การประเมินค่าถึงแหล่งทรัพยากรของโลกที่เหลืออยู่
(ภาพประกอบการอธิบายพลังงานที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่)
การประมาณค่าพลังงานสำรองของโลกที่เหลืออยู่ ประเภทที่ไม่สามารถทดแทดได้จากพลังงานอื่น (Estimated remaining world supplies of Non-renewable resources)
ด้านบนสุดทางซ้ายมือคือ:
ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม (Ecosystem ) สีเหลือง เชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuels) สีฟ้า สินแร่ต่างๆทางธรรมชาติ (minerals) สีแดง
เบื้องต้นนี้ขออธิบายถึงพลังงานในรูปแบบต่างๆที่ปรากฏอยู่ในวงกลม ดังต่อไปนี้
Antimony : แร่พลวง คือธาตุลำดับที่ 51 สัญลักษณ์ Sb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงินใช้ผลิต เป็นตัวยาต่างๆ และแบตเตอรี่ต่างๆ
Indium: คือแร่โลหะอ่อนสีเงิน (สัญลักษณ์ย่อคือ In) ใช้ผลิตหน้าจอสัมผัสทุกชนิด เช่นหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และใช้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์
Silver: คือแร่เงินหรือธาตุเงิน ใช้ผลิตเหรียญที่ระลึกและเหรียญรางวัล และใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องประดับเช่น เพชรพลอยและอัญมณีต่างๆ
Copper: คือทองแดง ใช้ผลิตเรื่องใช้ที่ทำจากทองแดง ผลิตภัณฑ์ทองเหลือง สายไฟฟ้า ท่อที่ทำจากทองแดง
Titanium: ไทเทเนียม เป็นโลหะผสม ใช้ผลิตเครื่องบิน และเสื้อเกาะป้องกันกระสุนปืน
Tantalum: แทนทาลัมเป็น ธาตุชนิดหนึ่งมีสีเทาฟ้าใช้เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ
Phosphorus: แร่ฟอสฟอรัสหรือธาตุฟอสฟอรัส ใช้เป็นส่วนผสมปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี และใช้ผสมเป็นยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์
Aluminium: อะลูมิเนียม เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวพันกับการก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นโลหะเบา สีขาว ใช้ผลิตอุปกรณ์ทางโทรคมนาคมหรือการบรรจุหีบห่อ หรือผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมต่างๆ
Gas: ก๊าซหรือแก๊ซ ใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ก๊าชธรรมชาติ ได้แก่ ก๊าชไฮโดรเจน (H) ก๊าชมีเทน ก๊าชอีเทนและอื่นๆ ซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมี (ปิโตรเลี่ยม)
Oil: น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันพืชหรือ น้ำมันดิบที่เรารูจักกันดี ทุกอย่างบนโลกใบนี้ย่อมใช้น้ำมันเป็นตัวขับเคลื่อนพลังงาน
Coal: ถ่านหิน คือหินชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปี มีองค์ประกอบเป็นธาตุคาร์บอนเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน เป็นต้น ใช้เป็นพลังงานจากถ่านหินเพื่อจะได้ใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนพลังงานนิวเคลียร์
Agricultural land: พื้นที่เกษตรกรรม คือทุกพื้นที่ที่มีการทำการเกษตรโดยรวม
Coral reefs: พื้นที่แนวปะการัง พื้นที่ที่เป็นทะเล
Rainforest: ป่าหนาทึบในเขตร้อนซึ่งมีฝนตกมากหรือเรียกว่า ป่าดงดิบ เช่น ป่าอเมซอน
โดยจุดเริ่มต้นของภาพวงกลมนี้คือจุดตรงกลางนับจากปี 2012 ไปตามเข็มนาฬิกาด้านขวามือไปเรื่อยๆ โดยอธิบายว่าพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ น้ำมันเชื้อเพลิงและสินแร่แต่ล่ะชนิดจะยังคงเหลือเวลาอีกกี่ปีที่บรรดาบริษัทต่างๆจะเข้าไปทำการขุดเจาะได้ นั่นหมายความว่าโลกใบนี้เหลือทรัพยากรที่เป็นตัวขับเคลื่อนอารยธรรมนี้ได้อีกนานเท่าใด
ขออธิบายเส้นประที่ทะแยงออกไปด้านนอกวงกลมด้านขวามือก็คือการคาดการณ์ว่าภายในปีที่ปรากฏนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น
*เส้นประที่ทะแทงออกเส้นแรกระบุว่าในปี ค.ศ. 2030 แผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติกในฤดูร้อนละลายหนักจนไม่มีแผ่นน้ำแข็งแล้ว (Arctic-ice free in summer)
*และต่อเนื่องไปจนถึงปี ค.ศ. 2050 ก็จะเป็นช่วงเวลาที่จำแนกออกเป็นหนึ่งส่วนสามของพืชและสัตว์หลายชนิดที่อาศัยอยู่บนดินจะเผชิญกับการสูญพันธุ์ซึ่งอาจจะรวมถึงมนุษย์ได้ด้วยเพราะพวกเราก็อาศัยอยู่บนดินเช่นกัน (third of land plant and animal species extinct due to climate change)
*และต่อเนื่องไปจนถึงปี ค.ศ. 2060 เป็นช่วงอันตรายที่อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียสเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามนี่ถือเป็นการคาดการณ์โดยประมาณตอนที่อุณหภูมิโลกยังไม่คงที่นัก จึงคาดว่าเหตุการณ์ต่างๆอาจจะเกิดขึ้นเร็วมากกว่าหรือจะเกิดขึ้นช้ากว่าระยะเวลาที่กล่าวไปเบื้องต้นก็เป็นได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กลับการแข่งขันแย่งชิงกันเรื่องทรัพยากรที่เหลืออยู่ของแต่ละประเทศทั่วโลกนั่นเอง!
และส่วนที่เหลือเราจะเห็นมีตัวเลขแสดงตามเส้นวงกลมและระบุถึงทรัพยากรต่างๆจะหมดลงประมาณช่วงเวลาใด
โดยเริ่มจาก:
“Antimony (แร่พลวง) มีที่สามารถขุดได้อีก 8 ปีIndium (แร่โลหะอ่อนสีเงิน) ขุดใช้ได้อีก 12 ปีSilver (แร่เงิน) ขุดใช้อีก 17 ปี
Copper (แร่ทองแดง) ขุดใช้ได้อีกแค่ 32 ปีTitanium (แร่ไทเทเนียม)ขุดใช้ได้อีก 44 ปี
Tantalum (แร่แทนทาลัม) มีใช้ได้อีก 46 ปี Phosphorus (แร่ฟอสฟอรัส) มีใช้ได้อีก 76 ปี Aluminium (แร่อะลูมิเนียม) มีใช้ได้อีก 80 ปี
Gas (ก๊าซหรือแก๊สต่างๆ) ที่เหลือใช้ได้อีก 35 ปี Oil (น้ำมันดิบ) เหลือเวลาอีก 37 ปี
Coal (ถ่านหิน) ที่จะเผาได้อีกเหลือเวลาแค่ 42 ปี Agricultural land (พื้นที่เพาะปลูกหรือที่สามารถทำการเกษตรได้) อีก 69 ปี ก็จะไม่เหลือพื้นที่ดังกล่าว Coral reefs (พื้นที่แนวปะการัง) ยังคงมีอยู่อีก 88 ปี
Rainforest ยังมีพื้นที่ป่าที่ยังควเหลืออยู่ทั่วโลกอีก 78 ปี และจุดนี้ระบุไว้ว่า ป่าดงดิบที่ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesian Rainforest gone) จะหายไป และเส้นวงจรสุดท้ายระบุว่าอีก 196 ปีข้างหน้า ป่าดงดิบที่ประเทศบราซิล (Brazilain Rainforest gone) จะหายไปเช่นกัน”
ดังนั้นก็ขอให้ท่านผู้อ่านเข้าใจร่วมกันว่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ของแหล่งพลังงานที่หาได้จากทรัพยากรธรรมชาติและสินแร่ต่างๆนั้นเหลืออยู่อย่างจำกัด ซึ่งถ้าทั่วโลกเพิ่มระดับการบริโภคพลังงานต่างๆเหล่าเพิ่มมากขึ้นทุกปีและเชื่อได้เลยว่าการคาดการณ์เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นก่อนช่วงเวลาที่กล่าวไปก็เป็นได้ พวกเราจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงว่า เราจำเป็นที่จะต้องลดอัตราการใช้พลังงานดังกล่าวลงเป็นอยากมาก เพื่ออนาคตของรุ่นต่อๆไปเขาจะได้มีโอกาสใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่เหลืออยู่อันน้อยนิดนี้ด้วยเช่นกัน! และพวกเราต้องเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้รักษาแผลที่เกิดจากการขุดเจาะต่างๆและที่เกิดจากการเข้าไปทำลายความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติด้วยเช่นกัน!
แหล่งอ้างอิงข้อมูลด้านล่างของภาพประกอบนี้เลย!
No comments.