การปรับตัวในเชิงลึก: แผนที่นำทางสำหรับโศกนาฏกรรมจากสภาพภูมิอากาศ!
Deep Adaptation: A Map for Navigating Climate Tragedy (IFLAS Occasional Paper 2) www.iflas.info July 27th 20181 เขียนโดย: Professor Jem Bendell BA (Hons) PhD
การปรับตัวในเชิงลึก: แผนที่นำทางสำหรับโศกนาฏกรรมจากสภาพภูมิอากาศ! ไอเอฟแอลเอเอส บทความทางวิชาการเฉพาะกิจ 2 www.iflas.info 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ผู้เขียน: ศาตราจารย์ ดร. เจม เบนเดล (ฮอนส์) ฉบับแปลภาษาไทย: โดย คุณ Wanchat Theeranaew
วันนี้สวนเรามีบทความอันทรงพลังที่ได้ตีแผ่ความจริงของปัญหาต่างๆของโลกที่เราอาศัยอยู่พร้อมทั้งสะท้อนถึง “ความน่าจะเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งเป็นงานวิจัยอย่างน่าเชื่อถือ” ให้เราทุกคนได้คิดวิเคราะห์และคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งยวดมาหลายศตวรรษจนกระทั่ง ณ ปัจจุบันนี้ รวมถึงผลกระทบด้านอื่นๆของระบบสังคมของมนุษย์ ซึ่งบทความนี้เป็นบทความทางวิชาการเป็นงานวิจัยที่หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมาก ใครจะมานั่งอ่านงานวิจัยหร๋อ? โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อเทียบกับบทความแบบอื่นจะไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไหร่ แต่ว่า บทความนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ล่าสุดมีเข้าคนเข้าอ่านและดาวน์โหลดบทความนี้แล้วกว่าครึ่งล้านคนๆแล้ว
📢 ดังนั้น เราจึงตั้งใจเอามาฝากเพื่อนๆที่ติดตามสวนฟื้นฟูของเราอยู่
**ไฟล์เอกสารที่แนบมาด้วยนี้เป็นบทความฉบับเต็มซึ่งทุกคนที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเอาไปอ่านและแชร์กันต่อไปได้ (ลิงค์เอกสาร)
1. เพื่อเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในมุมมองใหม่ที่แตกต่างอย่างชัดเจน และถือว่าเป็นบทความที่เปิดเผยความจริงอย่างตรงไปตรงมาในรูปแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
2. เพื่อความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นทุกวินาทีทั่วโลก อาทิเช่น ปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ซึ่งเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่สร้างขึ้นเองมาหลายชั่วรุ่นแล้วนั่นเอง และถึงเวลาที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกันอย่างสุดโต่ง
3. เพื่อเป็นการตั้งคำถามให้กับตัวเองว่า ตัวเราจะดำรงชีวิตอยู่อย่างไรต่อไป รุ่นลูกรุ่นหลานของเราพวกเขาจะอยู่กันอย่างไรในอนาคต เราจะอยู่รอดได้อย่างไรท่ามกลางวิกฤติการณ์ดังกล่าว เราต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถรับมือและปรับตัวเพื่อที่จะอยู่รอดและปลอดภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติท่ามกลางสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างหนักในอนาคตอันใกล้นี้ เป็นต้น
เนื่องจากว่าความยาวของบทความและประเด็นหลักของเนื้อหาที่ผู้เขียนได้เน้นย้ำผ่านบทความนี้อาจจะเป็นประเด็นที่หนักใจสำหรับหลายๆคนและอาจจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึกของหลายๆท่านได้ แต่ขอย้ำว่า “เรื่องราวเหล่านี้พวกเราทุกคนไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้เลยจริงๆ” พวกเราจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจและยอมรับตามสภาพความเป็นจริงให้ได้ และสุดท้ายตัวเราจะได้มีเวลาเหลือพอสำหรับการปรับตัวเพื่อที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ท่ามกลางวิกฤติการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
ถ้าหากผู้อ่านต้องการที่จะเข้าใจให้มากยิ่งขึ้นก็เข้าไปอ่านบทความที่แนบมากับลิงค์เอกสารข้างบนให้จบ หรือบางคนอาจจะบอกว่ายาวเกินไปสรุปให้ฟังหน่อย? ถ้าอย่างนั่นก็จัดไป!
ด้านล่างนี้จะเป็นบทสรุปคร่าวๆของเนื้อหาจากบทความนี้เกือบทั้งหมด มาเริ่มกันเลยล่ะกัน
บทความนี้ถูกเผยแพร่โดยสถาบันความเป็นผู้นำและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (IFLAS) หรือ The Institute of Leadership and Sustainability (IFLAS ซึ่งจุดมุ่งหมายของบทความเชิงแนวคิดฉบับนี้มีเพื่อให้ผู้ศึกษามีโอกาสที่จะประเมินการทำงานและ การใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ เพื่อที่จะตอบรับกับ…!!!
“ความล่มสลายของสังคมที่จะมาถึงในอีกไม่นาน (Near-term collapse of society) อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ บทความฉบับนี้ได้วิเคราะห์งานวิจัยที่มาจากทั้งวารสารทางวิชาการและจากสถาบันวิจัยโดยตรงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรวมทั้งผลกระทบต่อ ระบบนิเวศ ระบบเศรษฐกิจและสังคม
ผลการวิเคราะห์งานวิจัยนี้ได้บทสรุปว่า:
“การล่มสลายของสังคมจะเกิดในเวลาอีกไม่นานนี้และไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ และจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในหลายแง่มุมต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยส่วนใหญ่”
ดังนั้น บทความการปรับตัวในเชิงลึกนี้ ได้นำเสนอแนวทางการปรับตัวที่สำคัญๆอยู่สามส่วน ได้แก่
ประการแรกคือ:
-(Resilience) คือ ความสามารถในการกลับสู่สภาพเดิม หรือความหยืดหยุ่น เช่น ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ถ้าหากเราต้องเผชิญกับภัยแล้งอย่างหนักหน่วงเราจะสามารถคงอยู่กับสภาพแห้งแล้งได้อย่างไร? ปัญหาเรื่องน้ำและอาหารเราจะเอามาจากไหน? เราจะเตรียมตัวที่จะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร? ️ด้านความยืดหยุ่นตั้งคำถามกับเราว่า “เราจะรักษาสิ่งสำคัญที่เราต้องการที่จะรักษาไว้ได้อย่างไร?” อะไรที่เราจะต้องรักษาไว้นั้นเป็นคำถามที่ยากมากเพราะคาดว่าหลายๆท่านคงอยากจะเก็บทุกอย่างที่มีความสำคัญต่อตัวเองไว้แต่อะไรล่ะที่มันสำคัญจริงๆที่จะสามารถช่วยให้เราอยู่รอดได้ ดังนั้นปัจจัยสำคัญๆก็จะเป็นเรื่อง แหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัย ช่วงนี้ที่เรายังมีโอกาสตักตวงความรู้ในเรื่องของการเพาะปลูก การทำสวนแบบยั่งยืน ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของดิน น้ำ และสิ่งแวดล้อมรวมถึงวิธีการสร้างที่อยู่อาศัยอย่างปลอดภัยให้กับตัวเองและครอบครัว เป็นต้น เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้บ้าง ถ้าหากจุดที่เราต้องเผชิญมาถึงวันหนึ่งเราก็จะได้สามารถอยู่รอดผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปได้
ประการที่สองคือ:
-(Relinquishment) คือ “การสละออก” ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงการที่ตัวเราและสังคมยอมที่จะละทิ้งทรัพย์สมบัติ ปรับพฤติกรรมและความเชื่อบางอย่างที่จะทำให้สถานการณ์ปัจจุบันเลวร้ายลง เช่น การย้ายถิ่นฐานออกจากแนวชายฝั่ง การปิดโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเปราะบางและสุ่มเสี่ยงหรือการละทิ้งความคาดหวังในพฤติกรรมการบริโภคบางอย่าง ไป ดังนั้น การสละออกจึงได้ตั้งคำถามกับเราว่า“อะไรที่เราต้องละทิ้งเพื่อที่จะไม่ทำให้สถานการณ์แย่ลง?”
📢ความคิดเห็นส่วนตัว: เนื่องจากว่า หลังจากภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นอยู่แล้วนั้นรวมรวมถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ เวลานี้ ส่งผลให้พวกเราต้องสิ้นหวังกับหลายๆเรื่อง เช่น อาจจะต้องย้ายถิ่นหนีออกไปยังพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจากน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายซึ่งประเทศไทยและกลุ่มประเทศในแถบเอเชียจะได้รับผลกระทบนี้โดยตรงและมีความเสี่ยงสูง จากบทความที่วิเคราะห์และการคาดการณ์เกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ได้ชี้แจงไว้อย่างชัดเจนว่าภายในปี 2030 เมืองหลวงของประเทศจะเกิดน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นจึงเป็นเหตุให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตเสี่ยงต้องเตรียมตัวลี้ภัยพิบัตินี้ให้ทันเวลา (ลิงค์ข่าว)
นอกจากนี้แล้ว ยังมีผลกระทบที่เกิดจากปัญหาทางทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดท่ามกลางความต้องการบริโภคของประชากรโลกที่มากเกินไป แต่ปัญหาที่ว่าทรัพยากกรหลักๆทางธรรมชาติที่เริ่มหมดไปนั้นเป็นเหตุมาจากการที่มีกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้าไปขุดเจาะ เช่น บริษัทน้ำมันดิบ บริษัทปิโตเลียม บริษัทเหมืองแร่ บริษัทขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ที่ได้เข้าไปทำลายล้างทรัพยากรต่างๆจนเกือบจะหมดแล้ว กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ดังกล่าวจึงเป็นต้นเหตุของปัญหาทางทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าเมื่อเทียบกับบุคคลธรรมดาทั่วไป นั่นคือสิ่งที่สะท้อนให้พวกเราเห็นว่า ถ้าหาก ณ เวลาใดเวลาหนึ่งของช่วงชีวิตของพวกเราหรือช่วงชีวิตของลูกของหลานเราคงต้องเผชิญกับปัญหานี้โดยตรง เช่นว่า ถ้าน้ำมันดิบที่มีอยู่ใต้ดินแห้งสนิทไปเลยในทุกๆพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าไปขุดเจาะได้อีกและหากบริษัทยังจะดิ้นรนเพื่อขุดเจาะหาน้ำทันดินในป่าลึกๆมันคงจะเป็นไปได้ยากเนื่องจากต้องการเงินทุนสูงมากและพื้นที่ดังกล่าวก็อยู่ในพื้นที่ยากลำบากที่จะเข้าถึง ฉะนั้น เนื่องจากว่า อารยธรรมนี้ยังคงดำรงอยู่และยังดำเนินต่อมาได้จนถึงปัจจุบันนี้ได้นั้นก็เพราะว่าเหล่านักลงทุนและบริษัทยักษ์ใหญ่ได้ค้นพบกับแหล่งน้ำมันดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับอารยธรรมขึ้นมา ผู้คนจึงได้อยู่กันอย่างสะดวกสบายและใช้ชีวิตอย่างหรูหราในเมืองใหญ่มีเวลาเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก มีโอกาสขึ้นเครื่องบินไปยังพื้นที่ห่างไกลได้ทุกหนแห่งเลยทีเดียว ผู้คนส่วนใหญ่จึงติดกับความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก และยังมองข้ามวิถีความเป็นอยู่แบบโบราณไปเมื่อเทียบเป็นเวลากว่าสองสามร้อยปีที่แล้วกับ ณ เวลาปัจุบันนี้ ทุกคนคงเข้าใจถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน สิ่งนี้จึงปรากฏให้เราเห็นว่ามันคือ ความก้าวหน้า ความพัฒนาสูงสุดในประวัติศาสต์ของมนุษยชาติ แต่ ณ ปัจจุบันนี้หลายๆคนคงเริ่มได้ยินคำว่า ความพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้คนต้องหันไปใช้พลังงานหมุนวียน เช่น ต้องติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้หลังบนหลังคาบ้าน ต้องประหยัดน้ำประหยัดไฟฟ้า ต้องหันไปให้ความสำคัญกับพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน อาทิเช่น พลังงานจากกังหันลม พลังงานจากถ่านหิน การใช้ก๊าชธรรมชาติแทนน้ำมัน เช่นไบโอก๊าซ ซึ่งเป็นก๊าซหุ่งต้มที่หมักจากเศษอาหารหรือจากมูลสัตว์และสามารถนำมาใช้ในระดับครัวเรือนและระดับชุมชนได้เป็นอย่างดี แต่ก็ไม่สามารถใช้ได้อย่างยั่งยืนในระดับประเทศหรือระดับโลก ถามว่าทำไมเราถึงได้ยินคำเหล่านี้บ่อยขึ้นมากทุกๆวันล่ะ? คาดว่าที่กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับการสละออกหรือการล่ะทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตทั้งหมดไปนั้นคือคำตอบค่ะ
ด้านล่างนี้เป็นหลักฐานสำคัญของทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด
(คำอธิบายเกี่ยวกับการประเมินค่าถึงทรัพยากรพลังงานสำรองที่เหลืออยู่)
ประการสุดท้ายคือ:
-(Restoration) คือ การกลับคืนสู่สภาพปกติ การฟื้นคืน การฟื้นฟู หรือเรียกอีกอย่างว่า “การบูรณะ” เช่น การฟื้นคืนพื้นที่ป่าเพื่อความสมดุลย์ของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในวงกว้างและลดความจำเป็นในการบริหารจัดการ การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ให้เข้ากับฤดูกาล การกลับมาแสวงหาความบันเทิงที่ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าและการเพิ่มผลผลิตกับการสนันสนุนในระดับชุมชน ทั้งนี้วิธีการปรับตัวเชิงลึกการบูรณะตั้งคำถามกับเราว่า“อะไรที่เราควรจะนำกลับคืนมาเพื่อช่วยบรรเทาความยากลำบากและโศกนาฏกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต?
📢ความคิดเห็นส่วนตัว: ประเด็นนี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากที่พวกเราทุกคนจำเป็นต้องตระหนักถึงคุณค่าและความหมายของการกลับคืนสู่สภาวะปกติ เช่น การฟื้นฟูความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลายไปหรือการเข้าไปอยู่และดูแลรักษาพื้นดินที่ขาดการดูแลเป็นระยะเวลานานๆให้กลับคืนสู่ความสมดุลย์อีกครั้งเพื่อที่เราจะสามารถทำการเพาะปลูกและใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ในอนาคต การฟื้นฟูพื้นดินเพื่อให้ได้มีแหล่งน้ำและแหล่งอาหารกลับคืนมาสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ด้วยการพึ่งพาและอาศัยซึ่งกันและกัน กล่าวคือ มนุษย์จำเป็นจะต้องมีปัจจัยพื้นฐานสำหรับการดำเนินชีวิตทั้ง 4 ประการ นั่นก็คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม่เราถึงจะต้อง กลับคืนสู่ธรรมชาติพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ และที่สำคัญมากที่สุดคือการดูแลรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติเพราะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ชีวิตของมนุษย์ที่ต้องอาศัยปัจจัยทั้งสี่นี้เพื่อการมีชีวิตรอดนั้นต่างก็ล้วนออกมาจากธรรมชาติทั้งหมดเลย ณ ปัจจุบันนี้ผู้คนยังคาดไม่ถึงว่า พวกเราขาดความรู้ในเรื่องของการกลับคืนสู่ธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยใหม่นี้ที่เรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญมากกว่าการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ มนุษย์ยุคใหม่แบ่งแยกตัวเองออกจากธรรมชาติ ตัดขาดจากความเรียบง่ายและไม่เข้าใจธรรมชาติ ต่อสู้กลับธรรมชาติ เอารัดเอาเปรียบธรรมชาติ เป็นส่วนมาก ก็เลยเป็นปัญหาไม่จบสิ้นมาตั้งแต่ช่วงแรกๆของยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ยุคการปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นต้นมา ที่อารยธรรมนี้ได้มีการคิดค้นและก่อสร้างเครื่องจักรขนาดใหญ่และประยุกต์นวัตกรรมต่างๆขึ้นมาเพื่อสามารถใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลได้จนถึงปัจจุบันนี้นั่นเอง
ถ้าถามว่า “แล้วเราจะได้อะไรกลับ ถ้าพวกเราช่วยกันฟื้นคืนผืนป่า ถ้าช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ถ้าช่วยตัวเองให้กลับคืนสู่ธรรรมชาติและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ถ้าเราช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่” เราจะได้อะไรกลับ?
คำตอบก็ง่ายๆเลย เช่นว่า เพียงแค่การที่เรากลับไปดูแลและรักษาพื้นดินที่เราอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่นาข้าวที่ได้มีการปลูกมาหลายชั่วรุ่นแล้ว หรือพื้นดินที่เป็นเกษตรแบบพืชเชิงเดี่ยวมาหลายต่อหลายปีแล้ว หรือแท้กระทั่งพื้นดินว่างเปล่าๆไม่ค่อยได้ทำอะไรปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ เป็นต้น เพียงแค่การกลับเข้าไปอยู่อาศัยและดูแล หรือการทำเกษตรแบบผสมผสานและปลอดสารพิษ หรือการทำเกษตรอินทรีย์ที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นทุกวัน การปลูกพืชผักผลไม้รวมถึงสมุนไพรนานาชนิดร่วมกัน การปลูกมันบ้านหรือมันป่า การเลี้ยงสัตว์ร่วมกันไปด้วยสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี เราก็จะพบกับการกลับคืนมาของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆจะได้มีที่อยู่อาศัยร่วมกันอีกครั้ง อาทิเช่น แมลงต่างๆที่สามารถกินได้ พืชผักผลไม้และสมุนไพรทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่เราทำการเพาะปลูกก็จะมีโอกาสเติบใหญ่และเป็นผลพลอยได้สำหรับมนุษย์ในเรื่องของอาหารและการดำรงชีวิตของพวกเราเอง ในทางกลับกันถ้าเราไม่ทำอะไรเลย ในอีกไม่ช้าก็เร็วพื้นดินที่ว่างเปล่าหรือพื้นดินที่ถูกรบกวนหรือถูกทำลายจากการไถพรวนดินอย่างหนักทุกๆฤดูก็จะขาดสารสารอินทรีย์วัตถุในดิน ขาดสารอาหาร ขาดจุลินทรีย์ชนิดที่เกื้อกูลดินให้สมดุลกัน นั่นก็จะเป็นยิ่งยากลำบากมากขึ้นสำหรับการฟื้นคืนสูสภาพปกติและที่จะยากลำบากมากยิ่งกว่าคือ เราจะเริ่มต้นจากอะไรกัน จะทำยังไงกับดินที่แห้งและแข็งจนขุดไม่เข้ากันล่ะ คงจะใช้เวลาอีกนานกว่าเราจะเริ่มการเพาะปลูกได้ ทั้งเรื่องฤดูกาลแต่ล่ะปี เรื่องน้ำใช้สำหรับรดน้ำพืชผักที่เราปลูกไว้จะมีเพียงพอหรือเปล่านะ? การล่มสลายของสิงแวดล้อมและความหายนะของสิ่งแสดล้อมจึงเป็นอุปสรรคอย่างหนัก คือปัญหาเรื่องความแปรปรวนของอากาศที่ยากที่จะคาดการณ์ได้ จากผลกระทบที่ว่า ถ้าปีไหนแห้งแล้งก็จะแห้งแล้งหนักมาก ถ้าปีไหนฝนตกหนักมากก็จะเกิดน้ำท่วมเฉียบพลันในหลายๆพื้นที่ ถ้าปีไหนอากาศหนาวก็จะยิ่งหนาวมากขึ้นกว่าทุกปี ปีไหนจะมีฝนน้อยฝนมากหรือปีไหนจะแล้งทั้งปีล่ะ จึงบอกได้ว่าถ้าเราเริ่มกลับไปดูแลพื้นดินที่เราอาศัยอยู่อีกภายใน 5-10 ปีข้างหน้าก็จะมีความยากลำบากมากขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นต้น
“ดังนั้น สิ่งที่สวนเราบอกกับตัวเองอยู่เสมอก็คือ “ยิ่งเริ่มต้นเร็วยิ่งดี เริ่มตอนนี้ตอนที่เรายังมีแรงทำงาน เริ่มตอนนี้ตอนที่สภาพอากาศยังเอื้ออำนวย เริ่มตอนนี้ตอนที่เรายังเหลือเวลาได้เห็นพืชผักผลไม้ที่เราปลูกไว้เติบโตและได้กินผลในที่สุด เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เริ่มเร็วได้เห็นผลเร็ว เราจึงต้องลำบากตอนนี้เราถึงจะดำรงอยู่ได้ในวันข้างหน้า”
จุดนี้หลายคนคงจะเกิดคำถามขึ้นว่า:
“เฮ้ย… อะไรจะล่มสะลายน่ะ? ทำไม? เพราะเหตุใดกัน?” จากการสืบค้นในฐานข้อม้ลพบว่ากลุ่มคำเหล่านี้ ได้แก่
“การล่มสลายของสิ่งแวดล้อม การล่มสลายของระบบเศรษฐกิจ การล่มสลายของสังคม การล่มสลายของอารยธรรม ความหายนะของสิ่งแวดล้อม และการสูญพันธ์ุของมนุษยชาติ ไม่เคยปรากฎในบทความใดๆในวารสาร”!
จากการสืบค้นบทความเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีบทความใดๆที่วินิจฉัยถึงการล่มสลาย!!!! ผู้อ่านอาจจะตั้งคำถามว่า “เพราะเหตุใด” ? คำตอบสำหรับคำถามนั้นคือยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่ชัด! ดังนั้น การศึกษาที่เกี่ยวกับการปรับตัวต่อสภาพอากาศทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า “เราสามารถรักษาสภาพสังคมในรูปแบบที่เป็นอยู่จากผลกระทบที่อยู่ในวิสัยที่รับมือได้” แนวคิดของการปรับตัวเชิงลึกมีความคล้ายกับแนวคิดข้างต้นในจุดที่ว่า “เราจำเป็นที่ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง” ในทางกลับกันบทความการปรับตัวเชิงลึกจึงใช้การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อรับมือกับการล่มสลายของสังคมในปัจจุบันนั่นเอง
(คุณ Wanchat Theeranaew)
ได้แปลถ่ายทอดบทความนี้ไว้อย่างล่ะเอียด ดังต่อไปนี้
-หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกนั้นไม่สามารถปฏิเสธได้ สิบเจ็ดในสิบแปดปีที่ร้อนที่สุดในการบันทึกตลอด 136 ปีล้วนเกิดขึ้นหลังจากปี พ.ศ. 2554 อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกได้เพิ่มขึ้น 0.9 องศาเซลเซียสนับจากปี พ.ศ. 2423 (NASA/GISS,2018) จุดที่น่าวิตกที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกคือ ขั้วโลกเหนือซึ่งในปีพ.ศ. 2559 มีอุณหภูมิบนบกสูงถึง 2 องศาเซลเซียส นับจากอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างปี พ .ศ. 2424-2553 อุณหภูมิที่ขั้วโลกเหนือในปีนั้นสูงกว่าที่เคยเป็นประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2550, 2554 และ 2558 ถึง 0.8 องศาเซลเซียสและยังสูงกว่าจุดเริ่มต้นของการบันทึกอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2443 ถึง 3.5 องศาเซลเซียส (Aaron-Morrison et al, 2017)
-ความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นในขั้วโลกเหนือเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไปเพราะมันส่งผลกระทบต่อกระแสลมในซีกโลกตอนบนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลมเจ็ทสตรีมและกระแสน้ำวนขั้วโลก ที่ส่งผลทั้งให้มีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของลมร้อนไปสู่ขั้วโลกเหนือและของลมหนาวออกมาจากขั้วโลกเหนือ เคยมีช่วงวันในปี พ.ศ. 2561 ที่อุณหภูมิของขั้วโลกเหนือสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตของ เดียวกันนั้นถึง 20 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นของขั้วโลกเหนือส่งผลให้ น้ำแข็งละลายเป็นจำานวนมาก พื้นที่เฉลี่ยของการเพิ่มของพื้นน้ำแข็งในเดือนกันยายนลงลดถึง13.2 % ทุกทศวรรษนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 จนสองในสามของพื้นน้ำแข็งในขั้วโลกได้ละลายหายไป (NSIDC/NASA, 2018) ข้อมูลนี่เป็นที่น่าวิตกอย่างยิ่งถูกมองไปถึงการเปลี่ยนแปลงในปริมาตรของน้ำแข็งเพราะมันเป็นตัวบ่งชี้ถึงความทนทานของน้ำแข็งต่อความร้อนและพายุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ปริมาตรของน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือต่ำที่สุดในปีพ.ศ. 2560 และมีแนวโน้มที่จะ ลดลงเรื่อยๆ
ดังนั้น ผลกระทบที่เป็นผลมาจากความแปรปรวนของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายอย่างที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ ที่ชัดเจนมากก็คือความถี่และความรุนแรงที่มาจากผล กระทบของพายุ ภัยแล้งและอุทกภัยอันเนื่องมา จากความแปรปรวนเพราะพลังงานที่เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศ
-ฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับได้ในทางการเมืองว่าเราจำเป็นต้องควมคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้ เกิน 2 องศาเซลเซียสเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่จะมีความอันตรายและ อยู่เหนือการควบคุม ที่จะส่งผลกระทบหลายๆด้าน อาทิเช่น ความอดอยากในวงกว้าง โรคระบาด อุทกภัยวาตภัย การอพยพย้ายถิ่นและสงคราม แต่แท้จริงแล้วเราจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและถ้าเรายังไม่ได้เริ่มที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะควบคุมคาร์บอนให้อยู่ในขีดจำกัด การเพิ่มปริมาณการปล่อยคาร์บอนอีก 2% ในปี พ.ศ. 2560 แสดงให้เห็นว่าเรายังไม่สามารถแม้แต่จะชะลอการปล่อยคาร์บอนด้วยการพยายามแยกขาดของระบบเศรษฐกิจจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
นี่แสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกเข้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียสได้ อีกทั้งการประเมินของไอพีซีซี (IPCC)ยังมีความขัดแย้งกับนักวิทยาศาสตร์หลายๆท่านที่ประเมินว่าปริมาณของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในปัจจุบันจะนำไปสู่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 องศาเซลเซียส นั่นหมายความว่าเราไม่เหลืองบประมาณคาร์บอนอีกแล้ว เพราะเราได้ใช้มันเกินกว่าขีดจำกัดไปแล้ว
-อีกประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างมากคือประเด็นของก๊าซมีเทนในรูปของ (มีเทนคลาเทรต) บนพื้นทะเลของอาร์คติกที่มีโอกาสจะถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ในปีพ.ศ. 2553 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้ตีพิมพ์ผลงานเพื่อ เตือนเกี่ยวกับการที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นในขั้วโลกเหนือจะเพิ่มความเร็วและปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศ อันจะส่งผลถึงขั้นภัยพิบัติต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกเนื่องจากอุณหภูมิที่จะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 5 องศาเซลเซียสในช่วงเวลาไม่กี่ปี (Shakhova et al, 2010) เนื่องจากก๊าซมีเทนที่ถูกปล่อยออกมาจากก้นทะเล ซึ่งจะนำไปสู่การล่มสลายของสังคมอย่างฉับพลัน!
การประเมินถึงการสูญพันธ์ุของมนุษย์ชาติที่เรากำลังจะเผชิญในเวลาอันใกล้สามารถอ้างอิงได้จากข้อสรุปของนักธรณีวิทยาที่ว่าการสูญพันธ์ุครั้งใหญ่ครั้งที่ผ่านมาซึ่ง 95% ของเผ่าพันธ์ุที่เคยอยู่มาก่อนสูญพันธ์ุไปเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็วจาก”ก๊าซมีเทน” (Lee, 2014) ; Brand et al,2016)
-ถ้าหากว่าเรายอมรับว่าการล่มสลายของเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศมีความเป็นไปได้สูง เราก็จะเริ่มที่จะค้นคว้าถึงลักษณะและความเป็นไปได้ของการล่มสลายนั้น เมื่อนั้นจะเป็นเวลาที่เราเริ่มค้นพบมุมมองใหม่ๆ บางคนอาจจะวางกรอบของอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการล่มสลายของเศรษฐกิจและสังคมว่ามันไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะล่มสลายไปหมดพร้อมกันนิ ก็แค่ระบบเศรษฐกิจและระบบของสังคมในวงกว้างจะเปลี่ยนไป หรือ
บางคนมองว่าการล่มสลายอาจจะนำมาซึ่งการนำมนุษยชาติไปสู่วิถีชีวิตใหม่ที่จะก้าวข้ามการบริโภคนิยมและตระหนักถึงคุณค่าของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติมากขึ้น กล่าวคือวิถีชีวิตใหม่ในแบบของตัวท่านเองที่ต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติมากขึ้น
-ข้อมูลการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในขั้วโลกและผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลกบ่งชี้ว่าเรากำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะส่งผลกระทบในทางลบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรรมภายในอีกไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า ทั้งนั้นผลกระทบได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ยังมีคน บางกลุ่มที่คิดว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสูญพันธ์ุของมนุษย์ได้ เชื่อว่าจะไม่มีใครอ่านบทความนี้เพราะเราจะได้เห็นการล่มสลายของสังคมในอีก 12 ปีข้างหน้า เนื่องความล้มเหลวในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรในซีกโลกตอนบนทั้งหมด พวกเขาเห็นว่าการล่มสลายของสังคมจะนำไปสู่การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และส่งผลให้มนุษย์สูญพันธ์ุเป็นสิ่งที่จะเกิดในไม่ช้า เป็นที่แน่นอนที่สุดว่าอีกไม่เกิน 5 ปี หลังจากนี้ความชัดเจนและสะเทือนอารมณ์ของข้อความนี้เป็นสาเหตุที่การสูญพันธ์ุในเวลาอันใกล้ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของมนุษย์ (ไอเอ็นทีเฮชอี) เป็นคำที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายบนโลก ออนไลน์ในบทสนทนาเกี่ยวกับการล่มสลายอันเนื่องมาจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ผลกระทบทางภาคเกษตรกรรมในวงกว้างที่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เหมือนหลายศตวรรษที่ผ่านมาส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานอาหารที่มีการนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศหยุดชะงักลงและผู้คนที่ต้องพึ่งพาและขึ้นอยู่กับอาหารเหล่านั้นไว้บริโภคจะทำอย่างไรต่อไป ถ้าไม่มีอาหารในตลาดแล้ว? รวมถึงการทำเกษตรกรรมในแต่ล่ะภูมิภาคของประเทศก็จะมีความยากลำบากมากยิ่งขึ้นเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำใช้สำหรับการอุปโภคและการบริโภค เนื่องมาจากปัญหาอ่างกักเก็บน้ำเหือดแห้งเร็วขึ้นในแต่ล่ะภูมิภาค น้ำในแม่น้ำและลำคลองก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ นั่นก็เพราะว่าเกิดการใช้น้ำอย่างไม่มีขีดจำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้น้ำในปริมาณมากตลอดทั้งปี รวมถึงปัญหาด้านมลพิษทางน้ำก็พบว่ามีน้ำเน่าเสียและเป็นพิษมากขึ้นทุกปีฝนก็ตกน้อยกว่าแต่ล่ะปี เป็นต้น
(บทสรุปสั้นๆจากบทความฉบับเต็ม)
เป็นที่น่าเสียดายว่าข้อมูลล่าสุดทางภูมิอากาศ ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและข้อมูลที่สะท้อนปริมาณคาร์บอนจำนวนมากที่เกิดจากวิถีชีวิตของเราแสดงให้เห็นว่าแผ่นดินถล่มเริ่มต้นขึ้นแล้ว เนื่องจาก “เราไม่สามารถรู้ได้ว่าจุดที่ไม่สามารถย้อนกลับไปได้ อยู่ที่ไหนจนกว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้น” การลดการปล่อยคาร์บอนและการนำคาร์บอนออกจากชั้น บรรยากาศ (ทั้งในกระบวนการตามธรรมชาติและฝีมือมนุษย์) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นรวมไปถึงการริเริ่มใหม่ๆในการจัดการกับก๊าซมีเทน ในปัจจุบันผลกระทบที่สร้างความเสียหายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป จีโอเอ็นจิเนียริงมีแนวโน้มที่จะใช้การไม่ได้หรือส่งผลเสียกลับมา ดังนั้นประชาคมนโยบายภูมิอากาศกระแสหลักเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการศึกษาการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศอย่างจิงจัง
เราจึงจำเป็นต้องตระหนักว่ารูปแบบการปรับตัวแบบใดบ้างที่เป็นไปได้ งานวิจัยล่าสุดชี้ว่าสังคมมนุษย์จะเผชิญกับการพังทลายของระบบพื้นฐานของสังคมในอีกไม่กิน10 ปี เนื่องมากจากแรงกดดันอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ความยุ่งเหยิงที่จะเกิดขึ้นนี้รวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของการขาดสารอาหาร ความอดอยาก โรคระบาด ความขัดแย้งและสงคราม แม้แต่ประเทศที่ร่ำรวยก็ไม่สามารถหนีพ้นวิกฤติการณ์ดังกล่าวได้ (Bendell et al, 2017)
ท้ายที่สุดนี้ หลังจากอ่านบทสรุปของบทความนี้แล้วหลายท่านคงจะตกตะลึงเป็นอย่างมากและเกิดความสับสนอาจจะถึงขั้นที่ต้องรู้สึกหวาดกลัวสำหรับอนาคตของพวกเราอย่างหนัก หรืออาจจะตั้งคำถามขึ้นมาว่า เอะ มันใช่หรอ? มันจะเป็นไปได้อย่างไรนะ? ทำไมไม่เคยได้ยินอะไรแบบนี้มาก่อนเลย? นั่นก็เป็นเพราะว่าเรื่องราวเหล่านี้ไม่ค่อยจะปรากฏให้เราได้เห็นหรือได้ยินข่าวสักเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นบทความเชิงวิชาการ ข่าววารสารต่างๆ บทความทั่วๆไป หรือข่าวคราวความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและระบบของสังคมและอารยธรรมนี้ที่จะบ่งชี้ถึงปัญหาที่โลกของเรากำลังเผชิญหน้าอยู่ในฉบับภาษาไทย อาจจะมีบ้างแต่ก็น้อยมากรวมถึงผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจที่จะศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นดังที่กล่าวไปเบื้องต้น ในขณะที่ มีหนังสือที่มีความสำคัญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงหรือเหตุการณ์ล่มสลายอยู่หลายต่อหลายเล่มแต่ก็เป็นงานเขียนของชาวต่างชาติซะส่วนใหญ่ จึงส่งผลให้เรื่องราวเหล่านี้แพร่หลายในสังคมตะวันตกมากกว่า ณ ตอนนี้เรื่องราวของการล่มสลายของอารยธรรมได้เริ่มผุดขึ้นมามากขึ้นทุกๆวัน
ทั้งนี้แล้วต้องขอขอบคุณไปทางคุณ Wanchat Theeranaew ที่ได้ถ่ายทอดผ่านผลงานแปลอันทรงพลังจากบทความ: Deep Adaptation: A map for Navigating Climate Tragedy ฉบับภาษาไทยนี้ สู่สังคมไทย และต้องขอคุณเดฟที่ได้แนะนำบทความนี้และได้อธิบายช่วยเหลือเพื่อเขียนเป็นบทสรุปนี้ลงบนเวปไซต์ของสวนเราด้วย
ทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ทั้งจากบทความการปรับตัวเชิงลึกและจากความคิดเห็นส่วนตัวที่ได้กล่าวไว้นั้น ถือเป็นเพียงแค่การแบ่งปันแนวทางสำหรับการปรับตัวและการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อที่เราจะได้มองถึงความเหมาะสมสำหรับตัวเองว่า แนวทางทั้งสามอย่างมีเหตุผลหรือไม่ สามารถที่จะช่วยให้เราอยู่รอดต่อไปได้หรือไม่ หรืออาจจะช่วยให้เราเริ่มที่จะเข้าใจปัญหาเรื่องสภาวะโลกร้อนได้มากยิ่งขึ้นและตั้งคำถามให้กับตัวเองว่าแล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อที่จะสามารถรับมือได้
“แน่นอนว่าไม่มีแนวทางไหนหรือวิธีการใดๆที่จะสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างตรงๆหรือเหมาะสมมากที่สุดสำหรับแต่ล่ะบุคคลได้ ฉะนั้นแต่ะล่ะท่านจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้เพื่อที่จะนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมในรูปแบบของตัวท่านเอง” จากมุมมองของสวนฟื้นฟูวิถียั่งยืนของเราก็ถือว่าแนวทางทั้งสามนั้นมีเหตุมีผลเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้เราสามารถที่จะดำเนินชีวิตรอดต่อไปได้ นั่นก็คือ
*การกลับคืนสู่ธรรมชาติ การศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวพืชผักและผลไม้ป่านานาชนิดรวมถึงพืชผักผลไม้ที่เราสามารถปลูกได้ตามสภาพแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่
*การกลับไปใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและกลมกลืนกับธรรมชาติรวมถึงการกลับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่
*การกลับไปเรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่โดยยึดหลักวิถีชีวิตแบบสมัยก่อนเพื่อที่เราจะสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ขึ้นอยู่กับระบบใดๆ
*การละทิ้งความสะดวกสบายที่ไม่จำเป็นออกไป การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเราด้วยการบริโภคอาหารตามฤดูกาล พืชผักและผลไม้ตามฤดูกาล อาหารที่เราสมารถเก็บหาได้จากที่อยู่อาศัยของเราเอง เป็นต้น
*การศึกษาเรียนรู้ถึงวิธีการเอาตัวรอดท่ามกลางวิกฤติการณ์ของการล่มสลายต่างๆดังที่กล่าวไปเพื่อถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับความหายนะต่างๆในอนาคตอันใกล้นี้
ถามว่าเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นตอนไหนล่ะ?
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเตรียมตัวทันไหม? คำตอบก็คือเหตุการณ์ล่มสลายต่างๆนี้ได้เกิดขึ้นนานมาแล้วและเกิดขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง มานับหลายศตวรรษแล้วจนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็กำลังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั่วโลกซึ่งเพิ่มความรุนแรงและความชัดเจนมากขึ้นทุกวัน แต่เพียงแค่เรามองไม่เห็น เพียงแค่เราคาดไม่ถึง เพียงแค่เราไม่รู้สึกว่ากำลังมีอะไรแปลกๆเกิดขึ้นในระบบของสังคมและในอารยธรรมนี้เอง เพียงแค่ทุกๆอย่างยังดูเหมือนเดิม เพียงแค่ยังมีงานให้ทำ ยังมีรายได้เลี้ยงชีพ ยังมีอาหารเพียงพอให้เรากิน อากาศก็แปรปรวนบ้างแต่ก็ยังอยู่ได้ ก็เลยเป็นบทสรุปที่ว่าทำไมเราจึงมองไม่เห็นถึงความล่มสลายต่างๆนั้นเลย
แต่ถ้าหากวันนี้คุณมีเวลาคิดทบทวนและถามกับตัวเองว่า ทำไมชีวิตของเราเริ่มที่จะอยู่ยากมากกว่าแต่ก่อนขึ้นทุกๆวันนะ? ทำไมเราต้องทำงานเยอะหลายชั่วโมงต่อวันเพื่อที่จะมีรายได้เพียงพอสำหรับอยู่รอดได้กับสังคมเมือง ทำไมผู้คนตอนนี้หันไปให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมแบบใหม่มากขึ้นล่ะ? ทำไมระบบเศรษฐกิจตอนนี้ไม่ค่อยดีเลยทำอะไรก็ลำบากมากขึ้นทุกวัน ทำไมมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ กำลังเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นทุกๆวัน เป็นต้น นั่นถือเป็นคำตอบได้ว่าความล่มสลายต่างๆกำลังดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนถึง ณ จุดจุดหนึ่งที่มันไม่มีอะไรที่จะใช้งานได้อีกต่อไป เมื่อระบบต่างๆพัฒนาขึ้นจนถึงจุดสูงสุด ในระดับที่ว่ามันไม่รู้จะขึ้นสูงสุดอีกอย่างไร
และนั่นก็ถึงเวลาที่มันก็จะล่มสลายของมันไปเองในที่สุด แล้วผู้คนที่ยังต้องอาศัยและพึ่งพาระบบเหล่านี้อยู่จะทำอย่างไรล่ะ? มันก็น่าคิดกันเล่นๆดูนะ หรือผู้อ่านอาจจะมองภาพไม่ออกที่กล่าวไปมันคืออะไรหร๋อ? ยกตัอย่างเช่น
“ถ้าเราไปปีนภูเขาที่สูงมากๆ และเราก็เดินขึ้นอยู่อย่างนั้นแหละ บางคนอาจจะเดินเร็วก็ไปถึงเร็ว บางคนอาจจะเดินช้าก็ถึงช้า แต่ตอนที่ทุกคนเดินไปถึงยอดเขาที่สูงมากที่สุดแล้ว ก็จะไม่มีใครเลยที่จะสามารถเดินขึ้นต่อไปอีกได้ ถ้าเดินอีกก็อาจจะตกยอดเขาไปเลยทีเดียว แต่เมื่อทุกคนที่ยืนอยู่บนยอดเขาที่สูงสุดแล้วต่างก็ต้องเดินกลับลงมายังพื้นดินที่เราเดินได้และใช้ชีวิตต่อไป”
นั่นก็เปรียบเสมือนการล่มสลายของสังคมที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่ระบบของสังคมได้วิวัฒน์หรือพัฒนาไปจนถึงจุดสูงสุด มันก็จะตกลงมาเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กลับแรงขับเคลื่อนของสังคมและผู้คนก็คงจะดำเนินชีวิตต่อตามสภาพที่เปลี่ยนไปนั่นเอง!
ดังนั้น แนวทางและวิธีการของบทความการปรับตัวเชิงลึกนี้จึงมีความเป็นไปได้มากขึ้นสำหรับผู้ที่อ่านบทความนี้จบ
ถ้าหากผู้อ่านท่านใดมีคำถามเพิ่มเติมอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบทความนี้สามารถติดต่อได้ที่อีเมล์นี้ได้ [email protected] หรือทางเวปไซต์: feunfoo.org และทางเฟสบุ๊คเพจของสวนเราได้โดยตรง
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความนี้:
กานต์ (Karn) มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน) อายุ 26 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ “สาขาวิชา ภาษาอังกฤษธุรกิจ” (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) ได้เข้าทำงานด้านการโรงแรมระดับห้าดาวเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี แต่ต้องโยกย้ายงานอีกครั้งเพื่อตามหาคำตอบว่าอะไรกันนะที่ “ใช่” สำหรับเรา ได้เข้าทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์อยู่สามถึงสี่เดือนแต่ก็ยังเกิดคำถามกับตัวเองว่า ทำไมยังไม่รู้สึกว่าตัวเรามีความปลอดภัยเลยเวลาอยู่ในเมืองใหญ่ผู้คนก็อยู่กันแออัดมาก รูปแบบการดำเนินชีวิตก็ยุ่งเหยิง ข้าวของก็แพงมาก เพราะว่าก็เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว
จากนั้นก็เลยได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมสวนเกษตรแบบผสมผสานแห่งหนึ่งอยู่ที่ จ.กระบี่ พอได้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตในสวนเล็กๆ ซึ่งมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย เป็นเจ้านายตัวเอง ร่วมกับการใช้แรงของตัวเองทำหลายๆอย่างขึ้นมามันรู้สึกดีกว่าเราทำงานให้กับคนอื่นเป็นหลายเท่า ตัวเองก็เลยรู้สึกประทับใจและติดใจแนวคิดของการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและการใช้ชีวิตด้วยการพึ่งพาตัวเองได้มากกว่าการใช้ชีวิตอยู่อย่างเคร่งเครียดในเมือง นับตั้งแต่นั้น กานต์ ก็ได้เริ่มต้นทำสวนช่วยกันกับเดฟที่สวนนั้น และ ณ ปัจจุบันนี้เรามีสวนเกษตรของตัวเอง อยู่ที่ จ. จันทบุรี ก็เป็นเวลา 1 ปีต้นๆแล้ว ที่เราอยู่นี่และสวนเรายังไม่มีไฟฟ้าใช้ เพราะเป็นพื้นที่ห่างไกลจากถนนเส้นหลัก แต่พวกเราก็ยังอยู่ได้ เพียงแค่ลำบากนิดหน่อยที่ต้องขึ้นลงภูเขาไปบ้านเพื่อนสำหรับชาร์จหม้อไฟและโทรศัพท์
สำหรับเวลาว่างจากการทำสวนของพวกเรา: เราก็จะอ่านหนังสือ เดฟจะเขียนบทความ เขียนเวปไซต์ของสวนเรา ว่าเราทำอะไร เราทำสวนอย่างไร เดฟเป็นคนที่ชอบอ่านและชอบเขียนมาก เขาจึงแนะนำหนังสือภาษาอังกฤษหรือบทความที่สำคัญๆให้กับกานต์อยู่เสมอ ถ้ากานต์ชอบและเห็นด้วยก็จะแปลงานจากบทความที่สำคัญๆ ทำเป็นบทสรุปเหมือนบทความข้างต้นนี้ และมีหนังสืออยู่หลายเล่มที่เดฟแนะนำให้ ซึ่งพวกเราคิดว่ามีความสำคัญมากและอยากจะถ่ายทอดความรู้นั้นๆออกมาสู่ผู้ที่ชื่นชอบในการอ่าน ตอนนี้มีงานแปลเล่มแรกของตัวเองแต่ยังอยู่ในช่วงนำเสนอให้กับทางสำนักพิมพ์อยู่ คาดว่าคงจะได้ติดตามผลงานของสวนฟื้นฟูวิถียั่งยืนกันต่อไป
โปรดติดตามพวกเราได้อีกในบทความหน้านะ :)