เมื่อชีวิตในแบบชนล่าสัตว์-เก็บของป่า (hunter-gatherer) ไม่ใช่อดีตอีกต่อไป!

เมื่อชีวิตในแบบชนล่าสัตว์-เก็บของป่า (hunter-gatherer) ไม่ใช่อดีตอีกต่อไป!

เมื่อชีวิตในแบบชนล่าสัตว์-เก็บของป่า (hunter-gatherer) ไม่ใช่อดีตอีกต่อไป!

เมื่อชีวิตในแบบชนล่าสัตว์-เก็บของป่า (hunter-gatherer) ไม่ใช่อดีตอีกต่อไป!

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญกันอยู่นั้น คงจะหนีไม่พ้นปัญหาทางด้าน ความขัดแย้งทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นในสังคมและชนชาติ เรื่องสิทธิทางการเมืองของสตรี ที่ยังไม่ได้รับความเชื่อมั่นเท่าที่ควร เรื่องทรัพยากรธรรมชาติเหลือน้อย เรื่องปัญหาทางสิ่งแวดล้อมทั้งทางบกและทางทะเล และที่สำคัญมากที่สุดก็คือปัญหาจาก การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate change ซึ่งทุกวันนี้มันอยู่สภาวะที่เราไม่อาจจะรับมือ หรือ หลีกเลี่ยงกับภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้แล้ว เช่น หากอุณภูมิโลกเพิ่มขึ้นเป็น 2 องศาเซลเซียส ในช่วงปีไหนก็ตามหลังจากนี้เป็นต้นไป มันจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อระบบเกษตรกรรมทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่อง ความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งมีจำนวนประชากรโลกเป็นครึ่งหนึ่งต้องพึ่งพาธัญพืชจำพวกข้าว ข้าวโพด และข้าวสาลี ธัญพืชทั้งสามชนิดนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะได้ผลผลิตน้อยลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลให้น้ำทะเลสูงขึ้นเป็นอีกหลายเมตร จึงจะทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ทำเกษตรกรรมไป และดินก็เค็มกว่าเดิม จนบางพื้นที่อาจจะอยู่อาศัยไม่ได้อีกเลย เป็นต้น นอกจากนี้สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้เกิดสภาพแห้งแล้งรุนแรง (ยากลำบากต่อการทำเกษตรและการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด) เกิดน้ำท่วมฉับพลันจากพายุรุนแรง เกิดสงครามแย่งชิงอาหารและที่อยู่อาศัยในหลายพื้นที่ทั่วโลก ภัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากสภาวะโลกร้อนยังจะส่งผลถึงความด้อยอำนาจของรัฐในการควบคุมและจัดการประชากรของตนอีกด้วย และผลกระทบที่รุนแรงอย่างหนักแบบสุดขั้วเลยก็คือ มันจะส่งผลให้เกิด “การล่มสลายของอารยธรรม” ทั้งในแบบฉับพลันและแบบถดถอยลงไปเรื่อยๆ (ยังไม่มีท่านใดทราบอย่างแน่ชัดว่ามันจะเกิดขึ้นตอนไหน บ้างก็ชี้ว่าอีก 40 ปี/ อีก 50 ปี/ หรืออีก 100 ปีข้างหน้า แต่มีบทความวิจัยเฉพาะกิจฉบับหนึ่งที่ได้แสดงหลักฐานอย่างชัดเจนว่า อารยธรรมยุคใหม่อาจจะล่มสลายลงในเวลาอีก 10 ปีข้างหน้านี้ (ดาวน์โหลดเอกสารวิจัยฉบับภาษาไทยนี้ได้ที่นี่)  แล้วแต่ว่าสังคมไหนจะโดนมากโดนน้อยเท่าไหร่ และทุกสังคมทั่วโลกจะโดนกันแน่นอนเหมือนที่มันเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับอารยธรรมโบราณในอดีต ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างฉับพลันทั้งนั้น

งานวิจัยชิ้นนี้ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุมหลายประเด็น รวมถึงได้เปิดเผยข้อมูลแบบจำลองความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่ไม่คงที่ในยุคก่อนทำเกษตรกรรม และในช่วงเริ่มต้นทำเกษตรกรรมของสังคมมนุษย์ ที่มีสภาพอากาศคงที่ยาวนานเป็นพิเศษ และเหมาะสมต่อการเพราะปลูกธัญญาหาร งานวิจัยฉบับนี้ชื่อว่า Our hunter-gatherer future: Climate change, agriculture and uncivilization เขียนโดย John Gowdy ศาสตราจารย์กิตติคุณคณะเศรษฐศาสตร์ จากสถาบันโพลิเทคนิคเรนส์ซเลียร์ (Rensselaer Polytechnic Institute) เมืองทรอย รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาชี้แนะถึงนโยบายมุ่งมั่นต่างๆที่จะส่งผลลัพธ์เชิงบวกสูงในระยะยาว ได้แก่ นโยบายการลดจำนวนประชากรอย่างเข้มงวด (Aggressive population reduction policies) นโยบายการฟื้นฟูธรรมชาติ (Rewilding) และนโยบายอนุรักษ์ปกป้องวัฒนธรรมชนพื้นเมืองที่ยังคงเหลืออยู่ในโลก (Protect the world’s remaining traditional cultures) เขาได้สร้างความเข้าใจในรูปแบบใหม่ให้กับผู้อ่านเกี่ยวกับ ปัญหาหลักๆ ของสังคมเกษตรกรรม ปัญหาหลักๆ ของอารยธรรมมนุษย์ยุคใหม่ และพาเราย้อนมองกลับไปถึงสังคมมนุษย์ในยุคบรรพบุรุษของเรา นั่นก็คือ สังคมชนล่าสัตว์และเก็บของป่า (hunter-gatherer society) ซึ่งเป็นสังคมที่อยู่มาได้อย่างเนิ่นนานและยั่งยืนในตลอดประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ เมื่อเทียบกับสังคมเกษตรกรรมที่ดำรงอยู่มาได้เพียงไม่กี่พันปีก็ล่มแตกสลายไป

ที่สำคัญยังได้บทสรุปมาว่า ทุกนโยบายใช้งบประมาณต่ำ และได้ผลลัพธ์เชิงบวกสูงในระยะยาว เมื่อเทียบกับวิธีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (ที่ต้องใช้งบประมาณสูงมาก) เช่น ลงทุนใช้เทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ ใช้พลังงานทางเลือกแทน และใช้นโยบายการสร้างความยั่นยืนในอนาคตของรัฐบาลทั่วโลก ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบันให้ดีขึ้นได้สักเท่าไหร่ และที่สำคัญคือไม่สามารถแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้เลย

กลับมาที่ประเด็นหลักของบทความนี้ดีกว่า ทำไมวิถีชีวิตในแบบชนล่าสัตว์และเก็บของป่าคงจะไม่ใช่แค่เรื่องราวในอดีตอีกแล้วล่ะ? คำตอบคือก็เป็นเพราะว่า หนทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือให้เราอยู่รอดพ้นภัยคุกคามจากทั้งสภาวะโลกร้อนและสภาวะอื่นๆ ได้ อย่างเช่นปัญหาเรื่อง น้ำ อาหาร ที่อยู่อาศัย ป่าธรรมชาติเหลือน้อย และอากาศที่เป็นมลพิษมากขึ้นทุกวันๆ หนทางนั้นก็คือการสับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราเอง ในเมื่อตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์สายพันธุ์เรา (โฮโม เซเปียนส์ Homo Sapiens) ซึ่งดำรงอยู่มาทั้งหมดเป็นเวลาประมาณ 300,000 ปี (คิดเป็น 97 เปอร์เซ็นต์ ของมนุษย์เราได้ดำรงอยู่มาในแบบชนล่าสัตว์-เก็บของป่า และคิดเป็นเพียง 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มนุษย์ดำรงอยู่มาในแบบสังคมเกษตรกรรม) พวกเขาอยู่รอดผ่านพ้นสภาวะต่างๆในความผลันผวนทางสภาพอากาศของโลกมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว

วิถีชีวิตในสังคมของชนล่าสัตว์-เก็บของป่า มีความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ ทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่อย่างอิสระได้ด้วยตัวเอง พวกเขาไม่มีความแบ่งแยกทั้งกับมนุษย์เองและกับพืชพรรณสัตว์ป่าชนิดอื่น พวกเขาใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องกลืนกันกับโลกธรรมชาติมากกว่า พวกเขาวางตัวเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ พวกเขาอนุรักษ์และปกป้องธรรมชาติ พวกเขาจึงมีแหล่งอาหารกินที่หลากหลาย มีที่อยู่อาศัยปลอดภัย และพร้อมเคลื่อนย้ายถิ่นอาศัยไปตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทุกเมื่อ พวกเขามีร่างกายแข็งแรงและมีทักษะสูงในการอยู่รอด พวกเขาจึงดำรงอยู่มาได้นานกว่าเมื่อเทียบกับวิถีชีวิตของสังคมเกษตรกรรม และที่จริงแล้ววิถีชีวิตของพวกเขาไม่ได้สูญหายไปไหน มันยังคงมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก มันยังใช้งานได้ในกลุ่มชนที่ยังหลงเหลืออยู่ที่ไม่ได้ตกเป็นเหยื่อของวัฒนธรรมเด่น (Dominant culture) หรือวัฒนธรรมโลกาภิวัตน์ที่ปฏิบัติกันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน พวกเราคงจะมีโอกาสได้เรียนรู้จากพวกเขาเยอะมากกว่านี้ หากวัฒนธรรมของพวกเขาไม่ถูกทำลายไปจากการเข้าครอบครอบดินแดนต่างๆของเหล่าจักรวรรดินิยมในอดีตเป็นต้นมา

การเริ่มต้นทำเกษตรกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นได้ ก็เป็นเพราะว่า มีสภาพอากาศคงที่ยาวนานเป็นพิเศษ นั่นก็คือยุคโฮโลซีน Holocene (ยุคสมัยทางธรณีวิทยาที่เริ่มต้นมาประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว) การทำเกษตรกรรมใดๆ จึงติดอยู่กับระบบสภาพอากาศของโลก หากสภาพอากาศของโลกผันผวนแบบ เดี๋ยวร้อน /เดี๋ยวหนาวขึ้นลงสลับกันไปมาอีกครั้ง
มันก็จะส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรโดยตรง งานวิจัยชิ้นนี้ได้ยกแบบจำลองทางสภาพอากาศในยุคไพลสโตซีน (ยุคน้ำแข็งต่างๆ) บนพื้นที่โลกส่วนใหญ่ที่เป็นน้ำแข็งมาให้ดู จึงพบว่ามนุษย์ในช่วงเวลานั้นไม่สามารถทำการเพาะปลูกแบบยาวนานได้เหมือนในยุคโฮโลซีน เพราะเดียวก็ต้องเจอกับสภาพอากาศแปรปรวนอีกรอบ มนุษย์ในช่วงยุคน้ำแข็งจึงเลือกไม่ทำเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม การรู้จักทำเกษตรกรรมของมนุษย์ในยุคโฮโลซีนไม่ได้เป็นผลมาจากที่พวกเขาฉลาดกว่ามนุษย์ในยุคอื่น แต่เป็นแค่มียุคสมัยที่สภาพอากาศคงที่เป็นพิเศษซึ่งเอื้ออำนวยต่อ การเพาะปลูก การสร้างรัฐขยายเมือง การรวมอำนาจรัฐเป็นศูนย์กลาง การสร้างระบบอุตสาหกรรมขนานใหญ่ และสร้างผลกำไรทางเศรษฐกิจมาจนถึงปัจจุบันนี้

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่เรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ได้ถูกจัดเข้าสู่ช่วงอัตราความผันผวนของอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนไปอีกครั้งเหมือนในยุคโพลสโตซีน (แค่สภาพอากาศในปัจจุบันนี้ผันผวนรวดเร็วกว่า) ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นเป็น 1 ในชั้นบรรยากาศโลก ปรากฏมาตั้งแต่หลังช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ราวปี ค.ศ. 1970 ที่เป็นผลมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และผลกระทบที่ก่อโดยมนุษย์ (anthropogenic CO2) ซึ่งทำให้เกิดการปลดปลดปล่อยก๊าซ CO2 คิดเป็นกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ภายในเวลาเพียง 50 ปี จนถึงปีปัจจุบันนี้ การเพิ่มขึ้นของระดับก๊าซ  CO2 ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนเพิ่มขึ้นตามมานั่นเอง!

ดูภาพตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของระดับอุณภูมิโลกในแต่ละปี ซึ่งมีทั้งเย็นกว่าและร้อนมากยิ่งขึ้น นับมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1850 ถึงปี ค.ศ. 2021

การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของก๊าซ CO2 ในชั้นบรรยากาศโลกไม่ได้จัดอยู่ในสภาพอากาศแบบยุคโฮโลซีนอีกแล้ว (ยุคที่มีสภาพอากาศคงที่ยาวนานเป็นพิเศษ) เพราะปัจจุบันนี้เกิดการแบ่งยุคสมัยเป็นอีกยุคหนึ่ง นั่นก็คือ ยุคแอนโทรโปซีน (Anthropocene) ซึ่งเป็นยุคทางธรณีวิทยาสมัยใหม่ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยการสะสมของระดับก๊าซเรือนกระจกต่างๆที่ถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลก ยุคแอนโทรโปซีนคือยุคที่สภาพอากาศและอุณหภูมิโลกแปรปรวนไปอย่างรวดเร็ว (ไม่เหมือนกับยุคโลซีน) ซึ่งถูกคาดการณ์ไว้ว่าระดับอุณหภูมิโลกจะร้อนเพิ่มขึ้นต่อไปอีกหลายศตวรรษข้างหน้า

คุณคิดว่าสภาพสังคมที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้จะยังดำเนินต่อไปได้อีกไหม? ท่ามกลางวิกฤติโควิด19 วิกฤติความมั่นคงทางอาหารของโลกที่ถูกกระตุ้นนมาจากการแย่งชิงทรัพยากรของกลุ่มประเทศผู้นำโลก วิกฤติเศรษฐกิจครั้งสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ผนวกกับวิกฤติสภาวะโลกร้อนแบบสุดขั้ว ซึ่งจะส่งผลต่อระบบอาหารจของโลกโดยตรง หากคุณคิดว่าคงจะมีความหวังน้อยแล้วล่ะ ที่สังคมทั่วโลกจะวิวัฒน์พัฒนา และรุ่งเรื่องมั่งคั่งมากยิ่งขึ้นไปกว่านี้ได้อีกในอนาคต งานวิจัยฉบับนี้อาจจะเป็นความหวังใหม่ให้กับเราก็ได้ ไม่ใช่ในแง่ความมั่งคั่งร่ำรวยส่วนบุคคล แต่เป็นในแง่ของความอยู่รอดของมนุษย์ทั้งสายพันธุ์

การสับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเรามาอยู่ในแบบชนล่าสัตว์และเก็บของป่า ไม่ได้หมายความว่า เราทุกคนต้องกลับไป “อยู่ในป่า เดินเท้าเปล่า หรือไม่ใส่เสื้อผ้า” แต่อย่างใด (แต่ถ้าทำได้ก็จะเป็นประโยชน์กับเราเป็นอย่างมาก เพราะนั่นก็คือธรรมชาติของมนุษย์โดยแท้) เพราะในอนาคตเราก็จะยังใช้สอยสิ่งของที่เรามีติดบ้านกันอยู่ต่อไป แต่ตามที่ John Gowdy ชี้แนะไว้ในงานวิจัยชิ้นนี้ เขาหมายถึง หากเราลองจินตนาการดูว่า ถ้าเราสามารถสับเปลี่ยนวิถีชีวิตมาอยู่แบบนี้ได้อีกในอนาคต เราก็จะมีโอกาสที่จะ รับมือ ปรับตัว และอยู่รอดต่อไปได้ในระยะยาวมากขึ้น เขาได้นำเสนอแนวคิดในการรับมือกับปัญหาของสังคมเกษตรกรรมไว้ว่า เราสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราไปสู่สังคมที่เรียบง่ายยิ่งขึ้นได้ ซึ่งเริ่มต้นได้กับการสับเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรกรรมของเราเอง เช่น ไม่ใช่เน้นเพาะปลูกธัญพืชหลักอยู่เพียงสามชนิดที่กล่าวไปเหมือนเดิมอีก แต่หันไปเน้นการเพราะปลูกแบบผสมผสานให้เกิดความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งชนิดพันธุ์ของพืชผัก (พื้นบ้านและผักป่า)/ ผลไม้/สมุนไพร ไม้ป่ายืนต้น เพื่อเป็นร่มเงา/ ที่อยู่อาศัย/ ใช้ไม้/ และก่อไฟ รวมถึงเรื่องสัตว์เลี้ยง และการฟื้นฟูแหล่งอาศัยให้กับสัตว์ป่าได้กลับคืนมาอีกครั้ง เพื่อสร้างความยืดหยุ่น ความหลากหลาย ความมั่นคงในระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของตนไปในตัว หากเรามีทุกสิ่งอย่างที่กล่าวไปได้ ความหวังในการอยู่รอดของเราก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นในแง่ของความมั่นคงทางอาหารและที่อยู่อาศัย นโยบายเข้มงวดนี้ข้อนี้ เป็นแค่ตัวอย่างเดียวที่นำเสนอผ่านบทความนี้ (โปรดอ่านวิจัยฉบับเต็มด้านล่าง เพื่อได้รู้จักกับนโยบายอื่นๆ ที่จะให้ผลลัพธ์สูง ใช้งบประมาณน้อย และใช้งานได้ในระยะยาวไม้แพ้กัน)

ในท้ายที่สุดแล้ว มีสังคมมนุษย์อยู่สังคมเดียวที่เรารู้จักกัน ที่ดำรงอยู่มาอย่างยั่งยืนโดยตลอดจริงๆ นั่นก็คือ สังคมชนล่าสัตว์และเก็บของป่านี้เอง เพราะไม่ว่าจะมองในแง่มุมใดก็ตามทีของสังคมชนเกษตรกรรม ล้วนแล้วแต่ก็ต้องทำการตัดป่า ทำให้เกิดปัญหาการพังทลายของชั้นดิน ทำให้สูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยธรรมชาติ ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ทำให้จำนวนประชกรมมนุษย์เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากร เป็นต้น แต่ในสังคมชนล่าสัตว์และเก็บของป่า กลับไม่ได้กระทำต่อโลกธรรมชาติตามที่กล่าวไปเลย สังคมชนล่าสัตว์และเก็บของป่า ถือเป็นกระบวนเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ตามที่การล่มสลายของอารยธรรมยุคใหม่กำลังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนถึง ณ จุดหนึ่งในอนาคต ที่คงจะไม่มีอะไรใช้งานได้เหมือนเดิมอีกต่อไป หากเราสามารถสับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่เราสามารถล่าสัตว์และออกหาอาหารกินเองได้ เราก็จะยังดำรงชีวิตของเราต่อไปได้ท่ามกลางวิกฤติการณ์สุดขั้วทั้งหมดที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว และกำลังดำเนินต่อไปอยู่ทุกวี่วัน

ดาวน์โหลดบทความวิจัยฉบับภาษาไทยที่นี่:

ดาวน์โหลดบทความวิจัยต้นฉบับภาษาอังกฤษที่นี่:


คลิกอ่านบทความชุดในอีกหลายบทตอน ซึ่งเรามุ่งนำเสนอแนวทางเชิงปฏิบัติต่อการรับมือ ปรับตัว และโอกาสการอยู่รอดของสังคมมนุษย์ในอนาคต จากวิกฤติสภาวะโลกร้อนสุดขั้ว ได้ที่นี่เลย!


หมายเหตุ: บางท่านอาจจะไม่เห็นด้วยและคิดว่าเป็นเพียงกระบอกเสียงแบบ “กระต่ายตื่นตูนเกินไป” แต่บทความวิจัยฉบับนี้ได้ผ่านการยืนยันรับรอง (peer reviewed) จากนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเรียบร้อยแล้ว จึงมีความน่าเชื่อถือได้ในระดับสูง! หากคุณผู้อ่านสนใจแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์บทความชิ้นนี้ กรุณาติดต่อเราได้ที่: [email protected] ได้ทุกเมื่อ!

ขอบคุณทุกท่านที่เข้าอ่านมากยิ่ง!


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ:

อนุธิดา มูลนาม (นกน้อยทำรังแต่พอตัว/นักแปลอิสระ: เน้นงานการกลับคืนสู่ธรรรมชาติและวิถีชีวิตของชนพื้นเมือง) เป็นผู้ร่วมบุกเบิกโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ “สวนฟื้นฟูวิถียั่งยืน” เรามุ่งเน้นการฟื้นฟูแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย และร่วมสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่สอดคล้องกับโลกธรรมชาติมากยิ่งขึ้น เรามุ่งนำเสนอเสนอมุมมองการกลับคืนสู่ธรรมชาติ และสืบสานวิถีชีวิตในแบบชนพื้นเมืองและคนป่า (ผู้ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของเผ่าพันธุ์มนุษย์เราอย่างแท้จริง)


คุณชอบบทความชิ้นนี้ไหม? ถ้าบทความแนว “มุ่งอธิบายแนวคิดเป็นองค์รวม” มีประโยชน์ต่อคุณอยู่บ้าง สามารถร่วมสนับสนุนงานเขียนของเราได้ ผ่านการส่งปัจจัยบริจาค (ตามคุณค่าที่คุณได้รับ) งานเขียนแนวนี้เกิดขึ้นมาจากความตั้งใจที่เรามุ่งสร้างความเข้าใจใหม่ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นให้กับผู้คนในสังคม ด้วยการสละเวลาส่วนตนของเราเองเพื่อเป็นกระบอกเสียงในแบบที่แตกต่างไปจากมุมมองเดิมในอดีต ติดต่อส่งความคิดเห็น หรือ อยากวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนได้โดยตรงที่อีเมล์ [email protected] หรือต้องการส่งปัจจัยบริจาคให้กับโครงการอิสระของเรา โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ สวนฟื้นฟูวิถียั่งยืน ได้โดยสแกนคิวอาร์โคดด้านล่างนี้ โครงงานของเรายังอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งไม่มีรายได้เป็นประจำ เราขอขอบคุณทุกท่านมากยิ่งที่สนับสนุนผลงานของเรา ทุกการบริจาคถือเป็นแรงผลักดันให้เราได้ศึกษาค้นคว้างานวิจัย เขียนบทความ แปลงาน และแบ่งปันความรู้ในแบบองค์รวมให้กับผู้คนในสังคมสืบต่อไป!