้ชิดกับเด็กๆ พวกเขาจะมีระดับบฮอร์โมนเพศชายต่ำลง และมีความเห็นอกเห็นใจสูงขึ้น มรดกตกทอดที่ดำรงอยู่มาอย่างยาวนานของพวกเราก็คือ การอาศัยอยู่รวมกันในหลายๆ เพศสภาพ หรือ “Muti-gender” แต่ด้วยการอยู่เป็นเฉพาะกลุ่ม และการแบ่งอำนาจชนชั้น ผู้ชายจึงโดนแยกออกไปจากเด็กๆ ดังนั้นฮอร์โมนเพศชายของพวกเขาจะเพิ่มสูงขึ้น เช่นในประเทศที่มีรายได้สูง ส่วนใหญ่แล้วผู้ชายจะเป็นผู้นำ และมักใช้เวลาอยู่กับผู้ชายคนอื่นมากกว่า การแข่งขันกันจึงเพิ่มมากขึ้น และการเห็นใจคนอื่นกลับลดต่ำลง เราอาจจะต้องแนะนำให้มีเด็กๆ อยู่ในทุกสถานที่ทำงานมากขึ้น!
ในทางตรงกันข้าม คุณแม่ต่างก็ใส่ใจดูแลลูกของตนในยามที่เด็กๆ ต้องการแม่ หรือตอนที่เรารู้สึกแรงสนับสนุนของคนในชุมชน ในหมู่คนของชาติแรก (ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศแคนาดา หรือ “First nation” ) ของชนพื้นเมืองเมริกัน ตามประเพณีดั้งเดิมแล้ว คนในหมู่บ้านจะเลี้ยงดูเด็กๆ ร่วมกัน ไม่ใช่เพียงแม่ หรือ พ่อแม่ของเด็กเท่านั้น ในสังคมที่ยึดหลักการของเศรษฐกิจแบบแลกเปลี่ยนของกัน หรือ “Gift economies” เป็นหลัก พวกเขาจะช่วยเหลือสับเปลี่ยนกันเลี้ยงลูกเด็กเสมอ ที่เป็นเหมือนการให้ของขวัญแก่เด็กๆ และคนอื่นๆ ด้วย ซึ่งมันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ (มองกลับมาในสังคมคนพื้นเมืองในเมืองไทย ในอดีตก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน และในสังคมพื้นบ้านก็เช่นกัน แต่ตอนนี้ก็กำลังเริ่มเปลี่ยนไปตามสังคมที่เจริญแล้วแทบจะหมด)
ส่วนในสังคมเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว เมื่อคุณแม่เริ่มออกไปทำไร่ทำนา (จากนั้นก็เข้าไปทำงานในโรงงาน) จึงไม่ได้ฝากลูกไว้กับคนในชุมชนเหมือนเดิมอีกแล้ว และพวกเขาก็เลี้ยงดูลูกน้อยลง ลูกเด็กทั้งหมดที่เติบโตมาเช่นนั้นต่างก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก โดยเฉพาะกับเด็กผู้ชายที่ได้รับผลกระทบจากคุณภาพการเลี้ยงดูของคุณแม่ เพราะเด็กชายจะสร้างความยืดหยุ่นในตัวเองได้น้อยลงในวัยเด็กเล็กที่ต้องการคุณแม่มากที่สุด และจึงสร้างความสัมพันธ์กับแม่ได้ช้าลง ดังนั้นเด็กชายจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคุณแม่มากกว่า อาทิ การให้นม การดูแลเอาใจใส่ การนอนหลับด้วยกัน ลักษณะของการเลี้ยงลูกของพ่อแม่เช่นนี้ จะส่งผลให้เกิดสังคมที่สงบสุขได้ ในสังคมชายเป็นใหญ่ และโดยเฉพาะกับสังคมอุตสาหกรรมต่างๆ เด็กๆ ทุกคนจะได้รับพัฒนาการจาการเลี้ยงดูที่เหมาะสมน้อยกว่าเยอะมาก ทั้งจากการเลี้ยงดูของคุณแม่และการเลี้ยงดูโดยทั่วไปจะไม่สมบูรณ์
การทำโทษเด็กมีผลกระทบทางลบในระยะยาว การทำให้เด็กคับแค้นใจอย่างหนัก หรือโดนบังคับทำเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดโรคทั้งทางกายและทางจิต ประกอบไปด้วย การควบคุมตัวเองได้น้อยลง มีไหวพริบทางอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและการแสดงความเห็นได้น้อยลง และยินยอมปรับตัวต่ออำนาจทางเรื่องความสัมพันธ์ ในสังคมอุตสาหกรรมต่างๆ ทุกวันนี้ ทุกคนล้วนทนทุกข์ทรมานมาจาการที่ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่ที่ไม่เพียงพอ เพราะบทบาทของคุณแม่ถูกจำกัดไว้โดย แนวคิด งาน และวัฒนธรรม “คุณภาพของการเป็นคุณแม่จึงขาดหายไปเพิ่มมากขึ้นในโลกทัศน์ของสังคมที่โอบอุ้มเทคโนโลยี เครื่องจักรกล ทุนนิยม และชายเป็นใหญ่!” ในการที่จะฟื้นคืนความศักดิ์สิทธิ์ของผู้หญิงจึงหมายถึง การให้เกียรติทุกระยะของชีวิต นับไปตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย และการเกิดใหม่เป็นชีวิตอื่นในชุมชนชีวิตโลกโดยทั่วไป โดยเฉพาะกับชุมชนมนุษย์เอง
Four Arrows เสนอต่อว่า เมื่อมนุษย์บางส่วนรู้สึกว่าพวกเขามีอำนาจเหนือกว่าคนอื่นๆ พวกเขาจะขาดความเห็นใจคนอื่นๆ ที่มีอำนาจน้อยกว่าไปโดยปริยาย และมักปฏิบัติกับคนอื่นเป็นคนที่ด้อยกว่า นี่จึงเป็นเหตุผลหลักๆ ว่าทำไมแนวคิดของการยึดเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง หรือ “anthropocentrism” มีความอันตรายมากๆ ต่อโลก เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่มักรู้สึกอยู่เหนือกว่ามดตัวน้อยๆ จึงส่งผลให้มนุษย์ไร้ความปราณีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นที่มิใช่มนุษย์สูงยิ่งขึ้น!
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 7 คือ “Respect for Gender Role Fluidity, LAURA HALL (HAUDENOSAUNEE)”
LAURA HALL ได้นำเสนอเรื่องเล่าผ่านตัวบทนี้ว่ามันคือระบบการล่าอาณานิคมที่มุ่งขจัดความจริงต่างๆ ไปให้สิ้นซาก เราอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญมาก ณ ตอนนี้ ตามที่เสียงของรัฐและเหล่าผู้ตั้งรกรากที่ค้นหาสิ่งที่พวกเขาต้องการ และมันคือช่วงเวลาอันสำคัญที่จะได้รับความรู้ขั้นสุดยอดจากแนวคิดของสายอนาธิปไตยและผู้หญิงนำภายในโลกทัศน์ชนพื้นเมือง ซึ่งมุมมองทางโลกของชนเผ่าพื้นเมืองแสดงให้เห็นถึงทัศนะคติทางเลือกที่จะสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม เรื่องความเท่าเทียมและความลื่นไหลทางเพศสภาพ แสดงถึงบทบาทของ กลุ่มคนที่เกลียดความหลากหลายทางเพศสภาพ (Heterosexism) กลุ่มคนที่เกลียดชังผู้หญิง (Misogyny) หรือกลุ่มคนที่ถือชายเป็นใหญ่ (Heteropatriarchy) ล้วนเป็นศูนย์กลางของความพยายามที่จะหลดพ้นออกจากการโดนครอบงำของชาวล่าอาณานิคม ซึ่งงานหินเช่นนี้ฝั่งรากลึกอยู่เรื่อยมาในวัฒนธรรมและตามบริบททางสิ่งแวดล้อมขององค์ความรู้ชนพื้นเมืองทั้งหลาย
Four Arrows เล่าเสริมว่า อีกปัญหาหนึ่งที่โดดเด่นมากจากการล่าอาณานิคมที่เป็นของโลกทัศน์กระแสหลัก ที่มีอารยธรรมเป็นตัวบังคับกดขี่ผู้หญิง และกลุ่มคนที่เป็นนอนไบนารี (non-binary) มันถือเป็นโศกนาฏกรรมมากว่าที่จะเป็นแนวคิดที่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งมันไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับชายผิวขาวที่มักกดขี่ผู้อื่นด้วยความรุนแรง แต่มีผู้ชายในชุมชนคนพื้นเมืองเองก็โดนครอบงำไปด้วย จึงทำให้พวกเขาทำตัวเป็นเหมือนชายผิวขาวไปด้วย แม้แต่กับคนที่ปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมก็ตามที
โดยรวมแล้วคติพจน์นี้เล่าถึงว่าในสังคมของชนพื้นเมืองดั้งเดิม เรื่องการแบ่งแยกเพศสภาพเหมือนในสังคมยุคใหม่นี้ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาใดๆ เลย เพราะทุกๆ คนต่างก็ยอมรับและโอบกอบความแตกต่างทางเพศอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่ละคนสามารถทำสิ่งที่ตนถนัดมากที่สุดได้ทั้งนั้น ไม่แบ่งแยกชัดเจนว่านี่คืองานของผู้ชาย หรือนั่นคืองานของผู้หญิงเท่านั้น แต่ใครจะทำอะไรก็ได้เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมก็เป็นพอ ทาง Four Arrows ยังระบุต่อว่าความหลากหลายทางเพศสภาพในสังคมชนพื้นเมืองนั้นมีมาแต่เดิมทีอยู่แล้ว เพียงแค่ไม่ได้มีชื่อเรียกเหมือนทุกวันนี้ อย่าง “LGBTQI+ People” มีงานศึกษาหลายต่อหลายชิ้นที่อ้างอิงว่ามีกลุ่มคนหลากหลายเช่นนี้ด้วยในสังคมชนพื้นเมือง อาจจะไม่มีการถกเถียงกันมากเท่าไหร่ เรื่องความอิสระทางเพศและการให้เกียรติผู้หญิงสูงมาก มักพบในสังคมที่มีผู้หญิงเป็นผู้นำ ในยุคก่อนมีการไล่ล่าอาณานิคมคมเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่ปัญหาเลยในสังคมดั้งเดิม!
David Bohm (นักฟิสิกส์ นักวิปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ ที่ถือสามสัญชาติ ได้แก่ American-Brazilian-British) ได้อธิบายไว้ว่า ภูมิปัญญาชนพื้นเมืองที่เข้าใจกันว่า โลกเต็มไปด้วยพลังงานที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ทุกสิ่งอย่างเชื่อมโยงติดกัน และมีปฏิสัมพันธ์กันโดยไม่มีอะไรมาแบ่งแยก และ Barry Commoner (นักสิ่งแวดล้อมชั้นนำในสาขานิเวศวิยายุคใหม่) ได้บันทึกกฎทางนิเวศวิทยาไว้อยู่สามอย่างหลักๆ ในตัวบทนี้ว่า
“กฎข้อแรกของนิเวศวิทยาก็คือ ภูมิปัญญาของชนพื้นเผ่าพื้นเมือง (Indigenous Wisdom) กฎข้อที่สองก็คือ ไม่มีอะไรโดนทำลาย มีแต่นำกลับมาใช้ใหม่ กฎข้อที่สามก็คือ ธรรรมชาติรู้ดีมากที่สุด”
มันไม่ใช่มรดกของเผ่าพันธุ์มนุษย์เราที่จะหนีความแตกต่างที่มีอยู่ในบรรพบุรุษของเราในกลุ่มชนล่าสัตว์และเก็บของป่าไปได้ แต่ละคนมีความอิสระเสรีสูงและนิยมการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน จิตที่โดนครอบงำ (Colonized mind) มักมองความหลากหลายทางธรรมชาติเป็นทรัพย์สิน หรือเป็นเพียงวัตถุเพื่อใช้สอยมากกว่าที่จะมองสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งมีชีวิต!
Darcia เล่าต่อว่า นักเขียนบทกวีท่านหนึ่งชื่อ Barry Lopez เขียนไว้ว่า “ความหลากหลาย (Diversity) คือเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิต สำหรับความอยู่รอด และเป็นเกาะป้องกันการสูญพันธุ์อีกด้วย” มันคืออารยธรรมทุนนิยม สังคมอุตสาหกรรม และสังคมอำนาจนิยม ที่ต้องการให้ทุกคนบนโลกใบนี้ดำรงอยู่เหมือนกันทั้งหมด ซึ่งมันทำให้หลายสิ่งอย่างคาดการณ์ได้ง่ายขึ้น และควบคุมได้ง่ายขึ้น มันจึงเป็นเป้าหมายของการใช้คำที่มีความหมายเดียว และการลดเรื่องแตกต่างของความหลากหลายสิ่งมีชีวิตลงไป ถ้าคุณปฏิบัติตนให้หลดออกไปจากแนวคิดเช่นนี้ไป คุณก็จะไม่ได้รับความสนใจจากใครอื่น และมักจะเป็นผู้ถูกกระทำจากคนในสังคมส่วนใหญ่ จากครั้งแรกที่ชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันได้เผชิญหน้ากับชาวยุโรป หลังจากพบปะกันอย่างเป็นมิตร พวกเขาก็พบว่า พวากนักล่าอาณานิคมล้วนไร้จิตใจ หรือ “Soulless” ชาวยุโรปทั้งหลายมีโรคทางจิตที่เรียกว่า “wetiko” ติดตัวอยู่ ด้วยการรุกรานทุกสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เพื่อเข้าครองครอง เพื่อเอารัดเอาเปรียบ และในท้ายที่สุดก็เพื่อทำลายล้างพวกเขาทิ้งไป
มันคือโรคทางจิตที่ติดต่อกระจายตัวไปอย่างรวดเร็วในสังคมอุตสาหกรรมยุคใหม่ ลักษณะของอารยธรรมนี้ถูกกำหนดขึ้นมาจาก การไร้ความสามารถที่จะสำนึกรู้และรับรู้ถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หรือ อมนุษย์ก็ตาม การใช้หัวใจเป็นศูนย์กลางของความคิดคือไม่มีอยู่เลย เธอจึงมองว่าการสัมผัสทางจิตและทางใจของชาวยุโรป ไม่ได้รับการหล่อเลี้ยงมาอย่างสมบูรณ์ในวัยเด็กจากการเลี้ยงลูกและพฤติกรรมของลูกตอนที่เป็นผู้ใหญ่ หรือ (The Evolved Nest) ซึ่งย่อมาจาก “Evolved Developmental Niche หรือ EDN” ดังนั้นแต่ละคนจึงกลายมาเป็นบุคคลที่เหมือนหุ่นยนต์ ทั้งทางอารมณ์ความรู้สึกก็เหมือนเครื่องจักร หรือ มีพฤติกรรมแปรปรวนทางจิตในการปรับตัวของชีวิตตนเอง โลกทัศน์ของชนพื้นเมืองที่ถกเถียงกันในหนังสือเล่มนี้ คืออีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยเปิดทางให้ผู้คนมองเห็นความเป็นไปได้อื่นๆ และเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงตนเอง หรือ “Self-transformation” ดังนั้นแนวคิดที่ว่าความหมายของการเป็นมนุษย์คืออะไร มันก็คือการย้อนกลับมารวมกลุ่มกันใหม่ เติบโตอีกครั้งและกระจายกันออกไปด้วยการดำรงอยู่ในโลกทัศน์ของชนพื้นเมือง!
ตามที่ Murdoch (นักปรัชญาและนักเขียนนิยายชาวไอริช) อธิบายไว้ว่า ความอิสระของพวกเรานั้นไม่ใช่แค่ความอิสระในการเลือกและการกระทำที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง แต่มันคือความอิสระที่จะคิดและเชื่อในแบบที่แตกต่างออกไปอีกด้วย มันคือความอิสระในการที่จะมองโลกในแบบที่ต่างไปจากคนอื่น มันคือการมองเห็นความชัดเจนและอธิบายสิ่งเหล่านั้นด้วยคำที่ต่างออกไป เราเลือกที่จะปลดทิ้งความคิดเดิม ๆ หรือแนวคิดที่ผิดๆ ได้เสมอ และเปิดขยายการสัมผัสด้วยหัวใจให้กว้างยิ่งขึ้นได้เช่นเดียวกัน ทุกคนย่อมยินดีจะยอมรับการเปิดหัวใจของตนแองให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กับชุมชนชีวิตได้ทั้งนั้น!
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 9 คือ “All Earth Entities Are Sentient, ROBIN WALL KIMMERER (CITIZEN POTAWATOMI NATION)”
ตัวบทนี้แบ่งปันเรื่องเล่าจาก นักเขียนหญิงในดวงใจของเราเอง จากหนังสือเล่มที่จะช่วยปรับโลกทัศน์ของชาวโลกไปพร้อมๆ กันได้อย่างน่าทึ่ง และยังเป็นเล่มที่กำลังเสนอสู่สังคมไทยอีกด้วย ติดตามบทรีวิวหนังสือเล่มนี้ของ Robin Wall Kimmerer ได้ที่นี่ ในตัวบทนี้เธอได้นำเอาหลักการเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวย่างเคารพให้เกียรติ หรือ “Honorable Harvest” จากหนึ่งในตัวบทของหนังสือเล่มนี้มาแบ่งปันผ่านตัวบท ที่เราชื่นชอบมากเป็นพิเศษไว้ว่า เธอเล่าว่า เธอเป็นเพียงนักเรียนของวิถีแนวคิดเช่นนี้ เธอไม่ใช่นักวิจัย เธอได้เฝ้าสังเกตการณ์และซุ่มฟังเหล่าพืชพรรณและสัตว์ป่าต่างๆ ที่เฉลียวฉลาดมากว่าตัวเธอ นี่คือองค์ความรู้ที่เธอได้รับมาจากเหล่าพืชพรรณและสัตว์ป่าทั้งหลายอีกครั้ง เธอเล่าว่าหลักการของ “Honorable Harvest” ไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวแต่อย่างใดแล้วแต่จะนำไปปฏิบัติอย่างไรก็ได้ แต่เธอยกวิถีการปฏิบัติมาแบ่งปันกับชาวโลก ดังนี้ว่า มันคือวิถีทางเล็กๆ น้อยๆ ที่พวกเราทั้งหลายจะสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ อาทิเช่น
- รู้จักวิถีชีวิตของของสิ่งที่ดูแลคุณ แล้วคุณก็จะรู้ว่าต้องดูแลพวกเขากลับอย่างไรจึงจะถูกต้อง
- แนะนำตัวเองและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ที่มาขอเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิต
- ขออนุญาตก่อนจะหยิบยกเอาสิ่งใดไป โดยการรอฟังคำตอบก่อนด้วย
- ไม่เก็บเอาสิ่งแรกที่คุณเห็น และไม่เคยเก็บเอาชิ้นสุดท้ายอีกด้วย
- เก็บเกี่ยวเอาตามที่คุณจำเป็นและตามที่มองเห็น
- ไม่เคยเก็บเกี่ยวเกินมากกว่าครึ่ง เหลือบางส่วนไว้ให้กับทุกชีวิตอื่นๆ ด้วย
- เก็บเกี่ยวด้วยวิธีการที่ก่อโทษน้อยมากที่สุด
- ใช้สอยทุกสิ่งอย่างที่ได้รับมาด้วยความเคารพ
- รู้จักแบ่งปันและกล่าวคำขอบคุณต่อสิ่งที่คุณได้รับมาเสมอ
- ดูแลสิ่งที่หล่อเลี้ยงคุณมา แล้วโลกก็จะดำรงอยู่ตราบชั่วนิรันดร์ เป็นต้น
กฎต่างๆ ของหลักการ “Honorable Harvest” ตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อมั่นทั้งทางกายของเราและทางโลก การเอาชีวิตอื่นเพื่อมาหล่อเลี้ยงเป็นอาหารให้ตนเองจึงมีความสำคัญมากขึ้นยิ่งกว่า เมื่อคุณนับถือทุกชีวิตอื่นเป็นเหมือนบุคคลหนึ่ง สิ่งมีชีวิตอื่นที่นอกเหนือไปจากมนุษย์ล้วนมีความตระหนักรู้ มีความฉลาดเฉลียว มีจิตวิญญาณอย่างสมบูรณ์อยู่ในตัว และล้วนมีสมาชิกครอบครัวที่กำลังรอคอยพวกเขาอยู่ที่บ้านเช่นเดียวกันกับมนุษย์เรา ฉะนั้น การฆ่าใครสักคนย่อมให้ความรู้สึกต่างไปจากการฆ่ามันสักตัว!
งานหลักของเธอที่เป็นนักนิเวศวิทยา นักเขียน คุณแม่ และนักเดินทางออกผจญภัยระหว่างสายวิทยาศาสตร์และหนทางการหยั่งรู้ดั้งเดิมของชนพื้นเมือง ล้วนเติบโตมากจากถ้อยคำเหล่านั้น งานเขียนของเธอได้ช่วยเหลือให้ Darcia เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงโลกของพืชพรรณที่ว่า แท้จริงแล้วพืชดั้งเดิมที่สุด อย่าง “มอสส์ กลับมีเรื่องราวที่สอนมนุษย์เราได้อีกมากมาย” เช่น ความสำคัญของการอ่อนน้อมถ่อมตน! การดำรงอยู่ทั้งหมดของเหล่าพืชพรรณ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ คือเรื่องที่ตรงกันข้ามมากๆ ในวัฒนธรรมชาวตะวันตก (Western Culture) โดยเฉพาะในช่วงสุดท้ายเมื่อหลายร้อยปีมานี้
Four Arrows กล่าวต่อว่ากลุ่มคนมชาติแรกทั้งหมด หรือ “All First Nations”ล้วนมีบทเพลงและคาถาที่กล่าวคำขอบคุณต่อของขวัญหลายสิ่งอย่างที่พระแม่ธรรมชาติ “Mother Nature” ได้มอบไว้ให้กับทุกสรรพสิ่งรวมถึงพวกเราด้วย Darcia สะท้อนว่าหากเรามอบความเคารพให้กับชีวิตโดยธรรมชาติของพพืชพรรณและสัตว์ต่างๆ ที่เราพบเจอ เราก็จะปฏิบัติตนอย่างใส่ใจ สัญชาตญาณแรกของพวกเราตอนที่เราเจอกับแมงมุมควรทำการทักทาย ไม่ใช่ขับไล่ให้มันออกไปจากทางของเราแทน!
Four Arrows คิดว่ามันมีความสำคัญมากที่จะต้องช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสรับรู้มาตั้งแตกแรกเกิดเลยว่า พืชและสัตว์ต่างๆ ที่เรานำมาบำรุงเลี้ยงชีพของเรา เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีจิตใจ หรือ “Sentient” เพื่อทำให้พวกเขามีความเคารพต่อชีวิตอื่นมากกว่า โดยการเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณด้วยหลักการเก็บเกี่ยวอย่างเคารพให้เกียรติ แต่เราจะช่วยเหลือให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่จะปฏิบัติตนเช่นนี้ได้อย่างไร? ซึ่งในระบบโรงเรียนในยุคสมัยนี้เขาไม่เน้นสอนเรื่องเหล่านี้เลยแม้แต่น้อย!
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 15 คือ “Generosity as Way of Life, MARTIN BROKENLEG (LAKOTA)”
Martin Brokenleg (ชนพื้นเมือง ชาว Lakota) เล่าผ่านตัวบทนี้ว่าในสังคมชองชนเผ่าพื้นเมืองของพวกเขา เรื่องการไม่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน คือส่วนหนึ่งของการดำรงอยู่ทั้งหมด ซึ่งถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยสร้างสัมพันธ์ทางสังคมที่ทรงพลัง เด็กๆ เรียนรู้ว่ามันไม่ง่ายเสมอไปที่จะเอาของส่วนตัวของตนเองไปแบ่งให้คนอื่น คำกล่าวของ ชาว Lakota พูดกันว่า คนที่จะให้ของแก่คนอื่นๆ ควรจะมอบให้ไปโดยไม่หวงแหนจนใจเต้นผิดจังหวะ น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีตัวอย่างมากนัก ในเรื่องการให้ของแก่คนอื่นด้วยความใจกว้างอย่างเต็มเปรี่ยม ที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งล้วนยึดวัตถุนิยมเป็นส่วนใหญ่ ต้องการครอบครองของไว้ก่อน และมักสะสมสิ่งของ ที่เป็นเรื่องเดียวกันกับแนวคิดปัจเจกนิยม การนิยมวัตถุมากจนเกินไป และบริโภคนิยมที่โดดเด่นกล่าสังคมอื่นๆ
ความใจกว้างมีอยู่หลายรูปแบบ อาทิเช่น การเป็นคนใจเย็น เป็นคนรับฟังคนอื่น เป็นคนแบ่งปันรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ หรือแม้แต่การร้องไห้ ต่างก็เป็นของขวัญที่ทรงพลัง การขอโทษต่อคนที่เราทำให้เขาขุ่นเคืองก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความใจกว้างทั้งนั้น เพราะมันทำให้บุคคลหนึ่งๆ มีความอ่อนน้อยถ่อมตนยิ่งขึ้น สิ่งที่ทรังพลังยิ่งกว่านี้ก็คือ การให้อภัยแก่คนที่ทำร้ายให้เราเจ็บปวดได้ แต่ก็น่าเสียดายที่ “เรื่องความเห็นแก่คนอื่น” คือสิ่งที่ตรงกันข้ามกันจากวัฒนธรรมหลัก หรือ “Dominant Culture” ที่ล้วนมักจะเอารัดเอาเปรียบ และเห็นแก่ตัวด้วยความยึดติดอยู่กับวัตถุนิยม Four Arrows ได้นำเสนอแผนภาพเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงเด็ก และมอบการศึกษาให้กับเด็กๆ ในแบบที่พวกเขาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีหลักการที่ตั้งอยู่บนโลกทัศน์หลักของชนพื้นเมือง ดังนี้:
แผนภาพ วัฏจักรแห่งความกล้าหาญ หรือ “Circle of Courage” ซึ่งตั้งอยู่บนหลักปรัชญาพื้นฐานของการเติบโตที่สมบูรณ์ในวัยเด็กอยู่ 4 อย่าง ได้แก่ ความใจกว้าง (Generosity) การเป็นส่วนหนึ่งกับสิ่งอื่น (Belonging) ความรอบรู้เชี่ยวชาญ (Mastery) และความเป็นอิสระ (Independence) คือผลงานของ Martin Brokenleg ที่เป็นผู้ร่วมเขียนในหนังสือที่ชื่อว่า “Reclaiming Youth at Risk: Our Hope for the Future” ซึ่งเขียนขึ้นมาจากคติคำสอนดั้งเดิมของชนพื้นเมืองอเมริกันเพื่อความอยู่รอดและความมั่นคงของคนรุ่นใหม่ เรื่องความใจกว้างคือคำอธิบายทางสัญชาตญาณที่ลึกซึ้งต่อเรื่อง “การให้และการรับ” ที่บ่งบอกถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ตามธรรมชาติ Greg Cajete เห็นด้วยว่าการให้และการรับ ก็เหมือนเป็นจุดศูนย์กลางของพลังแห่งชีวิตไปในตัว ดวงจิตของชนพื้นเมือนจะสะท้อนถึงดวงจิตของธรรมชาติ ดังนั้นมันคือวิถีทางของชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อที่จะเลียนแบบหนทางของธรรมชาติด้วยวิธีการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมในชุมชมหนึ่งๆ
แม้ว่าความใจกว้างและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จะเป็นส่วนหนึ่งทางชีววิทยาของมนุษย์มาโดยกำเนิด แต่ถ้าขาดโลกทัศน์ที่ว่า โลกดำรงอยู่ด้วยความตระหนักรู้อย่างกลมกลืนในแบบของตัวเอง เขาคิดว่า อารยธรรมมนุษย์ที่คิดเป็นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์จากประวัติศาสตร์ทั้งหมดของมนุษย์เรา บางทีกลับสำคัญเหนือกว่าสัญชาตญาณโดยกำเนิดเช่นนี้ไปเสียแล้ว จากการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) มาหลายครั้ง เขามักพบว่าคำอธิบายลักษณะความใจกว้างที่เกิดขึ้นในระบบประสาทสมอง เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองที่สั่งการให้เกิดความใจกว้างออกไปเพื่อได้รับรางวัลบางอย่างเป็นการตอบแทน และสมองปฏิบัติการสั่งความใจกว้างในทางที่ผลักดันการกระทำในอนาคตด้วยความใจกว้างเพื่อจะได้รับรางวัลเพิ่มเติม แต่เขาก็ยังไม่แน่ใจกับบทสรุปเช่นนี้เลยจากงานศึกษาของประสาทวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย เพราะมันเป็นเพียงการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่คิดด้วยโลกทัศน์กระแสหลัก และพวกเขาก็ให้ความสำคัญจนเกินไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสมอง อีกอย่างก็ยังมีสัตว์ต่างๆ อีกมากมายที่ปฏิบัติตนด้วยความเห็นอกเห็นใจสัตว์ตัวอื่นๆ โดยไม่ได้รางวัลตอบแทน หรือมีการลงโทษเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ทั้งนี้เรื่องเล่าต่างๆ ของคนพื้นเมืองล้วนเกี่ยวข้องกับความใจกว้างของสัตว์ต่างๆ และจิตวิญญาณต่างๆ ที่เป็นผู้ตระเตรียมของกินของใช้ เสื้อผ้า และคำแนะนะไว้ให้พวกเราอยู่แล้ว
Darcia เล่าว่า การแสดงออกถึงความกล้าหาญสูงสุดก็คือ เมื่อตอนที่เด็กๆ เรียนรู้ที่จะแสดงความเมตตาต่อสิ่งอื่นและให้ความสำคัญทางญาติมิตร มากกว่าการครอบครองเป็นเจ้าของ การให้ความสำคัญกับเรื่องความสัมพันธ์กันกับผู้อื่นเริ่มต้นมากับประสบการณ์ช่วงแรกๆ ของชีวิต ดังนั้น พัฒนาการของเด็กๆ ที่สมบูรณ์แข็งแรง มักขึ้นอยู่กับความโอบอ้อมอารีและความใจกว้างของผู้ดูแลเด็กและสมาชิกในชุมชนที่มอบความใส่ใจให้กับเด็กๆ อย่างถ่อมตน การดูแลเอาใจใส่เด็กๆ เช่นนี้สอดคล้องกับสิ่งที่นักมานุษยวิทยาเรียกว่า “ต้องการความแบ่งปัน หรือ Demand sharing” ที่เป็นมุมมองโดยทั่วไปท่ามกลางกลุ่มคนล่าสัตว์และเก็บของป่าว่า ของกินของใช้ทั้งหมดคือของส่วนรวมที่ใช้ร่วมกัน “การแบ่งปันก็คือสิ่งที่ญาติมิตรปฏิบัติต่อกัน” พื้นฐานของความใจกว้างเช่นนี้ก็คือการเลียนแบบภาวะพึ่งพาซึ่งกันและกันในโลกธรรมชาตินั่นเอง!
เมื่อแนวคิดของทุนนิยมเข้ามาครอบครองหลักการทางการเมือง ก็โน้มน้าวผู้คนส่วนใหญ่ให้อยากเริ่มต้นกับความร่ำรวย เช่น ผู้คนมักคิดว่ามันคือเรื่องดีที่เป็นคนเห็นแก่ตัว ผู้คนในสังคมโดยส่วนใหญ่มักโดนบอกว่า พวกเขาเองก็เป็นมหาเศรษฐีได้เหมือนกัน ถ้าพยายามให้หนักขึ้น คล้ายๆ กับที่ศาสนาคริสต์ให้คำมั่นสัญญาทางขึ้นสวรรค์ ที่คุณแค่ต้องเชื่อมั่นและต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎเท่านั้น กรอบความคิดเรื่องความขาดแคลน หรือ “Scarcity Mindset” ที่ระบบทุนนิยมโฆษณาไว้นั้น มันจึงทำให้คุณคิดเสมอว่าทุกคนอื่นคือคู่แข่งขันของคุณไปซะหมด!
ศาสนาที่เก่าแก่ดั้งเดิมและมีความใกล้เคียงกับรากฐานความเชื่อของชนเผ่าพื้นเมืองก็คือ ศาสนาฮินดู ที่มีความเชื่อทางจิตและความรู้สึกปรากฏอยู่ในทุกสิ่งมีชีวิต ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่ Four Arrows เรียกว่าเป็น“Pet Theory” ที่ว่าทุกศาสนาที่ตั้งขึ้นมาล้วนมีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายกันกับโลกทัศน์ดั้งเดิมของชนเผ่าพื้นเมืองทั้งนั้น! ทฤษฎีนี้ชี้ว่าศาสนาต่างๆ ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดการกับความเหี้ยมโหดของเหล่าชนชั้นใหถูกต้อง และจัดการกับการสูญเสียความเท่าเทียมกันของความเป็นมนุษย์ และการสูญเสียแนวคิดที่ได้มาจากธรรมชาติ (Nature-based thinking) โลกทัศน์ของชนพื้นเมืองจึงเป็นเหมือนตัวเตรียมการปกป้องสิ่งเหล่านั้นดังกล่าวไป เป็นหลักการล่วงรู้ถึงความเป็นไปได้ต่างๆ และไม่มีประสบการณ์ชีวิตที่ตั้งอยู่บนความโลภมากและการแบ่งงานกันทำ แต่ในโลกทัศน์ของศาสนาต่างๆ เมื่อเวลาผ่านไปกลับถูกปรับปรุงผ่านทางระบบการเมือง และธรรมเนียมปฏิบัติทางสังคม ที่มาเปลี่ยนหลักความเชื่อดั้งเดิมไปจากความตั้งใจแรกเริ่มของศาสนาต่างๆ ไป
ถ้าความใจกว้างคือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากธรรมชาติ และบาบาทของพวกเราในจุดนั้น ตามที่เขาเองก็เชื่อเช่นนั้น มุมมองทางโลกของชนพื้นเมืองจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการย้อนกลับคืนมาดำเนินชีวิตด้วยความใจกว้าง
“และศาสนาโลกต่างๆ ที่จริงก็ต่างกันมากอยู่กับหลักความเชื่อของชนพื้นเมือง เพราะส่วนใหญ่แล้ว ศาสนาโลกมุ่งเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเจ้า ส่วนความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่าพื้นเมืองมุ่งเป็นหนึ่งเดียวกันกับโลกธรรมชาติและจิตวิญญาณของโลก” นี่คือจุดที่ต่างกันโดยชัดเจน!
การแบ่งแยกความคิดออกจาก หัวใจ การดำรงอยู่ การมีชีวิตอยู่ และการแบ่งแยกความศรัทธาส่วนตนออกไปจากชุมชนชีวิตในโลก คือลักษณะเด่นของโบสถ์ทางตะวันตกและวัฒนธรรมตะวันตก ผลลัพธ์ที่ชาวตะวันตกได้รับจากการแบ่งแยก หัวใจและความสัมพันธ์กันในชุมชนชีวิตเช่นนี้ อาจเป็นตัวการหลักที่ส่งผลให้ผู้คนกลายมาเป็นผู้ที่ชอบเข้าครอบครองทุกสิ่งอื่น และกลืนกินพลังชีวิตที่ตรงกันข้ามกับความใจกว้าง!
มันจึงช่วยได้ที่เราจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า ชีวิตของพวกเราล้วนเติมเต็มไปด้วยของขวัญจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นญาติมิตรของพวกเรา เช่น อากาศที่เราหายใจ น้ำที่เราดื่ม พืชผักสำหรับอาหารแต่ละมื้อของพวกเรา ผืนดิน น้ำฝน แสงแดด ที่เป็นผู้ทำให้พืชพรรณเติบโต เหล่าแมลงผู้เป็นนักผสมเกสรที่ช่วยให้พืชผักออกผล พืชพรรณต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงฝูงสัตว์ที่เป็นอาหารของเรา และสัตว์ต่างๆ ที่มอบชีวิตของพวกเขาให้กับชีวิตของเรา เป็นต้น เราสามารถสร้างอุปนิสัยด้วยการทำให้ดีเพิ่มขึ้นและไม่ทำลายความเป็นอยู่ที่ดีของทุกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้ นี่คือการกระทำของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่!
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 19 คือ “Laws of Nature as Highest Rules for Living, WINONA LADUKE (OJIBWE)”
Winona Laduke เล่าผ่านตัวบทนี้ว่า นี่คือคำสอนที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดของชนเผ่าพื้นเมืองของพวกเรา นั่นก็คือ “กฎแห่งธรรมชาติคือกฎที่สูงสุด” และมันคงจะโง่เขลามากที่จะไปค้าหนวิธีการที่จะเอาชนะกฎแห่งธรรมชาติให้ได้ คุณอาจจะปรับเปลี่ยน สร้างขีดจำกัดและลองเสี่ยงกับหลายอย่างได้ แต่ในท้ายที่สุดมันก็จะจบลงบนความจริงที่ว่า ทั้งคุณและฉันต่างก็ดื่มน้ำ หายใจเอาอากาศเดียวกัน และเราต่างก็อาศัยอยู่บนโลกใบนี้! ดังนั้นเราจะพูดอะไรก็ได้ในใจของมนุษย์ตัวน้อยๆ นี้ แต่โดยภาพรวมแล้วมันคือกฎแห่งธรรมชาติที่ชนะในสุดท้าย ชนพื้นเมืองล้วนเดินตามรอยเดียวกันกับทุกสรรพสิ่ง เราอาศัยอยู่ที่นี่ทั้งหมด ดังนั้นเราจึงบอกสอนกันมาตลอดว่า กฎแห่งธรรมชาติคือกฎที่สูงสุดเหนือกฎต่างๆ ที่รัฐชาติและนครเมืองต่างๆ ที่พึ่งจัดตั้งขึ้นมา เราจะรู้ได้อย่างไรว่า กฎแห่งธรรมชาติคืออะไร? องค์ความรู้หลักๆ ของชนพื้นเมืองเรามีอยู่ สองอย่าง ได้แก่:
- องค์ความรู้ที่ได้รับมาจากถิ่นที่อยู่อาศัยจากรุ่นสู่รุ่น หรือ “Intergenerational Residency” ผ่านการเฝ้าสังเกตการณ์ทางธรรมชาติมาอย่างเนิ่นนาน กล่าวคือเป็นการสำรวจสิ่งมีชีวิตรอบตัวอย่างใกล้ชิดว่าพวกเขาดำรงอยู่กันอย่างไร นี่คือวิธีการที่ดีมากเพื่อจะได้รู้ว่ากฎแห่งธรรมชาติคืออะไร
- องค์ความรู้ทางจิตวิญญาณ หรือ “Spiritual knowledge” ผ่านการฝึกฝนทางจิตวิญญาณตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
Darcia จากที่ Laduke เขียนว่าหนทางหนึ่งสำหรับเรียนรู้เรื่องกฎแห่งธรรมชาติ คือ “องค์ความรู้ที่ได้รับมาจากถิ่นที่อยู่อาศัยจากรุ่นสู่รุ่น” ผ่านการเรียนรู้เฉพาะพื้นที่ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเรา ก็อาจจะต่างไปจากพื้นที่อื่นๆ จึงเกิดเป็นองค์ความรู้ของแต่ละท้องถิ่นตามมานั่นเอง เราทั้งหลายจะต้องมีวิธีการเฉพาะตัวในการสัมผัสรับรู้เรื่องราวเช่นนี้ วิธีแนะนำก็คือ ให้หาต้นพืช เชื่อมโยงกับต้นพืช และการสัมผัสรับรู้ของคุณก็จะเริ่มต้นขึ้น จากนั้นคำเปรียบเทียบของคุณก็จะเริ่มต้นขึ้นเองด้วย และสถานที่แห่งนั้นๆ ก็จะกลายมาเป็นจริยธรรมต่อภูมิทัศน์ของคุณเองด้วยเช่นกัน
ผู้คนที่เติบโตมากับโลกกระทัศน์กระแสหลัก ต่างก็ไม่ถูกสอนให้ความสำคัญในเรื่องกฎแห่งธรรมชาติ เพราะพวกเขาขาดศีลธรรมที่เกิดขึ้นมาจากที่อยู่อาศัยของพวกเขาเอง มันจึงไม่ใช่เพียงแค่เหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ขาดหลักศีลธรรม แต่กับผู้มีมนุษยธรรมด้วยเช่นกัน ปัญหาทั่วๆ ไปของผู้มีการศึกษาชาวตะวันตกที่เดินทางไปยังกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยกว่า ก็คือ พวกเขาถือสิทธิ์ว่ามันคือหน้าที่ของชาวผิวชาวที่ต้องไปจัดการเรื่องภายในของคนอื่นๆ ที่ด้อยพัฒนากว่า หรือที่เรียกว่า “White’s man burden” ที่ซึ่งปกติแล้วมักจะก่อความเสียหายมากกว่าการช่วยเหลือ David Korten (นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวอเมริกัน) ชี้ให้เห็นว่า สังคมชาวตะวันตกได้บีบบังคับการพัฒนาทางเศรษฐกิจไปสู่ทุกสังคมอื่นทั่วโลก ด้วยการแลกมากับความเสียหายต่อความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยา ทางจิตวิญญาณ และสุขภาพทางกายอีกด้วย!
Four Arrows ตั้งคำถามเสริมขึ้นว่า แล้วเราจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากกลุ่มคนที่มุ่งเน้นการสอนเกี่ยวกับการศึกษาอย่างอิสระที่ไร้การครอบงำ? หรือ “Decolonizing Education” เขาเองก็รู้จักกับสมาชิกตัวยงของชนพื้นเมืองที่โดนครอบงำ และไม่ตระหนักรู้ถึงกฎแห่งธรรมชาติเช่นเดียวกับชาวผิวขาว เราจะต้องจำจดได้เสมอว่า ในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกันอินเดียน และชนพื้นเมืองชาว Alaskan Natives ต่างก็ถูกสอนด้วยหลักสูตรที่โดนครอบงำและจากครูที่โดนครอบงำมาด้วยเช่นกัน เขาจึงคิดว่าทางออกก็คือ การนำเสนอโลกทัศน์ของชนเผ่าพื้นเมืองให้กับชาวโลกให้เยอะมากสุดเท่าที่จะทำได้ จากรายงานในปี “The 2019 United Nations Global Assessment Report on Biodiversity and Ecosystem Services” บ่งชี้ไว้ว่าโลกทัศนของชนพื้นเมืองมีความสำคัญมากต่อการนำเอาความสมดุลของระบบชีวิตกลับคืนมาได้อีกครั้ง การเคลื่อนไหวด้วยการศึกษาแบบ “Decolonizing” กำลังมีเพิ่มสูงขึ้น เสียงสะท้อนของชนพื้นเมืองก็กำลังได้รับการรับฟังมากขึ้น เขาได้รับจดหมายจากหลายต่อคนคนทั่วโลกที่ส่งเข้ามาว่า “ข้อมูลที่พวกเขาได้เรียนรู้ผ่านหนังสือเล่มนี้ได้ปรับเปลี่ยนโลกทัศน์และตัวตนของพวกเขาเยอะมาก”
เพื่อที่ให้เกียรติกฎแห่งธรรมชาติขึ้นเป็นกฎสูงสุดสำหรับการดำรงชีวิต เราจะต้องผลักดันโลกทัศน์ของชนพื้นเมืองดั้งเดิมให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ยังคงดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับกฎแห่งธรรมชาติอยู่ เราจะต้องเรียนรู้ที่จะรับฟังต้นพืชและสัตว์ต่างๆ กันอีกครั้ง เราต้องหันมาสัมผัสกับสายลม และให้เกียรติผืนน้ำ รอบๆ ตัวพวกเรา มันใช้เวลาไม่นานเลยจริงๆ จนกว่า “กฎแห่งธรรมชาติ” จะเริ่มพูดคุยส่งเสียงถึงพวกเราอีกครั้ง! พวกเราทั้งหมดต่างก็อยู่ภายใต้กฎทางธรรมชาติ และกฎต่างๆ ของพระแม่ธรรมชาติ (Mother Earth’s laws) เหล่านี้ล้วนประกอบไปด้วยการมีส่วนร่วมในวัฏจักรของชีวิต เมื่อเราทุกคนทั้งหมดตายไปแล้ว เราก็เพียงเกิดเป็นชีวิตใหม่ สังคมที่ยึดเอาเพศแม่เป็นศูนย์กลาง หรือ “Matrifocal societies” ด้วยแนวคิดที่ทุกชีวิตเป็นญาติมิตรกันล้วนปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ แต่ในสังคมที่ชายเป็นใหญ่ ล้วนต่อต้านการปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ โดยการสร้างโลกทัศน์ที่เป็นเส้นทางเดียว ที่ถูกใช้โดยการเติบโตอย่างไม่สิ้นสุดของระบบทุนนิยม ซึ่งมีแต่จะนำพาพวกเราทั้งหมดไปสู่ภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศอยู่เรื่อยไป!
อะไรที่ผิดพลาดมาตลอดในวัฒนธรรมเดียวของมนุษย์ (One human culture) ที่ได้กลืนกินทุกอย่างและทำลายชุมชนชีวิตของโลกไป? ทำไมถึงมีแค่มนุษย์เท่านั้นที่กระทำตนราวกับว่ามีแค่มนุษย์เท่านั้นที่ควรอยู่บนโลกนี้? คำตอบที่เขาคิดก็คือ ส่วนหนึ่งมันเป็นเพราะว่า ความผิดปกติในการเลี้ยงดูใน หรือขาดการเลี้ยงดูในชีวิตช่วงแรกๆ จากการมีความผูกพันธ์กับแม่และสิ่งอื่นๆ ที่ฝังลึกอยู่ในโลกธรรมชาติ ของสังคมต่างๆ ที่เป็น “Industrial-Colonialist-Capitalist” เหมือนในสังคมสหรัฐฯ ที่มีความล้มเหลวใหญ่มาก ในการเชื่อมโยงกับโลกอย่างต่อเนื่องของเด็กๆ ที่บ่อยครั้งโดนบีบบังคับด้วยวัฒนธรรมและการใช้อำนาจต่างๆ ควบคุม
โลกทัศน์ของชนพื้นเมืองแสดงให้เราได้เห็นว่ามันมีการแบ่งแยกตัวตนอยู่ 3 แบบในสังคมดังกล่าว ได้แก่ การแยกออกจากตัวเอง การแยกออกจากความสัมพันธ์ทางสังคม และการแยกตัวเองออกจากธรรมชาติ Four Arrows เชื่อว่า “Split from self” ตามที่ Darcia กล่าวถึงมันคือผลลัพธ์ของการที่มนุษย์แยกตนเองออกไปจากธรรมชาติ ตามที่กล่าวไปหลายครั้งกับคำกล่าวอันคมคายต่างๆ ที่เปิดเผยผ่านหลายๆ ตัวบทไว้ด้วยว่า “เราคือธรรมชาติ เราคือท้องฟ้า มหาสมุทร และสายลม จิตใจของพวกเราและจิตใจของพระแม่ธรรมชาติมิอาจแยกออกจากกันได้” เราขาดธรรมชาติไม่ได้เหมือนกับที่ธรรมชาติก็ขาดเราไม่ได้เช่นกัน!
การสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติคือวิถีชีวิตและความเชื่อของชนเผ่าพื้นเมืองในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แน่นอนว่าภาษาของชนพื้นเมืองตามที่เขาได้เรียนรู้มา ต่างก็ไม่มีคำศัพท์สำหรับคำว่า “ศาสนา” และก็ไม่มีคำว่า “ธรรมชาติ” หรือ “สิ่งแวดล้อม” อีกด้วย เขาชี้แนะว่า โดยปกแล้วคำศัพท์เหล่านี้ถูกใช้ในภาษาที่โลกทัศน์กระแสหลักชี้นำให้ใช้ รวมถึงวิธีการเข้าครอบครองก็มักใช้คำเหล่านี้เช่นกัน
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 20 คือ “Becoming Fully Human, GREG CAJETE (TEWA, SANTA CLARA PUEBLO)”
Greg Cajete ได้แบ่งปันเรื่องราวที่ว่า “การกลายมนุษย์ที่สมบูรณ์” เกี่ยวข้องอยู่กับวิธีการใช้ภาษาและความคิด เขาเล่าว่า ภาษาและบทเพลงคือรูปแบบหนึ่งของลมหายใจที่สร้างพื้นฐานสำหรับการพูดคุยสื่อสาร ภาษาคือการอธิบายถึงความศักดิ์สิทธิ์ เพราะมันประกอบไปด้วยพลังที่อธิบายความนึกคิด ความรู้สึกของมนุษย์ และผลกระทบทางอารมณ์ต่อผู้อื่น สำหรับชนพื้นเมืออเมริกัน (American Indians) สิ่งที่เรียกว่า “การศึกษา” ในปัจจุบัน ที่ยึดจากเดิมทีแล้วการศึกศึกษาก็คือ การออกเดินทางเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในขณะที่ดำรงอยู่ด้วยความสัมพันธ์กันกับจักรวาล การเรียนรู้ถึงธรรมชาติของดวงวิญญาณที่ตั้งเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ถึงความหมายโดยรวมของชีวิต เป้าหมายการดำรงชีวิตของชนพื้นเมืองอเมริกันที่ว่า “การใช้ชีวิตที่ดี” ก็คือต้องการคิดด้วยความคิดขั้นสูงสุดเสมอ การเปรียบเทียบกรอบงานเช่นนี้ละเอียดอ่อนมาก และเป็นรากศัพท์ของคำสำคัญต่างๆ อีกด้วย อาทิ community-based หรือ Spiritual education เป็นต้น
ซึ่งในแต่ละชุมชน และประเพณีของชุมชนนั้นๆ ล้วนใช้วิธีการเหล่านี้เป็นแรงผลักดันเรื่องวิถีทางของชีวิตและคุณภาพของความคิด การคิดขั้นสูงสุด หรือ “Thinking the highest thought” หมายถึง การคิดของใครคนหนึ่งในชุมชนหนึ่งๆ และของสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ ที่เต็มไปด้วยแก่นแท้ทางจิตวิญญาณด้วยความเคารพ และด้วยความเมตตาการุณมากที่สุด มันคือหนทางในการมีชีวิตที่ดี ที่เต็มไปด้วยการนับถือทางจิตวิญญาณและพลังของความเป็นหนึ่งเดียวกันกับทุกสรรพสิ่ง การเรียนรู้ของชนพื้นเมืองอเมริกันเกี่ยวข้องกับการเติบโตของ ตัวตน หรือ “The self” ในทางที่เป็นองค์รวมมากกว่า การเรียนรู้โดยทั่วไปในวัฒนธรรมหลัก หรือ “Dominant culture” ด้วยแนวคิดของการเชื่อมโยงถึงกันไว้ในใจ การเรียนรู้จึงไม่ได้เน้นอยู่กับแค่การพัฒนาตัวเองเท่านั้นตามที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ผ่านโรงเรียน ผ่างองค์ความรู้ที่เป็นทฤษฎีและความจริงทางตรรกวิทยา ซึ่งการมุ่งเรียนรู้ด้วยวิธีนี้กลับไร้ประโยชน์ต่อสิ่งที่Cajete กล่าวถึงวิถีของการกลายมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แต่เขาพิจารณาว่าการเรียนรู้ว่ามันคือ กระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตในชุมชมที่จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของแต่ละคนในชุมชนที่ถือว่าเป็นพลังสำคัญต่างๆ ทางจิตวิญญาณ
Four Arrows ได้ยกคำกล่าวของ David Thoreau (นักปรัชญาและนักจิตวิทยาชาวตะวันตก) ที่บอกว่า ภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองมีการประดิษฐ์ประดอยน้อยกว่าภาษาอังกฤษ ภาษาพื้นเมืองเกิดขึ้นมาจากโลกธรรมชาติ และภาษาของชาวยุโรปเกิดขึ้นมาจากโลกของสังคมมนุษย์ที่แบ่งแยกตนออกจากธรรมชาติ!
Darcia สะท้อนตอบกลับว่า ภูมิปัญญาของคนพื้นเมืองคือความเหมาะสมทางวัฒนธรรม และยังถูกนำมาเสนอเป็นทฤษฎีแบบใหม่ในวัฒนธรรมหลัก ตามที่ Tadodaho Chief Leon Shenandoah พูดไว้ว่าสิ่งที่ผิดแปลกต่อโลกในยุคสมัยนี้ก็คือผู้คนไม่มีคติคำสอนอีกต่อไป และชนพื้นเมืองของพวกเราโดนบอกเอาไว้เมื่อ 300 ปีก่อนว่า ผู้คนจะเข้ามาหาพวกเรา และขอเรียนรู้เรื่องคติคำสอนของพวกเรา ในศตวรรษที่ 17 พวกเราโดนบอกไว้ว่า มันจะมีวันหนึ่งที่ชาวผิวขาวจะเข้ามาหาพวกเรา เพื่อมาขอเรียนรู้คติคำสอนดั้งเดิมต่างๆ และเข้ามาค้นหาวิถีแห่งความคิดของพวกเรา!
ภาษาตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ “Western Indo-European languages” จะเน้นการใช้คำนามที่ทำให้พวกเรามองชีวิตแบบไม่เคลื่อนไหว จึงทำให้โลกดูเหมือนเป็นเพียงวัตถุที่เราจัดการได้ ในขณะที่ภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองโดยทั่วไปจะเน้นใช้คำกริยา ที่บ่งบอกถึงความทรงพลังของทุกสิ่งมีชีวิตที่ดำรงอยู่บนโลกใบนี้ เมื่อเขาถามกับ Shenandoah ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนนั้นคือมนุษย์? เขาตอบว่า“คุณก็แค่ดูออกนะ” เขารู้จักผู้สรรค์สร้าง เพราะพวกเขาทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นเสมอ และพวกเขาย่างเท้าอย่างเบาๆ ลงบนพระแม่ธรรมชาติ พวกเขาไม่เหลือร่องลอยอะไรไว้ให้เห็นด้วยซ้ำ! พอพูดถึงความเป็นมนุษย์ ผู้คนส่วนใหญ่มักกำลังพูดถึงเรื่องทางวิวัฒนาการของมนุษย์สายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ หรือมักกล่าวถึงลักษณะเฉพาะตามความเป็นจริง เช่นทางอารมณ์ความรู้สึก อย่างไรก็ตามที เขาบอกว่าทั้งหมดที่พวกเราจะต้องทำกันก็คือ เพียงแค่มองออกไปรอบๆ ตัวเราว่า เราต่างทำอะไรต่อกันและกันบ้างในตอนนี้ และเราทำอะไรต่อพระแม่ธรรมชาติกันบ้าง เพื่อจดจำได้ว่าเราได้หลงลืมความเป็นมนุษย์ไปเสียแล้วหรือยัง!
สำหรับชนพื้นเมืองนี่คือการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับคติพจน์ต่างๆ ที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้ เช่นจากตัวอย่างของ ชาว Lakota ที่พูดกันว่าในการที่จะเป็นมุนษย์ เราจะต้องเรียนรู้ถึงแก่นแท้ของความจริงและฝึกปฏิบัติตนด้วยคุณงามความดีต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ อาทิ ท่องคาถา จริงใจ ถ่อมตน มีเมตตากรุณา เคารพ ใจกว้าง และมีภูมิปัญญา!
ตามที่นักทำนายชนพื้นเมือง ชาว Hopi และ ชาว Maya เล่าผ่านตำนานและคำพยากรณ์ต่างๆ ที่ว่า อะไรที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกของเราในวันนี้ ย่อมเคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว เมื่อตอนที่มนุษย์หลงลืมไปว่าพวกเขาคือใคร และเมื่อตอนที่พวกเขาใช้อำนาจพิเศษโดยไม่เคารพเกรงกลัวกฎแห่งธรรมชาติ กล่าวคือพวกเขาพัฒนาอำนาจสำหรับตัวเองเพื่อทำอะไรกับโลกก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องทางจิตวิญญาณ ไม่มีความสมดุล ไร้ขีดจำกัด อาทิ หมกหม่นกับเล่นพนันและเงินตรา ชอบต่อสู้และขัดแย้งกัน มักโต้เถียงคัดค้านกันและทำลายซึ่งกันและกัน ไม่หยุดหย่อน ไม่จริงใจต่อกัน และไม่แก้ไขปรับปรุงอะไรขึ้นใหม่เลย เป็นต้น
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 23 คือ “Connection to the Land,ENRIQUE SALMÓN (RARÁMURI-TARAHUMARA)”
Enrique Salmon ได้แบ่งปันเชาวน์ปัญญาของชนพื้นเมือง ชาว RARÁMURI ที่เชื่อว่าพวกเขาดำรงอยู่อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกับทุกสิ่งมีชีวิต ทั้งทางกายภาพ ทางสังคม ทางสุขภาพจิต และทางจิตวิญญาณ ของพวกเขาล้วนขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำรงอยู่อย่างสอดคล้องงกลืมกลืนกับโลกธรรมชาติ เรื่องอัตลักษณ์ ภาษา แหล่งที่อยู่อาศัย ความเชื่อ และประวัติศาสตร์ของชนเผ่าพื้นเมือง ล้วนเป็นคุณลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมที่เป็นตัวกำหนดและแสดงถึง สุขภาพของมนุษย์และสุขภาพของโลกธรรมชาติ มันคือเรื่องที่พวกเข้าความเข้าใจแล้วว่า ใครคนหนึ่งที่ทำร้ายธรรมชาติ เขาคนนั้นก็ย่อมทำลายตัวเองไปด้วยเช่นกัน!
เรื่อง “Land-based” คือศูนย์กลางที่สำคัญยิ่งในเรื่องเล่าทางตำนานเกือบจะทั้งหมดของชนเผ่าพื้นเมือง เรื่องเล่าเหล่านี้มักกล่าวถึงการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับผืนแผ่นดินนั้นๆ การยกให้ที่อยู่อาศัยเป็นฐานหลัก เป็นที่สร้างความสัมพันธ์ต่อกันและกัน ดังนั้น ทุกสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยูในพื้นที่ทางวัฒนธรรมก็เป็นเครือญาติโดยตรงกับวัฒนธรรมนั้นๆ ไปในตัว! ด้วยความตระหนักรู้ที่ว่า ลมหายใจของคนหนึ่งถูกแบ่งปันให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเราทั้งหมด ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะปรากฏตัวขึ้นได้ในโลกใบนี้ ย่อมเป็นผลมาจากสิ่งมีชีวิตอีกส่วนที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ย่อมมีความรับผิดชอบต่อความอยู่รอดของชีวิตอื่นๆที่เข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกันอีกด้วย มันจึงชัดเจนมากว่า ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาล้วนส่งผลถึงตัวคุณ ที่พวกเขาล้วนเป็นญาติมิตรกับคุณ และกับมวลมนุษย์ทั้งหมด ความสัมพันธ์กันเช่นนี้เกิดขึ้นเหมือนกันในครอบครัวของชนเผ่าหนึ่งๆ มันคือการฝึกฝนทางวัฒนธรรมด้วยการดำรงอยู่กับที่ดินสักแห่ง ที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดของเรื่องเครือญาติทางนิเวศวิทยา หรือ “Kincentic Ecology”
Dr. Enrique Salmon (เป็นทั้ง Ethnobotanist และ Educator) ของชนพื้นเมือง ชาว Raramuri ยังเขียนหนังสือเล่มหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า Eating the Landscape: American Indian Stories of Food and Resilience ซึ่งเขียนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของแหล่งอาหารว่า ระบบอาหารล้วนเชื่อมโยงกับทุกส่วนและเป็นกระบวนการของความยั่งยืนทางชีวะวัฒนธรรม หรือ “Bioculture” ที่ประกอบไปด้วยการแสดงออกทางวัฒนธรรมและการใช้พื้นที่ต่างๆ เพื่อการอยู่อาศัย
Four Arrows บอกต่อว่าถ้อยคำของ Enrique Salmon ได้เปิดเผยถึงสิ่งที่เขาเชื่อว่า มันคือทางออกเดียวของพวกเรา นั่นก็คือการให้ความสำคัญของการพึ่งพากันระหว่างสิ่งมีชีวิตสปีซีส์ต่างๆ หรือ “Interspecies” และ “Kincentrism” หรือ การมองเห็นทุกชีวิตอื่นเป็นเครือญาติกันที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงกัน อย่าง ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ และสัตว์ต่างๆ ล้วนมีจิตวิญญาณและดำรงอยู่อย่างสงบสุข โดยมิแบ่งแยกระหว่างมนุษย์และสิ่งอื่นๆ ออกจากกัน
Darcia สะท้อนว่าคำกล่าวเหล่านี้ช่างทรงพลังเหลือเกิน! จากงานศึกษาวิจัยของเธอก็ได้เปิดเผยออกมาแล้วว่า เด็กๆ เรียนรู้มาตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของชีวิตว่าเส้นทางไหนที่พวกเขาจะเติบโตไปตอนเป็นผู้ใหญ่ หากไม่มีความรู้สึกของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน และไม่มีการเคารพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติอย่างที่เด็กๆ ชาว ชาว Raramuri มีกัน เรื่องความเหินห่างต่างถิ่น และความไม่เชื่อใจกันกับที่ดินในวัฒนธรรมหลักจึงปรากฏขึ้น เช่น จากวิธีการเลี้ยงลูกของคนที่ไม่ใช่คนพื้นเมืองอเมริกันในสังคมสหรัฐฯ ว่า บรรดาแม่ๆ มักจะเอาของเล่นมากมายมาให้ลูกเด็กเล่น และไม่อนุญาตให้ลูกอยู่ในพื้นที่แปลกๆ หรือต่างถิ่นไม่ปลอดภัย แถมยังมองว่าทุกสิ่งอย่างข้างนอกนั่นสกปรก ห้ามลูกแตะต้อง แต่หลานๆ ของเธอในทางตรงกันข้ามที่เป็นเด็กคนพื้นเมือง มักได้เปิดโอกาสสัมผัส ลิ้มรส และเสาะหาพื้นที่ใหม่ๆ ที่ทำให้เด็กๆ รู้สึกเบิกบานใจ “ลูกเด็กของชาวอเมริกันถูกสอนให้เผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมของพวกเขา ส่วนเด็กๆ ของชนพื้นเมืองโดนนำพาออกไปดูว่าโลกนี้ประกอบขึ้นด้วยสิ่งใดบ้าง” ชาวอเมริกันพาลูกๆ ออกไปเจอกับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่ชนเผ่าพื้นเมืองพาลูกๆ ออกไปเจอกับสถานที่ต่างๆ ที่น่าสนใจเพื่อลูกๆ จะได้รู้จักกับพื้นที่นั้นๆ อย่างใกล้ชิด ถ้าคุณโดนเลี้ยงดูมาในสภาพที่ว่า “ธรรมชาติคือสิ่งอันตราย” มาตั้งแต่แรก ก็จะใช้ความพยายามเยอะอยู่กว่าจะหลุดออจากนิสัยที่ทะนงตัวและขี้กลัวได้!
Four Arrows ได้ตั้งคำถามที่สำคัญมากๆ ต่อเรื่องนี้ว่า เราจะเปลี่ยนแปลงวิธีการเลี้ยงลูกเด็กเช่นนี้กันได้อย่างไร? เพราะเด็กๆ ที่อาศัยและเติบโตมาในเมืองใหญ่ จะไม่ค่อยมีโอกาสได้มองเห็นดวงดาวบนท้องฟ้าเท่าไหร่ แม้พวกเขาอยากจะเห็นก็ตามที นกฮูกขาวในป่าใหญ่ก็หาดูได้ยากสำหรับเด็กอ่อนส่วนใหญ่ การเชื่อมโยง หรือการมีส่วนร่วมกับธรรมชาติอาจจะเริ่มต้นได้กับการมีความรู้สึกพิศวง แต่ในท้ายที่สุดมันก็คือ ความสัมพันธ์กันที่สำคัญสุด! Salmon พูดว่าชนเผ่า ชาว RARÁMURI ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเม็กซิโก เข้าใจธรรมชาติที่ไม่ใช่เพียงสถานที่ที่น่าพิศวง แต่มันเป็นสถานที่ที่คุ้นเคยกันอย่างใกล้ชิด และมันคือสิ่งที่นำไปสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์ และความสมบูรณ์ของโลกธรรมชาติด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้ว คำถามสำหรับพวกเราทุกคนทั่วโลกก็คือ เราจะทำอย่างไรบ้างกับเด็กๆ “เพื่อที่พวกเขาจะได้เติบโตมากับประสบการณ์ที่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติมาตั้งแต่แรกเกิด และดำเนินต่อไปตลอดช่วงชีวิตของพวกเขาได้?”
ความเป็นผืนป่าในโลกธรรมชาติ (The wild natural world) คือโรงเรียนอันแท้จริงสำหรับทุกช่วงอายุ แต่มันต้องมีผู้นำทาง อาจจะเป็นคนจากครอบครัวและคนในชุมชนนั้นๆ เพื่อพัฒนาการของเด็กและการหล่อเลี้ยงที่จะติดตัวไปตลอดได้ ที่น่าคิดตามก็คือ แล้ว เด็กๆ ในยุคนี้จะออกไปเรียนรู้ เพื่อรู้สึกเชื่อมโยงกับที่ดินได้อย่างไร เพราะแม้แต่จะออกจากบ้านก็ไม่ได้แล้ว เพราะสังคมข้างนอกนั่นรู้สึกไม่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา! หรือแม้แต่กับการได้สัมผัสกับความน่าพิศวง ผู้ใหญ่จำเป็นที่จะต้องรู้สึกปลอดภัยในภูมิทัศน์นั้นๆ ด้วย และส่งต่อความรู้สึกเช่นนั้นไปให้กับเด็กๆ อีกที เพื่อว่าพวกเขาจะออกไปสำรวจสังคมข้างนอกได้ และเริ่มต้นเข้าสู่เส้นทางของการเชื่อมโยง ปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในทศวรรษล่าสุด ก็คือการสูญเสียพื้นที่ที่ยังไม่พัฒนาสำหรับให้ผู้คนออกไปสัมผัสเชื่อมโยง ซึ่งมันทำให้ระบบนิเวศโดยรวมตรึงเครียดไปด้วยเช่นกัน! เช่น พื้นที่เกษตรล้วนเคยมีพื้นที่รกร้างที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก แต่ตอนนี้ทุกอย่างโดนไถพรวน และปลูกเมล็ดพันธุ์ที่ตัดต่อพันธุกรรม ที่ดื้อยาฆ่าหญ้า และยาฆ่าหญ้านี้ก็ฆ่าทุกอย่างไปด้วย! แนวทางทั้งหมดของการปฏิวัติสีเขียว (Green revolution) คือผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับโลกทัศน์ของความเป็นญาติกันกับทุกสิ่งมีชีวิตทางนิเวศวิทยา หรือ “Kincentric Ecology”
หากเราต้องการมีประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับที่ดิน และเพื่อร่วมโลกที่นอกเหนือไปจากมนุษย์ ดูเหมือนว่าเราจำเป็นต้องร่วมเอาแนวคิดการศึกษาที่มุ่งเน้นไปทั้งตัวผู้ใหญ่และเด็กๆ เข้าไว้ด้วยกันเสมอว่า มนุษย์ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ และธรรมชาติก็ส่งผลนั้นกลับมาถึงตัวมนุษย์เช่นกัน!
เหมือนที่ Salmon พูดว่า ผู้คนในสังคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ดูเหมือนจะหลงลืม การพึ่งพากันและกันกับทุกอย่างอื่นของตนไปเสียแล้ว แม้ตามความจริงแล้ว ทั้งสุขภาพทางกาย สังคม และทางจิตของพวกเขาต่างก็ต้องพึ่งพาความสามารถที่จะดำรงอยู่ได้อย่างกลมกลืนกับโลกธรรมชาติ “วัฒนธรรมหลัก เป็นตัวการที่กำหนดให้พวกเราต่างก็หันมาดำรงอยู่แบบเฉื่อยชา และใช้ชีวิตแบบซ้ำซากจำเจเหมือนหุ่นยนต์!”
คติพจน์และโลกทัศน์ที่ 28 คือ “An Emphasis on Heart Wisdom, ILARION “LARRY” MERCULIEFF (UNANGAN)”
Larry Merculiff เขาได้เปิดเผยเรื่องราวของตนในวัย 6 ขวบด้วยการเรียนรู้และหยั่งรู้ได้ภายในใจ โดยไม่ต้องคิดด้วยหลักการใดๆ จนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งด้วยคติคำสอนทางจิตวิญญาณของชนพื้นเมือง ชาว Unangan ต่อหลักการดำเนินชีวิตต่างๆ อาทิ:
- การเคารพทุกชีวิตอื่น
- การให้เกียรติเชาวน์ปัญญาของผู้อาวุโส
- การให้โดยมิหวังผลตอบแทน
- คิดเผื่อคนอื่นก่อนเสมอ
หลักการทางจิตวิญญาณเหล่านี้ของมนุษย์ไม่ได้มาจาก เหตุผลหรือความคิด แต่มักได้มาจากแหล่งภูมิปัญญาที่สำคัญยิ่งกว่าตามที่ชาว ชาว Unangan อ้างถึงก็คือว่า “หัวใจ” ตอนที่ผู้อาวุโสพูดถึงเรื่องหัวใจ พวกเขาไม่ได้หมายถึงเพียงแค่เรื่องความรู้สึกเท่านั้น แม้จะเป็นความรู้สึกบวกและเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้ก็ตาม “หัวใจ” อ้างถึงสิ่งที่ลึกซึ้งยิ่งกว่า นั่นก็คือเรื่องความเกี่ยวข้องถึงกันและความตระหนักรู้รที่มีอยู่ระหว่างตัวมนุษย์และกับทุกสรรพชีวิตที่เหลืออยู่
“จุดศูนย์กลางของความเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นผลมาจาก ความสมถะเรียบง่าย ความเฉลียวฉลาด การดำรงอยู่ที่เชื่อมโยงติดกัน และการปฏิบัติตนในโลกธรรมชาติ”
ชนเผ่าพื้นเมืองได้สั่งสมประสบการณ์อันลึกซึ้งเช่นนี้มาจากความเข้าที่ว่า มนุษย์และธรรมชาติต่างก็พึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการที่จะเข้าถึงการหยั่งรู้เช่นนี้ได้ คุณจะต้องหยุดคิดด้วยจิตที่ไม่สงบไปทั้งหมด ที่ส่วนใหญ่มันมีอยู่ในจิตใจของชาวตะวันตก! ในตอนที่เข้าถึงจุดนี้ได้ เราก็จะได้สัมผัสกับภูมิปัญญาภายใน ที่เก็บพวกเราไว้กับความผูกพันธ์กันกับทุกชีวิตอื่น ดังนั้นความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเราในระยะยาวก็จะมั่นคงขึ้นได้ แต่ความน่ากลัวที่สุดของมันก็คือ จิตเป็นตัวสั่งการให้หัวใจว่าต้องทำอะไร แทนที่จิตจะเป็นตัวติดตามว่าหัวใจต้องการอะไร จิตโดยรวม (The total mind) เรียกว่า “หัวใจ”
“ตอนที่คุณเข้าถึงจุดที่หัวใจเป็นศูนย์กลาง คุณยังต้องกล้าหาญที่จะทำตามสิ่งที่หัวใจต้องการบอกคุณ บางครั้งก็เหมือนตอนกระโดดข้ามหน้าผา ที่เสี่ยงชีวิตสุดๆ แต่พอทำไปแล้ว คุณก็จะไม่เคยรู้สึกเสียดายมันเลย เมื่อเข้าถึง “หัวใจ” คุณได้เข้าไปสู่เส้นทางแห่งความตระหนักรู้เดียวกันกับเหล่านกต่างๆ และคุณจะสามารถเชื่อมโยงกับทุกสิ่งมีชีวิตได้อย่างลึกซึ้งและโดดเด่นเป็นที่สุด!”
Darcia ได้เปิดเผยในตัวบทนี้ว่าผู้เขียนทั้งสองได้ตั้งใจเก็บคติพจน์นี้ไว้เป็นตัวบทสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ เพราะพวกเขาคิดว่ามัยคือศูนย์กลางของคติพจน์ที่เป็นภูมิปัญญาด้วยหัวใจ สรุปแล้วก็คือว่าสังคมดั้งเดิมต่างๆ ทั้งหมด และศาสนาหลักๆ ต่างก็เน้นย้ำเรื่องความเฉลียวฉลาดของหัวใจ (Heart-Wisdom) การสัมผัสถึงความสงบอันลึกซึ้ง ตามที่ Larry Merculieff อธิบายนี้ หัวใจคือสิ่งที่บ่งบอกถึงตัวตนที่สามารถรับรู้และเกิดขึ้นในจังหวะเดียวกันกับพลังชีวิต
นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้พวกเราเห็นว่า การทำงานของหัวใจเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองซีกขวาเป็นอย่างดี (Right Hemisphere/RH) ในสมองที่สมบูรณ์แข็งแรง สมองซีกขวาจะเก็บรวบรวมประสบการณ์ต่างๆ ไว้แล้วค่อยส่งไปยังสมองซีกซ้าย (Left Hemisphere/LH) ที่เป็นตัวนำออกมาวิเคราะห์เพื่อระบุชุดคำสั่งการและทำการคาดการณ์และส่งกลับมาประมวลผลยังสมองซีกขวาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะนำเข้าสู่หน่วยสัญชาตญาณ และรวมเข้าไว้ด้วยกันให้เป็นประสบการณ์โดยรวมทั้งหมดก่อน
David Bohm ได้ถกเถียงเรื่องนี้ไว้ในหนังสือเล่มที่ชื่อว่า The Master and His Emissary: The Divided Brain and the Making of the Western World By Iain McGilchrist สภาวะโดยทั่วไปของผู้คนที่ดำรงอยู่ในสังคมต่างๆ ที่ปกครองโดยโลกทัศน์กระแสหลัก มีดังต่อไปนี้ ความรู้สึกที่แยกจากกันเป็นส่วนๆ อ่อนกำลัง ลดความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึมเศร้า แยกตัวออกจากสังคม รวมถึงการสูญเสียอารณ์ความรู้สึกร่วมกันกับคนอื่นสูงมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้สมองซีกซ้ายเยอะจนเกินไป และใช้สมองซีกขวาน้อยเกินไป ซึ่งส่วนมากก็เกิดมาจากพัฒนาการของสมองซักขวาไม่สมบูรณ์ นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหลักๆที่เราต้องปรับตัวมาหาโลกทัศน์ในแบบที่เป็นญาติมิตรกันของชนพื้นเมืองและนำมาฝึกปฏิบัติมากขึ้น สังเกตได้จากการที่ผู้เขียนมกเน้นย้ำเรื่อง การเลี้ยงลูก คือเรื่องที่สำคัญมากโดยเฉพาะในช่วงเดือนแรกๆ และช่วงปีแรกๆ เพื่อพัฒนาการของความสามารถพื้นฐานของมนุษย์ผ่านการเลี้ยงดูของแม่อย่างใส่ใจ เป็นผู้ช่วยให้ลูกเด็กจะได้มีพัฒนาการของสมองซีกขวาได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งมาด้วยกันกับการสัมผัสดูแลกับลูก การพูดคุยมองตากัน การแสดงออกทางสีหน้า และกระตุ้นการแลกเปลี่ยนอารมณ์กันและกัน แต่ในสังคมต่างๆ ที่ยึดปฏิบัติตามโลกทัศน์กระแสกหลัก การเลี้ยงดูลูกโดยส่วนใหญ่มักจะขาดการฝึกใช้สมองซีกขวา ซึ่งเกิดขึ้นมาในประสบการณ์ชีวิตช่วงแรกๆ
Four Arrows ได้นำเสนอทฤษฎีของเขาที่ตั้งอยู่บนฐานการเรียนรู้ของชนเผ่าพื้นเมืองฝึกปฏิบัติมาตลอดผ่านพิธีกรรม ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการปรับเปลี่ยนตัวเอง และการรักษาเยียวยาตนเอง ทฤษฎีนี้เรียกว่า (CAT-FAWN) หรือ “Concentration-Activated Transformation” (CAT) เป็นการเรียนรู้ด้วยการฝึกเข้าทรง และ “Fear, Authority, Word และ Nature” (FAWN) โลกทัศน์จากทั้งสี่อย่างนี้ตรงกันข้ามมากๆ กับมุมมองทางโลกของชนพื้นเมือง!
Darcia บอกว่าถ้าคุณไม่เติบโตมาในชุมชนที่ให้หัวใจเป็นศูนย์กลางและให้หัวใจนำทาง คุณจะต้องเริ่มต้นที่การใช้สมองซีกซ้ายให้น้อยลง ซึ่งเป็นสมองซีกที่เน้นเรื่องตรรกะเหตุผล การคิดวิเคราะห์ด้วยทฤษฎี และหันมาฝึกใช้สมองซีกกวาให้มากขึ้น เพื่อให้มีความสมดุลยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสมองซีกที่เน้นการคิดเชิงสร้างสรรค์ เน้นอารมณ์ความรู้สึก และได้ชุดความคิดแบบองค์รวม การที่เข้าเข้าสู่ภาวะนี้ได้ คุณจะต้องเปิดใจสู่ความงามและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสิ่งอื่นๆ และเข้าร่วมในจังหวะเดียวกันกับสิ่งนั้นๆ หยุดการแบ่งแยก และเชื่อมโยงตัวตนของเราบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่ใช้พลังงานชีวิตร่วมกันกับสิ่งอื่น เธอเชื่อว่าแก่นแท้ที่ต่างกันระหว่างสมองซีกขวาและซ้ายก็คือว่า “สมองซีกขวาจะใส่ใจผู้อื่น หรืออะไรก็ตามที่ปรากฎอยู่นอกเหนือไปจากตัวเอง ด้วยการมองตัวเองมีความเกี่ยวพันธ์กับสิ่งนั้นๆ อย่างลึกซึ้งไม่แบ่งแยก ส่วนสมองซีกซ้าย คือจะไม่ใส่ใจคนอื่นและสิ่งอื่น มักยึดมั่นอยู่กับตัวเองเป็นที่ตั้ง ในท้ายที่สุดก็แบ่งแยกตัวเองออกไปจากสิ่งอื่น แต่ก็สำคัญเช่นกัน ถือเป็นหนทางในการได้รู้จักกับตัวเอง”
ตอนที่ชาวตะวันตกอธิบายถึงเรื่อง ความซื่อสัตย์ต่อคนอื่น ปกติแล้วเขามักหมายถึงมนุษย์ด้วยกันเอง โลกทัศน์ของชนพื้นเมืองโอบกอดทุกสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในโลกมากกว่าที่จะเน้นเพียงมนุษย์ด้วยกันเอง หัวใจที่เติมเต็มมากที่สุดตามที่ Meculieff แสดงให้เราเห็นผ่านตัวบทนี้นั้น ประกอบไปด้วย สิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากมนุษย์ ในภาวะที่เธอเรียกว่า “Full heart mode” นั้นทุกสิ่งอย่างรอบตัวเราล้วนมีชีวิตที่ดำรงอยู่อย่างเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นตัวขับเคลื่อนอีกส่วนหนึ่งของทุกสิ่งอื่นทั้งหมด ส่วนในหนทางของสังคมกระแสหลัก มักปฏิบัติกับสิ่งที่ไม่ถือตน เหมือนเป็นสิ่งที่โดนครอบครองได้ง่ายๆ เราจะหลุดออกจากกรอบนี้ได้ก็ต่อเมื่อ เราปฏิบัติต่อพืชพรรณและสัตว์ต่างๆ ให้เป็นเหมือนคู่หูคู่ใจของเราได้มากกว่า แต่ถ้าเราปฏิบัติเหมือนพวกเขาเป็นเพียงสิ่งของที่ใช้กิน หรือใช้งาน มันก็จะทำให้เราชอบเป็นเจ้าของ และอยากเข้าครอบครองแข่งขันมากกว่า
การสัมผัสรับรู้ด้วยใจคือก้าวแรกที่จะปฏิบัติตนด้วยหัวใจได้ มันคือความตื่นรู้ทางสัญชาตญาณที่ลึกซึ้งมากที่สุด ตอนที่เราปฏิบัติตนด้วยหัวใจ เราจะไม่เป็นผู้ที่คิดทำลาย แต่เราจะติดตามวิถีทางของการเป็นพันธมิตรกันได้อย่างยั่งยืนกับญาติพี่น้องทั้งหมดพวกเรา ธรรมชาติทั้งหมดอยู่ภายในตัวเรา และพวกเราทั้งหมดก็อยู่ภายในธรรมชาติ! การดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับโลกทัศน์ที่ธรรมชาติเป็นศูนย์กลางทางเครือญาติ หรือ “Nature-based Kinship Worldview” คือทางออกสำหรับวิกฤตความหายนะต่างๆ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ได้หากพวกเราทั้งหลายหันมาใช้ความฉลาดของหัวใจเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตกันให้มากยิ่งขึ้น!
เอาล่ะ นอกจากตัวบทอันโดดเด่นทั้ง 11 คติพจน์ที่ตนยกมานำเสนอในบทรีวิวนี้แล้ว ยังมีอีกหลายสิบตัวบทที่สำคัญมากๆ ที่ขอบอกว่าครั้งหนึ่งก็ต้องเข้าอ่านทั้งเล่มกันให้ได้ ใจจริงเราอยากจะยกมานำเสนอสู่เหล่าผู้อ่านในอีกหลายๆ ตัวบท แต่ด้วยความที่ว่า คงจะเขียนรีวิวให้ยาวเหยียดออกไปกว่านี้ไม่ได้ เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสละเวลาส่วนตัวของตนในการนำเสนอมุมมองทางโลกของชนเผ่าพื้นเมืองทั้งดั้งเดิมและร่วมสมัยผ่านบทรีวิวหนังสือเล่มต่างๆ ที่เราคิดว่าทรงพลังและสามารถที่จะช่วยเหลือให้พวกเราทั้งหลายได้ย้อนกลับคืนมาเชื่อมโยงกับความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ในยุคบรรพรุบุษของพวกเราร่วมกัน โดยเฉพาะกับหนังสือเล่มนี้เอง ที่จะช่วยเหลือพวกเราได้เยอะมากจริงๆ กับการย้อนคืนกลับมาเรียนรู้ในแบบองค์รวมมากขึ้น รวมถึงความเป็นคนพื้นเมืองและความผิดแปลกของโลกทัศน์กระแสหลักที่กำลังนำพามานุษยชาติไปสู่จุดจบอย่างไร้ความผิดชอบต่อโลกและต่อทุกชีวิตอื่นที่เหลืออยู่!
ขอให้เสียงสะท้อนจากทั้งกลุ่มชนพื้นเมืองต่างๆ และจากผู้เขียนทั้งสองท่านได้เปิดใจและเปิดทางให้เหล่าผู้อ่านได้ย้อนนำเอาวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยความสมดุลกลมกลืนกันกับโลกธรรมชาติกลับคืนมากันอีกครั้ง เพื่อผู้คนในยุคนี้และในยุคอนาคตที่จะสามารถสับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับทุกชีวิตอื่นในระบบนิเวศของโลกกันได้มากยิ่งขึ้น เพื่อความหวังใหม่ที่มวลมนุษย์จะได้ช่วยกันฟื้นฟูเยียวยาโลกใบนี้ให้ฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ของสรรพสิ่งได้อีกครั้ง และเพื่อดำรงอยู่ร่วมกันอย่างมีความรับผิดชอบอันดีต่อกันกับมิตรสหายทุกๆ ตนที่เป็นเครือญาติของพวกเราทั้งหมด ไว้พบกันใหม่ในบทรีวิวเล่มหน้าค่ะ เราขอขอบคุณทุกๆ คนที่เข้าอ่านบทรีวิวหนังสือของเรา อย่าลืมส่งความเห็นถึงเรากันบ้างน๊าาาาาา ^.^
คุณชอบบทความชิ้นนี้ไหม? ถ้าบทความแนว “มุ่งอธิบายแนวคิดเป็นองค์รวม” มีประโยชน์ต่อคุณอยู่บ้าง สามารถร่วมสนับสนุนผลงานของเราได้ ผ่านการส่งปัจจัยบริจาค (ตามคุณค่าที่คุณได้รับโดยไม่จำกัด) งานเขียนแนวนี้เกิดขึ้นมาจากความตั้งใจที่เรามุ่งสร้างความเข้าใจใหม่ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นให้กับผู้คนในสังคม ด้วยการสละเวลาส่วนตนของเราเองเพื่อเป็นกระบอกเสียงในแบบที่แตกต่างไปจากมุมมองเดิมในอดีต ติดต่อส่งความคิดเห็น หรือ อยากวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนได้โดยตรงที่อีเมล์ [email protected] หรือต้องการส่งปัจจัยบริจาคให้กับโครงการอิสระของเรา โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ “สวนฟื้นฟูวิถียั่งยืน” ได้โดยสแกนคิวอาร์โคดด้านล่างนี้ โครงงานของเรายังอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งไม่มีรายได้เป็นประจำ เราขอขอบคุณทุกท่านมากยิ่งที่สนับสนุนผลงานของเรา ทุกการบริจาคถือเป็นแรงผลักดันให้เราได้ศึกษาค้นคว้างานวิจัย เขียนบทความ แปลงาน และแบ่งปันความรู้ในแบบองค์รวมให้กับผู้คนในสังคมสืบต่อไป!