เกษตร​กรรมถาวร​และความเชื่อทางจิตวิญญาณ​

เกษตร​กรรมถาวร​และความเชื่อทางจิตวิญญาณ​

เกษตรกรรมถาวรและความเชื่อทางจิตวิญญาณ หรือ​ (Permaculture and Spirituality)

อย่างหนึ่งที่จะพูดได้อย่างแน่นอนว่า พวกเราชาวมนุษย์เป็นสายพันธุ์ที่มีจิตวิญญาณอย่างโดยธรรมชาติ เนื่องจากไม่มีวัฒนธรรมชนพื้นเมืองใดที่ไม่เคยถูกค้นพบว่าไม่มีความเชื่อทางจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้งในหนทางที่ซับซ้อน คำที่ใช้ครอบคุมความหมายในวงกว้างสำหรับความแตกต่างอย่างมากนี้ของความเชื่อทางจิตวิญญาณดั้งเดิมก็คือ วิญญาณนิยม หรือ ‘animism’  (มาจากภาษาละติน คำว่า  อะนิมา anima หมายถึง ชีวิต life  และ จิตวิญญาณ soul) และสามารถกำหนดได้อย่างคร่าวๆจากความเชื่อที่ว่า ทุกสิ่งอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ พืช เห็ด โขดกิน ภูเขา แม่น้ำ ทะเลสาบ หรือ ก้อนเมฆ ต่างก็มีตัวตนที่มีมีความคิด ความปราถณา ความฝัน ความต้องการ ความตั้งใจ ความหวัง ความกลัว และความรู้อื่นๆเหมือนกับที่ตัวคุณเองก็มี ทุกสิ่งอย่างคือสิ่งมีชีวิตจากพลังชีวิตทางจิตวิญญาณที่ไหลผ่านสิ่งมีชีวิตทุกชนิดและสิ่งต่างๆที่เหมือนกัน มันคือความเชื่อในเรื่องความแตกต่างที่เหนือกว่าและจิตใต้สำนึกที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ทุกสิ่งทุกอย่างมีพื้นที่ของมันเองในความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิสิทธิ์ ทุกๆคนมีหน้าที่ของตนที่จะต้องทำ

รูปแบบต่างๆของความเชื่อทางวิญญาณนิยมจะเกิดขึ้นได้โดยง่ายดาย ถ้าหากพวกเราแค่มีเวลามากพอที่จะเกิดความอัศจรรย์ในกับทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆตัวพวกเรา เราก็จะได้รู้จักโลกรอบๆตัวพวกเราไปอย่างช้าๆ สังเกตอย่างพินิจพิเคราะห์ถึงความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ของมัน และบางครั้งพวกเราก็หวาดหวั่นด้วยความกลัวและรู้สึกว่าเล็กมากและไม่สำคัญเลยในการเผชิญหน้ากับระบบนิเวศอันใหญ่โตมโหฬารทั่วทั้งโลก นั่นก็คือโลกธรรมชาติ  ความรู้สึกนี้คือก้าวแรก ได้แก่ การรับรู้ว่ามันมีบางสิ่งบางอย่างที่ใหญ่มากกว่า ทรงพลังมากกว่า และมีความสำคัญมากยิ่งกว่าพวกเรา การขาดเรื่องทางจิตและวิญญาณอันลึกซึ้งในวัยหนุ่มสาว

ณ ปัจจุบันนี้ คือหนึ่งในเหตุผลส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้สำรวจและถูกมองข้ามไป สำหรับระดับความเครียดที่สูงอย่างผิดปกติ ได้แก่ ความวิตกกังวล (anxiety)  ความซึมเศร้า (depression)  การติดยาเสพติด (addiction) ความเหนื่อยล้า (burnout) และการฆ่าตัวตาย (suicide)

ผู้คนต่างก็ไม่รู้ และจริงๆแล้วจะไม่ยอมรับอย่างรุนแรงว่ามันคือเรื่องทางจิตวิญญาณนั่นเองที่พวกเขากำลังตามหา เรื่องทางจิตวิญญาณเป็นเรื่องที่เหลวไหลพวกเขากล่าว และไม่มีใครเลยแต่มีเด็กๆและคนป่าเถื่อนไร้การศึกษาที่เชื่อในเรื่องผีสางหรือเรื่องวิญญาณอยู่ดี มนุษย์ทุกๆคนยังคงมีความอยากที่จะค้นพบกับความหมายอันลึกซึ้งมากกว่าในโลกรอบๆตัวเธอ หากไม่มีมัน พวกเราก็เป็นเปลือกนอกที่ว่างเปล่า ลากดึงตัวเราเองไปทำงานและก็กลับมา ด้วยความหวังที่ว่าทั้งหมดมันจะจบลงเร็วๆนี้

เพียงแค่ทำการตามหาสิ่งศักดิสิทธ์ที่จะสามารถเติมเต็มความว่างเปล่าที่พวกเราพยายามที่จะอัดแน่นไปด้วยการบริโภคสินค้าที่ใช้แล้วก็ทิ้งไปอย่างไม่จบสิ้น ที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นความเชื่ออันลึกซึ้งในเพื่อนมนุษย์และอำนาจบังคับที่ทำให้โลกหมุนอยู่ได้ คือความรู้สึกอันโดดเดี่ยวที่ยังคงอยู่ตอนนี้ บนโลกที่อัดแน่นไปด้วยคนแปลกหน้า

พวกเราพยายามที่จะเติมเต็มรอยโหว่นี้ในตัวเราเองกับการบริโบคอย่างคลั่งไคล้ กับการช้อปปิ้งมากเกินไป กับการดื่มมากเกินไป กินมากเกินไป และดูหนังดูทีวี ฯลฯ มากเกินไป และสื่อโฆษณาให้คำสัญญากับพวกเราว่า พวกเราเป็นเพียงคนเดียวที่ซื้อขายให้หมดออกไปจากความสุขและความสมหวัง

พวกเราหวังว่ามันมีอะไรมากกว่าสำหรับชีวิต พวกเรารู้สึกเหินห่างและโดดเดี่ยว ไม่เข้าใจแม้กระทั่งว่าสิ่งแวดล้อมของพวกเราในเมืองมันก็เต็มไปด้วยความเสียงฮึมฮัมของความมีชีวิตชีวา ชีวิตที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ด้วยความเร่งรีบล้อมรอบฝีเท้าของพวกเราเอง เราเตะตัวเองออกมาจากพื้นดินและไหลทะลักออกมาจากรอยแตกบนทางเดิน ถ้าพวกเราติดตามหนทางนี้ของชีวิต เราก็จพบกับอะไรที่เราขาดไปมาโดยตลอด โดยมีข้อแม้ว่าหากธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวคุณมีความอุดมสมบูรณ์ และคุณได้เปิดตาและเปิดใจให้กับมัน ความชื่อเรื่องจิตและวิญญาณก็จะเกิดขึ้นตามมาด้วยตัวมันเอง มันคือความยากลำบากที่จะไม่มองเห็นความศักดิสิทธิ์ในสรรพสัตว์ทุกชนิด และในทุกๆพื้นที่ป่า ครั้งหนึ่งที่ได้คุณเรียนรู้ว่าต้องสังเกตดูอย่างไร เลียนแบบได้อย่างไร พึงพอใจได้อย่างไร และเรียนรู้จากพวกเขาได้อย่างไร

เกษตรกรรมถาวรและความเชื่อทางจิตวิญญาณวางตัวอยู่ใกล้กันมากกว่าที่ผู้คนคิดกัน บ่อยครั้งทั้งสองเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกันโดยเนื้อแท้ ที่นักทำเกษตรกรรมถาวร (permaculturalist) ชาวญี่ปุ่น ชื่อ คุณ​ มาชาโนบุ​ ฟูกูโอกะ​ หรือ Masanobu Fukuokaได้พิจารณาว่ามันคือทฤษฏีการเยียวยาที่ดินและเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างหนึ่งของการทำให้จิตวิญญาณของมนุษย์บริสุทธิ์ได้ เกษตรกรรมถาวรได้จัดเตรียมหนทางของชีวิตให้กับพวกเราในแนวทางปฏิบัตินี้สามารถเกิดขึ้นได้

เนื่องจากหลักเกษตรกรรมถาวร (permaculture) ทั้งหมดก็คือการทำงานร่วมกันกับธรรมชาติและการดำรงชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ เรื่องทางจิตวิญญาณที่ชัดเจนมากที่สุดก็คงจะเป็นความเชื่อทางสัตวนิยมที่ยึดถือตามธรรมชาติ มีชนเผ่าดั้งเดิมหลายชนเผ่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกใหม่) ผู้คนที่ปฏิบัติรูปบบบางอย่างของความเชื่อว่ามีวิญญาณในธรรมชาติและจักรวาล หรือ animism และปฏิบัติในรูปแบบของการเพาะปลูกพืชสวนด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ชาว Ayoreo ในปารากวัย ชาว Yanomami ในเวเนซุเอลา ชาว Matsés ในเปรู ชาว Zo’é ในบราซิล และชาว Achuar ในเอกวาดอร์ แต่ยังมีชาว Baka ในคองโกอีกด้วย และชาว Gebusi ในปาปัวนิวกินี ท่ามกลางชาวเผ่า Achuar นั้นเป็นที่ที่มีเพียงผู้หญิงเท่านั้นทำสวนหรือทำการเพาะปลูก การปลูกพืชผักคือพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่ซึ่งชาวไร่สวนขับร้องเพลงให้กับวิญญาณ (“nunkui” เป็นวิญญาณผู้หญิง) ผู้ที่เป็นคอยคุ้มกันปกป้องไร่สวน บทเพลงอันน่าอัศจรรย์ใจเหล่านั้นเป็นรูปแบบของการสื่อสารกับพืชต่างๆและส่งเสริมการเจริญเติบโต

ในปี 2007 รายงานจากนักวิทยาศาสตร์ประเทศเกาหลใต้ของสถาบันเทคโนโลยีชีวภาภทางการเกษตรแห่งชาติได้นำเสนอไว้ว่า มีพันธุกรรมสองอย่างที่เกี่ยวข้องกันในการตอบสนองต่อความสว่างของพืช รู้จักกันในชื่อ rbcS และ Ald ที่ถูกเปิดเพลงใส่ที่ระดับความดัง 70 เดซิเบล ความดังในระดับนี้คือความดังระดับพูดคุยสื่อสารกันธรรมดา กล่าวโดย Marini เหล่านักวิวัยชาวเกาหลีได้พบการตอลสนองที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับคลื่นความถี่ของเสียง ยิ่งเสียงนั้นมีคลื่นความถี่สูง พันธุกรรมในพืชนั้นก็จะตอบสนองกลับรวดเร็วมากขึ้น แล้วไม่ใช่มันหมายความว่า การร้องเพลงสามารถช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้จริงๆ? ในบทความชิ้นพิเศษของเธอ ชื่อว่า เราเรียกมันว่าประพณี  หรือ “We call it tradition” ได้ตีพิมพ์ในหนังสือชื่อว่า “The Handbook of Contemporary Animism” หรือ หนังสือคู่มือวิญญาณนิยมร่วมสมัย เขียนนักเขียนเรื่องสั้นชาวอเมริกันชื่อ Linda Hogan เธอเขียนเกี่ยวกับชนพื้นเมืองอเมริกันชาว Tohono O’odham (“ ชนแห่งทะเลทราย Desert people”) ของทางตอนใต้รัฐแอริโซนาและทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโก พวกเขามีเพลงที่เรียกกันว่า เพลงปลูกข้าวโพด เพลงหนึ่งจะถูกขับร้องให้กับทุกๆระยะการเจริญเติบโตอย่างงดงามของพืชนั้นๆ (จากหนังสือ  ชื่อว่า “Singing for Power” เขียนโดย Ruth Underhill ปี1938) แต่ละค่ำคืนผู้ชายเดินผ่านข้าวโพดกับการร้องเพลงให้กับมัน ดังนี้

The corn comes up It comes up green Here upon our field White tassels unfold

ข้าวโพดโผล่ออกมา มันโผล่ออกมาเป็นสีเขียว ที่นี่ท่ามกลางไร่ของพวกเรา ฝักข้าวโพดแผ่ออกเป็นสีขาว

หลายเมืองที่เป็นหมู่บ้านชาวอินเดียแดง (pueblos)ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาใต้ ตลอดระยะเวลาของการเพาะปลูกไปจนถึงช่วงสิ้นสุดของการเก็บเกี่ยว จะมีการแสดงการเต้นและร้องเพลงทุกๆสัปดาห์สำหรับการเจริญเติบโตของข้าวโพด การเต้นเหล่านี้เป็นการเต้นที่จริงจัง มันคือพลังงานของมนุษย์ที่ได้มองให้กับโลก  สำหรับตอนนี้ พวกเรายังไม่ได้ร้องเพลงให้กับต้นไม้และพืชต่างๆบ่อยนัก ทำเป็นบางครั้งบางคราว แต่พวกเราพูดคุยกับพวกเขา เนื่องจากมันไม่ได้เป็นอันตรายใดๆและมันทำให้พวกเรารู้สึกดีมากถึงความเชื่อมโยงอันลึกซึ้งกับพืชต่างๆที่อยู่รอบๆตัวคุณ  เกษตรกรรมถาวร (Permaculture) เป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพมากยิ่ง สำหรับ การกลับคืนไปเชื่อมต่อกับธรรมชาติ เนื่องจากคุณช่วยสร้างระบบนิเวศน์ขึ้นมาและมองธรรมชาติเป็นคู่ร่วมมือ  การเฝ้ามองดูพืชพรรณต่างๆเติบโตและอยู่เป็นเพื่อนคอยช่วยเหลือดูแลพวกเขานั้น ขณะที่พวกเขาเจริญเติบโตมันทำให้คุณรับรู้ได้ว่าพวกเขาเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าเหลือเชื่อมากและมีความพอใจในความงามของพวกเขารวมถึงความอุดมสมบูรณ์ที่ธรรมชาติได้สร้างมา การมองดูก้อนเมฆและผ่านประสบการณ์ของวัฏจักรการเติบโตและวัฏจักรของฤดูกาล แสดงให้คุณเห็นถึงความสง่างามอันซับซ้อนของวัฏจักรแห่งชีวิตที่ไม่มีวันสิ้นสุด วัฏจักรแห่งความตายและการเกิดใหม่ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันบนโลกนี้  เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนส่วนใหญ่ก็จะพัฒนาความสัมพันธ์บางอย่างของความเชื่อทางจิตวิญญาณกับพืชพรรณและสัตว์ที่แตกต่างกันไปในไร่สวนของพวกเขา เนื่อจากคุณดูพืชและสัตว์เหล่านั้นเติบโต ได้มีประสบการณ์ทางวัฏจักรของการเจริญเติบโตและได้เห็นพวกเขาทุกๆวัน คุณก็จะได้รู้ว่า คุณชื่นชอบบางที่มากกว่าที่อื่นๆ ซึ่งพวกเขาสามารถมี “อารมณ์ความรู้สึก moods” และพวกขามีลักษณะนิสัยเฉพาะตัวและมีคุณลักษณะที่ทำให้พืชแต่ล่ะต้นดูไม่เหมือนกับต้นอื่นๆ การรับรู้ว่าในที่สุดมันทำให้คุณยอมรับพวกเขาว่าเป็นเหมือนบุคคลหนึ่ง เป็นแต่ล่ะคนกับการมีความต้องการ มีความจำเป็น และมีความปราถณาส่วนตัวเช่นเดียวกันกับตัวคุณเอง  ประเพณีความเชื่อทางจิตวิญญาณในไทย (Traditional Thai Spirituality) ความเชื่อของคนไทยทั่วๆไป (เรียกว่า ศาสนาแห่งวิญญาณ หรือ “religion of the spirits”) มันคือแก่นแท้อย่างเหนียวแน่นในหลักความเชื่อว่ามีวิญญาณในธรรมชาติและจักรวาล หรือ animism ด้วยช่นกัน ก่อนที่ศาสนาพุทธจะเข้ามาครอบงำ กล่าวคือความเชื่อในเรื่องเทวดาและวิญญาณท้องถิ่นเป็นไปแพร่หลายและมีการปฏิบัติอย่างพากเพียร ในหลายพื้นที่ในประเทศไทย นี่ยังคงเป็นข้อเท็จจริง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ซึ่งยังมีหมอผีพื้นบ้าน หรือ local shamans อยู่  หมอผียังคงเป็นผู้ที่ถูกว่าจ้างและเป็นผู้ให้คำปรึกษาอยู่เป็นประจำ) แต่ปัจจุบันนี้ความเชื่อของคนทั่วไปได้ผสมกับความเชื่อของศาสนาพุทธอย่างสมบูรณ์ บ่อยครั้งที่คุณจะเห็นต้นไม้ต้นใหญ่ๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์  Bodhi trees ต้นไม้ในสกุลโพและมะเดื่อ หรือ Ficus religiosa) กับผ้าหลากหลายสีสันผู้ไว้ล้อมรอบต้น มันหมายถึงว่าต้นไม้ต้นนี้คือต้นศักดิ์สิทธิ์ และผู้คนใช้เป็นสถานที่เหล่านี้เพื่อทำการสักการะกราบไหว้และขอพร ต้นไม้บางต้นก็ถูกผูกด้วยผ้าสีจีวรที่พระส่วมใส่ เป็นสัญลักษณ์ของการปกป้อง การตัดต้นไม้ต้นที่ถูกผูกผ้าจีวรไว้บริเวณโคนต้นคือเท่ากับเป็นการฆ่าพระหนึ่งรูป มันมีดวงวิญญาณที่เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในต้นไม้บางสายพันธุ์ เช่นต้นไม้ป่าที่เรียกกันว่า ต้นตะเคียน หรือ Hopea odorata ตามชื่อวิทยาศาสตร์ มีผีนางตะเคียนอาศัยอยู่ และต้นกล้วยตานี Musa balbisiana มีผีนางตานีอาศัยอยู่ ซึ่งทั้งสองต้นนี้ถูกตกแต่งด้วยผ้าหลากหลายสี ทำพิธีศักดิ์สิทธิโดยพระและดังนั้นมันจึงกลายมาเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ วิญญาณของนางตานีที่สิงอยู่ในต้นกล้วย และนางตะเคียนที่สิงอยู่ในต้นตะเคียนต่างก็เป็นหญิงสาวสวย และโดยปกติแล้วผู้คนไม่จำเป็นต้องเกรงกลัวพวกเขา ถ้าคุณมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี! นางตานีจะทำอันตรายต่อผู้ชายท่านั้น ผู้ชายที่ทำผิดต่อคู่ครองและทำร้ายผู้หญิงมาก่อน และมักจะชอบหลอกหลอนเอาผู้ชายไปเป็นสามี และนางตะเคียนอาจจะทำร้ายคนที่ผิดศีลธรรมแต่เธอก็จะไม่ทำอะไรให้คุณ ถ้าคุณไม่ได้ทำอะไรผิด  นางตะเคียนจะเป็นวิญญาณที่หวงที่และหวงของที่เป็นของตน ถ้าใครเข้าไปก้าวก่ายโดยไม่บูชากราบไว้ของอนุญาตมักจะมีอันเป็นไปเพราะความลบหลู่และ มักสิงสถิตอยู่ในต้นตะคียนใหญ่ๆมีอายุร้อยปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องผีสางเรื่องวิญญาณอีกมากมายในแต่ล่ะภูมิภาตของประเทศไทย พวกเราสวนฟื้นฟูฯเชื่อว่าเรื่องเล่าเก่าแก่เหล่านั้นจะต้องมีอะไรบางอย่างเกี่ยวข้องกับพวกเขา ถ้าไม่อย่างนั้นทำไมผู้คนจะถึงเชื่อถือในเรื่องเหล่านี้มานานแสนนานล่ะ? พวกเราเคารพนับถือและกรายไหว้ต้นไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นใหญ่ๆ มันรู้สึกดีที่มี “บุคคลเก่าแก่ elders” คอยปกปักรักษาพวกเรา เป็นที่อยู่ที่นี่มานานมากกว่าพวกเราและรู้จักที่ดินแห่งนี้ดีมากกว่าพวกเราอีก ต้นไม้มีที่อยู่พิเศษในหัวใจของพวกเรา จากเหตุผลทั้งหมดนั่น พวกเราทำให้มั่นใจว่าพวกเราขออนุญาตและขอบคุณต้นไม้จากการที่พวกเราเก็บผลไม้ ก็บดอกไม้ หรือเก็บไม้มาใช้ และพวกเรากล่าวคำขอโทษเมื่อพวกเราจะต้องตัดแต่กิ่งไม้หรือทำร้ายต้นไม้ (เรื่องนี้พวกเราทำกับเงียบๆในใจ เพื่อไม่ให้เพื่อนบ้านคิดว่าพวกเราบ้ากันไปหมดแล้วจริงๆ) พวกเรามีต้นกล้วยตานีอยู่สองต้นด้วยกันในสวน (ยังต้นเล็กมาก) ซึ่งพวกเราปลูกไว้ด้วยการรู้เป็นอย่างดีว่า เพื่อให้เป็นที่อยู่ให้กับวิญญาณเหล่านั้นและดังนั้นก็เพื่อป็นการให้วิญญาณเข้ามาดูแลรักษาที่ดินของพวกเรา  คำอธิษฐานกับต้นไม้ เขียนโดย เดฟ (Prayer to a tree, written by Dave) “Here I stand in awe, deeply moved by the sheer beauty you cast forth… I feel small and minuscule in the face of your size, your age, your experience, your wisdom. How many cycles of the sun, the moon and the seasons you have seen, how many times you have felt life and death, suffering and happiness, grief and joy. How sophisticated your branches wind to grow towards the sun, how elaborate your leaves are spread, how elegant they dance in the wind; of what inconceivable complexity is the vast and deep network of roots from which you draw just what you need, never more. You give more than you take, you know your place, you are humble, altruistic, generous and friendly. You know this place better than I ever will, and you understand its will better than I can ever fathom. You are my inspiration, my paragon, and I wish to learn from you as much as you can teach me, so that one day I will be as wise as you — so that one day I will become you.” บทแปล “ฉันยืนอยู่ที่นี่ด้วยความเกรงขาม ถูกกระตุ้นอย่างสุดซึ้งจากความสวยงามอันสุดเปรี่ยมที่คุณแผ่ขยายออกไป…ฉันรู้สึกตัวเล็กและเล็กมากในการเผชิญหน้ากับขนาดตัวของคุณ อายุของคุณ ประสบการณ์ของคุณ ภูมิปัญญาของคุณ กี่ครั้งแล้วที่คุณได้เห็นวัฏจักรของพระอาทิตย์ ของพระจันทร์ และของฤดูกาลต่างๆ กี่ครั้งแล้วที่คุณได้รู้สึกถึงชีวิตและความตาย ความทุกข์ทรมานและความสุข ความโศกเคร้าและความสนุกสนาน กิ่งก้านของคุณช่างสลับซับซ้อนโต้ลมเพื่อเติบโตจากดวงอาทิตย์ ก้านใบของของคุณช่างแผ่ผงาดอย่างประณีต ช่างสง่างามยิ่งตอนที่ลมพัดใบปลิวไสวในอากาศ เรื่องของความสลับซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อก็คือ ความลึกซึ้งและความใหญ่โตมโหฬารของระบบราก จากสิ่งที่คุณดึงออกมาก็เป็นแค่ที่จำเป็น ไม่เคยทำมากไปกว่านั้น คุณเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ คุณรู้จุดยืนของคุณ คุณคือความเรียบง่าย เห็นแก่ผู้อื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเป็นมิตร คุณรู้จักพื้นที่แห่งนี้ดีมากกว่าที่ฉันจะรู้จัก คุณเข้าใจความปราถนาของมันได้ดีกว่าฉันที่เคยจะหยั่งรู้ได้ คุณคือแรงบันดาลใจของฉัน คุณคือแบบอย่างอันยอดเยี่ยมของฉัน และฉันหวังว่าจะได้เรียนรู้จากคุณให้มากเท่ากับที่คุณสามารถสอนกับฉันได้ เพื่อว่าวันหนึ่งฉันจะเฉลียดฉลาดเช่นเดียวกับคุณ เพื่อว่าวันหนึ่งฉันจะกลายร่างเป็นตัวคุณ”     ศาลพระภูมิเจ้าที่ (Spirit houses) การเคารพกราบไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่คือความชื่อที่นับถือกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราญ โดยในอดีตความเชื่อเรื่องผีสางและวิญญาณจะรุนแรงมากและผู้คนปฏิบัติตามด้วยความศรัทธา ตามหลักความเชื่อที่ว่า ตามที่อยู่อาศัยต่างๆจะมีเจ้าที่เจ้าทางอยู่อาศัยมาก่อนเรา ในต้นไม้ใหญ่ ในป่าเขาลำเนาไพรล้วนแล้วแต่มีเจ้าที่เจ้าทางที่คอยปกปักรักษาพื้นที่นั้นๆอยู่ ดังนั้นการที่เราจะเข้าไปอยู่ในที่ของเขา เราจะต้องทำการตั้งศาลเจ้าที่ขึ้นมาเพื่อเป็นการบอกกล่าวว่า พวกเรามาขออยู่อาศัยในผืนดินแห่งนี้ ขอให้ดวงวิญญาณของเจ้าที่เจ้าทางรวมถึงเทวดาฟ้าดินเปิดทางให้พวกเราอาศัยอยู่ร่วมด้วยและคอยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไปจากแหล่งอาศัยนี้ เพื่อตนจะได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขแคล้วคลาดจากเคราะห์ร้ายทั้งปวง บ้างก็กราบไหว้เจ้าที่เจ้าทางเพื่อให้คนอื่นเคราพเลื่อมใสยำแกรง และเสริมความเป็นสิริมงคลและความเจริญก้าวหน้าในชีวิตของตน ฉะนั้น เราจึงมักจะพบห็นการตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่แทบจะทุกๆพื้นที่ทั่วประเทศ ส่วนมากก็จะเห็นศาลตั้งอยู่ด้านหน้าบ้านเรือนหรือตึกอาคารต่างๆรวมถึงห้างสรรพสินค้าและโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ปัญจุบันนี้ก็จะมีศาลพระภูมิเจ้าที่อยู่สองแบบ ได้แก่ แบบใหญ่ๆโดยปกติแล้วจะใช้เป็นศาลกราบไหว้บูชาพระอินทร์หรือพระพรหม (Hindu deity) และแบบเล็กๆจะเป็นศาลสำหรับกราบไหว้บูชาเจ้าที่เจ้าทางที่สิงสถิตอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ตามประเพณีดั้งเดิมแล้วมีเพียงแค่ศาลพระภูมิเจ้าที่เดียวและพระอินทร์พระพรหมไม่ได้ถูกกราบไหว้ตามความเชื่อท้องถิ่น ศาลพระภูมิในยุคปัจจุบันดูไม่สวยนัก เพราะเสาหลักและบ้านทำจากปูนซีเมนต์ แต่ในอดีตศาลพระภูมิเจ้าที่ทำจากไม้แกะสลักอย่างสวยงามและประณีต ศาลแต่ละแต่หลังก็จะประดิษฐ์ขึ้นตามการออกแบบของคนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ของตนที่มีวิญญาณสิงสถิตอยู่ เรื่องของเส่นไหว้ก็จะมีธูปเทียนดอกไม้ คำหมากคำพู เหล้าขาวหรือเครื่องดื่นหวานๆ น้ำชาหวาน ยาสูบ เอาถวายให้กับเจ้าที่เจ้าทางเพื่อหลีกหลี่ยงเคราะห์ร้ายต่างๆและเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับวิญญาณผู้ปกป้องคุ้มครองที่ดินของตนที่อาศัยอยู่ วิญญาณผู้ปกป้องคุ้มครองที่ดิน หรือ guardian spirit of the land เรียกว่าจ้าที่เจ้าทาง คือเจ้าของที่ดินนั้นๆ เรามักจะพูดอุทานเป็นข้อแก้ตัวกันเวลาทำของกินหล่นลงพื้นว่า อุ้ยเป็นของเจ้าที่ เจ้าที่หิว ขาเลยทำให้มันตก และของที่ตกหล่นนั้นๆก็จะเป็นของเจ้าที่โดยแท้ สวนฟื้นฟูฯเราก็บูชากราบไหว้เจ้าที่ตรงต้นไม้ใหญ่ในสวนที่พวกเราได้ตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ไว้ ในอากาสพิเศษต่างๆ เช่น วันเกิด วันปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวันที่เรามีฝันร้ายหรือรู้สึกไม่สบายใจมีเรื่องห่วงและเป็นกังวลใจ หรือแม้แต่วันที่รู้สึกว่าอยากพูดคุยสื่อสารกับเจ้าที่เจ้าทาง พวกเราก็จะไปกราบไหว้ขอพรให้เจ้าที่ได้รับรู้และช่วยปกปักรักษาคุ้งครองพวกเรา  ความคล้ายคลึงกับเรื่องพิธีกรรมและประเพณีดั้งเดิมและคติชาวบ้าน (Similarities to aboriginal ritual, tradition, and folklore) แม้กระทั่งความเชื่อบางอย่างยังมีความคล้ายคลึงกันกับสังคมนักล่าสัตว์และเก็บของป่า  เช่น นิทานพื้นบ้านอีสานที่ชื่อว่า ทำไมงูเหลือมไม่มีพิษ โดยเรื่องเล่ากล่าวไว้ดังนี้ “ในสมัยก่อน งูเหลือมมีร่างกายใหญ่โต มีพิษมากกว่างูทุกชนิด เมื่องูเหลือมกัดคนหรือสัตว์จะตายทันที วันหนึ่งชายชราคนหนึ่งไปหาเขียดในนา เมื่อหาได้แล้วก็เอาเขียดมัดเก็บใส่กระเป๋าเสื้อ ขณะที่เดินกลับบ้านนั้นชายชราเหยียบงูเหลือม งูเหลือมจึงกัดชายชราตายคาที่ แต่เขียดที่อยู่ในกระเป๋าเสื้อชายชราไม่ตายจึงดิ้นไปมา งูเหลือมเห็นเสื้อไหวไปมาก็นึกว่าชายชราไม่ตาย สำคัญผิดคิดว่าพิษของตนไม่มีความหมายจึงคายพิษออก พวกงูเห่า งูจงอาง อยู่ใกล้ๆจึงเลื้อยไปสูดเอาพิษ ดังนั้นงูเห่า งูจงอางจึงมีพิษมากกว่างูทั้งหลาย งูอื่นๆมีพิษเพียงเล็กน้อยเพราะเพียงแต่ได้ดมกลิ่นพิษเท่านั้น” เรื่องล่านี้มีความคล้ายเคียงกับเรื่องเล่าของ ชนพื้นเมืองชาวปีนัน (Malaysia’s indigenous Penan)ในประเทศมาเลเซียอย่างน่าประหลาดใจ! ประเพณการทำพิธีกรรมอีกอย่างหนึ่ง คือ การใส่อาหารและเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ใส่คำหมากคำพู พันยาสูบในใบตองกล้วย เพื่อทำการเส้นไหว้ดวงวิญญาณ พิธีกรรมนี้ผู้คนในภาคอีสานยังปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ และถามว่าความเชื่อนี้มาจากไหน ใครเป็นคนพาทำมาก่อนนั้น พอสืบค้นย้อนเวลากลับไปในอดีตก็พบว่า ชนเผ่าดั้งเดิม หรือคนป่า ชาวผีตองเหลือง หรือชาวมาลาบรี (Mlabri) ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อาศัยอยู่ในป่าและทำพิธีเซ่นไหว้เจ้าที่เช่นนี้ด้วย จึงคาดว่าประเพณีนี้ได้รับการสืบทอดมาตามบรรพบุรุษในแต่ล่ะยุคและถูกนำมาปรับใช้จนถึงคนในยุคปัจจุบันนี้ การสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่ หรือ  “spirit houses” ยังเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีทางจิตวิญญาณของชนพื้นเมือง ชาว Itneg อีกด้วย พวกเขาคือชนล่าสัตว์และเก็บของป่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เดิมและปลูกพืชสวน บนภูเขาสูงในประเทศฟิลิปปินส์    ประเพณีลอยกระทง วัหยุดของผู้นับถือวิญญาณ (Loy Krathong – An Animist Holiday) วันลอยกระทรคือวันหยุดหนึ่งที่พวกเราชื่นชอบมาก มันคือประเพณีไทยโบราณที่กระทำในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน12 (วันเพ็ญเดือนสิบสอง) หรือในคืนพระจันทร์เต็มดวงในช่วงเดือนพฤศจิกายน มันคือพิธีกรรมอันสวยงามเพื่อถือเป็นการขอบคุณและขอขมาลาโทษต่อวิญญาณแห่งน้ำสำหรับการมอบชีวิตให้กับพวกเรา ตามหลักฐานที่ปรากฏขึ้นเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงนั้น แท้จริงแล้ววันลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดีย ที่พราหมณ์ทำบูชาพระเจ้าอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม และประเทศไทยได้นำเอามาปฏิบัติตั้งแต่ยุคสมัยของพ่อขุนรามคำแหง สมัยนั้นเรียกวันลอยกระทงว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีบโดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นคนกระทงเป็นครั้งแรก จึงเป็นสัญลักษณ์ของวันลอยกระทงที่ต้องมีนางนพมาศในงานวันลอยกระทง ในตอนนั้นกระทงทำจากดอกบัวที่บานในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองมาจัดแต่งกระท’ในแบบต่างๆ แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่  2 ได้เปลี่ยนจากการใช้ดอกบัวมาเป็นต้นกล้วยและใบตองกล้วยสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในวันลอยกระทงนี้ผู้คนก็จะขอบคุณพระแม่คงคาและขอขมาพระแม่คงคา ซึ่งเป็นเทพเจ้าสตรีแห่งธารน้ำที่ไหลหลากมาจากทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำน้อยใหญ่ ตามห้วยหนองคลองบึง  สำหรับการที่พระแม่คงคาทำให้พวกเขามีน้ำดื่มกิน มีน้ำอาบ มีน้ำสำหรับจับปลากินเป็นอาหารและมีน้ำใช้สำหรับทำเกษตร พูดถึงวิธีการทำกระทง คาดว่าทุกคนก็จะรู้จักเป็นอย่างดีว่าทำกระทงให้ลอยน้ำได้ต้องทำยังไง กระทงที่สวนฟื้นฟูฯทำก็จะใช้วัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติทั้งหมดเลยแม้กระทั่งตะปูเราก็ทำจากไม้ไผ่เหลาแหลมๆเป็นชิ้นเล็กๆใช้แทนตะปูเข็มที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน ซึ่งเรายังยึดการทำกระทงในแบบดั้งเดิมมากกว่าแบบทันสมัย โดยการใช้ท่อนกล้วยมาตัดเป็นท่อนกลมๆไม่หนาไม่บางจนเกินไป เพื่อไม่จมน้ำและลอยบนน้ำได้ จากนั้นก็ใช้ใบกล้วยตกแต่งกระทง และใช้ดอกไม้หลากหลายสีสันประดับตกแต่งให้สวยงาม ซึ่งประเพณีลอยกระทงประจ่ำท้องถิ่นของแต่จังหวัดก็จะแตกต่างกันออกไป และพวกเราพยามยามยึดตามความเชื่อดั้งเดิมและความเชื่อของพวกเรา กล่วคือพอทำกระทงเสร็จตามความเชื่อดั้งเดิม เราก็จะต้องเอาเส้นผม เล็บมือเล็บเท้า ใส่ธูปใส่เทียน และใส่เหรียญตามศรัทธา โดยความเชื่อนี้หมายถึงว่า เวลาเราลอยกระทงลงน้ำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและพระแม่คงคาจะสื่อจิตวิญญาณที่เป็นตัวตนของเราได้จากการใส่เส้นผมและเล็บมือเล็บเท้า เพื่อบอกกล่าวให้พระแม่ได้รับรู้ถึง คำกล่าวขอบคุณและคำขอขมารวมถึงแรงศรัทธาจากพวกเราได้ นี่ถือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเราสังสรรค์กันเป็นประจำทุกปี เพื่อให้พระแม่คงคาและจิตวิญญาณแห่งแม่น้ำช่วยเหลือและปกป้องแหล่งน้ำของพวกเราให้มีกินมีใช้ตลอดทั้งปีและตลอดไป   Sources: Graham Harvey, “The Handbook of Contemporary Animism” (Acumen Handbooks, 2013)* Hugo A. Bernatzik, “Die Geister der Gelben Blätter” [The Ghosts of the Yellow Leaves]; (Bertelsmann Lesering, 1937/1961)   

No comments.