การฟื้นฟูธรรมชาติ Rewilding
(ในแง่ของการฟื้นฟูนิเวศวิทยา แต่ถือป็นการพัฒนาส่วนบุคคลอีกด้วย) ทั้งหมดนี้มันก็คือการต่อต้านความปราถณาอย่างรุนแรงในการควบคุมธรรมชาติ และเป็นการปล่อยให้ธรรมชาติเป็นไปตามหนทางของมันเอง ในแง่ของการมีปฏิสัมพันธ์กันกับสิ่งแวดล้อมของพวกเราได้อย่างไร นั่นหมายความว่าการฟื้นฟูผืนป่าและปล่อยให้ธรรมชาติทำในสิ่งที่ธรรมชาติทำได้ดีมากที่สุดมาเป็นเวลากว่าพันล้านปีแล้ว
มันหมายถึง การมองเห็นตัวของเราที่ไม่ได้อยู่บนยอดพีระมิดหรือบันไดที่สร้างกันขึ้นมาเอง (เหมือนเรื่องที่น่าขันและหยิ่งยะโสของ แอริสตอเติล (Aristotle) แต่เป็นแนวความคิดแบบยืนกรานของ “scala naturae” (หรือ เป็นแนวคิดโดยจัดเรียงตามมาตราความสมบูรณ์โดยแบ่งระดับ ซึ่งมีนุษย์อยู่บนสุด) แต่ สำหรับเรื่องของการเป็นส่วนหนึ่งของสายใยแห่งความสัมพันธ์นั้นประกอบไปด้วยทุกสายพันธุ์และทุกองค์ประกอบ ทั้งหมดที่มีคุณค่าทุกอย่างเหมือนกัน
การฟื้นฟูธรรมชาติไม่ใช่ทำเพียงแค่กับระบบนิเวศที่เราอาศัยอยู่ แต่ทำการฟื้นฟูสภาพตัวของเราเองก็มีความสำคัญอีกด้วย นี่หมายถึงว่า เป็นการปล่อยข้อกำหนดที่ทำให้พวกเราเชื่องทิ้งไป ที่มันมาจากตัวเราเองและจากสังคมที่กำหนดไว้ นั่นก็คือ แนวความคิดและการปฏิบัติตนแบบชาวศิวิไลซ์ ได้แก่ แนวความคิดแบบลดทอน (reductionist) มุมมองของชีวิตตามแนวทางวิทยาศาสตร์คือได้รับการแทนที่โดย ความคิดแบบองค์รวม (holistic) และแนวคิดแบบมีจิตวิญญาณ (spiritual) คำเปรียบเทียบที่ว่า ธรรมชาติเป็นเหมือนเครื่องจักร ตามที่วัฒนธรรมหลักหรือวัฒนธรรมเด่น (dominant culture) ชื่นชอบซะเหลือเกิน ต้องถูกแทนที่ด้วยมุมมองแบบ กายา (Gaia) ซึ่งมองธรรมชาติเป็นเหมือนอินทรีย์วัตถุ เป็นเหมือนสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆนั้นมองไม่เห็นเป็นเหมือนรอยเว้าของหอยที่ติดตามด้วยชุดคำสั่งแบบอัตโนมัติ แต่เป็นการมองแบบมีตัวตนหนึ่งที่มีจิตหรือวิญญาณเหมือนกับพวกเรา คือเป็นผู้ที่มีความคิด ความปราถณา ความฝัน ความทะเยอทะยาน ความหวังและมีอารมณ์ความรู้สึกเหมือนกับที่เรารู้สึกได้ ได้แก่ ความสุข ความรัก ความเมตตา ความเวทนา ความกตัญญู ความสงบ และรวมถึง ความโกรธ ความเศร้า ความท้อแท้ ความสิ้นหวัง ความกลัว ความเกลียดชังด้วยเช่นกัน
มันหมายถึงการยอมรับสิ่งเล็กๆ และเสาะหาความสะดวกสบาย และเสาะหาสิ่งที่ทำให้สบายใจในภาพที่ใหญ่กว่า ด้วยการเคารพเและให้เกียรติชีวิตทุกสรรพชีวิต การยอมรับเรื่องความตายให้เหมือนส่วนจำเป็นในชีวิต สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีรอยต่อและตลอดเวลาของสสารและพลังงานคือลักษณพิเศษของจักรวาลทั้งหมด การที่ไม่ต้องรู้สึกอับอายเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ที่เป็นเรื่องทางธรรมชาติ นั่นหมายถึง ความอิสระที่สมบูรณ์ภายในขีดจำกัดของธรรมชาติเอง
ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร สำหรับประวัติศาสตร์ของพวกเรา เป็นระยะเวลาทั้ง 3 ล้านปี ของสายพันธุ์มนุษย์ นี้คือสิ่งที่มนุษย์ได้ดำรงชีวิตมาและได้แนวความคิดมา และนี่ก็คือเรื่องที่เหล่าชนเผ่าพื้นเมืองในปัจจุบันนี้ได้มองเห็น และได้มีปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัวพวกเขามาอย่างต่อเนื่อง
การฟิ้นฟูผืนป่า “Re-wilding” สำหรับพวกเรา มนุษย์ยุคใหม่ หมายถึง การกลับไปเชื่อมโยงกันอีกครั้ง (re-connecting) การกลับไปเรียนรู้อีกครั้ง (re-learning) การจดจำได้อีกครั้ง (re-membering) การเอากลับคืนมาอีกครั้ง (re-versing) การฟื้นฟูกลับคืนมาอีกครั้ง (re-viving) การเก็บรักษาไว้อีกครั้ง (re-storing) การกลับคืนไปอยู่อาศัยอีกครั้ง (re-habilitating) และการกลับคืนไปอีกครั้ง (re-turning)
จากประเด็นเรื่องชีวิตเรียบง่าย หรือ Simple Life ในการที่จะมีความหวังสักอย่างสำหรับอนาคต เราจะต้องกลับคืนสู่แหล่งที่อยู่อาศัยหรือกลับคืนสู่ที่ดินทำกิน กันเป็นจำนวนมาก ที่ดินหรือที่อยู่อาศัยนั้นกำลังเรียกร้องหาพวกเรา มันต้องการพวกเรา เราจะต้องเข้าใจและยอมรับความต้องการของธรรมชาติเอง และกระทำตามอย่างสอดคล้อง
ถ้าคุณอาศัยอยู่ในระบบนิเวศที่ธรรมชาติถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ถูกรบกวนระบบนั้นก็จะทำให้เกิดผืนป่าขึ้นมา ดังนั้นนี่ก็คือสิ่งที่คุณควรจะทำ
พวกเราทุกคนมีบรรพบุรุษที่ ณ จุดหนึ่งเคยมี หรือ มีบรรพบุรุษที่เป็นผู้พิทักษ์ป่าด้วยวิถีทางอย่างเป็นเอกลักษณ์ และพวกเขามีความรอบรู้ทางโลกอย่างน่าชื่นชมมากในเรื่องของการเลี้ยงชีพและการมีวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องป่าที่อุดมสมบูรณ์
(All of us have ancestors that were at one point or another forest dwellers with unique and highly sophisticated modes of subsistence and a rich forest)
และตอนนี้ มันก็ขึ้นอยู่กับพวกเราที่จะเป็นผู้ฟื้นคืนความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับที่ดินหรือแหล่งที่อยู่อาศัย เราจะต้องย้อนกลับไปเรียนรู้ เพื่อที่จะใช้ชีวิตอยู่ เพื่อจะใช้ชีวิตกับ เพื่อใช้ชีวิตจาก และเพื่อผืนป่า
การเคลื่อนไหวทางด้านการกลับคืนสู่ที่ดิน ของช่วงปี ค.ศ. 1960-70 นั้นเป็นแนวความคิดที่เยี่ยมยอดมาก แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่ใหญ่และไม่อยู่คงทนได้มากพอ และในบางกรณีก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไหร่ เหตุผลหนึ่งในยุคนั้นก็คือยังมันมีความรุนแรงทางด้านความไม่ปลอดภัยของอนาคตและความไม่มั่นคงของสภาพอาศน้อยมากกว่า
นอกจากนั้นก็คือบางครั้งความคิดของคนที่ทำการเคลื่อนไหวกลับคืนสู่ที่ดินเหล่านั้นก็ยังคงติดอยู่กับแนวคิดแบบศิวิไลซ์ที่อันตรายด้วยแนวความคิดที่ถือเอามุษย์เป็นใหญ่ของการปกครองและการควบคุมเลี้ยงดู รวมถึงเรื่องการขาดความตระหนักในคุณค่ามนุษย์ในยุคสมัยก่อน ที่จริงแล้วการกลับคืนสู่ที่ดินค่อนข้างเป็นเรื่องธรรมดาในอดีตที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้และเป็นการโต้ตอบกับเรื่องความอดอยาก โรคระบาด สงคราม และการบังคับตามกฎหมายได้เป็นอย่างดี
เช่นเดียวกันกับช่วงระหว่างและช่วงหลังการล่มสลายของอารยธรรมก่อนหน้านี้ ที่ประวัติศาสตร์ทางอารยธรรมเรียกว่า ยุคมืด “Dark Ages” นั้นอาจจะเป็นช่วงที่ผู้คนมีเวลาว่างมากกว่า ไม่มีการบังคับต้องจ่ายภาษีให้กลุ่มคนร่ำรวยในเมืองและเหล่าผู้นำทหาร และเป็นช่วงที่มีความอิสระส่วนบุคคล มีการปกครองตนเอง และมีฐานวัฒนธรรมแห่งธรรมชาติมาอย่างเฟื่องฟู
No comments.