เกษตรกรรมถาวร​แบบดั้งเดิม​ – การกลับไปยังรากฐาน​เดิม!

เกษตรกรรมถาวร​แบบดั้งเดิม​ – การกลับไปยังรากฐาน​เดิม!

เกษตรกรรมถาวร​ดั้งเดิม​ – การกลับไปยังรากฐาน​เดิม! (“Primitive Permaculture” – Back to the Roots)

จากผู้ที่ไม่ยอมรับ: พวกเราใช้คำศัพท์ว่า “ดั้งเดิม หรือ primitive” ถึงแม้ว่าคำนี้จะมีความเกี่ยวข้องไปในทางลบที่หลายๆคนมีปัญหากับการใช้คำจำพวกนี้ ได้แก่ (ล้าหลัง “backwards” ไม่พัฒนา “not advanced” ขาดทักษะอันช่ำชองทางโลก “lacking sophistication” และอื่นๆ)

เนื่องมาจากว่ามันเป็นการนำเอาคำเหล่านี้ออกไปใช้เองโดยการเหยีดสียิวทางเผ่าพันธุ์ในประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน พวกเราใช้คำศัพท์นี้โดยเจตนาหรืออย่างจงใจ และใช้กับความหมายตามต้นกำนิดของศัพท์มูลวิทยา(etymological) หรือการศึกษาที่มาของคำศัพท์ จากภาษาละตินคำว่า prīmitīvus  หมายถึง (“ครั้งแรก หรือแรกเริ่มสุดของสายพันธุ์ของมัน”)

ดังนั้น คำว่า ดั้งเดิม หรือ primitive จึงหมายความได้ว่า “จุดกำเนิดของสายพันธุ์เอง” ดั้งเดิม “original” ไม่ใช่อันดับรอง “not secondary” และ อยู่ในสภาพธรรมชาติของมันเอง “in its natural state”

สำหรับพวกเราคิดว่าคำศัพท์คำนี้ไม่ใช่คำศัพท์ที่ใช้แบ่งแยก ค่อนข้างจะกลับกัน พวกเราคิดว่ามันคือคำที่น่าภาคภูมิใจ น่ายกย่องสรรเสริญ และน่าที่จะต่อสู้สำหรับคำนี้

แนวความคิดที่อยู่ด้านล่างในแต่ล่ะหัวข้อคือการยึดถืออยู่ตามหลักฐานที่โต้แย้งไม่ได้

1. หนทางเดียวในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนได้จริงๆ คือ หนทางดั้งเดิมของชนพื้นเมือง และตามหนทางของมนุษย์ที่ถูกเรียกกันว่า มนุษย์ในยุคหิน “Stone Age” (ดังนั้นจึงถูกบงการจากสภาพแวดล้อมที่คุณอาศัยอยู่ ไม่ใช่จากวัฒนธรรม และแนวคิดที่ไม่เชื่อมติดกันจากที่ดินของตน) อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการ ตัดถางที่ดินเพื่อทำการเกษตร การเพาะปลูกส่วนใหญ่เป็นธัญพืช การขุดเหมืองแร่ การหล่อหลอมโลหะ และการสร้างที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่กว่าที่เคยมีมานั้น ไม่สามารถและในสุดท้ายก็จะไม่เคยเกิดความยั่งยืนได้เลย

2. พวกเรารู้แล้วว่าหนทางดั้งดิมเป็นอย่างไรและมันยั่งยืนได้ก็เนื่องมาจากทั้งระยะเวลา 3,000,000 ปี ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์หลายสายพันธุ์ (ที่ซึ่งชีวิตทั้งหมดได้อยู่อย่างประสบความสำเร็จ อัตตราการสูญพันธุ์อยู่ในระดับต่ำและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงหรือผันผวนไม่ได้เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ แต่ทั้งหมดทั้งมวลเมื่อเปรียบเทียบแล้วก็ค่อนข้างจะมั่นคง) ตามที่เปรียบเทียบเวลาทางประวัติศษสตร์กว่า 8,000 ปี ของอารยธรรม (ซึ่งได้ทำสงครามสู้รบกับธรรมชาติ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ขนานใหญ่ยืดเยื้อออกไป เช่นเดียวกันกับการทำให้สภาพอากาศล้มเหลวที่จะผลักดันโลกให้ต้องผชิญกับปรากฏการณ์ต่างๆที่ไม่เคยมีมาก่อนและลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ยุคใหม่ไม่เคยประสบมาก่อน )

3. มนุษย์สายพันธุ์ โฮโม เซเปียส์ Homo sapiens (เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน หรือ anatomically modern human”) ไม่มีการเปลี่ยนเปลี่ยงทางลักษณะกายภาพอย่างสังเกตได้ ผ่านช่วงเวลาไม่กี่แสนปีมานี้ (เอาให้ถูกต้องก็จะเป็นเวลา 300,000 ปี) ดังนั้น พวกเราคือสัตว์ที่มีวิวัฒนาการตามด้านสังคม ด้านชีววิทยา ด้านสรีระวิทยาและทางด้านจิตวิทยาที่สามารถปรับตัวเข้ากับ วิถีการดำเนินชีวิตแบบชนแร่ร่อนล่าสัตว์และเก็บของป่าได้ดีมากที่สุดในสังคมชนเผ่าต่างๆที่อยู่อย่างเท่าเทียมกัน และอยู่ในกลุ่มเล็กๆที่เป็นเครือญาติกันและเป็นเพื่อนสนิทกัน คืออยู่แบบเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทันศ์ไม่ใช่อยู่เป็นผู้ปกครองของภูมิทันศ์

โดยพื้นฐานแล้วพวกเรายังคงเป็นสัตว์มนุษย์สายพันธุ์ป่าที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่ไม่เป็นธรรมชาติและจะต้องปรับตัวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากวัฒนธรรมของพวกเราที่ได้สร้างขึ้นมา

ผลลัพธ์ของการปฏิเสธหรือการไม่ยอมรับธรรมชาตินั้นต่างก็จะเป็นความหายนะต่อสุขภาพของมนุษย์องและต่อโลกที่พวกเราอาศัยอยู่ด้วย ตัวอย่างที่ดีมากที่สุดก็คือ เด็กๆคนไหนก็ตามที่เกิดเป็นคนในเมืองก็จะกลายมาเป็นเหมือนกันกับชนพื้นเมืองได้ เมื่อได้ถูกเลี้ยงดูมาท่ามกลางพวกเขา นี่แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างที่น่าสังเกตก็คือเรื่องทางวัฒนธรรม

อะไรคือเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม What is Primitive Permaculture?

พวกเรากำลังอยู่ในขบวนกการพัฒนาสิ่งที่เราได้ตั้งชื่อไว้ เกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม Primitive Permaculture ซึ่งมันคือรากฐานของหลักการและเทคนิคของ ระบบเกษตรกรรมถาวร แต่เป็นการนำไปปฏิบัติที่รุนแรงมากกว่าในเรื่องการออกแบบ design (ซึ่งมันก็จะเป็นไปตามขบวนการธรรมชาติ เมื่อไหร่ก็ตามที่มันจะเป็นไปได้)  เรื่องการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง advanced technogy (ซึ่งควรที่จะใช้อย่างจำกัดให้น้อยเท่าที่จะน้อยได้ เหมือนกับในกรณีของพวกเรา: ไม่มีไฟฟ้า ใช้มือถือเครื่องดียว คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง รถจักรยานยนต์สองคัน และไม่มีเครื่องมืออันทรงพลัง เช่น เครื่องเลื่อย เครื่องเจาะ และอื่นๆหรือเครื่องมืออุปกรณ์ทำสวน เช่น รถแทกเตอร์ เครื่องปั่นน้ำที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น) เรื่องวัฒนธรรม culture (ซึ่งควรที่จะส่งเสริมเรื่องความสัมพันธ์กับที่ดินอย่างใกล้ชิด) เรื่องวัฒนธรรมการใช้วัตถุหรือวัสดุ  organic material culture (พลาสติก โลหะเหล็ก ปูนคอนกรีต และอื่นๆ ควรจะแทนที่ด้วยใช้สอยวัตถุดิบที่มีตามท้องถิ่น เมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นไปได้)

แน่นอนล่ะว่า พวกเราไม่ได้คิดว่า ตัวพวกเราเองเป็คนดั้งเดิมหรือเป็นคนพื้นเมือง และพวกเราไม่ได้เป็นคนดั้งเดิมมาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว​ ถ้าหากเคยเป็นมา พวกเรารู้ว่ามันยังมีความแตกต่างหลายอย่างมากและพวกราก็เฝ้าคอยระมัดระวังเรื่องความเหมาะสมทางวัฒนธรรม   ชีวิตของพวกเราอาจจะดูเหมือนดั้งเดิมมากกว่าสำหรับการอยู่แบบร่วมสมัยของพวกเรา กล่าวคือ ไม่มีไฟฟ้า ทำอาหารจากการใช้เตาฟืนและเตาถ่าน เดินเท้าเปล่าเยอะมาก กินอาหารป่าหลากหลายเมนู แต่เห็นได้ชัดว่าพวกเรายังคงใช้สมาร์ทโฟน ยังใช้รถจักรยานยนต์และมีหนังสือไว้อ่าน

พวกเราอาจจะพูดคุยกับพืชและสัตว์ต่างๆกับความมั่นใจอย่างแท้จริงว่าพวกเขาเข้าใจพวกเรา และมีความเชื่อเรื่อง พืช สัตว์ แม่น้ำ ที่ดิน ป่าเขาลำเนาไพรและจิตวิญญาณของภูเขาต่างๆอย่างหนักแน่น แต่พวกราก็ยังอยู่อีกไกลมากจากการชื่อมโยงถึงจิตวิญญาณอันลึกซึ้งของสิ่งแวดล้อมที่บ่งบอกถึงลักษณะความเป็นคนดั้งเดิมหรือชนพื้นเมือง

พวกเราอาจจะมีมุมมองทางวัฒนธรรมของตัวเอง มีความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม การเฉลิมฉลองและเรื่องต้องห้าม แต่พวกเราก็ไม่มีทางไหนที่ใกล้กับการพัฒนาอะไรอย่างมีความหมายสมบูรณ์แบบและทรงพลังได้เหมือนกับวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองที่ได้กระทำมาเป็นเวลาหลานพันปี พวกเราอาจจะดูไม่เหมือน “ ดั้งดิม primitive” หากดูโดยผิวเผิน แต่ความขัดแย้งกันที่ใหญ่ที่สุดระหว่างพวกเราและคนสามัญชนทั่วไป คือเรื่องอุดมการณ์ทางจิตสำนึก พวกเราไม่แลดูเหมือนคนดั้งเดิม แต่พวกเราแสดงตัวตนได้อย่างไม่ลังแลใจกับพวกเขาและกับมุมมองทางโลกของพวกเขาได้มากกว่าคนที่อยู่ส่วนใดก็ตามของวัฒนธรรมอันวุ่นวายที่ขาดความเชื่อมโยงกันที่อยู่ล้อมรอบตัวพวกเรา

ในขณะที่พวกเราใช้อุปกรณ์เครื่องมือไม่หลายอย่างที่กล่าวไปด้านบนนั้นอาจจะดูเหมือนป็นการแสแสร้งหลอกหลวงครั้งแรกที่อ่าน พวกเราไม่สนับสนุนหรือทำให้ระบบนั้นอยู่เป็นอมตะที่มันผลิตสิ่งของเหล่านั้นขึ้นมา และพวกเราก็ไม่ต่อสู้ดินรนเพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งส่วนใดๆของมันเลย

ในแง่ของเรื่องห่วงโซ่อุปทานแตกขาดหรือโรงไฟฟ้าล่ม พวกเรารู้ว่าจะอยู่ได้สบายๆโดยไม่มีสมาท์โฟนและรถมอเตอร์ไซต์ใช้ เมื่อตอนที่อารยธรรมโลกาภิวัตน์ล่มสลายลงในที่สุดจากน้ำหนักตัวของมันเอง การใช้คำศัพท์คำว่า​“ดั้งเดิม primitive” เพื่ออธิบายถึงเทคนิคทางระบบเกษตรกรรมถาวรที่พวกเราได้บุกเบิกมานั้นไม่ได้หมายความว่า พวกเราพิจารณาตัวเองว่าเป็น “คนดั้งเดิม primitive people” และไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องเป็นคนดั้งเดิม ถึงจะฝึกฝนปฏิบัติได้เช่นคนดั้งเดิม

“ความดั้งเดิม Primitive” อธิบายถึงลู่ทางและเป้าหมาย ไม่ใช่อธิบายถึงเรื่องข้อกำหนด หรือ เงื่อนไขเบื้องต้น (“Primitive” describes the direction and the goal, not a requirement or precondition)

เริ่มกับอะไรบ้าง (What to start with)

ระยะเริ่มแรกของเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม คือ การศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับว่า ผู้คนในภูมิภาคของคุณและผู้คนในโซนสภาพอาศนั้นๆทำอะไรมาก่อนที่จะมีอารยธรรม และจากนั้นก็ทำงานต่อกับบางสิ่งบางอย่างที่สอดคล้องกับแนวทางนั้นๆที่คุณค้นพบมา สำหรับพวกเราที่นี่ ที่สวนฟื้นฟูฯ ตามที่เป็นผู้อยู่อาศัยของภูมิทัศน์ที่ นักมนุษยวิทยาชื่อ James C. Scott ได้ใช้คำว่า โซเมีย หรือ Zomia (โซเมีย คืออาณาบริเวณเทือกขาที่ยาวเหยียดมาจากประเทศอินเดียทางตะวันออกและลาดตัวไปจนถึงเทือกเขาหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

นี่หมายความว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับชนนักล่าสัตว์และเก็บของป่า hunter-gatherers เช่น ชาวเผ่าผีตองเหลือง (the Mlabri) ชาวเซมัง (Semang) หรือชาวปีนัน (Penan) และชาวเขาชาวดอยที่ทำไร่เลื่อนลอย swiddening hillpeople เช่น ชนเผ่าลีซู (Lisu) ชาวกะเหรี่ยง (Karen) ชาวอาข่า (Akha) ชาวม้ง (Hmong) ชาวเมี่ยน (Mien) หรือ เย้า บางครั้งก็เรียกว่าอิ้วเมี่ยน หรือชาวปะหล่อง (Palaung) เป็นชนเผ่าหนึ่งที่อพยพมาจากจีนและเข้าอาศัยอยู่ที่ประเทศพม่าและมีบางส่วนอาศัยอยู่ในแถบชายแดนไทยและพม่า)

อย่างไรก็ตาม พวกเรายังสามารถที่จะเรียนรู้ได้อีกมากมายจากสังคมชนพื้นเมืองกลุ่มอื่นๆในเขตสภาพอากาศที่คล้ายๆกัน เช่น ชนผ่าที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงชาวปาปัวนิกินี หรือ ชนเผ่าที่อยู่บนเกาะสูงในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ชาวเมลานีเซีย ชาวพอลินีเซีย Tikopians

เกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิมคือการได้รับแรงบันดาลใจมาจากชนพื้นเมืองที่ปลูกพืชสวนและชนล่าวัตว์และเก็บของป่าจากทั่วโลก พวกเราปลูกมันสำปะหลังและกล้วยเป็นอาหารหลัก เช่นเดียวกับชาว Yanomami ชาว Huaorani ชาว Kayapo ชาว Tsimane และชาว Zo’é ของป่าดิบชื้นแห่งป่าแอเมซอน และอีกหลายชนเผ่าของชาวปาปัวนิวกินีและอีกหลากหลายชนเผ่าแห่งหมู่เกาะพอลินีเซีย

ชาว Kenyah ของประเทศมาเลเซียปลูกดูแลรักษาพันธุ์ต้นไม้ได้ถึง 125 สายพันธุ์ต่อเฮกเตอร์ หรือประมาณ 6 ไร่ 1งาน ในสวนป่าของพวกเขา forest orchards  และนั่นก็คือเส้นทางที่พวกเรากำลังจะนำเอามาเช่นกัน คลิกดูรายชื่อสายพันธุ์ต้นไม้ในสวนของพวกเรา  (click here for a full list of tree species in our garden)

เป้าหมาของเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม (Aims of Primitive Permaculture)

ขณะที่เกษตรกรรมถาวรประกอบด้วยเรื่องความเป็นป่าหรือความเป็นธรรมชาติ อย่างเช่น​ การแบ่งออกป็นโซน โซนป่าหรือโซนปล่อยตามธรรมชาติจะเป็น โซน5 ( ซึ่ง โซน1 เป็นโซนที่ใช้สอยเป็นประจำคือบริเวณใกล้บ้านและปลูกผักสวนครัว)

เกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิมสนับสนุนการขยายโซน5ไปสู่โซนอื่นๆ (ครั้งแรกเป็นโซน 4 แล้วก็โซน 3 เป็นต้น) โดยการลดการดูแลควบคุมลงไปเรื่อยๆและดำเนินการดูแลรักษาเพียงแค่ที่จำเป็นต้องทำ และ เลือกปลูกพืชที่เป็นกึ่งป่า (semi-)wild พืชที่ทนทานมีอายุหลายปี resilient perennials หรือพืชที่เมล็ดเกิดต่อได้เองจะเอาชนะพืชที่ต้องใช้แรงงานดูแลเยอะ จะเอาชนะพืชสารอาหารน้อยและเป็นพืชที่เพาะปลูกได้ปีเดียวหรือไม่เกินนั้น

แนวทางนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหลักการของคุณ มาชาโนบุ​ ฟูกูโอกะ​ ​ของการทำเกษตรกรรมแบบไม่กระทำ https://feunfoo.org/th/what-we-do-th/do-nothing-farming-th/  และวิถีการทำสวนแบบลัทธิเต๋า Taoist gardening

เกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิมจะให้ความสำคัญเรื่อง พืชกึ่งป่าและพืชป่าเป็นส่วนใหญ่และเป็นพืชที่มีอายุหลายปีอีกด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นไม้ คือจะเน้นปลูกต้นไม้ที่มีอายุยาว

การสร้างสวนอาหารป่า Food Jungle คือเป้าหมายระยะยาวของการทำเกษตรถาวรแบบดั้งดิมในภูมิภาคที่มีปริมาณน้ำฝนเอื้ออำนวยได้เพียงพอ เหตุผลหนึ่งคือเรื่องความยืดหยุ่น (resilience) อีกเหตุผลหนึ่งคือรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) อีกเหตุผลหนึ่งคือเรื่องความสวยงาม และยังมีอีกเหตุผลหนึ่งคือสารอาหาร พืชป่าเป็นพืชที่ทนทานต่อความแล้งได้มากกว่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพืชนั้นๆโตอยู่ในป่า ที่มีป่าเป็นเกาะป้องกัน เสมือนอยู่กันเป็นสังคม)

เมื่อต้นผลไม้ในหมู่บ้านนี้ตายเป็นร้อยๆต้นช่วงที่มีปรากฏการณ์ เอลนีโญ (El Nino หรือแล้งฝน) ในปี 2016 พวกเราไม่พบต้นไม้ป่าที่ตายจากความแล้งเลยสักต้น) ต้นไม้ป่าโตเร็วและแข็งแรงจึงเป็นต้นที่อ่อนไหวต่อแมลงต่างๆน้อย เช่น แมลงที่จะเข้ามากัดกินและทำบาดแผลให้กับต้น และต้นไม้ป่ายังต้องการให้ดูแลน้อยกว่าพืชพันธุ์ที่ปลูกเลี้ยงกัน

พืชอาหารที่อ่อนแอมากที่สุดคือพืชที่ถูกปลูกเลี้ยงไว้สูงที่สุดเพื่อทำเป็นแหล่งอาหารของชาวตะวันตกหรืออาหารสากล พืชต่างๆเหล่านั้นเป็นพืชพันธุ์สำหรับเพาะปลูกที่จะกลายมาเป็นพืชกลุ่มที่ปลูกได้ยากลำบากและจากนั้นก็จะปลูกไม่ได้ตามที่ความล้มเหลวทางสภาพอากาศปรากฏขึ้นต่อไปเรื่อยๆ นำไปสู่ความขาดแคลนอาหารและความล้มเหลวของสังคมส่วนใหญ่ขั้นรุนแรง

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการ:

นับมาตั้งแต่มนุษย์ได้เริ่มทำการเพราะปลูกพืช พวกเขาได้เลือกพันธุ์พืชที่มรรสชาติหวาน มีน้ำตาลสูง อุดมไปด้วยแป้งและน้ำมัน และเนื้อนิ่ม และต่อต้านรสชาติขม รสฝาดและรสเปรี้ยว และที่ต้องเคี้ยวอย่างต่อเนื่อง น่าเสียดายที่ สารอาหารที่มีประโยชน์มากที่สุดของพฤษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ Phytonutrients (สารเคมีในพืชที่ออกฤทธิ์ต่อต้านหรือยับยั้งโรคภัยที่พบกันได้ทั่วๆไปของมนุษย์ยุคใหม่ ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ โรคจิตเสื่อม เป็นต้น) มีรสชม รสเปรี้ยวหรือรสฝาด ผลลัพธ์ที่ได้นับต้งแต่นั้นมาก็คือ อาหารที่กินง่ายแต่เรื่องสารอาหารกลับว่างเปล่า ซึ่งนำไปสู่การที่ประชากรมีสุขภาพไม่ดี อาหารป่าที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์สูงคือหนึ่งในเหตุผลหลักๆที่ว่าทำไม สังคมชนนักล่าสัตว์และเก็บของป่า (hunter-gatherers) และ สังคมกสิกรรมพืชสวน (horticultural) เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงมากยิ่งกว่ามนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ถึงแม้ว่าพวกเราจะมียารักษาโรคทุกประเภท มีคุณหมอและโรงพยาบาลก็ตาม กับการที่มีอาหารนิ่มๆอาหารจำพวกแป้งเยอะแยะไว้รับประทานจึงทำให้ขากรรไกรลดขนาดลงในเวลาไม่กี่รุ่น (ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องฟัน) และเด็กๆกินอย่างอื่นแทนนมเร็วขึ้น (ส่งผลให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น) ตัวอย่างเช่น แทนที่จะกินผักสลัด พวกเรากินหน่ออ่อนของพืชพันธุ์ไม้หลายสายพันธุ์ที่ไม่ต้องการให้ดูแลใดๆเลย ไม่ยอมจำนนต่อการรุกรานจากเหล่าแมลง และมีสารอาหารมากกว่าผักสลัดที่มีสารอาหารอื่นน้อยนอกจากน้ำเป็นหลายเท่าตัว สำหรับการปลูกพืชอายุสั้นที่เราปลูกกัน: เช่น แทนที่จะปลูกแตงกวาพันธุ์ทั่วๆไป เราก็ปลูก แตงจิ๋วเม็กซิกัน หรือ cucamelons จากอเมริกากลาง ซึ่งมีรสชาติประมาณเดียวกันแต่ลูกแตงจะเล็กกว่าเยอะ ต้นแข็งแรงมากกว่า เปรี้ยวกว่านิดน่อยด้วย และทนทานต่อความแห้งแล้งและทนทานต่อศัตรูพืชได้มากกว่าแตงกว่าธรรมดา พวกเราชื่นชอบพืชทำเมล็ดเกิดต่อองได้เสมอ หรือพืชที่แพร่พันธุ์ได้เอง เหมือนผักกาดไร่ (fireweed) ผักแพว (Vietnamese coriander) ใบบัวบก (centella) ถั่วฝักยาว (yard-long bean) หมามุ่ย (velvet bean)  ถั่วพร้าเมล็ดแดง (sword bean) มะระขี้นก (bitter cucumber) ดอกชมจันทร์ (moon flower) ผักกระพรา (holy basil) พริกขี้หนู (bird’s eye chili) ต้นสะโน (river hemp) ต้นกระฐิน (lead tree) กล้วยป่า (wild bananas) เป็นต้น เฉกเช่นเดียวกันกับชนพื้นมือง การทำเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม (Primitive Permaculture) พยายามที่จะใช้แต่ละส่วนและทุกๆส่วนของเหล่าสหายสิ่งมีชีวิตที่ถูกฆ่า ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ไม่มีอะไรต้องทิ้งไป และสิ่งมีชีวิตทุดชนิดได้รับการปฏัติกับความเคารพอย่างเหมาะสม พืชและสัตว์ทุกๆชนิดได้รับคำขอบคุณสำหรับการที่เขาหรือเธอได้สังเวยให้และมีการทำพิธีกรรมเพื่อขอขมาลาโทษ  ตัวอย่างเช่น

ชาวปีนันบนเกาะบอร์นียว(Penan of Borneo) ได้กล่าวเกริ่นก่อนที่จะต้นต้นปาล์มสาคู ดังนี้  “หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณจะสามารถขับไล่วิญญาณอันชั่วร้ายออกไปจากพื้นที่แห่งนี้ ความจริงก็คือ ต้นสาคูอันเป็นที่รัก ฉันเกลียดที่ต้องตัดต้นคุณออก แต่ฉันไม่มีอะไรเหลือไว้สำหรับกินเลย และฉันหิวโหย ฉันไม่มีทางเลือก!” 

“Hopefully you can drive away all the bad spirits from this place. The truth is, dear sago tree, I hate to cut you down, but I don’t have anything left to eat and I’m hungry. I have no choice!” 

นอกจากนี้แล้ว การทำเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิมยังครอบคลุมการเน้นความสำคัญกับสายพันธุ์อย่างกว้างขวาง พืชพันธุ์ที่ไม่ได้มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์โดยตรง (ยกว้นแต่คุณประโยชน์ทางด้านปลูกเพื่อประดับตกแต่งที่เห็นได้ชัด) แต่ปลูกเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรของสัตว์ป่าของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์อื่นๆ เช่นเดียวกันกับสายพันธุ์นกต่างๆ นักผสมเกสรต่างและหล่าแมลงต่างๆ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานโดยการสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยและนำมาเป็นแหล่งอาหาร วิธีการเช่นนี้ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ (domestication) เป็นบางส่วนเป็นอย่างน้อย ถูกแทนที่ด้วยการล่าสัตว์ป่า ในขณะที่มันเป็นไปได้อย่างแน่นอนที่จะเลี้ยงสัตว์ให้มีความสุขและแข็งแรง สัตว์ที่ถูกเลี้ยง หรือ การเลี้ยงสัตว์ domesticated animals (ซึ่งชนเผ่าพื้นเมืองบางเผ่าก็เลี้ยงสัตว์เช่นกันเป็นช่วงๆ) พวกเราเชื่อกันว่า สัตว์ทุกๆชนิด (และพืชทุกๆสายพันธุ์ด้วยเช่นกัน) จะมีความสุขมากที่สุด เมื่อเขาหรือเธอได้อยู่อย่างสนุกสนานไปกับการมีความเป็นอิสระโดยสมบูรณ์

บทสรุป มันสำคัญที่จะจดบันทึกไว้ว่า การทำเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม คือ กรอบความคิดของการขจัดตัวเองออกไป หรือ self-eliminating concept มันคล้ายคลึงกับลัทธิเต๋าค่อนข้างมาก Taoism  เมื่อ หยินและหยางไม่มีความกลมกลืนกันอีกครั้งและทุกสิ่งอย่างถูกปล่อยให้เป็นไปตามแนวทางแห่งเต๋า มันไม่จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์หรือข้อบังคับอะไรที่จะต้องสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ครั้งหนึ่งที่ผืนป่าได้รับการฟื้นฟูเยียวยาและพวกเรา (และลูกในอนาคตของพวกรา) จะได้เรียนรู้กับการใช้ชีวิตอยู่ภายในและออกจากป่าได้อย่างไร และเมื่อพวกเราได้สร้างวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างถาวรได้สำเร็จผล (กล่าวคือ วัฒนธรรมที่ยั่งยืน) มันก็จะไม่มีความจำเป็นใดๆทั้งทางด้านมุมมองหรือทางเทคนิคส่วนใหญ่ มัรจะกลายมาเป็น ประเพณีของพวกเรา วัฒนธรรมของพวกเรา  สิ่งที่พวกเราทำ ชีวิตของพวกเรา โดยปราศจากความจำเป็นที่จะต้องใช้คำสวยหรูเพื่ออธิบายมันให้กับบุคคลจากภายนอก 

อุดมการณ์ของการทำเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม (Primitive Permaculture’s Ideology)

ในส่วนของแนวคิดหรืออุดมการณ์ของการทำเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม เรื่อง มานุษยประมาณนิยม anthropocentrism (อำนาจสูงสุดเป็นของมนุษย์ หรือ human supremacism) คือถูกรื้อถอนออกไปจากอุดมการณ์นี้ และมนุษย์ถูกมอบหมายให้เป็นอยู่อย่างถ่อมตัวและอยู่อย่างพอประมาณมากกว่า ตามที่เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งท่ามกลางอีกหลายสายพันธุ์ ในจักรวาลที่เชื่อมต่อกันอันกว้างใหญ่ของความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความหมายระหว่างความแตกต่างของสายพันธุ์แต่เป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ป็นผู้จัดการดูแลระบบนิเวศและเป็นผู้ช่วยให้ธรรมชาติอยู่รอดได้  ซึ่งตามประเพณีแล้วเหล่า นักเกษตรกรรมถาวร (permaculturalists) มักคิดกันอยู่บ่อยๆว่าพวกขาเป็นเช่นนั้น

นอกไปจากนี้แล้ว พื้นดิน (คือสุขภาพของระบบนิเวศทั้งหมด) จะมาก่อนเสมอในการพิจารณาตามหลักอุดมการณ์และทางหลักจริยธรรมทั้งหมด นักเขียนชาวอเมริกันชื่อ Aldo Leopold ที่เป็นคนให้คำจำกัดความของ หลักจริยธรรมทางที่ดิน หรือ Land Ethic ไว้เป็นหลักการง่ายๆ ดังนี้

“สิ่งหนึ่งจะถูกต้องก็เมื่อ,yoมีแนวโน้นที่จะอนุรักษ์ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ อนุรักษ์ความมั่นคงและอนุรัษ์ความงามของชุมชนแห่งชีวิตไว้ มันจะไม่ถูกต้องก็มื่อมันมีแนวโน้มไปทางตรงทางกันข้าม”

“A thing is right when it tends to preserve the integrity, stability, and beauty of the biotic community. It is wrong when it tends otherwise.”

นักเขียนชาวอเมริกันชื่อ Derrick Jensen ได้กล่าวไว้อย่างถูกต้องว่า ตัวชี้วัดเดียวที่มนุษย์ในยุคอนาคตจะต่อว่าตัดสินให้กับมนุษย์ในยุคของพวกเราได้ก็คือ เรื่องความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินที่เป็นฐานหลักของพวกเขา มันก็จะไม่มีความสำคัญเลยแม้แต่น้อยต่อพวกเขาในเรื่องที่ว่า พวกเรามีเงินทองทรัพย์สินและมีสินค้าที่พวกเราได้เก็บสะสมไว้มากเพียงใด พวกเรามีสุขภาพแข็งแร็งหรือได้รับการเคารพมากเพียงใด พวกเราอ่านหนังสือมากี่เล่ม พวกเราเดินทางท่องเที่ยวมาแล้วกี่ประเทศ พวกเราทำงานอะไรและทำงานตำแหน่งอะไร หรือพวกรานับถือศาสนาอะไร สิ่งที่จะเป็นเรื่องสำคัญต่อพวกเขาก็คือ ถ้าพวกเขามีอากาศบริสุทธิ์เพื่อหายใจ มีน้ำดื่มสะอาดเพื่อดื่มกิน มีอาหารเพียงพอ และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการอยู่อาศัย  เพราะฉะนั้น ถ้าพวกเราต้องการที่จะเป็น “บรรพบุรุษที่เหมาะสม หรือ good ancestors” สิ่งสำคัญที่จะต้องมาก่อนมากที่สุดของพวกราก็คือการทำให้มั่นใจได้ว่าพื้นดินที่หลืออยู่มีความสมบูรณ์มากพอที่จะช่วยเหลือค้ำจุนมนุษย์ในยุคอนาคตได้

ความคิดเห็นเรื่องการเพาะปลูก ระหว่าง ผู้ครอบครอง กับ ชนดั้งเดิม (Thoughts on cultivation – Dominator vs Primitive)

นักคตินิยมความดั้งเดิมบางส่วนที่มีความคิดสุดโต่งอาจะถกเถียงว่า การปลูกอะไรก็ตาม (การเพาะปลูก หรือ cultivation) คือการเดินออกไปจากหนทางที่ถูกต้องอยู่แล้ว และนำไปสู่ (การเพาะปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ หรือ non-human animals และในท้ายที่สุดก็เป็นตัวพวกเราเองในการกระทำเช่นนั้น) นำไปสู่การตั้งถิ่นฐานแบบถาวรและการขยายตัวของอารยธรรม แต่พวกเราไม่เห็นด้วย มันมีนักพืชสวนหรือพืชกรสวนที่เป็นชนนักล่าสัตว์และเก็บของป่าแบบดั้งเดิม (primitive hunter-gatherer-horticulturalists) อยู่จำนวนมาก เช่น ชาว Yanomami ชาว Huaorani หรือชาว Zo’é ที่กล่าวไปด้านบน พวกเขาเป็นผู้ที่จะไม่เคยเพ้อฝันเกี่ยวกับการสร้างอารยธรรม ความแตกต่างอยู่ในแบบที่ว่า คุณปฏิบัติกับพืชอย่างไร

วิถีของผู้ครอบครอง (The Dominator’s Way)

สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับการมีอารยธรรมได้ก่อให้เกิดแนวคิดแบบใหม่ แต่ก่อนแนวคิดนี้ไม่เป็นที่รู้จักต่อมนุษย์ ที่มันแพร่กระจายไปเหมือนกับไวรัส เนื่องจากผลประโยชน์อันมโหฬารที่มันนำมาสู่ชนกลุ่มน้อยเล็กๆ นั่นก็คือ การแบ่งลำดับชนชั้น หรือ hierarchy  อารยธรรมในอดีตทั้งหมดเป็นสังคมแห่งการครอบครองทาสอย่างแท้จริง (กับความเป็นไปได้ที่จะยกเว้นกรณีเรื่องของคนในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นกรณียกเว้นที่พิสูจน์เรื่องการปกครอง) และมันไม่มีการกล่าวเกินจริงใดที่จะพูดได้ว่า ค่าแรงของทาสส่วนใหญ่ได้ถูกแทนที่ในการทำงานหนักเยี่ยงทาสเป็นประจำในอารยธรรมโลกของพวกเขา (ถึงแม้ว่าตามประเพณีแล้ว ความเป็นทาส ยังคงมีอยู่กันทั่วโลก คิดดูเกี่ยวกับ ธาตุโลหะสีขาวคล้ายเงิน หรือ โคบอลต์ cobalt ที่ใช้สำหรับผลิตเครื่องมือทันสมัย อย่าง สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ของคุณ) เนื่องจากความได้เปรียบในเรื่องผลกำไรของชนชั้นปกครอง กล่วคือ พวกเขาไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู ไม่ต้องจ่ายค่าเครื่องนุ่งห่ม ไม่ต้องสร้างที่อยู่อาศัยให้กันคนงาน ถ้าคุณแค่จ่ายเงินเพียงนิดเดียวที่พวกเขาจะต้องใช้จ่ายด้วยตัวพวกเขาอง (โปรดอ่าน: จ่ายกลับไปให้คุณหรือจ่ายกลับไปให้สมาชิกในชนชั้นของคุณ) บนความจำเป็นขั้นพื้นฐานต่างๆ จึงทำให้พวกเขาคิดว่าพวากเขามีอิสระ พวกเขาต้องพึ่งพาเงินของชนชั้นปกครอง ดังนั้น การพึ่งพาคือเรื่องเดียวกัน และการใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่ก็ถูกแทนที่ด้วยการข่มขู่ด้วยความรุนแรง เช่น ลองหยุดจ่ายค่าเช่าบ้านของคุณสักสองสามเดือนดูสิและคุณก็จะเห็นการใช้ความรุนแรงตรงหน้าบ้านของคุณทันที บรรดาผู้ตรวจสอบควบคุมตอนนี้ถูกเรียกว่า ตำรวจและพวกเขาก็ทำหน้าที่ให้ทุกอย่างราบรื่นไปได้ด้วยดี ประเด็นก็คือ เรื่องการแบ่งลำดับชนชั้นและเรื่องอารยธรรมมีความหมายเหมือนกัน โดยพื้นฐานแล้วสามารถสับปลี่ยนวาระที่นำไปใช้ได้ มันมีคำว่า “แบ่งลำดับชนชั้น hierarchy” อยู่น้อยมากท่ามกลางกลุ่มชนดั้งเดิม ผู้ซึ่งดำรงอยู่อย่างเท่าเทียมกันอย่างท่วมท้น ผู้เพาะปลูกด้วยความเป็นศิวิไลซ์ ของการมีปฏิสัมพันธ์เรื่องดินกับพืชผลของพวกเขาอยู่ในการประพฤติอย่างเคร่งครัดแบบแบ่งลำดับชนชั้น  กล่าวคือ พวกเขาเป็นผู้ที่อยู่เหนือกว่า พวกเขาเป็นเหมือนพระเจ้าผู้สร้างโลก และอาจจะทำเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม พวกเขาปราถณาถึงเรื่องที่ด้อยกว่า เรื่องการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกพืช domesticated (เป็นคำละตินที่หมายถึง “การเป็นสมาชิกของบ้าน belonging to the house”) พวกเขาควบคุมประชากรของพวกเขาและใช้อำนาจบังคับเมื่อจำเป็น (ตัวอย่างเช่น การประกาศสงครามต่อสู้กับเหล่าแมลงต่างๆโดยการใช้ยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ หรือ การฆ่าสนัขป่าไปจนหมดสิ้นอย่างขาดการพิจารณา และสัตว์ผู้ล่าชนิดอื่นๆที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในสมัยก่อน) พวกเขาไม่จัดหาสิ่งที่พืชผักกต้องการไว้ให้ แต่พวกเขาจัดหาเรื่องการได้รับผลกำไรของตนเอง (ดังนั้น ผลลัพธ์ที่พวกเขาได้กลับคืนมาสามารถทำให้ที่อยู่อาศัยของพวกเขามีความปลอดภัย หรือแม้กระทั่งได้เลื่อนขั้นขึ้นไปในลำดับชนชั้น หรือเหมือนอย่างที่พวกเขาคิด) พวกเขาไม่เฝ้าคอยดูแลพืชผัก พวกเขา “จัดการควบคุม” พืชผักแทน

วิถีทางดั้งเดิม (The Primitive Way)

สังคมชนพื้นเมืองต่างๆได้รู้มาโดยตลอดว่าพืชและสัตว์อื่นๆเป็นเครือญาติกัน พวกเราทั้งหมดต่างก็แบ่งปันบรรพบุรุษเดียวกันและทั้งหมดนี้ก็มีความสัมพันธ์กัน พืชต่างๆก็เป็นเหมือนกันกับเรา เพียงแค่ว่าพวกเขามีรากในดินและชีวิตของพวกเขาปรากฏอยู่บนเส้นเวลาที่ช้ากว่ามาก ทางวิทยาสาตร์กำลังตามทันขึ้นเรื่อยๆ และการรวบรวมหลักฐานที่ว่าพืชอาจจะเป็นมากกว่าที่ผู้คนยุคใหม่คิดว่าเป็นแค่พืช และเป็นมากกว่าที่ชนพื้นเมืองคิด หนังสือยอดนิยม อย่าง “Brilliant Green: The Surprising History and Science of Plant Intelligence” เขียนโดย สเตฟาโน แมนคูโซ Stefano Mancuso นักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาเลียน (Island Press, 2015) อีกเล่มอย่าง “A Critique of the Moral Defense of Vegetarianism” เขียนโดย แอนดรูว์ เอฟ. สมิธ Andrew F. Smith (Palgrave Macmillan, 2016) หรืออีกเล่มหนึ่ง “The Hidden Life of Trees: What They Feel, How They Communicate – Discoveries from a Secret World” เขียนโดย Peter Wohlleben นักวนศษสตร์ชาวเยอรมัน (Greystone Books, 2016) ที่ได้ให้แสงสว่างมุมใหม่เกี่ยวกับความจริงในยุคโบราณ    เมื่อพวกเราคิดเกี่ยวกับพืชต่างๆ พวกเรามีมักจะมองพวกเขาเป็นพืชแต่ล่ะต้น เป็นตัวตนที่มีความต้องการ มีความปราถณาและมีความคิด ถ้าต้นพืชเล็กๆของพวกเราที่ยืนอยู่กลางแดดนานทั้งวันแล้วดูเหมือนต้องการน้ำ มันทำให้พวกเราเพลิดเพลินไปกับความคิดที่ว่าพวกเขาจะมีความสุขมากขนาดไหนที่ได้ปลดปล่อยความต้องการนั้นจากการได้น้ำเหมือนเป็นการอาบน้ำเย็นๆ น้ำสดๆที่พวกเราเอาไปรดให้พวกเขา พวกเขาคาดหวังว่าจะได้น้ำไหมนะ? พวกเขาตั้งหน้ารอคอยที่จะได้น้ำไหมนะ? พวกเขารอคอยที่จะได้น้ำในทุกๆบ่ายไหม และพวกเขาจะรู้สึกเสียใจไหมตอนที่พวกเราลืมพวกเขาเป็นวันไปเลย? ถ้าคุณถามกับพวกเรา คำตอบก็คือ มันใช่แน่นอนเลย ต้นไม้สามารถสำผัสได้อย่างแน่นอนว่าอากาศจะเป็นอย่างไรในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า (หรือแม้กระทั่งนานกว่านั้นอีก) เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงในความกดอากาศ ความชื้น ความเข้มข้นของแสงแดด เป็นต้น ดังนั้นก็ลองจินตนาการดูว่าต้นผลไม้ต้นเล็กๆจะมีความสุขเพียงใด ตอนที่ถึงฤดูร้อนสุดๆโดยไม่มีฝนในสายตาเลย ทันใดนั้นก็มีบางคนแทน้ำลงใส่ใต้ต้นนั้นจนหมดถัง! มันช่างคาดไม่ถึงอะไรขนาดนี้ แต่ต้อนรับเข้าสู่ความสดชื่น! มันเป็นงานที่คิดแบบนั้นที่ทำให้พวกเราเพลิดเพลินเป็นอย่างมากขณะที่รดน้ำให้ต้นไม้ ซึ่งคนอื่นๆอาจจะมองว่ามันเป็นงานที่ต้องใช้แรง พวกเราคิดเสมอว่ามันจะรู้สึกอย่างถ้าพวกเราเป็นพืชหรือเป็นต้นไม้นั้นๆ ณ ตอนนี้ พวกเรามองพวกเขา เช่นเดียวกันกับที่นักพืชกรสวนพื้นมืองมอง ด้วยความเท่าเทียมกันเหมือนกับพวกเรา พวกเราทำการดูแลช่วยเหลือ ไม่ได้หมายความว่า พวกเราทำการเพาะปลูกพืชต่างๆ ถ้าคุณปฏิบัติกับพืชต่างๆเหมือนกับเป็นเครือญาติ เหมือนกับเป็นลูกของคุณ และยอมรับถึงความรับผิดชอบสำหรับการดำรงอยู่ที่ดีของพวกเขา ทำเช่นนั้นก็ไม่ใช่เพียงแค่ว่าคุณสามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลไม้ของพวกเขาไป แต่ทำก็เพื่อว่าพวกเขามีความสุขและพึงพอใจ มันจึงไม่มีอะไรผิดกับการเพาะปลูกพืชถ้าทำได้เช่นนั้น 

ความเชื่อทางจิตวิญญาณของการทำเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม (Primitive Permaculture’s Spirituality)

อีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมากๆของการทำเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม (ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องส่วนตัว) คือมุมมองทางจิตวิญญาณ spiritual aspect  ชนดั้งเดิมมีความเชื่อที่แตกต่างอย่างกว้างขวาง นั่นก็คือระบบความเชื่อว่าสรรพสัตว์ก็มีจิตวิญญาณ มีชีวิต มีเจตจำนงเป็นของตน (animistic belief systems) ที่มันเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติอย่างไม่ต้องสงสัยเลย ตอนที่คุณปิดใจและเปิดจิตและใช้เวลามากพอในผืนป่าธรรมชาติ การมีปฏิสัมพันธ์กันกับสภาพแวดล้อมของพวกเขาเป็นคุณลักษณะที่เด่นและเป็นการมอบให้อย่างลึกซึ้งโดยการแลกเปลี่ยนกับวิญญาณต่างๆและเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทันศ์อย่างมีชีวิตชีวา ลัทธิวิญญาณ​นิยม หรือ Animism  หมายถึง การมองเห็นและการให้ความเคารพต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆและบ่งบอกความมีตัวตนเป็นเหมือนบุคคล ร่วมกับคุณลักษณะทั้งหมดที่เกิดขึ้นพร้อมกัน มันหมายถึงการขอบคุณชีวิตเมื่อนำเอามันมาใช้ (ตัวอย่างเช่น เมื่อทำการฆ่าสิ่งมีชีวิตที่เป็นเพื่อนร่วมโลก) การมองตัวคุณเองให้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวที่ใหญ่กว่าของสิ่งมีชีวิต และตระหนักรู้ได้ว่าคุณไม่เคยอยู่ตัวคนเดียว  พวกเราจะไม่ลงถึงรายละเอียดใดๆ เนื่องจากความเชื่อทางจิตวิญญาณควรจะเป็นการพิจารณาแบบส่วนตัว (ไม่มากก็น้อย) (และไม่มีอะไรที่ต้องทำการชักจูงเผยแผ่) และมันก็ไม่มีเรื่องที่เป็นเช่นนั้น อย่างเรื่องวิญญาณนิยมเพียงผู้เดียว กล่าวคือ ทุกๆคนจะต้องหาทางออกเกี่ยวกับบางอย่างสำหรับด้วยตัวพวกเขาเองที่สอดคล้องกันกับที่ดินที่พวกเขาอาศัยอยู่ 

ตัวอย่างบางส่วนสำหรับ เกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม (Some examples for Primitive Permaculture Techniqes) 

พวกเราฝึกปฏิบัติและทำการทดลองกับศาสตร์โบราณของ “การปลูกพืชที่อยู่ร่วมกันได้ หรือ companion planting” ซึ่งหมายความว่าคุณลองปลูกพืชแต่ล่ะชนิดด้วยกันที่พืชนั้นๆเหมือนกันและเอื้อประโยชน์จากกันและกัน ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจน คือ พืชตระกูลถั่ว หรือ legumes ซึ่งเป็นต้นพืชที่พืชอื่นๆชื่นชอบสำหรับความสามารถในการตรึงก๊าชไนโตเจนจากบรรยากาศได้ของพวกเขา (โดยการทำงานร่วมกันกับแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในปมรากของพวกเขา) และทำให้มันสามารถนำไปใช้ได้ในห่วงโซ่อาหารในดิน หรือ Soil Food Web และดังนั้นพืชอื่นๆทั้งหมดที่อยู่บริเวณนั้นก็จะได้กินด้วย อีกตัวอย่างหนึ่งจะรวมไปถึงการปลูกต้นกาแฟใต้ร่มของต้นทุเรียน (ซึ่งยังไม่เข้าใจถึงเหตุผลได้หมด โดยพวกเราดูเหมือนว่าทั้งสองต้นได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างมากมาย) หรือ การปลูกหญ้าแฝกบริเวณรอบๆโคนของต้นผลไม้ ในป่าดิบชื้นแอมะซอน ชาว Achuar (พวกเขาเป็นชนผ่าที่อยู่ในที่ลุ่มหนองปาล์ม) ผู้หญิงได้ทำให้เทคนิคนี้สมบูรณ์แบบ โดยการสำรวจและทำการทำลองอย่างระมัดระวังมาเป็นเวลากว่าพันปีกับเรื่องพืชป่าในสวนป่าของพวกเขา ในวัตฒนธรรมการทำไร่สวนของชาว Achuar คือเป็นงานของผู้หญิงเท่านั้น เนื่องจากไม่อนุญาตให้ผู้ชายทำการปลูกหรือแม้กระทั้งห้ามเข้าในสวน อีกวิธีการหนึ่งที่สำคัญของการทำเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม คือ การเคารพต่อสิทธิในการปกครองตนเองของชีวิตของพืชนั้นๆ นี่หมายถึงว่า  ถ้ามีพืชต้นหนึ่งแทงหน่อขึ้นมาในที่ใดที่หนึ่ง เมล็ดจะเลือกได้ว่าตรงนี้เป็นที่ดีสำหรับเกิดต้น และดังนั้นอีกคนไม่ควรที่จะเข้าไปแทรงแซงกับการตัดสินใจนี้ กระบวนการนี้สามารถได้รับความช่วยเหลือจากการแพร่กระจายของเมล็ดพันธุ์ไปทั่วอาณาบริเวณอย่างกว้างขวาง และปล่อยให้พืชเหล่านั้นเลือกเองว่าพวกเขาอยากจะเกิดต้นที่ไหน พวกเขาสามารถตรวจสอบส่วนประกอบของดิน เช่น ความชุ่มชื้นในดิน สารอาหารที่สามารถนำไปใช้ได้และเรื่องสัตว์ขนาดเล็กในดินได้ดีมากกว่าพวกเรา ดังนั้นพวกเราจึงปล่อยการตัดสินใจที่สำคัญของพวกเขาว่าจะใช้ชีวิตของพวกเขาที่ไหนมันก็จะขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของพืชนั้นๆเมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นไปได้ วิธีการนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยฉาะอย่างยิ่งกับพืชที่มีเมล็ดเยอะๆ เช่น มะละกอ ต้นสโนว์ ต้นมะขาม ต้นกระถิ่น พริกบางสายพันธุ์ และสมุนไพรบางชนิด พวกเรายังทำการทดลองกับการผสม ถ่านชีวภาพ หรือ ถ่านไบโอชาร์  biochar กับมูลมนุษย์ หรือ humanure และเปลือกหอยทะเลตำละเอียด เพื่อสร้างรูปแบบการทำดินให้สมบูรณ์ ด้วยวิธรการทำ  ‘Terra Preta del Indio’หรือการทำดินให้เป็นสีดำ เป็นเพียงดินชนิดเดียวที่รู้จักกันว่ามันสามารถสร้างดินขึ้นมาใหม่เองได้โดยปราศจากการใส่ของเพิ่มเติมลงไป (และในดินแบบนี้สามารถปลูกข้าวโพดได้สูงเท่ากับผู้ชายอยู่บนม้าเลยทีเดียว ตามที่กลุ่มนักสำรวจยุคบุกเบิกกล่าวไว้ หรือ กองกิสตาดอร์ conquistadores พวกเขาคือกองทหาร นักผจญภัยชาวสเปนและโปรตุเกส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16) Terra Preta หรือ เทอรา เปรตา โดยแรกเริ่มถูกสร้างขึ้นโดยช่วงยุคก่อนวัฒนธรรมชาวโคลัมเบียของป่าดิบชื้นแอมะซอน (หรือยุคก่อนที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ค้นพบทวีปอเมริกา) ผู้คนก่อนยุคนี้เป็นคนที่ได้พัฒนาระบบเกษตรกรรมในประเทศเขตร้อนชื้นได้อย่างยั่งยืนเพื่อหล่อเลี้ยงกลุ่มคนค่อนข้างมาก ในขณะที่ดินในประเทศเขตร้อนโดยปกติแล้วดินจะไม่ดีมากกว่า (ชีวมวล biomass ในป่าถูกกักเก็บไว้ในพืชและต้นไม้ต่างๆ) ชีวมวลคือสารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ เช่น เศษไม้ ชิ้นส่วนต้นไม้  เศษเหลือของวัสดุทางเกษตร เป็นต้น ผู้คนเหล่านั้นได้ตั้งใจสร้างความฝันของชาวสวนของการมีธาตุคาร์บอนในดินอย่างอุดมสมบูรณ์ โดยการผสมปุ๋ยหมักและมูลสัตว์ (น่าจะเป็นมูลของพวกเขาเองและมูลของสัตว์อื่นๆ) กับถ่านที่ได้จากการเผาไหม้พืชบางส่วน ขี้เถ้า กระดูกสัตว์และเปลือกหอย น่าจะได้สร้างขึ้นครั้งแรกหลังจากการตัดเผา และบริเวณห้องส้วมและบริเวณที่จะทำปุ๋ยหมัก การทำ Terra Preta ได้กลายมาเป็นเรื่องที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปอย่างรวดเร็วทั่วทั้งภูมิภาค น่าเสียดายที่ความรู้นี้ได้สูญหายไปในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น และตอนนี้มันก็ขึ้นอยู่กับพวกเราเพื่อที่จะค้นพบได้อีกครั้งเกี่ยวกับวิธีการโบราณต่างๆเช่นนี้ การปฏิเสธส่วนหนึ่งของวิธีการทำไร่ฟาร์ม ในการเห็นด้วยมากกว่ากับวัฒนธรรมการใช้วัสดุดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับความจงใจในการบังคับตนเองจากการใช้เครื่องมือป้องกัน เช่น ถุงมือ หมวกเหล็ก รองเท้า และในทำนองนี้ พวกเราเดินท้าเปล่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เดินเท้าเปล่าได้และใส่รองเท้าบูทแค่ช่วงฤดูฝนเท่านั้น (ตอนที่มีทากดูดเลือดเยอะๆ) และในตอนที่ทำภารกิจให้เสร็จในบริเวณที่ไม้คุ้นเคยของป่า ที่ซึ่งพวกเรายังไม่คุ้นเคยกับทางเดินของต้นปาล์มที่เป็นหนามแหลมคม ต้นนี้กิ่งก้านแห้งที่มีหนามวางอยู่อย่างกระจัดกระจายบนพื้นป่า สหรับเรื่องถุงมือ พวกเราไม่ได้ใช้ถุงมือเลยมาหลายปีแล้ว (อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่า เราก็เตรียมถุงมือไว้ให้คนอาสาสมัคร ซึ่งปกติแล้วจะมีมือนิ่มมากกว่า) จากการที่ไม่ใส่ถุงมือมันทำให้มือของพวกเราหยาบทนทานขึ้นไปในตัว ดังนั้นความจำเป็นที่ต้องใส่ถุงมือก็จะถูกขจัดออกไปอย่างแท้จริงโดยการมีผิวหนังที่ด้านหนาอย่างมาก แน่นอนว่าพวกเรายังทำให้ตัวเองมีแผลอยู่ตลอดเวลา และมือของพวกเรามีรอยไม้ไผ่บาดเล็กๆ หรือรอยบาดที่คมมากๆจากหญ้าคา แผลเล็กๆที่โดนหนามฝังอยู่ในผิวจากชนิดของต้นปาล์ม และบางครั้งก็เป็นแผลพุพอง พวกเราเชื่อแบบ (ไม่มีเหตุผลมากกว่า) ว่าได้บาดแผลเล็กๆน้อยๆจะช่วยป้องกันการเกิดบาดแผลหนักๆนานๆครั้งได้ และมันดูเหมือนว่ายุติธรรมดีที่เราได้รับบาดแผลด้วย เนื่องจากเราเองก็ทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นได้รับบาดเจ็บด้วยในการใช้ชีวิตประจำวัน (โดยการเดินออกหาอาหาร การเดินเล่น ถอนหญ้า ขุดดิน ตัดแต่งกิ่งต้นไม้ เป็นต้น) ในช่วงเวลานี้คุณก็ชินกับมันไปเอง และทันศนคติที่ระมัดระวังมากเหินไปต่อเรื่องบาดแผลเล็กๆน้อยๆในวัฒนธรรมหลักดูเหมือนเป็นเรื่องไร้สาระเพิ่มมากขึ้น (เช่น การใช้ยาฆ่าเชื้อแม้กระทั่งกับบาดแผลสุดจิ๋วด้วยการใช้แอลกอฮอล์) คุณก็จะเป็นคนที่ไม่ยินดียินร้ายหรือไม่แยแสต่อความเจ็บปวด และการกระทำที่น่ารังเกียจของวัฒนธรรมนี้ของการใช้ยาแก้ปวดให้เร็วที่สุดตอนที่คนหนึ่งรู้สึกไม่สบายตัวแค่นิดเดียว ทุกๆครั้งที่มีแผลเล็กๆแต่มันเป็นแผลที่น่ารำคาญ (เหมือนโดนหนามตำเท้า) หายเป็นปกติ พวกเราก็ปลื้มใจกับความสามารถในการกลับคืนมาเป็นเหมือนเดิมได้อีก และทุกๆครั้งพวกเรารู้สึกเหมือนส่วนหนึ่งของตัวเราได้เกิดใหม่ ทุกๆครั้งที่บาดแผลปิดสนิท พวกเราได้นำเอาความเชื่อในตัวของพวกเรากลับคืนมาส่วนหนึ่งและได้รับความสามารถในการรักษาเองของร่างกายคืนมาด้วย สัตว์อื่นๆก็มีบาดแผล ดังนั้นทำไมเรื่องเดียวกันนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับพวกเราล่ะ? Bruno Manser  ได้เขียนเกี่ยวไว้เกี่ยวกับชาวปินันแห่งเกาะบอร์เนียวว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้เห็นผู้ชายรู้สึกจักจี้รอบๆเท้าของพวกเขา กับเครื่องมือที่คมกริบเพื่อเอาหนามออกหลังจากที่กลับมาจากล่าสัตว์ พวกเราไม่สามารถแยกตัวเองออกจากการสัมผัสถึงความรู้สึกทางลบที่ทุกสิ่งมีชีวิตได้ประสบมา และรู้สึกถึงเพียงแค่ความสุขอันแสนหวานตลอดเวลา และมันคือรูปแบบของการปฏิเสธที่มนุษย์ยุคใหม่พยายามที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ย้ำเตือนถึงความอ่อนแอใดๆของพวกเขา (และ ที่เพิ่มเติมมา คือเรื่องความตาย) โดยการทำอะไรก็ได้ที่จำเป็นต้องทำ  

ชาวเขายุคใหม่ “Modern-day Hill People”

หนังสือเล่มหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพวกเราเป็นอย่างมากคือ หนังสือของ เจมส์ ซี สก็อตต์  หรือ James C. Scott ชื่อเรื่อง The Art of Not Being Governed – An Anarchist History of Upland Southeast Asia หรือ ศาสตร์แห่งการไม่ถูกปกครอง ประวัติศาสตร์อนาธิปไตยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ (Yale University Press)*  หนังสือเล่มนี้คือทางเลือกของการอธิบายทางประวัติศาสตร์ของชาวเขาหลากหลายกลุ่มชน (เป็นเล่มที่ไม่ได้ถูกเขียนไว้โดยนักเขียนที่เป็นชาวอารยธรรมในหุบเขา) หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาทางด้านมนุษยวิทยาและการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ คือเป็นหนังสือเล่มแรกที่เคยได้รับการพิจารณาอย่าละเอียดของผลงานประพันธ์จำนวนมากเรื่องการสร้างชาติของใครๆที่ผู้เขียนได้ประเมินค่าถึงว่า ทำไมผู้คนคงจะดำรงอยู่อย่างรอบคอบและปฏิบัติอย่างไร้สัญชาติ กล่าวคือ เพื่อเป็นการหลบหนีโครงการของสังคมแห่งรัฐชาติที่อยู่ล้อมรอบพวกเขา ได้แก่ การเป็นทาส การเกณฑ์ทหาร การจ่ายภาษี จ่ายค่าแรง โรคระบาด และการทำสงคราม  สก็อตต์ ทำกรณีโน้มน้าวใจสำหรับ การมองชาวเขาของภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้แบบไม่ใช่  ‘คนล้าหลัง backwards’ ป่าเถื่อนยังคงไม่เป็นชาวศิวิไลซ์ แต่เป็นตัวแทนของผู้คนที่บ่อยครั้งมีทางเลือกอย่างตระหนักรู้ทางด้านการเมือง เลือกที่จะหลีกเลี่ยงคนในรัฐชุมชนหุบขา คุณลักษณะจำนวนมากของ “ความล้าหลัง backwardness” มาจากความอคติและการแสดงความยินดีให้ตนเอง ผู้ที่ลงหลักฐานของรัฐแรกๆ  ถึงอย่างไรก็ตามการมองชาวเขาเป็นเหมือนคนที่ด้อยกว่าและอาจจะเป็นศัตรูกันได้นั้นถือเป็นความกระตือรือร้นเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนหรือค้าขายสินค้าที่มีคุณค่าสูงมากจากภูเขาและจากป่าต่างๆ และบางครั้งบางคราวก็จ่ายงินให้กับคนบางกลุ่มเพื่อควบคุมพวกเขาไว้จากการเข้าโจมตีที่เก็บเสบียงอาหาร รัฐเริ่มแรก (ผู้คนที่อยู่ในทุกๆกรณีอย่างแท้จริง และยังเป็นสังคมที่ครอบครองทาสอีกด้วย) มักจะแนะนำตัวเองเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงรุ่งโรจน์มากกว่าที่พวกเขาเป็นจริงๆ และในเวลาดียวกันพวกเขาก็พูดถึงผู้คนที่อยู่ข้างนอกเขตการปกครองของรัฐกลางย่ำแย่มากไปกว่าที่พวกเขาเป็นตามความเป็นจริงอีก ความเป็นจริงก็คือค่อนข้างจะตรงกันข้ามกัน ชีวิตในช่างแรกๆของรัฐที่ทำเกษตรกรรมถูกกำหนดสักษณะพิเศษไว้โดยการทำงานหนัก (เพื่อช่วยเหลือการไม่ไปทำงานให้กับคนที่ร่ำรวยกว่าคนอื่น) และเชื่อฟังคำของศาลและผู้ปกครอง ขณะที่ผู้คนที่อยู่ข้างนอกจากการปลูกธัญพืชเป็นหลักได้มีความสนุกเป็นอยางมากของการปกครองตนเองและความอิสระส่วนตัว มีเวลาว่างมากกว่าและมีอาหารการกินที่ดีกว่า (และฉะนั้นจึงมีสุขภาพที่ดีกว่า) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแห่งสงคราม ความอดอยาก โรคระบาด หรือค่าภาษีสูงๆ มันเป็นเรื่องที่ธรรมดาอยู่พอควรสำหรับชาวไร่ชาวนาหลบหนีออกไปจากภูเขาเพื่อออกไปค้นหาชีวิตที่ดีกว่า ถึงแม้ว่าถูกเรียกชื่อกันทั่วๆไปว่า ชนเผ่าชาวเขา หรือ hill-“tribes” (เป็นคำศัพท์ที่ใช้บอกเป็นนัยการมีชาติพันธุ์บางอย่างร่วมกัน) อย่างน้อยที่สุดพวกเขาก็เป็นที่เข้าใจกันดีทางประวัติศาสตร์ เช่น การเป็นกลุ่มชนที่มีหลากหลายสีผิวของคนที่แตกต่างกันในทำนองนั้นทั้งงหมด รวมไปถึงทาสรับใช้ต่างๆที่หลบหนีและคนที่หลบหนีการจ่ายภาษีให้กับรัฐมาก่อน การเกณฑ์ทหาร หรือการโดนกดขี่บังคับ  การตั้งรากฐานอยู่ไกลออกไปจากเขตปกครองของรัฐศูนย์กลางของอาณาจักรบริเวณพื้นที่ต่ำ ชาวเขาได้ใช้ความไม่ลงรอยกันของภูมิประเทศ (ที่ทำให้มันยากลำบากต่อการเคลื่อนย้ายกองกำลังทหาร) และดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาตนอง (ที่ทำให้เรื่องที่จัดสรรไว้จากรัฐเป็นไปไม่ได้) นั่นคือวิธีการต่างๆที่จะสร้างความมั่นใจเรื่องความอิสระและการปกครองตนเองของพวกเขา ทั้งหมดนี้กำหนดถึงคำถามที่ชัดเจน (แต่เป็นคำถามที่เหน็บแนมเล็กน้อย) ว่า พวกเราสวนฟื้นฟูฯจัดอยู่ในกลุ่มของชาวเขายุคใหม่หรือไหม่? ไปดูตามเกณฑ์บรรทัดฐานต่างๆที่ทำให้ผู้คนถูกเรียกว่า ชาวเขา ‘hill people’ ในอดีต ที่อยู่อาศัยตั้งอยู่บนสันเขาซึ่งยากลำบากต่อการเข้าถึงได้ ใช้ชีวิตอย่างอิสระและปกครองตนเอง หลีกเลี่ยงหรือหลบหนีการปกครองจากรัฐชาติ หลบหนีการถูกกดขี่หรือการถูกปกครองแบบเผด็จการ ดำรงชีพแบบพึ่งพาตนเอง (มากกว่าการปลูกข้าวบนพื้นที่ราบลุ่ม)  มีความเชื่อเรื่องสัตว์มีจิตวิญญาณในเทพเจ้าท้องถิ่น (ซึ่งกลับกันต่อความเชื่อของศาสนาหลักของโลกในชุมชนแห่งรัฐชาติ) มีความยืดหยุ่นทางเรื่องประวัติศาสตร์บอกเล่า (ซึ่งตรงข้ามกับงานบันทึกที่เขียนไว้อย่างตายตัว) ให้คุณค่ากับระบบที่ต่อต้านคัดค้านชุมชนแห่งรัฐชาติ มีโครงสร้างทางสังคมที่เท่าเทียมกัน มีวัฒนธรรมผสมและมีภูมิหลังความเป็นมาทางชาติพันธุ์ ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งหมดที่กล่าวไปมันก็ดูเหมือนว่าพวกเราก็คุณสมบัติมากที่สุด!  

แหล่งที่มาของเนื้อหาด้านบน: James C. Scott; The Art of Not Being Governed: An Anarchist History of Upland Southeast Asia (2009), Yale Agrarian Studies Series, Yale University Press Graham Harvey, The Handbook of Contemporary Animism (2015), Acumen Handbooks, Routledge https://www.smithsonianmag.com/smart-news/how-dawn-farming-changed-our-mouths-worst-180954167/ https://www.theguardian.com/society/2017/mar/17/tsimane-of-the-bolivian-amazon-have-worlds-healthiest-hearts-says-study https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(17)30752-3/fulltext https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21507735 กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups     

No comments.