พวกเราภูมิใจที่ได้ครองใบประกาศนียบัตร “สวนผลไม้ที่เป็นมิตรกับช้างป่า” (ซึ่งถึงแม้ว่า เราจะคิดค้นกันขึ้นเอง และจนถึงขณะนี้ ก็มีเพียงสวนพวกเราที่ถือใบประกาศรับรองมาตฐานนี้อยู่) ที่แสดงถึงการยืนยันรับรองอย่างเป็นทางการว่า วิถีการทำสวนเกษตรผสมถาวรของพวกเราเป็นมิตรกับช้างป่าอย่างแน่นอน
คุณสมบัติประการต่างๆ ที่ควรจะมีเพื่อสอดคล้องกับข้อกำหนดของการออกใบประกาศรับรองมาตฐาน ดังหัวข้อต่อไปนี้
ในธรรมชาตินั้นไม่มีรั้วกั้นเขตแดน และเป็นพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับสัตว์ป่าจำนวนมาก (รวมถึงมนุษย์ด้วยเช่นกัน) ในการที่จะผ่านการรับรองให้ใบประกาศนียบัตรนี้ คุณจะต้องไม่ติดตั้งรั้วหนามในทุกทิศทางบนพื้นที่ทำกินของตน เพื่อปล่อยให้ช้างป่าได้เดินผ่านไปได้อย่างอิสระ
1.ไม่ติดตั้งรั้วหนามไฟฟ้ากันช้างป่า (No electric or barbed wire fencing)
สาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้ช้างป่าเสียชีวิตก็คือ การติดตั้งรั้วหนามไฟฟ้าที่เชื่อมต่อเข้ากับไฟฟ้าบ้าน ขนาด 220 โวลต์ ช้างวัยหนุ่มตัวหนึ่งที่ชื่อว่า เจ้าดอแดง ซึ่งเคยแวะเข้าสวนของพวกเราอยู่บ่อยครั้งโดนฆ่าด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าบ้านใส่รั้วหนามกันช้างบุกรุกสวน ตามข่าวได้ที่นี่
2. ไม่เปิดไฟสว่างจ้าตอนกลางคืน (No bright lights at night)
ในยามค่ำคืนควรเป็นยามแห่งความมืด นี่คือความประสงค์ของธรรมชาติ และเป็นไปตามกระบวนการทางวิวัฒนาการที่เราทั้งหมดล้วนพัฒนาการกันมา การเปิดไฟฟ้าประดิษฐ์ตอนกลางคืน (ก่อมลพิษทางแสง หรือ light pollution) มีผลกระทบอันเป็นอันตรายอยู่หลายรูปแบบต่อสัตว์ทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ด้วย แสงไฟสว่างจึงไม่ได้ช่วยป้องกันช้างป่าแต่อย่างใด เพราะช้างเพียงแค่ไม่สนใจกับแสงนั้น แต่การเปิดไฟสว่างทิ้งไว้ทั้งคืนกลับเป็นเพียงการขับไล่ฝูงแมลงต่างๆ ไปอย่างรุนแรง ซึ่งเหล่าแมลงต่างก็ถูกดึงดูดเข้ามาด้วยแสงไฟ (ซึ่งบรรดาแมลงสับสนนึกว่าเป็นแสงพระจันทร์ที่ตนเคยบินหว่อนตามไป) และบางทีเวลาที่เหล่าแมลงบินเข้ามาในแสงไฟประดิษฐ์นี้ ก็ทำให้แมลงตายไปด้วยจากการทนแสงไม่ไหวบ้าง หรือโดนจับกินจากกบเขียดและจากคางคกบ้าง ที่ออกมาหากินใต้แสงไฟในยามค่ำคืน การเปิดไฟให้ส่องแสงสว่างจ้าไปทั่วอาณาบริเวณนั้น ทั้งไร้ประสิทธิภาพ และสูญเสียพลังงานไฟฟ้าไปโดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก
3.ไม่จุดลูกประทัดไฟ หรือ ยิงปืนเพื่อขับไล่ช้างป่า (No firecrackers or gunshots)
วิธีการที่ใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไปเพื่อขับไล่ช้างป่าก็คือ การจุดลูกประทัดไฟ (หรือการยิงปืนขึ้นฟ้า) วิธีการนี้ทำให้ช้างได้รับความสะเทือนใจ หรือตกอยู่ในภาวะถูกกระทำให้มีบาดแผลลึกในใจ (ซึ่งมันส่งผลให้ช้างเกิดความก้าวร้าว ทั้งต่อช้างป่าตัวอื่นๆ และต่อมนุษย์อีกด้วย) และส่งผลอันตรายต่างๆ อย่างรุนแรงต่อตัวช้างป่าเอง หลายครั้งช้างป่าเพียงแค่ออกเดินหากินไปตามประสาของตนอย่างสงบเสงี่ยม แต่ก็โดนทำให้สะดุ้งตกตื่นใจ จากเสียงที่จู่ๆ ก็ดังปั้งขึ้นอย่างแรง ซึ่งมันส่งผลให้ช้างป่าตอบสนองด้วยการอยากสู้กลับตามสัญชาตญาณของตน ถ้าช้างป่าเดินหลบหนีไป ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นก็จะตกอยู่กับตัวช้างที่ต้องแบกรับความเครียดทางจิตเอาไว้ แต่ถ้าหากช้างป่าเลือกที่จะต่อสู้ ผลร้ายนั้นก็จะขยายความรุนแรงยิ่งขึ้น (ทั้งต่อตัวมนุษย์และช้างป่าตัวอื่นๆ) เราไม่อาจจะมั่นใจได้ว่าการตอบสนองของช้างป่าต่อเสียงดังลั่นที่ทำให้ช้างป่าตกใจนั้น จะทำให้ช้างป่าอยากสู้กลับ หรือจะถอยเดินหลบไป ดังนั้นมันจะเหมาะสมากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายเช่นนี้ลง และจงอย่าไปทำให้ช้างกลัวแตกตื่นกันตั้งแต่แรกจะดีกว่า
ใบหูของช้างป่าทั้งใหญ่และไวต่อการสัมผัสรับรู้จากภายนอก และเสียงดังหูดับตับไหม้ของการจุดลูกประทัดนั้นมันส่งเสียงดังมากเป็นหลายเท่าสำหรับช้าง เสียงมันจะดังมากกว่าที่มนุษย์เราได้ยินกัน
4. ไม่ก่อกองไฟขนาดใหญ่ในยามค่ำคืน (No large fires at night)
ไม่จำเป็นแม้แต่น้อยที่จะต้องจุดไฟเผายางล้อรถยนต์ (หรือแม้แต่ เผาท่อนไม้ใหญ่ๆ) ทิ้งไว้ในตอนกลางคืน เนื่องจากว่าวิธีการเผาเช่นนี้มันคือการก่อมลพิษ มันคือการกระทำที่เปล่าประโยชน์ มันคือการทำลาย และมันไร้ประสิทธิผลสูงมาก พอใช้วิธีการนี้บ่อยๆ เพื่อเป็นแนวทางการป้องกัน การเผาเช่นนี้กลับก่อมลพิษในอากาศสูงขึ้นเป็นอย่างมาก และมันรบกวนสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ รวมทั้งมนุษย์ด้วยเช่นกัน ที่ต้องโดนผลกระทบจากกลิ่นควันไฟ
หากพิจารณาถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่มีมากเกินพออยู่แล้วนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกทำทุกสิ่งอย่าง เพื่อกำจัดแหล่งที่มาเพิ่มเติมของการก่อมลพิษ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆ สู่ชั้นบรรยากาศโลกไปเสีย
5. ไม่มีการใช้สารปราบศัตรูพืชและสัตว์ (No pesticides)
ข้อนี้ควรจะปฏิบัติร่วมกันโดยไม่ต้องบอกเลยว่า การอาบสารเคมีที่มีพิษสูงในสิ่งแวดล้อมของคุณคือแนวคิดหนึ่งที่เลวร้ายมากสุดเท่าที่มนุษย์เคยคิดค้นกันมา ซึ่งอะไรก็ตามที่เป็นพิษต่อเหล่าแมลงและวัชพืช ก็ล้วนเป็นพิษต่อทั้งมนุษย์และช้างป่าอย่างแน่นอน เนื่องจากช้างกินต้นพืชเป็นจำนวนมากทุกวัน ถ้าหากพืชพรรณที่ช้างกินเป็นอาหารเหล่านั้นมีสารกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนอยู่ สารเคมีพิษเหล่านั้นก็จะสะสมอยู่ในร่างกายส่วนต่างๆ ของช้าง และนำไปสู่การมีปัญหาทางสุขภาพในแบบเดียวกันกับที่มนุษย์เราเผชิญอีกด้วย อย่าง โรคมะเร็ง โรคความพิการของทารกแต่กำเนิด โรคเป็นหมัน หรือมีบุตรยาก และการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของเซลล์ในร่างกายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านต่างๆ รวมถึงโรคความผิดปกติของระบบประสาทอย่างรุนแรง
การใช้สารปราบศัตรูพืชคือ การใช้สารเคมีพิษเป็นอาวุธต่อต้านกับธรรมชาติ และดังนั้นการกระทำเช่นนี้ควรจะถือเป็นการกระทำที่ผิดกหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ International Humanitarian Law (IHL) ตามพันธกิจของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ (ICRC) ภายใต้อนุสัญญาเจนีวา จากปี ค.ศ.1925 (Geneva Protocol from 1925) ที่กล่าวไว้ว่า การนำสารปราบศัตรูพืชชนิดใดก็ตามไปปรับใช้ถือเป็นการก่ออาชญากรรมสงคราม และถือเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ บริษัทที่ผลิตสารเคมพิษต่างๆ สมควรถูกดำเนินคดีก่ออาชญากรรมสงครามและการละเมิดกฎธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (หรือ Rome Statute of the International Criminal Court ฉบับปี ค.ศ. 1998) ต้องขอบอกว่าแม้โดยตัวธรรมนูญกรุงโรมเองจะไม่ได้บัญญัติไว้อย่างเด่นชัดแบบนั้น แต่พวกเราคิดว่ามันควรจะปรับใช้ได้ด้วยเพราะก็ถือเป็นการทำลายล้างชีวิตด้วยการใช้สารเคมีพิษ
6.การลดระดับความรุนแรงในยามเผชิญหน้ากัน (Deescalation strategies in encounters)
จงอย่าหาเรื่องยั่วยุ ตะโกนเสียงใส่ หรือพยายามขับไล่ช้างป่าออกไป ไม่ส่องไฟใส่ช้างป่าโดยตรง พูดคุยด้วยความสุภาพ หรือแม้แต่ร้องเพลงให้พวกเขา (ซึ่งก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่พวกเราทำกัน) ส่งสัญญาณให้ช้างป่ารับรู้ว่าคุณไม่ใช่ฝ่ายคุกคาม ทักทายและขอบคุณพวกเขาที่แวะมาเยี่ยมเยือนเรา และอธิบายให้ช้างป่าฟังว่าคุณไม่อยากมีปัญหากันและขอให้ช้างป่าเดินอย่างระวัง ไม่โค่นล้มต้นผลไม้ตอนที่ช้างป่าเดินผ่านไร่สวนของคุณ ในขณะที่ช้างป่าอาจจะไม่เข้าใจด้วยถ้อยคำจริงที่เราพูดออกไป แต่ช้างป่าก็สามารถสัมผัสได้ในระดับอารมณ์ความรู้สึกที่เราได้ส่งถึงเขา และรับรู้ถึงความหมายที่เราต้องการสื่อออกไปได้ ช้างป่าได้รับคำขอจากเราอย่างแน่นอน ช้างป่ารู้เป็นอย่างดีว่าใครเป็นมิตรและใครเป็นศัตรู และคุณเองก็ไม่อยากจะเป็นศัตรูหรอก
7.ปกป้องและปลูกอาหารเพิ่มให้ช้างป่า (Protect and propagate elephant food)
แม้จะมีมีความคิดเห็นผิดๆ ที่มนุษย์เรานิยมคิดกันอยู่ก็ตาม โดยธรรมชาติแล้วช้างป่าไม่ใช่สัตว์ดุร้าย และพวกเขาก็ไม่ได้จงเกลียดจงชังชาวไร่ชาวสวนอีกด้วย โขลงช้างป่าก็เพียงแค่หิวอาหาร และมันคือธรรมชาติของช้างป่าที่ต้องการเดินเตร่ออกหาอาหารไปเรื่อยๆ ตามอาณาบริเวณต่างๆ ที่เคยเดินกันมา ส่วนบริเวณที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติของช้างป่าที่ถูกทำลาย เสื่อมโทรม โดนขโมยที่อยู่อาศัยไปอย่างต่อเนื่องนั้น หมายความว่า ช้างป่าออกหาอาหารได้ยากลำบากมากกว่าเดิม ช้างป่าต้องการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา และโดยปกติแล้วช้างป่าจะชอบกินต้นกล้วยป่า ต้นเต่าร้าง ต้นมะพร้าวอ่อนกำลังโต หรือต้นหมาก ต้นสับปะรด เป็นต้น บางครั้งบางคราวช้างป่าก็ชอบกินผลทุเรียนและผลไม้อื่นๆ บ้าง แต่นั่นก็ไม่ใช่แหล่งอาหารหลักสำหรับช้างป่า พวกเขาอาจจะหยิบกินผลไม้ต่างๆ บางส่วน แต่ถ้าหากมีอาหารป่าของช้างเพียงพอให้กิน ช้างป่าก็จะไม่ไปแวะกินผลไม้เศรษฐกิจเพิ่มเลย
เรื่องนี้สามารถนำไปปฏิบัติกันได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากชนิดพืชที่ช้างป่าชอบกิน ต่างก็เกิดและเติบโตเองกันทั้งหมด สิ่งที่เราต้องทำก็เพียงแค่ไม่ตัดต้นพืชเหล่าทิ้งไป ให้เหลือต้นกล้วยป่า ต้นเต่าร้าง และต้นอื่นๆ เอาไว้ และขยายเมล็ดพันธุ์โดยการหว่านเมล็ดไปตามแนวชายแดนไร่สวนของคุณ หรือปลูกต้นพืชจำพวกนี้ไปตามแนวถนนต่างๆ ที่ช้างป่าเดินออกหาอาหารเป็นประจำ เมื่อไม่มีการยั่วยุกัน และมีการปลูกอาหารที่มีเองตามธรรมชาติเพิ่มให้พวกเขาได้ ช้างป่าก็จะทำความเสียหายให้คุณน้อยลง
8.ปลูกฝังจิตสำนึกที่เป็นมิตรกับช้างป่า (Cultivate an elephant-friendly mindset)
ช้างป่าล้วนมีสิทธิในการดำรงอยู่ เฉกเช่นเดียวกันกับที่พวกเรามี ช้างมีโครงสร้างความคิดที่สลับซับซ้อน มีความจำที่ดีกว่ามนุษย์เรา และดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่จัดการกันอย่างซับซ้อนอีกด้วย จำนวนของช้างป่าเหลืออยู่ไม่มากแล้ว และพวกเขาก็ทุกข์ทรมานมาจากสิ่งที่เราเรียกกันว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงไม่กี่ศตษวรรษที่ผ่านมานี้ จากการคาดการณ์จำนวนแต่เดิมที ที่เคยมีช้างป่าทั้งหมดเป็น 100,000 ตัว เมื่อศตวรรษที่แล้ว ในปัจจุบันนี้กลับเหลือช้างป่าอยู่เพียงจำนวน 2,000-3,000 ตัว ลดจำนวนลงสูงมาก คิดเป็น 97 เปอร์เซ็นต์!
มันคือหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดของบรรพบุรุษยุคล่าสุดของพวกเรา และฟื้นคืนความสัมพันธ์ของพวกเรากับช้างป่าอีกครั้งให้ได้ ช้างป่าล้วนทนทุกข์ทรมานมาอย่างสาหัสเพียงพอแล้ว
No comments.