การสะสมพืชพรรณและความหลากหลายของการเพาะปลูก (Plant Collection and Cultivation of Diversity)
ความหลากหลายคือปณิธานของธรรมชาติ อะไรก็ตามที่หลงเหลือไปจากการถูกรบกวนของมนุษย์ ความหลากหลายก็จะเติบโตงอกงามเพื่อสร้างระบบเวิศที่ยืดหยุ่น ยิ่งระบบนิเวศมีความหลากหลาย มันก็จะยิ่งมั่นคงและมีความยืดหยุ่น กับเรื่องการมีสายพันธุ์พืชและสัตว์หลายต่อหลายสายพันธุ์นั้น
แม้แต่ถ้าสภาวะทางสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป หรืออะไรก็ตามที่คุกคามชีวิต ความหลากหลายจะทำให้มั่นใจได้ว่ามันจะมีบางสายพันธุ์รอดชีวิตอยู่เสมอและจะเป็นสายพันธุ์ที่จะไปเติมต็มช่องว่างที่เหมาะสมที่ถูกละทิ้งไปจากผู้ที่อยู่อาศัยร่วมกันกับพวกเขา แต่แม้กระทั่งหลังจากเหตุไม่สงบอย่าง ภูเขาไปปะทุ หรือ volcano eruptions การปะทะของฝนดาวตก หรือ meteor strikes อุบัติเหตุและการระเบิดทางนิวเคลียร์ ธรรมชาติก็จะตั้งรับมือเพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่นั้นโดยทันทีและสร้างความหลากหลายขึ้นใหม่อีกครั้ง
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมพวกเราจึงสะสมและอนุรักษ์สายพันธุ์พืชให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งนั่นเพื่อปล่อยให้มีสัตว์ต่างๆจำนวนมากมาอาศัยอยู่ที่นี่ด้วยเช่นกัน
พวกเราได้รับแรงกระตุ้นมาจาก เรื่องราวของ Charles M. Peters’ stories เกี่ยวกับชนพื้นเมือง ชาว Kenyah และ ชาว Dayak
พวกขาคือชนพื้นเมืองที่ทำไร่เลื่อนลอย หรือ swiddeners เป็นผู้ที่สร้างสวนป่าที่มีความหลากหลายอย่างมาก ที่สวนป่าแห่งนั้นดูเหมือนผืนป่าธรรมชาติสำหรับคนที่ดูไม่ออก และมันก็ซ่อนเร้นอยู่กับระดับความหลากหลายเดียวกัน
ต้นผลไม้ Fruit trees ในปัจจุบันนี้พวกเราปลูกผลไม้อยู่เป็นสิบกว่าสายพันธุ์ที่มาจากหลายแห่งทั่วโลก ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะยังเป็นต้นเล็กเกินไปที่จะออกลูกออกผลได้แล้ว ต้นผลไม้หายากหรือผลไม้แปลกๆหลายต้นได้มาจากเพื่อนๆคนที่เอาเมล็ดมาให้พวกเราจากประเทศอื่น ต้นผลไม้ต่างถิ่นบางชนิดก็มาจากเพื่อนของพวกเรา คุณ Birdee เขาเป็นคนที่ปลูกผลไม้สารพัดชนิดมาเป็นเวลากว่าสิบๆปีแล้ว นั่นหมายความว่า เขาได้เก็บเกี่ยวผลไม้เยอะแล้ว
พวกเราเชื่อว่าวิถีการกินที่ดีต่อสุขภาพสุดๆก็คือ ถ้าหากอาหารของคุณประกอบไปด้วยอาหารที่แตกต่างกันเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่ว่าร่ายกายของคุณสามารถเลือกของมันเองได้ว่าอะไรบ้างที่มันต้องการ อีกมุมมองทางบวกของการปลูกผลไม้ให้หลากหลายสายพันธุ์ก็คือ เกือบจะตลอดทั้งปี เราก็มีผลไม้บางส่วนออกตามฤดูกาล ต้นซาฟู หรือ Safou Dacryodes edulis (รู้จักกันอีกในชื่อ butterfruit หรือ ลูกเนย) ที่เรียกว่าลูกเนยเพราะว่าเนื้อของลูกซาฟูนี้เนียนละเอียดเหมือนเนยและนำไปทำเป็นเนยผลไม้ได้จริงๆ ต้นซาฟูมีถิ่นกำเนิดในประเทศร้อนชื้นของแอฟริกากลาง แอฟริกาใต้ และแอฟริกาตะวันตก นับตั้งแต่ประเทศกานาไปจนถึงประเทศคองโก ซึ่งเป็นที่มันถูกปลูกรวมไว้ในการทำวนเกษตร หรือ agroforestry และปลูกไว้อย่างกว้างขวางเพื่อให้ความสำคัญในเรื่องของการป้องกันความอดอยากและภาวะขาดสารอาหาร ลูกซาฟูอุมดมไปด้วยหน่วยพลังงานและมีไขมันสูง จึงทำให้ลูกซาฟูนี้มีคุณค่าทางโภชนาการเยอะมาก เนื้อของลูกซาฟูเหมือนครีมและเปรี้ยวเล็กน้อย รสชาติของมันเรียกได้ว่าเป็นรสผสมของลูกอโวคาโด้กับมันฝรั่ง (แต่ล่ะคนอาจจะคิดไม่เหมือนกันมั้ง) หากเอาไปคั้วย่างไฟหรือเอาไปต้มแล้วเนื้อของมันก็จะเป็นเหมือนเนย () แต่มันก็ไม่ใช่เหมือนเนยทั่วๆไปนะ ลูกซาฟูอุดมไปด้วยกรดอะมิโน (สารเคมีที่สร้างตัวเป็นโปรตีน) มีสารเข้มข้นของกรดอะมิโนจำเป็น หรือ essential amino acids เช่น ลิวซีน (Leucine) กระตุ้นการทำงานสมอง เพิ่มพลังให้กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาทแข็งแรง และ ไลซีน (Lysine) ซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สึกหรอ เป็นสารตั้งต้นของแอลคาร์นิทีนที่ช่วยเผาผลาญไขมัน ช่วยให้มีสมาธิ และดูดซึมแคลเซียม จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งทั้งกรดลิวซีนและไลซีนเทียบได้กับการกินไข่และเนื้อสัตว์ จึงจำให้ลูกซาฟูนี้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับชาวมังสวิรัติและชาววีแกน นอกจากนี้แล้ว ลูกซาฟูยังอุดมไปด้วยสารอาหารรองและแร่ธาตุต่างๆสูงอีกด้วย เช่น ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแคลเซียม และธาตุแม็กนีเซียม ไม้ของต้นซาฟูสามารถใช้ทำเป็นด้ามจับต่างๆได้ เช่น ด้ามมีด ด้ามจอบ ด้ามเสียม เป็นต้น และเปลือกไม้มียางเรซินที่เป็นกาวน้ำสำหรับซ่อมแซมภาชนะดินเผา ยางไม้ ใบและราก มีคุณสมบัติเป็นยาหลายอย่างมาก นับไปตั้งแต่รักษาโรคบิด ท้องร่วง ไปจนถึง รักษาอาการปวดตามข้อต่อ ผลไม้ในตระกูลน้อยหน่า หรือ Annona-family (Custard apple family) ต้นน้อยหน่า โรลลิเนีย Rollinia หรือ Rollinia deliciosa ต้นน้อยหน่า โรลลิเนีย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า biriba ซึ่งเป็นชื่อภาษาบราซิล หรือ เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ wild sugar apple ดังนั้น อาจจะเรียกได้อีกชื่อว่า น้อยหน่าบราซิล หรือ biriba Rollinia deliciosa มีถิ่นกำเนิดมากจากประเทศเขตร้อนทวีปอเมริกาใต้ เป็นผลไม้ที่อยู่ในวงค์กระดังงา (Annonaceae) ซึ่งเป็นวงศ์พืชมีดอก ทั้งที่เป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้เลื้อย ลักษณะของต้นโรลลิเนีย : เป็นต้นที่ปลูกง่ายและโตเร็ว ทนต่อน้ำท่วม เป็นต้นผลไม้ที่ชื่นชอบแสงแดด เหมาะสำหรับหรับการปลูกตามที่โล่งแจ้ง ใบต้นน้อยหน่าชนิดนี้ยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร ต้นสามารถสูงได้ถึง 4-15 เมตร ซึ่งสามารถออกลูกได้ภายในเวลา 3 ปี มีลูกทรงกรวยหรือกลมๆคล้ายกับน้อยหน่าทั่วๆไปแต่มีหนามแทงออกมาทั้งลูก แต่หนามไม่แหลมคมเลย ผลสุกของลูกนี้มีรสหวานและกลิ่นหอม เนื้อขาวนุ่มเป็นครีมใช้ช้อนตักกินได้ ผิวเนื้อมีรสชาติเหมือนโยเกิร์ต เปรี้ยวๆหวานๆ อร่อยมาก มีการนำเอาเนื้อไปประกอบอาหารและทำเป็นไวน์ดื่มกันในประเทศบราซิล ไม้ของต้นโรลลิเนียทนทานและเหมาะต่อการใช้ก่อสร้างเรือ ต้นน้อยโหน่ง หรือ Custard apple น้อยโหน่ง มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Annona reticulata ชื่อสามัญอื่นๆเรียกว่า Custard apple หรือ wild sweetsop หรือ bull’s heart (หัวใจของวัวหนุ่ม) ต้นนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีอเมริกาใต้เช่นเดียวกัน จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา สกุลเดียวกันกับน้อยหน่า ต้นน้อยโหน่งเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ดอกคล้ายคลึงกับดอกของน้อยหน่า ใบจะต่างกันเล็กน้อย แต่กลิ่นใบไม่เหมือนกัน ลูกของน้อยโหน่งจะโตกว่าน้อยหน่าพื้นบ้าน มีเปลือกบางและเหนียว ผิวเรียบเกลี้ยงทั้งลูก ผลมีลักษณะคล้ายหัวใจ ต้นสูงได้ประมาณ 4-8 เมตร โตได้ในดินทั่วไปและเป็นต้นไม้พลัดใบที่เติบโตได้เร็ว ยิ่งถ้าหากดูแลดีเป็นพิเศษ ต้นน้อยโหน่งจะทนแล้งได้น้อยกว่าสกุลน้อยหน่าชนิดอื่นและมันชอบสภาพอากาศเปียกชื้น สามารถออกลูกได้ประมาณ 4-5 ปี (ถ้าปลูกจากเมล็ด) เป็นต้นที่ออกลูกดกเต็มต้นถ้าดูแลดีจะได้กินลูกจำนวนเยอะมาก ในประเทศไทยนิยมปลูกต้นน้อยโหน่งสับหว่างกันกับผลไม้ชนิดอื่นด้วย เช่น ต้นมะม่วง มะปราง มะพร้าว เป็นต้น นอกจากนี้ต้นน้อยโหน่งยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย ใบสามารถใช้เป็นยาภายในเพื่อขับพยาทธิ โดยนำไปบดขยี้หรือตำละเอียดใช้เป็นยาพอกแผล รักษษฝีและแผลพุพอง ได้ ในผลดิบและเปลือกไม้มีสารแทนนินสูงมาก (แทนนิน หรือ tannin เป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อน มีสถานะเป็นกรดอ่อนรสฝาด เป็นสารให้ความฝาดในพืช พบได้ในพืชหลายชนิด) ใช้ผลดิบและเปลือกไม้รักษาโรคท้องเสียและท้องร่วงได้ ในกรณีหนักๆ สามารถนำเอาทั้ง ใบ เปลือก ผลดิบ มาต้มรวมกันกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก็จะได้สารสกัดเป็นยาเข้มข้นได้ ส่วนที่แยกออกจากเปลือกรากสามารถเอาใส่บริเวณเหงือกเพื่อลดอาหารปวดฟันได้อีกด้วย ผลไม้สายพันธุ์น้อยหน่า หรือ Annona varieties ในสวนของพวกเรา รวมไปถึง ทุเรียนเทศ (soursop) และน้อยหน่า (sugar apple) (ที่มาจากเขตร้อนทวีปอเมริกา) จะมาอัพเดตรูปภาพกันอีกครั้งเมื่อผลไม้นั้นๆสุกก่อน! ละมุด Sapote คำว่า Sapote คือคำที่ใช้รียกโดยทั่วๆไปของผลไม้คู่หนึ่งที่ไม่ได้เป็นสายพันพธุ์เดียวกัน สายพันธุ์ไม้ผลที่กินได้และมาจากคำของ ชาว Aztec หรือชาวอินเดียแดงในเม็กซิโกตอนกลาง คือคำว่า tzapotl ซึ่งมันเป็นคำในภาษานาวาตล์ หรือ Nahuatl สำหรับผลไม้ทุกชนิดที่มีรสหวานและมีเนื้อเหมือนครีม ละมุดเหลือง หรือ yellow sapote ชื่อวิทยาศาสตร์: Pouteria campechiana จัดอยู่ในวงศ์พิกุล SAPOTACEAE (มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกากลาง) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า canistel เรารู้จักกันในชื่อ ลูกท้อเขมร มากกว่า แต่ก็เรียกแตกต่างกันออกไปอีกหลายชื่อ เช่น ม่อนไข่ ละมุดเขมร ละมุดสวรรค์ เป็นต้น ต้น yellow sapote หรือ ท้อเขมรนี้เป็นหนึ่งในผลไม้ที่แปลกมากที่สุดในสวนของพวกเรา เนื้อของลูกท้อเขมรมีสีเหลืองเข้มเหมือนไข่แดงต้ม มันแปลกแต่ก็น่าสนใจ เพราะเนื้อของมันมีความเหมือนกันเป๊ะๆ รสชาติก็คล้ายๆกับคัสตาร์ดไข่ หรือ ขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากไข่ Black Sapote หรือ chocolate persimmon (ต้นพลับช็อกโกเลต) พลับช็อกโกเลต หรือ black sapote เป็นผลไม้ในตะกูลต้นพลับ ชื่อเรียกวิทยาศาสตร์: Diospyros nigra มีชื่อเรียกสามัญหลายชื่อ อาทิเช่น chocolate pudding fruit ช็อกโกเลตพุดดิ้ง หรือ black soapapple ส่วนเหตุที่เรียกอีกชื่อว่า chocolate persimmon ก็เนื่องมากจากเนื้อของมัน ผลไม้ชนิดนี้มีรสหวานแบบดั้งเดิม หรือ original tzapotl (รสหวานและมีเนื้อเหมือนครีม) มันคือหนึ่งในของมีค่าที่คนชื่นชอบมากที่สุด มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ อเมริกากลาง แต่สามารถนำมาเพาะปลูกได้อย่างงายดายในประเทศไทย เนื้อ สี และรสชาติ ค่อนข้างคล้ายคลึงกับช็อกโกเลตพุดดิ้ง ขณะที่ก็มีบางคนเปรียบเทียบรสชาติของมันกับ นูเทลลา หรือ Nutella (คือเนยถั่วเฮเซลนัต Hazel Nut ผสมโก้โก้บด ใช้ทาขนมปัง ฯลฯ) ลูกดิบมีสีเขียวเหมือนลูกมะเขือเทศดิบ พอลูกสุกงอมเต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ในรุป Black sapote, เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า‘chocolate pudding fruit’ Sapodilla หรือ ละมุด ชื่อวิทยาศาสตร์ Manilkara zapota จัดอยู่ในวงศ์พิกุล SAPOTACEAE ถึงแม้ว่าละมุดเป็นผลไม้ที่รู้จักกันดีในประเทศไทย ผลไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้และอมริกากลาง ด้านในลูกมีสีน้ำตาลอมส้ม เนื้อมีเหมือนเม็ดเล็กๆ (คล้ายกับลูกแพร์) และมันก็มีรสหวานมาก ต้นละมุดสามารถเก็บเอายางสีขาวคล้ายน้ำนมที่ไหลออกจากต้นได้ มันเรียกว่า chicle (ชิค’เคิล) คือสารเหนียวที่ใช้ทำหมากฝรั่ง ซึ่งสามารถทำเป็นหมากฝรั่งเคี้ยวได้ โดยกระบวนการง่ายๆของการต้มยางขาวๆที่เก็บมานั้นจนกระทั่งมันเหนียวได้ที่ ตามประเพณีดั้งดิมแล้ว ชาว Aztecs และชาวมายา Mayas เอามาเคี้ยวกินเพื่อขจัดความโหยหิว ทำให้ลมหายใจสดชื่นและทำความสะอาดฟัน จนกระทั่งได้ผลิตแบบสังเคราะห์ยางธรรมชาติขึ้น หมากฝรั่งแต่ก่อนทำมาจาก chicle หรือสารเหนียวที่ใช้ทำหมากฝรั่งเท่านั้น สายพันธุ์อื่นๆของละมุดที่พวกเราเพาะปลูกกันประกอบไปด้วย ละมุดยักษ์ หรือ Mamey sapote และลูกน้ำนม star apple (Chrysophyllum cainito) ชายา หรือ Chaya (Cnidoscolus aconitifolius เรียกอีกชื่อว่า tree spinach) ชายาคือต้นไม้พุ่มเตี้ยที่โตเร็ว มีถิ่นกำเนิดจากเม็กซิโก ที่ซึ่งมีผักกินใบที่คล้ายกันกับผักขม หรือ spinach เนื่องจากว่าในใบชายาประกอบด้วยสารพิษกรดไฮโดรไซยานิก หรือ hydrocyanic acid มันคือกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ HCN เป็นพิษมาก พบในมันสำปะหลังดิบ ดังนั้นจึงถูกแนะนำ ให้กิบใบดิบได้ไม่เกิดห้าใบต่อวัน หากกินไปในปริมาณมาก จะต้องเอาใบไปต้มให้สุดเพื่อทำลายสารพิษดังกล่าวก่อน ใบอ่อนและยอดลำต้นก้านใบสีเขียวอ่อนนุ่มสามารถนำมาต้มหรือผัดทอดกินเป็นผักที่เอร็ดอร่อยมาก ต้นชายาคือแหล่งอาหารที่ดีของโปรตีน วิตามิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินเอ) แคลเซียม เหล็ก และประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ antioxidants ใบต้นชายามีผลทางการออกฤทธิ์ป้องกันหรือบรรเทาอาการโรคเบาหวาน ใบของชายามีสารอาหารเป็นสองเท่าถึงสามเท่าที่สูงมากกว่าผักใบเขียวชนิดอื่นๆที่เกิดบนดินด้วยกัน องุ่นบราซิล หรือ องุ่นต้น Jabuticaba ชื่อวิทยาศาสตร์: Plinia cauliflora จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) เป็นไม้พุ่มยืนต้นและโตช้ามากๆ มีใบเยอะ ต้นสูงได้ 3-10 เมตร มีกิ่งแตกออกบริเวณโคนลำต้นและแผ่กิ่งก้านออกเป็นพุ่ม เป็นผลไม้ที่นับถือกันในประเทศบราซิล มีการเพาะปลูกเป็นสวนจึงพบได้บ่อยๆตามตลาดในบราซิล บางทีหนึ่งในขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่ที่สุดในสวนของพวกเราก็คือ ต้นองุ่นต้น หรือ Jabuticaba trees ต้นของพวกเราเองยังเป็นต้นเล็ก ดังนั้นมันก็จะใช้เวลาโตอีก 5 ปี จนกว่าที่พวกเราจะสามารถเก็บเกี่ยวผลองุ่นได้ในปริมาณมาก ลูกองุ่นต้นหรือ องุ่นบราซิล มีลักษะณะกลมรี ออกดอกเป็นจุกแน่นตามลำต้นและกิ่งก้าน ดอกเล็กมากๆ แลดูเหมือนดอกชมพู่จิ๋วๆ พอดอกดอกแล้วอีกไม่นานก็จะติดลูกและพอลูกอวบอ้วนเต็บที่ก็จะสุกเปลี่ยนสีจาก ลูกดิบสีเขียวเป็นลูกสุกสีม่วงแดงดำ รสหวานพอดีกิน (เราชอบมากกว่าองุ่นธรรมดา) ลูกสุกสามารถเอาไปทำน้ำผลไม้ดื่ม ทำเหล้า ทำไวน์ แม้แต่ทำแชมเปญกิยังได้ ในบราซิลนิยมกินเป็นผลไม้สดและใช้ทำแยมกินกับขนมปัง ในลูกองุ่นต้นพบสารต้านอนุมูลอิสระ (สารชะลอความแก่และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ) สารต้านอาการอักเสบ และสารต้านโรคมะเร็งด้วย น่าเสียดายที่รูปนี้ ไม่ใช่จากสวนของพวกเรา มันเป็นเพียงรูปที่แสดงให้เห็นว่า ต้นแก่สามารถออกลูกออกผลได้มากถึงเพียงใด องุ่นต้นที่ใหญ่มากที่สุดของพวกเราได้ให้ผลองุ่นปีที่แล้ว และหวังว่าจากนี้ไปจะติดผลเยอะๆในแต่ล่ะปีจนดกเต็มต้นเหมือนรูปด้านบนในที่สุด
No comments.