บทรีวิวหนังสือ Ultrasocial: The Evolution of Human Nature and the Quest for a Sustainable Future (ส่วนที่ 3 Back to the Future)
Taming the Market: A Minimal Bioeconomic Program:
บทนี้เกาว์ดีพูดถึงการนำเสนอนโยบายร่วมที่จะสามารถนำไปปรับใช้ด้วยกันทั่วโลก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สุดโต่งและเพื่อลดลดความรุนแรงจากภัยพิบัติต่างๆ ของสภาวะโลกร้อน ที่เป็นผลมาจากตลาดเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเศรษฐกิจและเกษตรกรรม ซึ่งเป็นตัวการหลักๆ ในการก่อเหตุขั้นรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับการดำรงอยู่ของมนุษย์เราส่วนใหญ่ล้วนอยู่อาศัยกันมาเป็นกลุ่มคนเล็กๆ ที่ตัดสินใจเกี่ยวกับว่าจะเคลื่อนย้ายที่อยู่ไปทางไหนและจะโยกย้ายกันเมื่อไหร่ จะกินอาหารอะไรและจะแบ่งปันทรัพยากรกันอย่างไรที่ตั้งอยู่บนการมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง แต่กับการหันมาทำเกษตรกรรมและอยู่ในสังคมที่มีรัฐควบคุมขนาดใหญ่กลับทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไปอยู่ในอีกแบบหนึ่งที่ไม่ได้ตัดสินใจเลือกทำอะไรกันเอง แต่จะโดนบังคับและควบคุมจากส่วนบนลงล่างมาโดยตลอด
เกาว์ดีตั้งคำถามชวนคิดในตัวบทนี้ขึ้นว่า เราจะควบคุมตลาดโลกได้อย่างไร เขายกตัวอย่างนโยบายทางเศรษฐกิจของ Georgescu-Roegen ที่เรียกว่า Minimal Bioeconomic Program ซึ่งมีแนวทางหลักๆ ดังเช่น
- ขจัดทุกสิ่งอย่างที่ก่อให้เกิดการทำสงคราม
- ลดจำนวนประชากรมนุษย์ให้อยู่ในระดับที่ภาคเกษตรกรรมอินทรีย์จะหล่อเลี้ยงได้
- ขจัดการบริโภคนิยมและเรื่องชนชั้นทางสังคมทิ้งไป
- กระจายส่วนแบ่งทางกำไรของเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมให้กับทุกคน
เป้าหมายของนโยบายเหล่านี้อาจจะดูสุดโต่งแต่ในมุมมองของเขา มันกลับเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะก้าวไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นธรรมได้ ส่วนเกาว์ดีเองก็เห็นด้วยกับคำแนะนำของเขา และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างระบบที่ไม่มั่นคงขึ้นใหม่ได้ เกาว์ดียกตัวอย่างนโยบายต่างๆ ที่จะสามาถรควบคุมตลาดโลกได้บ้างมาให้ดูอย่างเอียดในตัวบทนี้ (ซึ่งเราจะไม่ขอเจาะลึก) เขาชี้แจงว่าแม้มันอาจจะไม่ใช่นโยบายใหม่ แต่ถ้าเอาไปปรับใช้มันจะช่วยเปลี่ยนแปลงระบบเชิงโครงสร้างได้ นอกจากการนำเอานโยบายเหล่านี้ไปปรับใช้ และในเวลาเดียวกันก็นำเอาแนวทางในการดำเนินชีวิตของสังคมล่าสัตว์-เก็บของป่ามาปรับใช้มากขึ้นไปด้วย เพื่อจะดำรงอยู่กันอย่างสงบสุขในสังคมเหมือนกับที่มันปรากฎมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์มนุษย์สายพันธุ์เรา นโยบายที่เกาว์ดีนำเสนอมีดังต่อไปนี้ อย่าง หยุดการทำลายล้างขั้นมหันต์ภัยต่อโลกธรรมชาติ
- สภาพภูมิอากาศเปลี่ยน (Climate change) การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาคือตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนที่สุดของยุคแอนโธรพอซีน! ซึ่งเมื่อเทียบกับระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงเวลากว่า 800,000 ปี ก็ยังไม่เคยมีระดับก๊าซ Co2 ที่สูงถึงระดับปัจจุบันนี้เลย
- ในช่วงยุไมโอซีนตอนกลาง (Middle Miocene) ประมาณ 10-14 ล้านปี ระดับก๊าซ Co2 ต่ำกว่าระดับปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 350 ppm แต่อุณหภูมิโลกร้อนกว่าอยู่ที่ 3-6 องศาเซลเซียส และมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอยู่ที่ 25-40 เมตร เมื่อประมาณ 56 ล้านปีที่แล้ว โลกเผชิญกับยุค Paleocene-Eocene Thermal Maximum (PETM) ที่อุณหภูมิโลกสูงถึง 8 องสาเซลเซียส หรือมากกว่านั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ได้แก่ ภูเขาไฟประทุ การปลดปล่อยก๊าซมีเทน และเกิดไฟป่าครั้งมโหฬาร การเพิ่มขึ้นของระดับก๊าซ Co2 ในยุคนี้อยู่นานเพียง 1,000-10,000 ปี แต่ผลกระทบของมันอยู่นานถึง 200,000 ปี
- ถ้าจะควบคุมให้อุณภูมิโลกอยู่ที่ 1.5 องศาในศตวรรษนี้ จะต้องลดการปลดปล่อยก๊าซ Co2 ลงถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี ค.ศ. 2030 นั่นคืออีก 10 ปีข้างหน้า ช่างเป็นเป้าหมายที่คงจะไม่เกิดขึ้นเป็นแน่! (นับจากปีที่เขาเขียนหนังสือเล่มนี้ แต่ตอนนี้เหลืออีกแค่ 7 ปีแล้วนะ)
เหล่านักวิทยาศาสตร์สภาพอากาศ ล้วนกล่าวว่า เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความหายนะจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น เราต้องตัดการปลดปล่อยก๊าซ Co2 ลงทันทีและลดการปลดปล่อยให้เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 เราจึงจำเป็นที่จะต้องมีนโยบายเข้มงวดที่ต้องนำไปปรับใช้ทั่วโลก เพื่อจะลดการปลดปล่อยก๊าซ Co2 โดยเร็ว อาทิ
- เก็บถ่านหินไว้ในดินตามเดิม จากฐานข้องมูลของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ หรือ Energy Information Administration (EIA) ที่คาดการณ์อัตราคงเหลือของถ่านหินว่าจะใช้งานได้อีก 150 ปี ของก๊าซธรรมชาติจะใช้ได้อีก 48 ปี และน้ำมันดิบจะมีให้ใช้อีก 46 ปี
- ลดการใช้พลังงานโยรวมลงทั้งหมด พลังงานทางเลือก อย่าง โซลาร์ ลม และพลังงานน้ำต่างก็ไม่ใช่ทางออก จนกว่ามันจะสามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลได้จริงๆ
นอกจากนี้แล้ว เกาว์ดียังยกตัวอย่าง ความเสียหายของธรรมชาติ ทางด้านการสูญเสียความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ที่บ่อยครั้งคนจะไม่ค่อยพูดถึงการสูญเสียชนิดพันธุ์ของแมลงต่างๆ อย่าง ที่ประเทศสหรัฐฯ พบว่า:
จำนวนประชากรของผีเสื้อจักพรรดิ หรือ Monarch butterflies ลดลงเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ ในเวลาเพียง 20 ปีที่แล้ว หรือตัวอย่างการลดจำนวนของแมลง (Flying insects) ในประเทศเยอรมัน ก็พบว่าลดลงถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเวลา 27 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาที่ประเทศเปอร์โตรีโก พบว่าจำนวนประชากรแมลงลดลงสูงถึง 90-98 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปีระหว่าง ค.ศ.1976-1977 และปีค.ศ. 2011-2013 และยังพบว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ต้องกินแมลงเป็นอาหารก็พลอยลดจำนวนลงไปด้วย อย่าง นก สัตว์เลื้อยคลาน และกบเขียด เหล่านักวิจัยโยนความผิดไปให้สภาะโลกร้อน เพราะพบว่าอุณหภูมิในผืนป่าฝนเปอร์โตริโก (Puerto Rican Rainforest)ได้เพิ่มขึ้นถึง 2 องศาในทศวรรษปัจจุบัน
ข้ออสมมติฐานโดยทั่วไปของการลดจำนวนของแมลงเป็นผลมาจากเหตุผลหลักๆ อาทิ:
- การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ที่ดิน (แมลงจึงสูญเสียที่อยู่อาศัย)
- การใช้สารฆ่าแมลงที่เพิ่มสูงขึ้น
- สภาวะโลกร้อน สภาพอากาศเปลี่ยนรุนแรง เพราะในตัวของแมลงจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศภายนอก ถ้าอากาศสุดขั้วก็จะทำให้แมลงตายไป
ทำให้เศรษฐกิจทำงานให้มนุษย์
ตลาดเศรษฐกิจทำกับมนุษย์เหมือนเป็นแค่ตัวป้อนผลผลิต ซึ่งมีคุณค่าที่วัดได้จากว่า คุณสร้างผลกำไรทางเศรษฐกิจได้เยอะเท่าไหร่ เกาว์ดียกตัวอย่างนโยบายเล็กๆ (Minimal policies) สำหรับทำให้ตลาดเศรษฐกิจทำงานให้กับคน ไม่ใช่ปล่อยให้ตลาดเป็น Superorganism ถ้าเราคิดว่าผลกำไรของเศรษฐกิจโลกเป็นของส่วนรวมของมนุษย์ทุกคนบนโลก ไม่ใช่เป็นแค่ของส่วนตัวของพวกมั่งคั่งส่วนน้อยเท่านั้น มันก็จะมีความเป็นไปได้อีกมากมายเลยทีเดียว! ตัวอย่างนโยบายมีดังเช่น:
- การจ่ายรายได้ขั้นพื้นฐานให้กับประชากรโลกทั้งหมด เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่างมันไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ในบางกลุ่มคน แต่ทุกคนทั่วโลกมีส่วนช่วยให้เกิดผลกำไรทางเศรษฐกิจจำนวนมากมายมหาศาลทุกๆ ปี ดังนั้น ทุกคนควรได้รับส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจเป็นรายได้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นแนวคิดเดิมก็จริงแต่มันจะต่างไปจากการประกันรายขั้นต่ำ หรือ (A Guaranteed minimum income) โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับการตรวจสอบ มันควรได้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ควรจะมี ไม่ใช่เป็นของขวัญจากภาครัฐ ไม่ใช่การนำกำไรกลับมาแบ่งสันปันส่วนอีกที รายได้พื้นฐานไม่ได้ดึงงบมาจากภาคส่วนอื่นๆ อย่าง จากประกันสุขภาพ ประกันสังคม หรือด้านการศึกษา ดังนั้นเราจึงไม่ควรสับสนกันระหว่างเรื่องรายได้ขั้นพื้นฐานและรายได้ขั้นต่ำ ที่ผลักดันโดยเหล่าเสรีนิยมใหม่ เพื่อเอาไปใช้แทนโครงการเสริมอื่นๆ
- การจำกัดรายได้ขั้นสูงสุดและความมั่งคั่ง เกาว์ดีกล่าวว่า การได้ครองทรัพย์สมบัติมาแบบสืบทอดมรดก และการเปลี่ยนทรัพย์สินส่วนรวมไปเป็นทรัพย์สินส่วนตัว คือหัวใจสำคัญทางวิวัฒนาการของความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เรื่องการจำกัดรายได้สูงสุดและรายได้ต่ำสุด ต้องนำไปปรับใช้กับประชากรโลกทั้งหมด ซึ่งขึ้นอยู่แต่ละบุคคลไป โดยมีโครงการสำคัญๆ เข้ามาเป็นตัวลดทอนกลุ่มผู้มีรายได้สูง อาทิ -Universal Quality Health Care) – (Old-Age security) -(Universal Quality public education) เป็นต้น
ทั้งหมดที่เกาว์ดียกตัวอย่างให้ดูในตัวบทนี้จะช่วยนำพาสังคมไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนขึ้นได้ไหม? เขาก็บอกว่านโยบายเหล่านี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นต่อการเปลี่ยนแปลงที่สุดโต่งและจะได้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมยั่งยืนให้กับอีกหลายๆ มิติในสังคมมนุษย์และโลกธรรมชาติได้ แต่มันจะมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น หากขจัดระบบชนชั้นทั้งหมดไปได้ เกาว์ดีเล่าต่ออีกนิดหน่อยว่ามีวิกฤตอยู่สองอย่างที่สังคมขนาดใหญ่มหึมาของเราที่แสดงให้เห็นในเล่มนี้ก็คือ การสูญเสียโลกธรรมชาติ และแสวงหาผลกำไรทางเศรษฐกิจและของพวกมั่งคั่งส่วนน้อย ดังนั้นจึงไม่ควรให้ตลาดมาเป็นตัวกำหนดนโยบายสาธารณะ ตลาดไม่ใช่ทางออก ตลาดคือตัวก่อปัญหา!
Reclaiming Human Nature: The Future Will Be Better (Eventually):
ข้อมูลในตัวบทนี้แน่นมากๆ อีกแล้ว (เราจะยกมารีวิวเพียงเสี้ยวเดียว) โดยเฉพาะกับผลการคาดการณ์ทางสภาพภูมิอากาศในช่วงต่างๆ ที่ชัดเจนมากเลยว่า ถ้าระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรจะยังคงดำเนินต่อไปตามเดิม และหากไม่สามารถลดความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก อย่าง ก๊าซ Co2 ให้ทันเวลา ไม่ว่าจะภายในปี ค.ศ. 2030 /2050 /2100 ก็ตามที สังคมทั่วโลก ณ ปัจจุบัน จะมีโอกาสประสบกับการล่มสลายของอารยธรรมนี้แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว เพราะจากหลักฐานของทุกๆ อารยธรรมโบราณในอดีตล้วนเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนรุนแรงฉับพลันและยาวนานมากันทั้งนั้น แต่ในอดีตถ้ามีสังคมหนึ่งล่มลายไป ก็ยังมีสังคมอื่นๆ ที่ยังดำเนินอยู่ต่อไปได้ในที่อื่นๆ แต่วิกฤตต่างๆ ของสังคมปัจจุบันนี้ต่างกันมากกับในอดีต เพราะมันจะเกิดไปทั่วโลก!
ภัยคุกคามอื่นๆ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นทางสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย ภาวะทะเลเป็นกรด ดินเสื่อมสภาพ อากาศเป็นพิษ มลพิษจากพลาสติก ความไม่มั่นคงทางการเมืองและสังคมที่มีเพิ่มขึ้นจากความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และการสูญเสียตัวผสมเกสร
การคาดการณ์ของความล่มสลายของอารยธรรมขึ้นอยู่กับแนวคิดกว้างๆ ดังนี้
- ทรัพยากรเหลือน้อย โดยเฉพาะกับการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล
- สงครามนิวเคลียร์ และความยุ่งเหยิงทางสิ่งแวดล้อมและสังคม
- การล่มสลายทางการเงินและความแตกสลายทางเศรษฐกิจโลกและสังคม
- โรคระบาดทั่วโลกที่รุนแรงกว่า Covid 19
- การทำลายล้างโลกธรรมชาติ
- ภัยคุกคามอันสุดท้ายและที่ยิ่งใหญ่สุดก็คือ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate change) และการล่มสลายของอุตสาหกรรมการเกษตร
ก๊าซ Co2 ส่วนใหญ่ที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ปรากฏขึ้นมานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 คิดเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และก๊าซ Co2 ในชั้นบรรยากาศโลกที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ปรากฏขึ้นมานับตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นเป็น 1 องศาตั้งแต่ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมปรากฎขึ้นมานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980
เกาว์ดีพูดถึงผลลัพธ์ในระยะยาวของสภาวะโลกร้อนว่าได้รับความสนใจค่อนข้างน้อย เพราะส่วนใหญ่จะคาดการณ์กันไว้ภายในปี ค.ศ. 2100 เป็นต้น เขาได้ยกตัวอย่างงานศึกษาถึงผลกระทบในระยะยาวมาให้ดูในตัวบทนี้ เช่นว่า ระดับความเข้มข้นสูงสุดของก๊าซ Co2 อาจจะเพิ่มสูงถึง 1,400 ppm ภายในปี ค.ศ. 2300 และอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยจะร้อนถึง 8 องศาฯ หรือมากกว่านั้น ส่วนก๊าซ Co2 จะยังคงหลงเหลืออยู่ในชั้นบรรยากาศโลกเป็นอีกร้อยๆ ปี หรือแม้แต่เป็นอีกพันๆ ปีหลังจากที่มันโดนปลดปล่อยออกมา!
ก๊าซ Co2 ที่มีระดับความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศอยู่ที่ 1,400 ppm จะเพิ่มความเสี่ยงให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 20 องศาฯ ซึ่งจะมีผลกระทบขั้นหายนะต่อทุกชีวิตบนโลก มันน่าเศร้าใจมากที่มารู้ว่าระดับ ก๊าซ Co2 ณ ปัจจุบัน สูงกว่าช่วงเวลาอื่นจาก 15 ล้านปีที่ผ่านมา! การเพิ่มขึ้นของก๊าซ Co2 ในอนาคตขึ้นอยู่กับอัตราการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยรวม
เกษตรกรรมขนานใหญ่คงจะไม่สามารถทำต่อได้แล้วในสภาพอากาศหลังยุคโฮโลซีน สภาพอากาศเปลี่ยนรุนแรง จะส่งผลต่อภาคเกษตรกรรมจากหลากหลายรูปแบบ อาทิ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยสูงขึ้น ภัยคลื่นความร้อนรุนแรง ปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนทิศทาง และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ตามที่สภาพอากาศเปลี่ยนรุนแรงยิ่งขึ้น การอพยพจะเกิดขึ้นไม่ใช่พียงแค่จากปัจจัยด้านภัยแห้งแล้ง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในแถบตะวันออกกลางอยู่อาศัยไม่ได้ เพราะอุณหภูมิโลกร้อนขึ้นมากเกินไป!
เราขอจบบทรีวิวกับตัวบทที่ว่าด้วยเรื่อง Hunter-Gatherers In The Twenty-Second Century ที่เกาว์ดีพูดถึงว่า สำหรับประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของมนุษย์สายพันธุ์เรา มนุษย์อยู่รอดมาได้และกระจายพันธุ์ไปได้ในสภาพอากาศที่ไม่มั่นคง กับฐานเศรษฐกิจแบบร่วมมือกันโดยตรง มีเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนและยืดหยุ่น มีองค์ความรู้ส่วนตัว ทุกๆ ด้านของหล่งอาหารที่พวกเขาพึ่งพาอยู่มา การกลับไปสู่สภาพอากาศที่ไม่มั่นคงของยุคหินก็จะเป็นตัวกำหนดให้เราได้ย้อนกลับไปดำรงอยู่ด้วยวิถีที่ทำให้เราเป็นมนุษย์กันเรื่อยมา
ถ้าไม่มีขุมทรัพย์มหาศาลของพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลของศตวรรษที่ 20 และผลกระทบจากความไม่มั่นคงทางสภาพอากาศในอนาคต การขาดแคลนน้ำและดินเสื่อมสภาพ การเพาะปลูกธัญพืชขนาดใหญ่จะไม่สามารถทำต่อไปได้ ระบบอุตสาหกรรมการเกษตรของพวกเราก็เริ่มจะล้มเหลวบ้างแล้ว จากผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป พืชหลักๆ ที่เราต่างก็พึ่งพาเพื่ออยู่รอด ก็ตกอยู่ในภาวะน่าห่วงแล้วเช่นกัน ที่น่ากังวลมากกว่าคือประชากรโลกกว่าครึ่งหนึ่งล้วนอาศัยอาหารประเภท ข้าว เป็นแหล่งให้พลังงานหลักๆ!
ปล. เราขอบคุณทุกคนมากๆ ที่ติดตามงานเขียนรีวิวหนังสือเชิงลึกของเรา ไว้พบกันใหม่กับเล่มหน้าน๊าา^.^
คุณชอบบทความชิ้นนี้ไหม? ถ้าบทความแนว “มุ่งอธิบายแนวคิดเป็นองค์รวม” มีประโยชน์ต่อคุณอยู่บ้าง สามารถร่วมสนับสนุนผลงานของเราได้ ผ่านการส่งปัจจัยบริจาค (ตามคุณค่าที่คุณได้รับโดยไม่จำกัด) งานเขียนแนวนี้เกิดขึ้นมาจากความตั้งใจที่เรามุ่งสร้างความเข้าใจใหม่ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นให้กับผู้คนในสังคม ด้วยการสละเวลาส่วนตนของเราเองเพื่อเป็นกระบอกเสียงในแบบที่แตกต่างไปจากมุมมองเดิมในอดีต ติดต่อส่งความคิดเห็น หรือ อยากวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนได้โดยตรงที่อีเมล์ [email protected] หรือต้องการส่งปัจจัยบริจาคให้กับโครงการอิสระของเรา โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ “สวนฟื้นฟูวิถียั่งยืน” ได้โดยสแกนคิวอาร์โคดด้านล่างนี้ โครงงานของเรายังอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งไม่มีรายได้เป็นประจำ เราขอขอบคุณทุกท่านมากยิ่งที่สนับสนุนผลงานของเรา ทุกการบริจาคถือเป็นแรงผลักดันให้เราได้ศึกษาค้นคว้างานวิจัย เขียนบทความ แปลงาน และแบ่งปันความรู้ในแบบองค์รวมให้กับผู้คนในสังคมสืบต่อไป!