การปฏิรูปตามหลักทฤษฎีเกษตรกรรมแบบถาวร และการทำเกษตรอย่างฉานฉลาด (Regenerative Permacultural Methods and Climate Smart Farming)
ส่วนที่ 1 การปฏิรูปตามหลักทฤษฎีเกษตรกรรมถาวร (Part One: Regenerative Permacultural Methods)
คลิกข้ามไปส่วนที่ 2 การทำเกษตรอย่างฉานฉลาด (Jump to Part Two: Climate Smart Farming) มันมีหลายๆวิธีการเพื่อที่จะช่วยให้ธรรมชาติกลับคืนสู่ความแข็งแกร่งเช่นเดิมได้ นอกจากเรื่องการทำปุ๋ยหมักแบบทั่วๆไป เช่น การใช้เศษเหลือของอาหารและวัสดุของเสียในสวนแล้วนั้น พวกเราทำห้องส้วมแห้งปุ๋ยหมัก หรือ compost toilet พวกราได้ปลูกต้นไม้พื้นเมืองหรือต้นไม้ป่าประจำท้องถิ่น พวกเราได้เริ่มทำ ถ่านชีวภาพหรือถ่าไบโอชาจากเศษไม้ไผ่ที่เหลือใช้เป็นจำนวนมาก และได้เริ่มทำการเพาะเลี้ยงผักตบชวาในบ่อน้ำของพวกเราไว้เยอะแล้ว แม้ว่าผักตบชวาจะเป็นพืชสายพันธุ์ต่างถิ่นหรือพืชสายพันธุ์รุกรานจากผืนป่าดิบชื้นอะแมซอนก็ตาม ซึ่งมันเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากและสามารถนำอาผักตบชวาที่มีเยอะเกินไปออกจากบ่อน้ำแล้วเอาไปเลี้ยงไก่และเป็ดได้ หรือเอาไปคลุมดินตามโคนตุ้นไม้ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ดีนักแล (ตอนที่มันย่อยสลายแล้ว มันก็จะเป็นดินดำดีๆและพวกไส้เดือนชอบเข้ามาชอนไชมากๆ) เป้าหมายสูงสุดของพวกเราก็คือ เพื่อที่จะช่วยเหลือ พระแม่ธรรมชาติผู้ยิ่งใหญ่ (Great Mother Nature) ในการสร้างสิ่งที่พวกเราได้เรียกไว้ว่า อาหารป่า Food Jungle อาหารป่า (Food Jungle) “อาหารป่า Food Jungle” คือชื่อเรียกที่พวกเราใช้สำหรับระบบนิเวศอาหารป่า พวกเราช่วยเพื่อที่จะทำให้มันเกิดขึ้นผ่านวิธีการทำเกษตรกรรมถาวรแบบดั้งเดิม Primitive Permaculture ชื่อเรียกที่เป็นชื่อสามัญมากกว่าที่อธิบายถึงวิธีการที่พวกเราใช้ ได้แก่ การปลูกป่าและต้นไม้ หรือการทำ “วนวัฒนวิทยา” silviculture และการทำ วนเกษตร (agroforestry) หรือการทำไร่นาสวนผสม โดยการปลูกต้นป่าแซมตามไร่นาหรือไร่สวน โดยปกติแล้วพวกเราไม่ใช้คำเหล่านั้นเพื่ออธิบายสิ่งที่พวกเรากำลังทำกัน เพราะว่าพวกเราไม่ได้ปลูกแค่ต้นไม้เท่านั้น และการทำวนวัฒนวิทยา (silviculture) หรือการปลูกต้นไม้ป่าเพื่อตัดไม้ไปขาย นั้นก็คือการปลูกไม้ป่าแซมหรือการทำไร่นาหรือไร่สวนผสมที่บ่อยครั้งร่วมือกันกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สวนขนาดใหญ่ บ่อยครั้งไม่ใช่แบบทำเป็นเกษตรเชิงเดี่ยวหรือการปลูกพืชชนิดเดียว แต่เป็นแบบสองชนิด “duo” หรือ แบบสามชนิด “triocultures พวกเราได้รับแรงบันดาลใจจากคู่มือการออกแบบเกษตรกรรถาวรของ บิล มอลลิสัน ‘Permaculture – A Designer’s Manual’ (ตีพิมพ์โดย Tagaeri Publications ปี 1988) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการแล้วเพื่อความสำเร็จในระยะยาวด้วยการปลูกอาหารในประเทศเขตร้อน มันคือการเลียนแบบกลไลการทำงานของผืนป่าดิบชื้นที่ดีที่สุด ระบบเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว หรือ monocultural systems (ไม่สามารถใช้แม้กระทั่งกับบริเวณเปียกชื้นได้อย่างยั่งยืน) ได้ถูกพิสูจน์ความจริงแล้วว่าทำให้เกิดภัยพิบัติต่อดินที่มีความเปราะบางในประเทศเขตร้อนที่หน้าดินมีแนวโน้มจะถูกกัดเซาะในช่วงฤดูฝน และทำให้ดินแห้งกร้านจากความร้อนในฤดูร้อน พื้นดินจะต้องถูกปกคลุมไว้และป้องกันการโดนแสงแดดโดยตรงเสมอ เช่นเดียวกันกับในผืนป่า มิฉะนั้นหน้าดิน (topsoil) ก็จะถูกชะล้างไปกับฤดูมรสุมรุนแรงอย่างไม่สามารถนำกลับคืนมาได้และไม่สามารถประเมินค่าความเสียหานั้นได้ และรังสี UV จากแสงแดดและจากความร้อนจะฆ่าหรือทำลายสิ่งมีชีวิตไป เช่น เชื้อรา mycorrhizal fungi ไส้เดือน แมลงปีกแข็งต่างๆ จุลินทรีย์เล็กๆที่อยู่ในดิน แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในชั้นหน้าดิน หลักการของ มอลลลิสัน จึงเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการลงมือปฏิบัติ แต่พวกเราได้เห็นแล้ว่าในผืนป่าดิบชื้นแต่ล่ะแห่ง สายพันธุ์ต่างๆไม่มีผลประโยชน์ต่อมนุษย์โดยตรงในด้านแหล่งอาหาร นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าพวกเราได้เลือกที่จะทำมากไปกว่าหลักการนี้ และประกอบกับการมีหลายๆสายพันธ์ที่พบในระบบนิเวศป่าดั้งเดิม แต่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ได้ผลิตอาหารสำหรับมนุษย์ ต้นไม้หลายพันธุ์ที่ใช้เป็นอาหารไม่ได้ก็ยังคงให้ผลผลิตที่มีคุณค่าอยู่ เช่น ใช้ยางไม้ หรือ ยางเรซิน ใช้เป็นน้ำยาง ใช้เปลือกไม้ ใช้เป็นยารักษษโรค ใช้เป็นไม้ทำฟืนทำถ่าน ใช้ท่อนไม้ใหญ่ๆ หรือใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ชนิดอื่นๆ การเปิดเผยดังกล่าวได้เข้ามาขณะที่อ่านหนังสืออีกเล่มหนึ่ง โดย Charles M. Peters ศาสตราจารย์ของนิเวศวิทยาเขตร้อน (Professor of Tropical Ecology) ณ Yale School of Forestry and Environmental Studies หรือบัณฑิตวิยาลัยด้านการศึกษาสิ่งแวดล้อมและวิชาการป่าไม้ ได้ขียนไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า ‘Managing the Wild’ หรือการจัดการป่าไม้ (2018, Yale University Press)* ดังนี้ “ชาว Kenya [ชนพื้นเมือง ชนปลูกพืชสวน (ชนทำไร่เลื่อนลอย หรือ swiddening) เป็นคนในประเทศมาเลเซีย] เป็นผ็คนที่ได้ทำการจัดการดูแลพืชพรรณวจำนวน 125สายพันธุ์ต่อหนึ่งเฮกตาร์ หรือประมาณ 6 ไร่กับอีก 1 งานในสวนป่าผลไม้ นี่คือความสำเร็จที่เหนือกว่าอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในระบบการปลูกพืชควบคุม หรือ silvicultural ในความความคิดเห็นของฉันแล้ว ยึดมาจากสิ่งที่ฉันได้พบเห็นมา สิ่งที่ได้ศึกษาเรียนรู้มา และที่ได้ประเมินค่ามาจากระยะเวลากว่า 30 ปีนั้น หมู่บ้านเหล่านี้คือผู้เชี่ยวชาญการป่าไม้ที่มีพรสวรรค์มากที่สุดในโลก” เรื่องนี้และเรื่องเล่าอื่นๆจากทั่วทั้งภูมิภาคคือแรงบันดาลใจโดยแท้ของพวกเรา! **อธิบายเพิ่มเติม Silvicultural คือ ระบบวนเกษตรที่มีกิจกรรมหลักทางด้านการป่าไม้ การเกษตรและหรือการเลี้ยงสัตว์เกิดขึ้นภายในเวลาเดียวกัน โดยปลูกพืชเกษตรแทรกภายในสวนไม้ป่าซึ่งสามารถ ทำได้หลายรูปแบบ คือ ปลูกตามแนวขอบรอบนอกของแปลง ปลูกสลับแถวเว้นแถวระหว่างไม้ป่ากับพืชเกษตร, ปลูกสลับเป็นแถบๆ ระหว่างไม้ป่ากับพืชเกษตร หรือปลูกผสมโดยการสุ่มอย่างไม่เป็นระเบียบระหว่างต้นไม้ป่ากับพืชเกษตร ความหมายตามคำศัพท์ด้านสิ่งแวดล้อม** ในอีกบทตอนหนึ่ง เขาเขียนเกี่ยวกับชาวไดยัก Dayak (ชนพื้นเมืองอีกกลุ่มหนึ่งของประมาเลเซีย) เขาพูดเกี่ยวกับว่าเขาได้ไปเยี่ยมชมป่าไม้ด้านหลังบ้านพักของผู้ชายชาวไดยักยังไงบ้าง และได้ค้นพบว่าพื้นที่ที่เขาพาเดินเข้าไปนั้นเป็นพื้นที่สยสวยงาม ค่อนข้างเป็นส่วนป่าที่ไม่ถูกรบกวน ของป่าผสมผลัดใบ ที่เป็นแบบป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง (mixed Dipterocarp forest) ที่จริงแล้วมันกลับเป็นส่วนป่าผลไม้ที่ถูกจัดการดูแลมาเป็นเวลาหลายร้อยปี (ถ้าไม่นานกว่านั้นอีก) โดยชุมชนชาวพื้นเมืองไดยัก (local Dayak community) “ผืนป่าค่อนข้างเปิดกว้าง และเป็นป่าหลายชั้น มีต้นปาล์มและไม้เลื้อยจำนวนมากมาย มีต้นไม้ที่สูงหลายระดับหลายต่อหลายต้นป็นต้นที่มีรากพูพอนอย่างคับคั่งหรือมีรากค้ำจุนต้นที่แผ่ขยายออกไปไกลๆและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นลำต้นกว้างใหญ่เป็นเมตรก็มี” เมื่อตอนที่เขานึกขึ้นได้ว่านี่ไม่ใช่ผืนป่าดั้งเดิม แต่เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ เป็นสวนป่าที่ทำให้เหมือนป่าธรรมชาติ เขาได้ถามชายแก่ผู้นั้นเกี่ยวกับต้นไม้บ่างส่วนและได้รับกับความประหลาดใจที่ว่า ชายผู้นั้นไม่เพียแต่จะรู้จักต้นไม้ทุกต้นเท่านั้น แต่ชายผู้นั้นรู้ด้วยว่า ต้นใดออกลูกออกผลตอนไหน และให้ผลไม้ได้เยอะเท่าไหร่ ต้นไม้มีอายุเท่าไหร่ และรู้จักชื่อของคนที่ได้ปลูกต้นไม้แต่ล่ะต้นเอาไว้ด้วย ชายแก่ผู้นั้นได้พาเขาชมป่าไปรื่อยๆวันนั้น และ คุณนักเขีนน Peters ได้ถูกพาไปชม ต้นมะม่วง 5 สายพันธุ์ ต้นสาแก7 สายพันธุ์ ต้นเงาะ 6 สายพันธุ์ ต้นหวายอีก 11 สายพันธุ์ รังผึ้ง 3 รัง เขาได้นับต้นทุเรียนต้นขนาดใหญ่ๆเป็น 46 ต้นตาว หรือ sugar palms (Arenga pinnata 16 ต้น และต้นไม้ที่มีระดับความสูงเป็นชั้นเรือนยอดที่ต่างกันอีกหลายต่อหลายต้นที่ให้ผลผลิตน้ำยางสีขาว หรือใช้ประโยชน์ทางการปิดรูที่ไหลซึม มันดูเหมือนว่ามันก็เป็นไปได้อย่างแน่นอนในการที่จะปลูกป่าด้วยวิธีการของเกษตรกรรมถาวร ที่มันเกือบแยกแยะไม่ออกเลยในสายตาของบุคคลที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้อย่างละเอียดอ่อนเฉพาะด้าน (layperson) ต้นไม้ป่าจำนวนมากที่เราได้เรียนรู้มาสามารถเติบโตได้อย่างง่ายดายด้วยกันกับต้นผลไม้ เนื่อจากในช่วงเวลาที่ต้นป่าโตได้สูงมากๆนั้นแต่ต้นผลไม้ที่สูงน้อยกว่ายังคงมีแสงแดดเพียงพอในช่วงเช้าและช่วงบ่าย และเติบโตด้วยกันเข้าอยู่ในความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน (symbiotic relationships) กับเชื้อเห็ดรา mycorrhizal fungi ซึ่งให้ผลตอบแทนกับพืชหรือต้นไม้ที่อยู่บริเวณรอบๆทุกต้น แถมยังช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินและสภาพของดินไปในตัวอีกด้วย จึงส่งผลให้ระดับสารอาหารจำพวก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) สูงกว่าในดินบริเวณรอบๆต้นไม้นั้นๆ อธิบายเพิ่มเติม: Mycorrhizal fungi เชื้อราชนิดนี้เป็นเชื้อราในดิน มีประโยชน์มากมายต่อทั้งพืชและสัตว์และจุลินทรีย์ต่างๆที่อยู่ในดิน ช่วยในเรื่องของการเติบโตของต้นไม้และพืชต่างๆหลายชนิดและอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกันด้วยการกักเก็บอาหารไว้ในรากและแบ่งบันอาหารให้กับต้นไม้ต่างๆผ่านระบบราก ช่วยต้นไม้มีระบบรากที่แข็งแรงทนทานต่อโรคต่างๆและเติบโตได้ดี และจุดเด่นสุดๆของเชื้อเห็ดรานี่ก็คือหากต้นไม้หรือพืชชนิดไหนมีเชื้อรานี้อยู่ในระบบราก ก็จะเกิดดอกเห็ดทั้งที่กินได้และกินไม่ได้ ทั้งเห็ดที่ใช้เป็นยาและเห็ดที่เป็นพิษได้หลายชนิดมากๆ ฉะนั้นถ้าคุณรู้ว่าต้นไม้ของคุณมีเชื้อรานี้อยู่แล้วก็เพียงเอาเชื้อเห็ดป่าที่เรารู้จักไปใส่ตามโคนต้นไม้นั้นๆไว้ เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์เห็ดนั้นก็จะพุ่งออกมาจากดินให้เราเก็บกินได้** ถ้าหากสวนของพวกเรามีความหลากหลายและสวยงามมากพอที่จะทำให้ผู้ฝึกฝนด้านความเชี่ยวชาญการป่าไม้สับสนงงงวยได้ พวกเราก็จะรู้ได้ว่าพวกเราได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว (ถ้าคุณอยากเช็คความคืบหน้ากับเรื่องอาหารป่าของพวกเรา คลิกที่นี่ click here) ปุ๋ยมูลไส้เดือน (Worm Fertilizer) ถึงแม้ว่าพวกเรามองเรื่องการเลี้ยงสัตว์ในเชิงปฏิบัติรุนแรงมากกว่า พวกเราก็เลี้ยงไส้เดือนกันอยู่ ไส้เดือนชนิดเรียกว่า “red wigglers หรือไส้เดือนแดง” เป็นสายพนธุ์ต่างถิ่นโดยเฉพาะในเรื่องการนำมาใช้ย่อยสลายสารอินทรียวัตถุ (เมื่อเทียบกับไส้เดือนดินที่มีในไทยจะย่อยสลายสารอินทรยวัตถุได้ช้ากว่า) เราได้พันธุ์ไส้เดือนนี้มาจากเพื่อนที่เรารู้จักตอนที่ยังอยู่ที่กระบี่ เขาชื่อพี่ใหญ่ เขาเลี้ยงไส้ดือนเพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนแดงเชิงพาณิชย์ เขาจึงแบ่งให้เราเอามาเลี้ยงและพวกเราก็ยังเลี้ยงจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนขั้นตอนในการทำปุ๋ยมูลไส้เดือนนั้นง่ายมากและผลลัพธ์ที่ได้นั้นช่างน่าทึ่งเสียจริงๆ! สิ่งที่คุณต้องมีก็คือ ขี้วัวแห้ง จากนั้นก็แช่น้ำทิ้งอาไว้สักสามสี่วัน (จากนั้นล้างเปลี่ยนน้ำประมาณ 3 ครั้ง และแต่ล่ะครั้งที่ล้างสร็จก็แช่ไว้อีกประมาณสามวัน แล้วแต่ปริมาณขี้วัวที่แช่ หรือถ้ามันยังมีกลิ่นฉุนหนักก็แช่และล้างอีกจนกลิ่นไม่มีกลิ่นแล้ว น้ำแช่ขี้วัวที่เหลือสามารถนำเอาเศษถ่านชิ้นเล็กๆมาแช่รวมกันไว้ได้ เพื่อว่าก้อนถ่านั้นจะดูดซับอาสารอาหารต่างๆในน้ำขี้วัวไว้และนำไปใส่ผสมดินหรือเอาให้ต้นไม้ที่โตแล้วได้เป็นการเพิ่มสารอาหารในดินให้ต้นไม้ไปในตัว หรือเอาน้ำขี้วัวมาผสมกับน้ำครึ่งต่อครึ่งในบัวรดน้ำถังหนึ่งและใช้น้ำนี้ไปรดให้กับต้นไม้เล็กใหญ่ได้หมด) หลังจากนั้นก็นำเอาขี้วัวมาผสมกับเศษอินทรียวัตถุที่คุณมี พวกเราใช้ขี้วัวหนึ่งกระสอบผสมกับผักตบชวาที่หั่นสับเป็นชิ้นเล็กๆหนึ่งกระสอบที่เอามาจากบ่อน้ำของเรา สับต้นกล้วยป่าเป็นชิ้นเล็กๆหนึ่งต้น ใส่ผงถ่านถังหนึ่งและเปลือกหอยทะเลที่ตำแล้วถ้วยหนึ่ง (ใส่เปลือกหอยเพื่อได้แคลเซียมเพื่อรักษาระดับค่าความเป็นกรดเป็นด่างในดินให้อยู่ในระดับที่พืชผักชอบ) จากนั้นใส่เพิ่มไส้เดือนเพิ่มเต็มกำมือลงไปในภาชนะที่คุณผสมอาหารไว้ข้างต้นและรอไปอีกสองสามอาทิตย์และหมั่นเช็คดูว่าไส้เดือนกินอาหารหมดรึยัง ถ้าดูแล้วเห็นว่าอาหารเป็นผงละเอียดดี พร้อมใช้ทำปุ๋ยแล้วก็ทำการคัดแยกส่วนที่เสร็จแล้วออกจากไส้เดือน และผสมอาหารใส่ใหม่ให้ไส้เดือนพวกเขาก็จะยิ่งแพ่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก การคัดแยกส่วนที่เสร็จแล้วออกก็ใช้ตระกร้าเล็กๆหรือกระชอนที่มีรูไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไปมาร่อนเอาส่วนที่เป็นผงแล้วออกและส่วนที่เหลือก็ใส่ไว้รวมกันไว้ในภาชนะที่จะทำรอบใหม่ ผงที่ได้ก็คือปุ๋ยมูลไส้เดือนที่สามารถนำไปใช้ได้เลย! โยปริมาณที่ใส่ก็ไม่มากไม่น้อยจนเกินไปต่อผักแปลงหนึ่งแล้วแต่ความเหมาะสม พืชผักที่เราใส่ให้ตั้งแต่ที่เราเริ่มใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนมาก็ชอบมาก โตเร็ว รสชาติดี คุณภาพไม่แพ้ปุ๋ยเคมีเลยทีเดียวและยังไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและดินในระยะยาวอีกด้วย มันจะช่วยปรับปรุงดินเมื่อใช้เป็นประจำและในระยะยาว โดยมันดึงดูดเหล่าแมลงเข้ามาช่วยชอนไซดินและช่วยทำให้ดินนิ่มเก็บน้ำได้ดี ถ่านชีวภาพ หรือ ถ่านไบโอชาร์ (Biochar) ถ่านชีวภาพก็คือที่คุณเรียกกันว่าถ่านเมื่อคุณเอามันไปใส่ในดิน มันคือวิธีการของการดูดซับคาร์บอน (เป็นการยึดจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศไว้ในระยะยาว) ประโยชน์อื่นๆของถ่านชีวภาพคือ มันช่วยทำให้ดินนิ่มมากขึ้น เพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของดิน (โดยฌพาะอย่างยิ่งกับดินที่เป็นกรดสูง) และมีความสามารถในการกักเก็บน้ำ และดังนั้นเพื่อสร้างผลผลิตทางการเกษตรให้งอกงาม และป้องกันพืชจากโรคที่มีในดิน หรือ soil-borne diseases มันทำหน้าที่ในทำนองเดียวกันกับแนวปะการัง สำหรับ จุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน (soil microorganisms) ทำหน้าที่เป็นเหมือนฟองน้ำสำหรับดูดซับสารอาหารและสามารถอยู่ในดินได้เป็นพันๆปี ประโยชน์อันมากมายของถ่านไอโอชาร์เป็นที่รู้จักของชาวอะแมซอนกันก่อนยุคโคลัมเบียอีกด้วย พวกเขาทำถ่านและใช้มันเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับดิน ที่ร้จักกันในชื่อ terra preta (del Indio) หรือหมายถึง ดินดำ เป็นวิธีการเดียวที่ทราบตรงกันว่ามันทำให้ดินสร้างตัวขึ้นมาใหม่ได้เองโดยไม่มีการใส่สารอาหารต่างๆเพิ่มลงไปอีกเลยในการเพาะปลูกครั้งแล้วครั้งเล่า พวกเราทำถ่านส่วนใหญ่มาจากเศษไม้ไผ่ที่เหลือใช้ที่เราไม่ใช้สำหรับงานก่อสร้างแล้ว โดยปกติแล้วพวกเราขุดหลุมเพื่อเผาไม้ไผ่ เพื่อที่ว่าในหลุมจะไม่มีออกซิเจนเข้าสำหรับให้ไม้ไผ่ไหม้จนเป็นขี้เถ้าและหลังจากที่ไม้ไผ่ไหม้ดำไปหมด จากนั้นก็ทำการปิดหลุมโดยขุดดินถมไว้ให้เต็มหลุมเหยียบดินให้แน่นเพื่อไม่ให้ติดไฟในยายกลางคืนจากนั้นก็รออีกหนึ่งวันก็มาขุดออกไปใช้ได้เลย ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นถ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย พวกเราก็จำเอาถ่านนี้ไปตำให้เป็นผงไว้ใช้ผสมกับดินพื่อปลูกพืชผักและผลไม้ ใส่ในการทำปุ๋ยมูลไส้เดือน รวมถึงการใช้ห้องส้วมแห้งปุ๋ยหมัก (compost toilet) ปุ๋ยมูลมนุษย์ (Humanure) พวกเราใช้ห้องส้วมแห้งปุ๋ยหมัก เพื่อที่ว่าปุ๋ยธรรมชาติอันล้ำค่าที่เราทำกันทุกวันไม่สูญหายไปไหน ถ้าจัดการได้ถูกวิธี มูลมนุษย์คือปุ๋ยธรรมชาติที่ดีกว่ามูลวัวหรือแม้กระทั่งมูลค้างคาว เพราะว่ามนุษย์เรากินอาหารที่หลากหลายมากกว่า ห้องส้วมแห้ปุ๋ยหมักของพวกเราทำแบบง่ายๆโดยการใช้ต้นไม้ไผ่ใหญ่สร้างฐานไว้ด้านบนหลุมที่ขุดไว้ในดิน และพวกเราใช้ผงถ่าน (ผสมกับเปลือกหอยทะเลตำ) ใช้ปิดคลุมไว้ทุกครั้งที่เข้าใช้ เนื่องจากผงถ่านนี้ช่วยขจัดกลิ่นและดูดซับสารอาหารต่างๆในมูลคน เมื่อหลุมเต็มก็สามารถขุดออกไปใช้ในทุกๆ 4 เดือน ถึง 5 เดือน (พอมันเต็มหลุมก็รออีกสักเดือนเพื่อให้มันเน่าสลายป็นปุ๋ยและไร้กลิ่นแล้วค่อยเอาไปใช้) ผลลัพธ์ที่ได้มันก็คือการทำดินดำแบบดั้งเดิม หรือ proto-terra preta นั่นเอง ผลลัพธ์ของส่วนที่ผสมปนเปกันอยู่นั้นต้องมีกลิ่นเหมือนกับปุ๋ยหมัก (ไม่มีกลิ่นเหมือนมูลสัตว์แล้ว ถ้ามันยังมีกลิ่นนั้นคือมันยังไม่สร็จกระบวนการ!) และเมื่อมันเสร็จเรียบร้อยแล้วพวกเราก็เอาไปใส่ให้กับต้นผลไม้ ต้นไม้ป่า (โดยการขุดหลุมเล็กหรือใหญ่แล้วแต่ความเหมาะสมแล้วก็ใส่ปุ๋ยหมักมูลคนของเราลงไปในหลุมนั้นแล้วจึงปิดหลุมไว้) และด้วยทำการลองใช้ในแปลงผักบางส่วน (โดยขุดเปิดดินเป็นร่องแล้วใส่ปุ๋ยหมักดินดำแบบดั้งเดิมที่ได้ลงไปให้ทั่วแล้วก็ปิดดินกลับไว้) ในรูป ตรงนี้พวกเราจะปลูกพืชตระกูลน้ำเต้าและพืชเลื้อยชนิดอื่นๆ ลูกผลของพืชเหล่านี้จะไม่อยู่ติดกับดินรอบๆต้นมัน ในกรณีที่มีแบคทีเรียอันตรายที่ยังเหลืออยู่! ในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมของพวกเราต่างก็รู้สึกอับอายเรื่องมูลของตนเอง และทำธุระส่วนตัวแค่แบบแอบๆ กดชักโคกล้างมันลงไปพื่อที่ว่าห้องน้ำจะดูเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น และบางครั้งบางคราวถึงขั้นกับต้องใช้น้ำยาปรับอากาศเพื่อขจัดทุกๆหลักฐานไปให้หมด (และไม่เคยที่จะพูดคุยเกี่ยวกับการกระทำที่น่าอับอายที่คุณพึ่งจะทำไป) ในสังคมไทยยังไม่รุนแรงเท่าสังคมในตะวันตกนะ! มันเป็นเรื่องธรรมชาติและสัตว์ทุกๆชนิดก็ทำกัน ดังนั้น ทำไมจะต้องรู้สึกอับอายเรื่องนี้? พวกเราได้ข้อสมมติฐานว่า เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็คือ ข้อกำหนดทางวัฒนธรรมที่ฝังลึกอยู่จุดยืนของพวกเราที่ทำให้ผู้คนปฏิเสธความเป็นธรรมชาติของสัตว์ของตนไป (พวกเราปฏิบัติเรื่อง กลิ่นตัว กลิ่นเหงื่อ กับพฤติกรรมคล้ายๆกัน ) แต่นี่ไม่ใช่ที่จะมาบรรยายกันอย่างละเอียดหรอก ความจริงก็คือ ปุ๋ยคุณภาพเป็นล้านๆตันถูกล้างทิ้งไปผสมกับยาฏิชีวนะ ของเสียและสารเคมี และจบลงที่กากสิ่งปฏิกูลที่เป็นพิษสูงมาก สารอาหารที่อยู่ในมูลมนุษย์ทั้งหมดนั้นตอนนี้ก็ขาดหายไปจากไร่นาไร่สวน เพราะอาหารบางส่วนที่พวกเรากินกันก็มาจากไร่บ้าง และเมื่อสารอาหารนั้นขาดไปก็จะต้องหาปุ๋ยเคมีมาใส่แทน เรามนุษย์ยุคใหม่ได้ทำลายวัฏจักรโบราณของธรรมชาติ นั่นก็คือ สารอาหารที่หมุนเวียนกลับมาใช้อีกครั้งตลอดเวลา มันถึงวลาที่จะต้องเปลี่ยนเรื่องนี้ การทำแปลงเพาะปลูกเป็นขั้นบันได เทคนิคที่จำเป็นสำหรับการปลูกพืชผักบนเชิงเขา (Terracing – A Mandatory Technique for Growing Vegetables on Hillsides) ถ้าหากมีเรื่องหนึ่งที่พวกราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมจากความล้มเหลวของอารยธรรมแต่ก่อน มันก็คือเรื่องการทำลายจากเทคนิคของระบบเกษตรกรรม (เช่น การไถพรวนดิน การทำลายผืนป่าเพื่อทำเป็นที่เพาะปลูกใหม่ การพาะปลูกบนไหล่เขา และการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว) ร่วมด้วยกับความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ( ได้แก่ ทศวรรษที่สภาพอากาศเปียกชื้นและตามมาด้วยกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งมากกว่า) ได้ปรากฏบทบาทที่สำคัญให้เห็นแล้วในช่วงการล่มสลายของอารยธรรมโบราณ เพราะฉะนั้นแล้ว เทคนิคทางการเกษตรควรที่จะถูกละทิ้งไปโดนสิ้นเชิง (และแทนที่ด้วยการปลูกพืชกรรมสวน horticultural และการทำเกษตรกรรมถาวร permaculture) และแม้กระทั่งในช่วงปีที่ดีสุดๆ เราไม่ควรที่จะลืมไปว่า ฤดูแล้งครั้งหน้าอาจจะใกล้เข้ามาถึงจุดนั้นแล้ว (ซึ่งเป็นเรื่องจริงอย่างงยิ่ง ณ ปัจจุบันนี้ ที่ความล้มเหลวทางสภาพอากาศทำให้ฤดูแห้งแล้งเพิ่มความรุนแรงขึ้นและทำให้ฤดูที่อยู่ในช่วงนั้นสั้นลง เช่น ความแห้งแล้งอย่างหนักในประเทศไทยนับมาตั้งแต่ปีดังต่อไปนี้ ปี ค.ศ.1979 1995 2015/16 และปี 2018/19) รูปแบบของการล่มสลายบ่อยครั้งมักจะติดตามมากับแนวโน้มที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ในช่วงทศวรรษที่สภาพอากาศเปียกชื้น และบ่อยครั้งสภาพอากาศก็แย่ลงมากขึ้นและผนวกกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรที่เป็นผลมาจากการมีอาหารเหลือกินเหลือใช้ บริเวณพื้นที่ทำการเพาะปลูกทางการเกษตรขยายตัวขึ้นไปบนเชิงเขาของภูเขาเพื่อมีพื้นที่ทำการเกษตรเพิ่มมากขึ้น การเพาะปลูกบนพื้นที่เชิงเขา (ซึ่งในขั้นแรกจำเป็นจะต้องตัดไม้ทำลายป่าและไถพรวนดินเพาะ นั่นทำให้ชั้นหน้าดินถูกกัดเซาะขนานใหญ่โดยไม่ได้ตั้งใจและส่งผลให้ความสามารถในการผลิตทางการเกษตรถดถอยอย่างรวดเร็วในเวลาเดียวกัน การนำไปสู่เรื่องความขาดแคลนอาหารและด้วยเหตุนี้จะทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองและสถานการณ์ที่ไม่สงบทางสังคม ทันทีที่ความแห้งแล้งครั้งหน้าโจมตีเข้ามา) ชาวกรีกโบราณบางส่วน เช่นเดียวกับชาวไร่ชาวนาที่ชื่อว่าชาว Phoenician จากความผิดพลาดครั้งแรกๆของพวกเขาและได้เริ่มทุ่มแรงกายแรงใจกันอย่างหนักหน่วงตามแนวทางปฏิบัติของการทำแปลงเพาะปลูกเป็นขั้นบันไดบนเชิงเขา (อย่างน้อยก็มีไม่กี่แห่ง) ชนกลุ่มน้อยของชาวมายาที่เป็นชาวไร่ชาวนาบนคาบสมุทรยูกาต้น (Yucatan Peninsula ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก) ทำแปลงเพาะปลูกเป็นขั้นบันบนเชิงเขาได้ด้วยเช่นกัน ถึงแม้การแนวปฏิบัติของพวกเขาไม่เคยเป็นหลักเกณฑ์ทั่วๆไป ตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อัตราของการสูญเสียดินหรือการถูกกัดเซาะของดินสูงสุด ณ ช่วงก่อนอารยธรรมมายายังไม่ปรากฏขึ้น ประมาณ 1100 BP หรือ 1100 ก่อนปีปัจจุบัน ปัจจุบันนี้พื้นที่ที่มีร่องลอยการทำแปลกเพาะปลูกเป็นขั้นบันไดของชาวมายาที่ยังหลงเหลืออยู่อย่างสมบูรณ์ พื้นที่เหล่านั้นยึดจับดินไว้ได้เป็นสามถึงสี่เท่ามากกว่าพื้นที่เชิงรอบๆที่ถูกตัดถางสำหรับการเพาะปลูกแต่ไม่ได้ทะแปลปลูกเป็นขั้นบันได ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดิน ชื่อ Walter Lowdermilk เป็นผู้ที่ได้สำรวจผลกระทบของการใช้ที่ดินที่ถูกกัดเซาะในภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ และในยุโรปสำหรับกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ได้พบว่ามีที่เพาะปลูกขั้นบันไดทำจากก้อนหินถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีไม่หลายแห่งในที่ราบสูงจูเดียของประเทศอิสราเอล ที่แห่งนั้นยังคงยึดจับดินไว้หลังจากทำการเพาะปลูกมาเป็นเวลาหลายพันปี จากการสังเกตุที่คล้ายๆกัน ชาวเกษตรยุคใหม่ในหุบเขาลึกแคนยอนโกลกา หรือ Colca Valley ประเทศเปรู ยังคงใช้การทำแปลงเพาะปลูกแบบขั้นบันไดในสมัยก่อนมามากกว่า 1500 ปี โดยปราศจากการลดลงของความสมบูรณในดินที่สังเกตุได้เลย (ซึ่งก็คือในกรณีนี้ถูกพิจารณาว่าใช้เทคนิคเหมือนกันกับการปลูกพืชแซม intercropping การปลูกพืชหมุนเวียน crop rotations รวมถึงการปลูกพืชตระกูลถั่ว legumes ตามมาด้วยการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยธรรมชาติ หรือ manure และใช้เถ้าถ่านเพื่อเป็นการปรับปรุงดิน) นอกจากนี้ พวกเราได้ทำตามหลักการเกษตรแบบไม่ไถดิน ที่ซึ่งเมล็ดพันธุ์ต่างๆถูกแทรกใส่ลงไปในดินโดยการใช้อุปกรณ์ที่ดูเหมือนสิ่วเจาะรูเพื่อรบกวนพื้นดินให้น้อยมากที่สุดเพื่อเป็นการคัดค้านการไถดินออกมาทั้งหมดในบริเวณนั้น มีเพียงแค่พื้นที่ทำการเกษตรเท่านั้นที่ซึ่งการทำแปลงปลูกพืชด้ววยการใช้หินทำเป็นขั้นบนไดที่ถูกสร้างไว้เป็นบริเวณเพาะปลูกคุณภาพของดินที่นั่นไม่เสื่อมโทรมเลย และที่ดินนั้นยังคงสร้างผลผลิตได้อยู่จนกระ ณ ปัจจุบันนี้ การทำแปลงเพาะปลูกเป็นชั้นๆสามารถลดการสูญเสียดินหรือการกัดเซาะของดินได้ถึง 80-90 เปอร์เซนต์ (ซึ่งทำให้มันเป็นหลักการปฏิบัติที่ยั่งยืน เนื่องจากส่วนที่เหลืออีก 10-20 ปอร์ซนต์คือส่วนที่ทำให้สมดุลโดยกระบวนการก่อตัวของดินโดยธรรมชาติ และด้วยการใส้ปุ๋ยหมักธรรมชาติ มูลสัตว์ เพิ่มลงไป และสิ่งอื่นๆที่ใช้ปรับปรุงดิน) การเปลี่ยนพื้นที่ลาดชันให้เป็นพื้นที่แบ่งแยกออกค่อนข้างจะราบแบน โดยการทำเป็นขั้นๆเสริมเข้ามา ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการทำที่ปลูกเป็นชั้นๆจากก้อนหินก็คือ ดินถูกปกคลุมไว้จากก้อนหินช่วยรักษาความชื้นได้นานมากกว่าดินที่ไม่ถูกปกคลุมไว้ การใช้ก้อนหินเข้าช่วยทำการเกษตรในพื้นที่แห้งแล้งกว่า เพื่อทำเป็นสวนโขดหินและทำก้อนหินคลุมดินเป็นวิธีปฏิบัติทั่วๆไปบนเกาะอีสเตอร์หรือเกาะราปานูอี Rapa Nui (Easter Island) บนเกาะนิวซีแลนด์ที่ชาวเมารีอาศัยอยู่ และบนพื้นที่แห้งแล้งของกรุงโรมอิตาลี ประเทศเปรู ในแถบอเมริกาเหนือ และประเทศจีน โขดหินช่วยรักษาความชื้นในดินโดยการเป็นร่มเงาให้กับดินจากแสงแดดและลม (ดังนั้นจึงช่วยลดการสูญเสียน้ำระเหยออก) และจากฝน (ช่วยป้องกันดินถูกกัดเซาะและน้ำไหลหลาก) อุณหภูมิในดินคงที่มากกว่าอีกด้วย การมีอุณหภูมิต่ำกว่าค่าสูงสุดในช่วงกลางวันและมีอุณหภูมิสูงน้อยในช่วงกลางคืนนั้นจะช่วยไม่เพียงแต่พืชเองเท่านั้นแต่ช่วยจุลินทรีย์ในดินอีกจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งพวกเขาช่วยในเรื่องการรักษาความอุดมสมบูรณ์และโครงสร้างของดิน และการเสื่อมโทรมของสารอินทรีย์วัตถุในดิน พวกเรา สวนฟื้นฟูฯ ทำรูแบบของการทำแปลงเพาะปลูกพืชแบบขั้นบันไดเพียงเล็กน้อยในแปลงผักของพวกเรา ได้ความรู้มาจากความผิดพลาดและความสำเร็จมาเป็นเวลาว่าพันๆปีของการทำเกษตรบนเชิงเขาของผู้คนทั่วโลก การฟังที่ดิน พวกราตัดสินใจที่จะกำหนดบริเวณเพาะปลูกพืชผักออกเป็นสามส่วนของสวนเป็นอย่างน้อย (ตามบริเวณลาดชันพอเหมาะ) และปล่อยบริเวณที่ลาดชันลึกมากกว่าในส่วนบนของป่าไผ่เพื่อเป็นการรบกวนพื้นดินน้อยลง ถึงแม้ว่าพวกเราแบ่งแปลงปลูกผักออกเป็นส่วนๆกับบริเวณที่ลาดเอียงดเพียงเล็กน้อย พวกเรายังคงทำขั้นบันไดจากก้อนหินอยู่ดี (แน่นอนว่า พวกเราเอาเก็บก้อนกินมาเอง) จากบริเวณรอบๆบ่อน้ำของพวกเรา ในการกระทำเช่นนี้พวกเราก็ปลอดภัยหายห่วงกับไม่เพียงแค่เรื่องดินถูกกัดเซาะ แต่เป็นการสร้างพื้นที่เพาะปลูกให้เสี่ยงน้อยลงจากความแห้งแล้งเนื่องจากการใช้หินทรายค่อนข้างเยอะ (ที่ได้อธิบายไปด้านบน ที่ช่วยในเรื่องการรักษาความชื้นของดินและช่วยให้อุณหภูมิของดินคงที่) ด้วยกันกับการใช้เศษใบไผ่คลุมดินอย่างแน่นหนา มันจึงเพียงพอในการรดน้ำผักของพวกเราทุกๆสองวัน ซึ่งป้นการใช้สอยน้ำน้อยกว่าครึ่งหนึ่งหากเทียบกับการใช้สอยน้ำของการทำเกษตรแบบทั่วๆไป เนื่องจากแปลงปลูกผักทั้งหมดของพวกเรานั้นอยู่ใกล้เคียงกันกับต้นผลไม้ต่างๆ พวกเราจึงขจัดความจำเป็นที่จะต้องรดน้ำและใส่ปุ๋ยให้กับต้นผลไม้เหล่านั้นไปด้วย นั่นจึงนำพาพวกเราไปสู่
ส่วนที่สองของการฝึกปฏิบัติทางเทคนิคการทำเกษตร:การทำเกษตรกรรมภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Smart Farming เกี่ยวกับเรื่องสภาพอากาศแปรปรวนที่เกินจะรับมือได้ทั่วโลก และเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงสุดขั้ว ความแห้งแล้งอันหนักหน่วง และปริมาณน้ำฝนอันหน่าแน่นโหมกระหน่ำเข้ามา พวกเราจึงพยามสุดความสามารถของตน เพื่อที่จะปรับตัวและเตรียมพร้อมสำหรับความไม่มั่นคงและมิอาจเชื่อถือได้ในเรื่องสภาพอากาศ
วันก่อนๆหน้านี้พวกเราไปเข้าร่วมการประชุมของชุมชน เจ้าหน้าที่รายงานกับชาวเกษตรกรว่า นับแต่จากนี้ไปในแต่ล่ะปีถูกคาดการณ์ได้ว่าจะแห้งแล้งมากกว่าร่วมกับการมีฤดูร้อนยาวนานกว่าและมีฝนตกน้อยกว่าปริมาณที่ฝนตกโดยรวมในช่วงฤดูมรสุม (คำพยากรณ์นี้ได้มาจากแนวโน้มที่ได้จากการสังเกตการณ์เมื่อไม่นานมานี้และจากการคาดคะแนแบบจำลองของสภาพอากาศในอนาคต) นี่คือคำประกาศแจ้งเตือนที่ชัดจนมาก และพวกเราก็ตกใจที่ไม่มีทางออกที่แนะนำให้ชาวบ้านหลังจากนั้น ไม่มีแผนการรับมือกับเรื่องความขาดแคลนน้ำใช้และไม่มีข้อเสนอทางด้านจะปรับตัวให้ดีที่สุดได้อย่างไร เทคนิคการทำเกษตรส่วนใหญ่ที่พวกเราปฏิบัติกันนั้นได้มาจากความเข้าใจตามความเป็นจริงที่ว่าพวกเราจะประสบกับความไม่มั่นคงทางสภาพอากาศที่รุนแรงในช่วงชีวิตของพวกเรา พวกเราทราบว่ามันอาจจะพิสูจน์แล้วว่ามันไร้ประโยชน์ที่จะคิดว่าพวกเราสามารถปรับตัวกับเรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ แต่อย่างไม่น่าสงสัยลยที่อย่างน้อยมันก็ควรค่าที่จะลองทำดู ดีกว่าที่จะไม่เปลี่ยนอะไรเลยและทำการเกษตรแบบธรรมดาทั่วไปอีกเรื่อยๆจนกระทั่งเมื่อจุดสูงสด หรือ tipping point แตกร้าวที่ทำให้การเกษตรกรรมเป็นไปไม่ได้แล้ว องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Food and Agriculture Organization (UNFAO) บัญญัติคำศัพท์ คำว่า Climate Smart Agriculture (CSA) หรือ เป็นแนวทางการพัฒนาเกษตรทั้งในระยะสั้นและระยะกลางภายใต้ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อเป็นวิธีการรับมือกับสภาพอากาศที่จะถ่าโถมเข้ามาสู่พวกเราในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้านี้ เวปไซต์ของพวกเขา Their website ได้กำหนดไว้ว่า จุดประสงค์ของ Climate Smart Agriculture คือเพื่อรับมือกับเป้าหมายสามประการ ได้แก่ การเพิ่มพูนผลผลิตทางการเกษตรและสร้างรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืน การปรับตัวและการสร้างความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง การลดและการนำเอาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกไป ในที่ซึ่งเป็นไปได้ เหมือนเช่นเคยกับองค์กรสหประชาชาติ หรือ UN พวกเราก็มีข้อท้วงติงหรือคัดค้านจำนวนมาก plenty to object ถึงแม้ว่าพวกเรายอมรับได้ว่าพื้นฐานของขอบข่ายงานเป็นเจตนาที่ดี เช่นเดียวกันกับเอกสารอื่นๆทั้งหมดของ UN ที่เป้าหมายต่างๆเกือบจะไม่รุนแรงตามที่พวกเขาอยากจะทำเลย ในการที่จะให้เป้าหมายนั้นๆมีผลต่อโลกจริง เรื่องการทำเกษตรกรรมเองคือสามเหตุของปัญหาและเป็นเหตุผลที่พวกเราต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงแบบนี้ ถ้ามีอะไรที่พวกเราควรจะทำกับเรื่องเกษตรกรรมและนำเทคนิคการทำเกษตรกรรมถาวรและการปลูกพืชกรรมสวนมาปรับใช้เพื่อเลียนแบบระบบนิเวศตามธรรมชาติ และดังนั้นจึงจะแสดงให้เห็นถึงระดับความยืนหยุ่นและความสามารถในการผลิตที่คล้ายกันได้ แทนที่จะเพิ่มพูนความสามารถในการผลิต (ซึ่งอย่างไรก็ตาม มันก็จะเกิดขึ้นองโดยอัตโนมัติกับวิธีการการทำเกษตรกรรมถาวรและการปลูกพืชกรรมสวน ดูตต่อด้านล่าง) เป้าหมายควรที่จะเป็น การเพิ่มจำนวนผู้คนที่ทำการเกษตร มีคนน้อยที่ส่งอาหารเข้าไปในเมืองก็จะสร้างความกดดันให้กับชาวไร่ชาวสวน และเนื่องจากว่าคนในเมืองมีรอยเท้านิเวศน์ หรือ ecological footprint มากกว่าอย่างไม่ตามสัดส่วน (รอยเท้านิเวศน์ คือ ผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม) เมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรที่ทำเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ หรือ subsistence farmers มันคงจะเป็นเรื่องดีจากมุมมองทั้งหมด ถ้าหากมีอีกหลายคนมากกว่าที่จะสับเปลี่ยนวิธีทำการเกษตร ถ้ามีการหยุดชะหงักเกิดขึ้นในเมืองต่างๆเป็นเวลาเพียงไม่กี่วัน ความโกลาหลก็จะปรากฏขึ้นตามมาเพราะว่าอาหารที่กักเก็บไว้ภายในเมืองต่างๆยังมีใช้บริโภคได้อีกไม่หลายวันโดยมาก หากมีจำนวนประชากรของเกษตรกรที่เป็นผู้ที่ทำเกษตรเพื่อยังชีพและแบบพึ่งพาตัวเองมากกว่าในชนบท มันก็จะมีมนุษย์ที่ต้องทรมานน้อยลงในช่วงที่ในเขตเมืองถึงขั้นวิกฤต ในความคิดเห็นของพวกเรา Climate Smart Agriculture ครั้งแรกคงจะต้องถูกเรียกว่า Climate Smart Farming/Gardening/Planting หรือ การจัดการทางการเกษตร/การทำไร่สวน/การเพาะปลูกภาตใต้การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ (เพื่อแยกมันออกจากความเสียหายที่เกิดจากการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว) และควรที่จะกำหนดเป็น วิธีการรับมือกับเป้าหมายทั้งสามประการที่กล่าวไป ได้แก่ “การเพิ่มจำนวนเกษตรกรและใช้หลักการของเกษตรกรรมถาวรแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ตามธรรมชาติ เพื่อเป็นการปรับตัวและสร้างความยืดหยุ่นกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และขจัดปัญหาเรื่องการปล่อยก๊าชเรือนกระจก หรือ greenhouse gas อย่างเข้มงวดโดยการปลูกต้นไม้จำนวนมหาศาล” เวปไซต์นี้ The Footprint Network คือเวปไซต์ที่อธิบายถึงรอยเท้านิเวศน์ของมนุษย์และกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ของโลก ประชากรของประเทศที่ด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนามีรอยเท้านิเวศน์น้อยกว่ากลุ่มประชากรโลกที่พัฒนาแล้ว และประชาชนทั่วๆไปในแต่ล่ะประเทศทั่วโลกมีรอยเท้านิเวศน์น้อยกว่ากลุ่มคนที่เป็นายทุน เช่น เจ้าของกิจการของธุกิจต่างๆ เช่น ธุรกิจน้ำมัน แก๊ช ก๊าชธรรมชาติและธุรกิจเหมืองแร่ที่ต้องทำกิจกรรมหลายต่อหลายอย่างเพื่อที่จะขุดน้ำมันดิบออกมาและได้แร่ต่างๆออกมาจากดิน ฉะนั้นรอยเท้านิเวศน์ของคนกลุ่มนี้จะสูงมากและสร้างความเสียหายอย่างถาวรให้กับระบบนิเวศน์ของโลก รวมถึงนักธุรกิจหรือเหล่าผู้นำประเทศและรองลงมาชนชั้นกลางที่เป็นนายทุนของการใช้เทคโนโนยีในการผลิตและขับเคลื่อนธุรกิจของพวกขา ซึ่งนั่นก็มีรอยเท้านิเวศน์ที่กระทบต่อโลกจะสูงมากกว่ากลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในชนบทหรือนอกเมือง มันจึงไม่จำเป็นต้องบอกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจะต้องลดรอยเท้านิเวศน์ลงอย่างรุนแรงจึงจะเข้าถึงระดับของความยั่งยืนได้ เพราะนั่นคือสิ่งที่พวกเขาต้องทำอย่างจริงจังและกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาลำกำลังพัฒนาเช่นกันต้องรักษารอยเท้านิเวศน์ของตนให้อยู่ในระดับที่น้อยเพื่อจะไม่ไปสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแลดล้อมและระบบนิเวศน์ของโลกมากขึ้นไปอีก นอกจากนี้ ถ้าหากประชากรโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ดินที่สามารถใช้ทำกินได้ต่อรายหัวก็จะลดลงตามลำดับ การควบคุมการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกคือเรื่องที่สำคัญและจำเป็นสูงสุดต่อความยั่งยืน ด้วยวิธีการของการทำเกษตรกรรมถาวร มันเป็นไปได้ที่จะเลี้ยงคนทั้งครอบครัวได้ในพื้นที่ 2 เอกตาร์ หรือ ประมาณ 12.5 ไร่ ในระบบนิเวศโดยส่วนใหญ่ ซึ่งมันคงจะหมายถึงได้ว่า ถ้าหากทุกๆคนใช้ชีวิตในรูปแบบนี้ โดยตามหลักทฤษฏีแล้ว แต่ล่ะบุคคลจะใช้พื้นที่ทำกินประมาณครึ่งเฮกตาร์หรือประมาณ 3 ไร่นิดๆ ซึ่งขนาดของพื้นที่นี้ก็หมายถึงว่ามีจะมีพื้นที่เพียงพอในระหว่างการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆได้! พวกเราที่สวนฟื้นฟูฯใช้เทคนิควิธีการหลายอย่างเพื่อช่วยให้พวกเราร่วมมือกับสิ่งที่กำลังมาเกิดขึ้นเราเรื่องความรอบรู้เท่าทันสภาพอากาศ ในลำดับต่อไปนี้ พวกเราจะใช้บางตัวอย่างเทคนิคต่างๆของพวกเราที่ได้เปรียบเทียบแล้วกับการทำเกษตรผลไม้แบบทั่วๆไปในละแวกนี้ โดยปราศจากการทำให้เพื่อนๆร่วมหมู่บ้านต้องอับอายอะไร แต่เป็นเพียงการแสดงให้เห็นง่ายๆว่ามันมีทางเลือกที่จะป็นไปได้และทางเลือกนั้นๆก็ไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด เกษตรกรแถวนี้บ่อยครั้งแค่ไม่รู้จักดีมากพอที่พวกเขาถูกชักจูงอย่างหนักจากสื่อโฆษณาและจากกลุ่มคนที่มีอิทธิพลในการยัดเงินเป็นก้อนให้กับรัฐบาลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมีทางการเกษตร และพวกเขาอยู่ภายใต้แรงกดดันจากทุกๆอย่างเพื่อที่จะได้ผลผลิตสูงสุดและดังนั้นจึงจะได้ผลกำไร ความบ่อยของการให้น้ำ (Watering frequency) ทันทีที่ฝนหยุดตกเป็นเวลาสองวัน ชาวสวนที่ปลูกผลไม้ในจังหวัดจันทบุรีก็จะเริ่มรดน้ำต้นผลไม้ พวกเขารดน้ำแม้กระทั่งกับต้นที่โตเต็มที่แล้ว โดยการใช้ต่อท่อพีวีซีรดน้ำอย่างครอบคลุมพื้นที่ในบริเวณกว้างและใช้ท่อฉีดรดน้ำแบบสปิงเกอร์ติดตั้งไว้ใต้ต้นผลไม้แทบจะทุกต้นรวมถึงการใช้เครื่องปั่นน้ำที่ต้องใช้น้ำมันขับเคลื่อน การปฏิบัติเช่นนี้สร้างความมั่นใจที่ว่าจะได้ผลผลิตสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่มันคือเรื่องที่น่าป็นห่วงอย่างมากของความฟุ่มเฟือยในเรื่องของการใช้น้ำ ถ้าคุฯรดน้ำต้นผลไม้ทุกๆวัน ต้นไม้เหล่านั้นก็จะไม่เคยที่จะทำรากลึกๆลงในดินและไม่มีประสิทธิภาพในการเก็บน้ำได้ด้วยตัวเอง นั่นจึทำให้ต้นผลไม้นั้นๆต้องพึ่งพาการให้น้ำเป็นประจำวัน พวกเรารดน้ำต้นผลไม้ของพวกเราเมื่อจำเป็นต้องรดน้ำเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า หนึ่งครั้งหรือสองครั้งต่อเดือนสำหรับต้นผลไม้เล็กๆ (อายุ 0-2 ปี) และไม่เคยที่จะรดน้ำให้กับต้นผลไม้ที่ใหญ่มากกว่าแล้ว วิธีการนี้ต้นไม้จะมีประสบการณ์ในเรื่องปริมาณการได้น้ำมาตั้งแต่ยังเป็นต้นเล็กเลยและพัฒนากลไกการทำงานเป็นไปตามกระบวนการรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับความแห้งแล้ง ต้นไม้สายพันธุ์ที่มีรากแก้ว หรือ taproot จะเจาะรากแก้วนี้ลงไปลึกๆในดินเพื่อไปถึงชั้นดินที่มีน้ำอยู่ แต่ทุกๆสายพันธุ์ก็จะพัฒนาระบบรากที่โดยปกติแล้วจะลงรากลึกกว่าและมีรากในบริเวณกว้างๆได้มากกว่าต้นม้ายพันธุ์เหล่านั้นที่ถูกรดน้ำเป็นประจำวันบริเวณโคนต้น ฤดูกาลที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก (Timing of planting) โดยทั่วไปแล้วการเพาะปลูกจะทำในตลอดช่วงฤดูฝน ในบางระยะเพาะปลูกที่แม้กระทั่งปลูกในช่วงเดือนสุดท้ายของฤดูฝน ต้นไม้ที่ถูกปลูกไว้ก็จะตายโดยทันทีหากไม่รดน้ำให้ทุกวัน จึงไม่จำป็นต้องพูดเลย ถ้าหากมีอะไรที่จะเกิดขึ้นกับเรื่องโซ่อุปทานของพลังงานเชื้อเพลิง หรือ fossil fuel หรือกับเรื่องน้ำที่ยังมีอยู่ที่สามารถน้ำออกไปใช้อุปโภคบริโภคได้ ต้นไม้ที่ถูกรดน้ำตลอดก็จะอยู่ต่อไม่ได้ (เพราะขาดน้ำและโซ่อุปทานพลังงานเชื้อเพิงหยุดชะงัก) พวกเราจะปลูกแค่ช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าต้นไม้ที่ปลูกไปจะมีเวลาอีกสองสามเดือนเพื่อทำรากที่เจาะทะลุเข้าไปในดินนิ่มๆได้ลึกและเร็วกว่าหากเทียบกับการปลูกฤดูแล้ง ช่วงแรกๆของวงจรชีวิตของต้นไม้คือรากฐานความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งหมดของต้นไม้เมื่อโตแล้ว การเตรียมดิน (Soil preparation) ชาวสวนละแวกนี้จะปลูกต้นไม้ต้นเล็กๆในหลุมเล็กๆที่ขุดไปจนถึงดินแดง แล้วเอาดินแดงนั้นขึ้นมาปลูกต้นไม้ (และหลังจากนั้นก็ใส่ปุ๋ยเกลือไนโตรเจน หรือ nitrogen salts เฉพาะแห่ง ซึ่งปุ๋ยที่ใส่ส่วนใหญ่จะถูกชะล้างออกไปกับครั้งแรกฝนที่ตกอย่างหนัก) โดยปราศจากการได้ปรับปรุงดินเพิ่มเติม ดินเหนียวแดง หรือ Red clay (เป็นประเภทดินพื้นฐานของประเทศเขตร้อน) มีความสามารถในการกักเก็บน้ำเพียงน้อยนิดในระยะเวลาที่ยาวกว่าและโดยปกติแล้วดินก็จะไม่มีรูพรุนที่น้ำสามารถแทรกซึมเข้าได้ดีนักและดินดูดซับน้ำเพียงแค่ช้าๆเท่านั้น พวกเราขุดดินหลุมใหญ่ๆสำหรับการปลูกต้นไม้แต่ล่ะต้น และผสมดินกับปุ๋ยหมัก (compost) ปุ๋ยหมักมูลมนุษษย์ (humanure) ขี้วัว (cow dung) ผงถ่าน ผงเปลือกหอยทะเลตำละเอียด ดินทราย ขี้เลื่อย หรืออะไรก็ได้ที่มีตามที่กล่าวไป ผงถ่านและขี้เลื่อย จะป็นตัวซึมซับน้ำไว้ ฉะนั้นจึงเป็นการทำให้มั่นใจได้ว่าครั้งใดก็ตามที่น้ำเข้าไปในดินมันก็จะอยู่ในดินนานมากกว่า ผงเปลือกหอยทะเลตำละเอียดและดินทราย ทำให้ดินมีโครงสร้างเป็นรูพรุนมากขึ้นซึ่งง่ายต่อการซึมซับของน้ำ ปุ๋ยหมักอินทรีย์และปุ๋ยหมักมูลมนุษย์ ไม่พียงแต่ให้อาหารพืชต่างๆเท่านั้น แต่ยังให้อาหารหล่อเลี้ยง “ห่วงโซ่อาหารในดิน หรือ Soil Food Web อีกด้วย” จุลินทรีย์เล็กๆในดินเป็นพันๆตัวที่ขุดเจาะโพรงและขุดรูที่ทำให้อากาศผ่านเข้าได้ และสร้างช่องทางสำหรับน้ำฝนให้ไหลเข้าไปได้ การใช้วัสดุคลุมดินและดึงหญ้า (Mulching and weeding) โดยทั่วไปแล้วมีคนจำนวนน้อยมากที่คลุมดินตามต้นไม้ของพวกเขา ซึ่งเป็นเหตุผลที่พวกเราไม่ค่อยจะเข้าใจนัก กล่าวคือ บางคนก็คงจะเป็นเพราะกลัวงูต่างๆที่อาจจะมาซุกตัวอยู่ในที่คลุมดินไว้ คนอื่นๆอาจจะกลัวเรื่องแบคทีเรียและเชื้อราที่จะเป็นอัตรายต่อต้นไม้ซึ่งอาจจะเกิดมาจากการย่อยสลายของสิ่งที่ใช้คลุมดิน หรือ หญ้าต่างๆที่ขึ้นอยู่ตามบริเวณต้นไม้จะมาแย่งอาหารและแย่งกับต้นผลไม้ (การใส่ปุ๋ยเคมีก็ใส่ได้ไม่ง่ายนักอีกด้วยเมื่อต้นไม้ถูกคลุมดินไว้) นอกจากนี้แล้ว หญ้าในสวนผลไม้จะถูกตัดเป็นประจำพอมันสูงได้ไม่กี่เซนติเมตร และในบางกรณี หญ้าที่สูงเพียงนิดเดียวก็ถูกฉีดยากำจัดวัชพืชทันที ดินเปล่ากูถูกผาไหม้ในแสงแดด จึงเป็นการฆ่าสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เป็นประโยชน์ไปหมดและทำให้ดินแห้งผาก ตามคำแนะนำที่นักเกษตรกรรมถาวรแนะนำไว้ทั้งหมด พวกเราทำการคลุมดินอย่างแน่นหนาให้กับต้นไม้ที่เพิ่งปลูกใหม่ (และคลุมให้กับต้นที่โตแล้วด้วยรวมถึงคลุมดินในแปลงผักด้วย) โดยการใช้อะไรก็ตามที่มีอยู่ ได้แก่ หญ้าแห้ง เศษกิ่งก้านใบทั่ดมาจากต้นอื่นๆ ใบไม้สดหรือแห้ง กิ่งไม้และชิ้นท่อนไม้ต่างๆ เปลือกไม้ ผักตบชวา เป็นต้น วิธีการคลุมดินนี้ส่งผลให้น้ำระเหยออกได้ช้ากว่า แม้กระทั่งภาตใต้การโดนแสงแดดโดยตรง ถ้าเรารดน้ำตามต้นไม้ที่ถูกคลุมดินไว้ในตอนเช้า ชั้นหน้าดินใต้วัสดุคลุมดินจะยังคงชุ่มชื้นตลอดทั้งวันและยังเปรียกชุ่มดีไปจนถึงวันหน้า ในระดับดินลึกๆลงไปก็จะคงความชุ่มชื้นได้นานมากกว่า ดังนั้น การรดน้ำหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ (หรือน้อยกว่านั้น) นั่นก็เพียงพอแล้วสำหรับต้นเล็กๆ นอกจากผลประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนนี้แล้ว การคลุมดินสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับแมลงต่างๆ ไส้เดือน และจุลินทรีย์เล็กๆที่อาศัยอยู่ในดินที่ช่วยพรวนดินให้นิ่มขึ้นกับรูขุดเจาะและโพรงเจาะต่างๆของพวกเขา และดังนั้นจำเป็นการทำให้น้ำไหลเข้าสู่ดินได้ลึกๆ ตอนที่วัสดุคลิมดินย่อยสลาย สารอาหารต่างๆก็จะถูกปล่อยออกมาอย่างช้าๆและเตรียมการป้อนปุ๋ยอินทรีย์ให้กับต้นไม้อย่างต่อเนื่อง พวกเราทำการดึงหญ้าแค่ตอนที่จำเป็น (ซึ่งจะจำกัดอยู่กับตามทางเดิน ตามแปลงปลูกผัก และบริเวณรอบๆโคนต้นผลไม้เล็กๆ ที่เราใช้ส่วนตัดจากพืชพรรณเป็นตัวคลุมดินโดยทันทีหลังจากที่ตัด) ดินเปล่าๆที่ไม่มีอะไรปกคลุม หรือ Bare soil คือบาดแผลที่ธรรมชาติรักษาโดยทันทีโดยพืชต่างๆที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “วัชพืช หรือ weeds” เพื่อที่ว่ารากของ “พืชเบิกนำ หรือ pioneer plants” เหล่านั้น จะยึดจับดินเข้าไว้ด้วยกันและปกป้องดินจากฝนโดยตรง พวกราไม่เข้าไปรบกวนกับกระบวนการทางธรรมชาตินี้ เพียงแต่ปล่อยให้หญ้าขึ้นตามที่ขึ้นได้ การทำงานเรื่องดิน (Earthworks) ขณะที่คนทำการปลูกต้นทุเรียนหมอนทองบนกองดินเล็กๆ (ขุดด้วยรถแม็คโคร) โดยไม่มีงานอะไรที่ได้ทำอีกในรื่องของความกังวลเกี่ยวกับการเก็บน้ำฝนหรือการระบายน้ำ ผู้คนมองเรื่องนี้ว่ามันเป็นการเสียเวลาและเสียทรัพยากร เนื่องจากจุดสนใจของพวกเขาคือเป็นเรื่องพืชผลไม้เท่านั้น นี่จะทำให้น้ำฝนไหลเชี่ยวลงภูเขาไปอย่างง่ายๆ โดยกวาดเอาชั้นหน้าดินและพัดเอาปุ๋ยส่วนที่เหลือไปด้วยกับมัน เมื่อไม่นานมานี้องมันได้มีการนิยมขุดดินเหนียวที่ถูกเผาแล้ว “เป็นขั้นบันได หรือ terraces” เข้าไปตามแนวไหล่เขา โดยใช้รถแม็คโครคันใหญ่ขุด ซึ่งขุดชั้นหน้าดินที่ยังคงเหลืออยู่ทิ้งออกไป และถมกลบมันไว้ใต้ดินเหนียวแดงลึกเป็นเมตร การอัดดินให้แน่นกับน้ำหนักหลายตันของรถแม็คโครและการทำลายดินอย่างรุนแรง ทำลายแม้แต่เรื่องความสามารถพื้นฐานในการรักษาตัวของระบบนิเวศน์ไป รื่องดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วบนไหล่เขาที่มองเห็นได้จากสวนของพวกเรา ซึ่งได้รับความเสื่อมโทรมอย่างหนัก หลังจากเวลาหนึ่งปี (หมายถึงรวมเอาทั้งฤดูฝนด้วย) พื้นที่ตรงนั้นยังไม่ฟื้นตัวจากกการที่พืชขึ้นปกคลุมดินไว้อย่างสมบูรณ์ และเป็นไปได้ที่ดินเป็นหลายตันถูกซะล้างไปในช่วงที่ฝนตกอย่างหนักหน่วง จุดประสงค์ของการดำเนินการนี้คือไม่ใช่เป็นการลดปริมาณน้ำไหลออกให้เหลือน้อยลง แต่เพื่อเป็นการตัดหญ้าทิ้งไป เป็นการฉีดพ่นสารเคมีและเพื่อเป็นเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่ายกว่า และเพราะว่า (ความไม่มีเหตุผลอย่างสมบูรณ์) เหตุผลที่ว่า “มันมองดูดีและดูสะอาดตา” แล้วแต่เจ้าของ พวกราได้ขุด ร่องเบี่ยงน้ำ swales หรือคลองตันน้ำ ( ขุดโดยการใช้จอบและเสียม) โดยขุดกว้าว 30 เซนติมตร ที่ไหลผ่านขนานไปกับแนวพื้นดินและเพื่อยึดจับเอาของที่ไหลมากับน้ำฝนรวมถึงเศษดินที่ไหลมาด้วยกัน เพื่อเป็นการชะลอน้ำที่ไหลลงมาสู่ที่ต่ำ และทำให้น้ำฝนที่ไหลมาข้าในดินได้ลึกๆ นั่นคือการเติมน้ำใต้ดินและเติมน้ำเข้าชั้นหินอุ้มน้ำ หรือ aquifers เข้าไปใหม่อีกครั้ง แทนที่จะเพียงแค่เติมน้ำให้แม่น้ำที่จะขนย้ายกลับไปสู่ทะเลอีก ตะกอนดิน Silt และ เศษดินเศษโคลน สามารถเก็บเอามาจากร่องเบี่ยงน้ำหรือคลองตันน้ำนี้ได้หลังจากหมดฤดูฝน และมันคือสารอาหารในดินที่อุดมสมบูรณ์ชั้นเลิศ เพื่อนำไปใส่ตามบริเวณต้นไม้หรือใช้ใส่ในแปลงปลูกผักได้ โดยพื้นฐานแล้วพวกเราก็ขุดทำเป็นขั้นบันได (ตามที่กล่าวไปเบื้องต้น) กับแปลงปลูกผักของพวกเราและตามต้นผลไม้ พื่อขจัดปัญหาเรื่องการกัดเซาะของหน้าดิน ทำให้มั่นใจว่ารากของพืชผักและผลไม้ไม่แช่น้ำในช่วงที่ฝนตกอย่างหนักหน่วง และนอกจากนี้ก็เพื่อเป็นการชะลอน้ำฝนให้ไหลลงเขาช้าลง สำหรับการทำงานเรื่องดินทั้งหมด พวกเราใช้รูปแบบของพลังงานที่ยั่งยืนจริงๆเพียงอย่างเดียว นั่นก็คือ พลังงานแคลอลี่ (พลังงานกล้ามของมนุษย์) เครื่องจักรขนาดใหญ่เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลเยอะ (ดังนั้นจึงส่งผลต่อความล้มเหลวทางสภาพอากาศให้รุนแรงขึ้น) มันทำให้ดินแน่น ทำให้สัตว์ป่ากลัวและหนีไปอยู่ที่อื่น รวมถึงมันทำลายล้างมากกว่าที่มันจะชดเชยซ่อมแซมคืนได้ การปลูกพืชร่วมกัน หรือ การปลูกผักที่เติบโตด้วยกันได้ดี (Companion planting) ในสวนผลไม้ทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นปลูกพืชผลชนิดเดียว หรือเยอะสุดก็ปลูกผลไม้เป็นสามสายพันธุ์ที่ปลูกให้โตด้วยกัน เป็นแถวเป็นแนวที่ดูเรียบร้อย และประกอบกับการคลุมหน้าดินตามระหว่างแนว พวกเราปลูกต้นไม้ต่างๆที่รู้จักในด้านช่วยเก็บสะสมน้ำในฤดูฝน และปลดปล่อยน้ำออกอย่างช้าๆในฤดูแล้ง ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อต้นไม้ต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ต้นกล้วย ต้นนุ่น และต้นไม้ป่าพื้นเมืองหลากหลายสายพันธุ์ การปลูกพืชร่วมกัน หรือ Companion planting คืออีกหนึ่งเทคนิคของการทำการเกษตรกรรมถาวร เป็นเทคนิดในการทำปัญหาให้เป็นทางออก เช่นว่า หากมีพื้นที่ทำกินจำกัด แต่อย่างเพาะปลูกพืชพรรณที่หลากหลายร่วมกัน เทคนิคการปลูกพืชร่วมกันจึงเป็นทางออกสำหรับเรา โดยจะต้องศึกษาและเรียนรู้ว่าพืชพรรณผัก ผลไม้และไม้ป่าสายพันธุ์ใดบ้างที่เป็นมิตรสหายกันได้ เติบโตร่วมกันได้ ไม่แย่งอาหารกันและกันรวมถึงต่างเกื้อกูลความสมบูรณ์ต่อกัน เมื่อทราบข้อมูลแล้วเราก็สามารถนำพืชพรรณนั้นๆมาปลูกรวมกันได้อย่างห่ายห่วย มันก็จะลดการใช้แรงงานและเงินทุนของเราได้ไปอีกขั้นหนึ่ง และเราก็จะได้บริโภคหลายหลายมากขึ้นบนพื้นที่อันน้อยนิด สวนฟื้นฟูฯของเรา ณ ตอนนี้ก็เริ่มทำการปลูกพืชผักร่วมกันมาบ้างแล้วและความสำเร็จที่ได้นั้น เป็นที่น่าพอใจมากยิ่ง เช่น ในแปลงผักหนึ่ง เราสามารถปลูกผักสวนครั้วรวมกันได้เป็นสิบกว่าชนิด (ถ้าทำแปลงใหญ่) โดยมีเทคนิคง่ายๆเบื้องต้น ดังนี้ แบ่งขนาดของผักที่จะปลูกออกเป็นกลุ่มๆ แบ่งพืชผักที่ชอบแสงแดดทั้งวันหรือชอบเพียงรำไรออกเป็นชนิดๆ แบ่งพืชผักชนิดที่จะทำต้นสูงหรือจะแผ่ต้นออกเป็นพุ่ม และไม่ชอบโดนต้นอื่นเลื้อยขึ้นตามต้นของพวกเขา ออกเป็นชนิดๆ พอจัดกลุ่มได้แล้วก็นำพืชผักที่ปลูกร่วมกันได้เหล่านั้นมาปลูกในแปลงเดียวกัน จากสี่เทคนิคง่ายๆด้านบนนั้น พวกเราก็ได้พบว่า ในแปลผักหนึ่งแปลง เราสามารถปลูก พริก มะเขือ มะเขือเทศ ฟักทอง ผักชีใบเลื่อยและดอกดาวเรือง ได้ในแปลงเดียวกัน ถามว่าทำไมปลูกดอกดาวเรืองและผักชีใบเลื่อย นั่นก็เพราะว่าศัตรูพืชไม่ชื่นกลิ่นของทั้งสองต้น นั่นก็ลดปัญหาเรื่องแมลงมากัดเจาะกินผักในแปลงนี้ได้เป็นอย่างดี โดย ฟักทองจะเป็นพืชคลุมดินในแปลงผักนี้ มะเขือและพริกจะทำต้นสูงกว่าฟักทองและพลอยป็นร่มเงาให้กับฟักทองด้วยแต่ฟักทองก็ไม่ขาดแดด มะเขือเทศก็เช่นกันแม้จะทำต้นเป็นพุ่มหรือชอบเลื้อยไปตามดินแต่ก็ไม่มีปัญหากับฟักทองแล่ะพริกกับมะเขือ นี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและมีประสิทธิภาพเกินคาด นอกจากผักที่กล่าวไปแล้วนั้น ก็ยังมีอีกหลายต่อหลายชนิดที่ปลูกร่วมกันได้และเกื้อกูลกันได้ดี หากคุณสนใจก็ลองทำกันดูที่บ้านได้เลย! แหล่งที่มา Sources: Dirt – The Erosion of Civilizations, David R. Montgomery, University of California Press (2007) Collapse – How Societies Choose to Fail or Succeed, Jared Diamond, Penguin Books, 2005
No comments.