โครงการฟื้นฟูด้วยการปลูกป่า​

โครงการฟื้นฟูด้วยการปลูกป่า​

พวกเรามีการวางแผนโครงการอย่างหนักแน่นสำหรับการเยียวยา​ระบบนิเวศ​ขนาดใหญ่ที่เราอาศัยอยู่​ ในส่วนที่เป็นเขตอนุรักษ์​สัตว์ป่า​ของ​ (ขสป.คลองเครือหวาย) ที่เคยถูกทำลายจากไฟป่ามาตั้งแต่​ 15​ ปีที่แล้วและนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผืนป่าแห่งนี้ก็เต็มไปด้วยไม้ไผ่ป่าขึ้นครอบคลุมบริเวณที่ถูกไฟไหม้ทั้งหมด​ มีก็เพียงแค่ต้นไม้ใหญ่มากที่สุดที่ยังคงเหลืออยู่แต่ก็มีจำนวนไม่มากนักและพืชตระกูลไผ่เป็นพืชที่เข้าครอบครองพื้นที่ที่ว่างเปล่าได้เร็วมากที่สุด​ พวกเราชื่นชอบและประทับใจไม้ไผ่​ แต่ป่าไม้ที่อุดมไปด้วยความหลากหลาย​ของไม้นานาพันธุ์​จะช่วยให้ผืนป่ามีความหลากหลาย​และมีความหยืดหยุ่นตามธรรมชาติ​ได้มากกว่า

นั่นก็คือเหตุผล​ว่าทำไมพวกเราถึงต้องการที่จะทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ทางกรมป่าไม้ภายใต้โครงการฟื้นฟูด้วยการปลูกป่า​ โดยขั้นตอนแรกก็คือติดต่อกับกรมป่าไม้เพื่อขออนุญาต​และจัดสรร​พื้นที่ตัวอย่างที่เราจะดำเนินการตัดไม้ไผ่ป่าออกและแทนที่ด้วยการปลูกต้นไม้ป่าที่พบได้ตามป่าใหญ่จากศูนย์​เพาะชำกล้าไม้จันทบุรี​ อำเภอโป่งน้ำร้อน​ และทางศูนย์​แจกต้นไม้ป่าฟรี​ ซึ่งเราจะใช้พื้นที่ของเราจำนวน​กว่า​ 8 ไร่​ เป็นพื้นที่ตัวอย่างสำหรับวีธีการที่เราจะใช้กับพื้นที่ป่าที่เป็นส่วนที่เราต้องการจะดำเนินโครงการ

บริเวณพื้นที่ตัวอย่างมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นพื้นที่ด้านบนสุดของภูเขาที่อยู่ติดกันกับที่ดินของเราเอง​ พื้นที่ตรงนั้นเคยเป็นสวนผลไม้จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ได้ยึดนำพื้นที่นี้กลับคืนไปเป็นส่วนหนึ่งของเขตอนุรักษ์​สัตว์ป่า​เนื่องจากว่าขาดการดูแลและไม่มีการทำสวนอย่างต่อเนื่องจากเจ้าของเดิม​ มันอยู่บนพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะดำเนินโครงการการฟื้นฟูมากกว่าด้านหลังสวนเรา

เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่มีต้นไม้ใหญ่ใดๆเลย​ ต้นผลไม้ที่เหลือก็ล้มตายไปจนหมดจากเหตุการณ์​ไฟป่าที่กล่าวไปแล้วนั้น​ มีต้นไม้บางส่วนที่ใหญ่แล้วที่ยังเหลืออยู่ก็สูงประมาณ​ (10-15​ เมตร)​ พบว่าเป็นต้นไม้เบิกนำที่โตเร็ว​ ​(fast-growing pioneers)  จำพวก​ ต้นหย่อง​(Archidendron quocense) และต้นมะพร้าวนกกก​  (Horsfieldia glabra)  เป็นต้น​ ส่วนที่เหลือเป็นไม้ไผ่ป่าหนาทึบทั้งหมดจนเดินเข้าเกือบจะไม่ได้และส่งผลให้ต้นไม้อื่นขึ้นไม่ได้เลยเพราะไม้ไผ่ป่าทำร่มตลอดแนวชายป่า​ร่วมกันกับพืชวงศ์​หวายหรือเครือไม้หวายเกิดอยู่อย่างกระจัดกระจาย​ไปทั่ว

ฉะนั้นด้วยเหตุที่ว่า​ ทางกรมป่าไม้ส่งเสริมการสนับสนุน​ศูนย์​เพาะชำกล้าไม้แจกพันธุ์​ไม้ประจำถิ่นนานาพันธุ์​แบบฟรีๆ​จึงถือได้ว่าเป็นแหล่งที่พวกเราจะได้รับพันธุ์​ไม้พื้นบ้านเพื่อนำมาปลูก​ เมล็ดพันธุ์​เพิ่มเติมนั้นยังสามารถ​เก็บเอามาจากการออกไปเดินเที่ยวทัศนศึกษา​บนป่าดิบชื้นดั้งเดิมอันน่าพิศวง​ของภูเขาสอยดอยใต้​ (สวยมากจริงๆด้านบนสุดพวกเราไปขึ้นมาแล้ว)​

สำหรับพันธุ์​ไม้ที่จะเป็นต้นใหญ่มากในอนาคตที่พวกเราจะเลือกนำมาปลูกก็จะเป็นต้นไม้จำพวก​ วงศ์​ต้นสะแบงต้นยางนา​ต้นยูง​

(Dipterocarpus alatus; ต้นยางนา),
ต้นไม้วงศ์​ไม้ตะเคียนราก​ (Merawan: (Hopea odorata ต้นตะเคียนทอง)​
ต้นไม้วงศ์​พะยอม​ White Meranti* (Shorea roxburghii; ต้นพะยอม)
หรือต้นไม้วงศ์​รัง Red Lauan* (Shorea siamensis; ต้น​รัง)

พันธุ์​ไม้ที่ช่วยในการฟื้นฟูสภาพดิน​ พวกเราจะเลือกปลูกต้นไม้ในวงศ์​ตระกูลถั่ว​หลายสายพันธุ์​ อาทิเช่น​  ต้นพะยูง​ Siamese Rosewood* (Dalbergia cochinchinensis) หรือ​ ต้นฝาง Sappanwood* (Biancaea sappan)

พันธุ์​ไม้ทั้งหมดที่เราจะปลูกนั้นยังพบในสวนของเราเองด้วย​(คลิกที่นี่สำหรับรายชื่อสายพันธุ์ที่เหมาะสม​)

สายพันธุ์​ดังกล่าวส่วนมากแล้วเป็นสายพันธุ์​ที่อยู่ใน​(สถานะ​อันตราย​หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์)​  เนื่องมาจากการตัดไม้อย่างหนักและจากความต้องการซื้อของตลาด​ในระดับสากล​ ดังนั้น​ มันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างความมั่นใจให้ได้ว่าต้นไม้ในสายพันธุ์​เหล่านี้ยังคงดำรงอยู่

นอกจากนี้แล้ว​ เราได้เลือกต้นไม้ในสายพันธุ์​ที่ทนทานต่อตวามแห้งแล้งและบางครั้งแม้กระทั่ง​สายพันธุ์​ที่ทนทานต่อไฟป่า​ และนั้นคือหลักฐานว่าเป็นสายพันธุ์​ที่มีความเมาะสมสำหรับโครงการฟื้นฟูผืนป่าหรือสำหรับการฟื้นฟูสภาพดินที่ถูกทำลายไป​ ต้นไม้ตามรายการของเรามีการนำไปใช้ประโยชน์​ด้านอื่นๆ​ ดังเช่น​ ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่สามารถ​นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้​ หรือเป็นต้นไม้ที่ดึงดูดสัตว์ป่า​ หรือต้นไม้ที่ผลิตยางที่มีคุณค่า​สำหรับการซ่อมแซ่มของใช้

*มีต้นไม้ป่าหลายชนิดที่ไม่มีชื่อภาษาอังกฤษ​ ดังนั้นเราจึงใช้ชื่อทางการค้าไม้​ ถึงแม้ว่าเราไม่ชอบรูปแบบการปฏิบัติ​ด้านนี้เป็นอย่างมาก​ แต่มันก็เป็นแหล่งที่มาของชื่อที่เรานำมาใช้ได้

แหล่งอ้างอิง:
ไซมอน การ์ดเนอร์, พิ​นดา สินธิสุนทร, วิไลวรรณ อนุสารสุนทร;ต้นไม้​เมือง​เหนือ​: คู่มือศึกษา​พรรณไม้ยืนต้น​ในป่าภาคเหนือ​ ประเทศ​ไทย​ (2000)

No comments.