กินอะไรดี ถ้าอาหารในร้านค้าหมด
มาดูวิธีการเรียบง่าย ใช้ในระดับท้องถิ่น กับเรื่องระบบความยืดหยุ่นทางอาหาร และความมั่นคงทางอาหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(What to Eat when the Stores are Empty – Simple, Localized Approaches to Food Systems Resilience and Food Security in Southeast Asia)
บทความตอนนี้คือฉบับเต็มจากบทความต้นฉบับ ถ้ามีเวลาน้อยคลิกอ่านฉบับย่อได้ที่นี่
ณ สวนฟื้นฟูวิถียั่งยืน เรากำลังเตรียมตัวกันอย่างสำคัญเร่งด่วน เพื่อรับมือกับการเพิ่มขึ้นของความไม่มั่นคงทางสภาพอากาศในทศวรรษที่กำลังจะมาถึงนี้ ในเรื่องสภาพภูมิอากาศทั่วโลกไม่มั่นคงอย่างต่อเนื่อง เรื่องการเพิ่มขึ้นของความเป็นไปได้ต่อการล่มสลายในอีกไม่นานนี้ของระบบสำคัญๆหลายอย่างที่ค้ำจุนอารยธรรมโลกาภิวัตน์อยู่ เราจึงอาจจะได้เห็นการล่มสลายของอารยธรรมเองเร็วกว่าที่คาดไว้ ที่จริงแล้ว การล่มสลาย หรือ Collapse ในลักษณะนี้ได้รับการพิจารณาอย่างเป็นแบบแผนเพิ่มมากยิ่งขึ้นแล้ว และมีความเป็นได้ที่ค่อนข้างสูง ชี้โดยทีมนักวิจัยทั้งหลายและเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ และประเด็นนี้ก็เริ่มที่จะถูกนำมาปรึกษาหารือกันในวงการกระแสหลักแล้ว ประเด็นที่สำคัญเร่งด่วนมากสุด ตอนที่เราพูดถึงระบบล่มสลาย ก็คือ เรื่องอาหาร เนื่องจากคนเราต่างก็อยู่รอดกันได้ถ้าไม่มีไฟฟ้า แต่กลับอยู่ต่อไปไม่ได้ ถ้าไม่มีอาหาร!
ในบทความชุดนี้จะแบ่งออกเป็นหลายบทตอน เราจะพาไปสำรวจวิธีการและกลยุทธ์ต่างๆที่เราได้ทำการทดลองดูแล้วในสวนผสมถาวรของเรา ซึ่งได้แก่ แนวคิด แผนการ เทคนิคและการฝึกปฏิบัติต่างๆที่มีศักยภาพสูงเพื่อเพิ่มพูน ความมั่นคงทางอาหาร หรือ food security ได้ทั่วทั้งภูมิภาค หากมีการนำเอาไปปรับใช้กันอย่างกว้างขวางมากพอ (และทำร่วมกันไปกับการปรับปรุงขึ้นใหม่อย่างรุนแรง อาทิเช่น ลดการเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic degrowth) การปรับวิธีใช้ที่ดิน (land reform) การอพยพออกจากเมือง (urban exodus) การทำให้ “การพัฒนาที่ดิน หรือ land development” ยุติลง การนำวิธีการฟื้นฟูธรรมชาติ (rewilding) ไปปรับใช้กันอย่างกว้างขวาง และลดการบริโภคทุกประเภทลงอย่างสุดขีด)
จุดมุ่งหมายของพวกเราก็คือ เพื่อจัดทำให้มีบทสรุปสำคัญๆอย่างครอบคลุม ถึงความท้าทายต่างๆที่เราจะเผชิญกันในทศวรรษที่กำลังจะมาถึงนี้ และยังจัดเตรียมให้มีทางออกของปัญหาเและแนวทางในการปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเหลือให้เรารับมือกับช่วงแห่งความโกลาหลวุ่นวายในอนาคตได้ ปัญหาหลักๆที่เรามีกับ “ผลรายงานอย่างเป็นทางการ” ขององค์กรไม่แสวงผลกำไรต่างๆ หรือ จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ หรือ climate change และความเสี่ยงอื่นๆในอนาคต ก็คือรายงานเหล่านั้นประกอบไปด้วยวิธีกการแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิบัติไว้น้อยมาก (โดยเฉพาะเรื่องของ ความมั่นคงทางอาหาร) และบ่อยครั้งก็รายงานไว้ในแบบที่ระมัดระวังจนเกินไป เพื่อไม่ทำให้ขัดแย้งกับความรู้สึกที่ว่าตนปลอดภัยกว่าคนอื่นของกลุ่มผู้บริจาค และกลุ่มรัฐบาลต่างๆที่สนับสนุนองค์กรเหล่านี้อยู่ ในทางกลับกัน ตามบทรายงานต่างๆของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ไม่ได้มุ่งนำเสนอวิธีกการเชิงปฏิบัติใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ความมั่นคงทางอาหาร อาทิเช่น แนะนำวิธีการทำสวน จัดทำการสอนเกี่ยวกับการปลูกพืชสวนในชั้นเรียน ออกหนังสือคู่มือทำสวนที่มักจะขาดเทคนิคการทำสวนในแบบต่างๆ (และหลักการผลิตอาหารโดยทั่วไป) หรือ ถ้ามีการอ้างถึงไว้ในรายงาน ก็มักจะกล่าวถึงในแบบที่ไม่รุนแรงเท่ากับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นอยู่ เช่นเดียวกับรายงานที่กล่าวถึงเรื่อง สังคมล่มสลาย (societal collapse) โดยส่วนใหญ่ บทความของเราจึงพยายามที่จะรวมเอาทั้งสองประเด็นเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจน ได้แก่ เรื่องวิธีการเพาะปลูกอาหาร ที่เป็นผลมาจากภัยคุกคามการล่มสลายของระบบต่างๆที่รุมเล้าเข้ามา และจากเรื่องสภาพภูมิอากาศที่อยู่เหนือการควบคุมไปแล้ว
เราขอชี้แจงไว้ก่อนว่าบทความเรียงฉบับนี้เป็นแค่เพียง แนวคิดให้เกิดแรงบันดาลใจเท่านั้น เป็นแค่การเปิดประเด็นให้ได้เริ่มต้นพูดคุยกัน ไม่ใช่เป็นแผนกลยุทธ์ที่แน่นอนเด็ดขาดแต่อย่างใด เรื่องราวส่วนใหญ่ที่เรานำเสนอคงจะเป็นเรื่องที่คุณไม่เคยรับรู้มาก่อน ทั้งทางปัญหาต่างๆและการหาทางออกอย่างตรงจุด การเปลี่ยนแปลงขั้นรุนแรงครั้งใหญ่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทั้งในด้านสังคม การเมือง และวัฒนธรรม เพื่อที่จะปรับตัวต่อโลกที่กำลังเปลี่ยนไป หลายๆคนคงจะมองว่ารายงานฉบันนี้ “รุนแรงเกินไป” เพราะคุณมองข้ามไปว่าปัญหาหนักๆ มันต่างก็ต้องการมีทางออกที่รุนแรงด้วย ด้วยผลงานวิจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศมาเป็นหลายทศวรรษ และด้วยการเตือนภัยอย่างน่าเศร้าที่กำลังเพิ่มมากขึ้นจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ จะเป็นได้เพียงแค่ความล้มเหลวครั้งสำคัญในเรื่องการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือในเรื่องความพยายามอย่างแพร่หลายด้านอื่นๆ เพื่อจะทำให้ปัญหาขั้นวิกฤติต่างๆที่กำลังปรากฏตัวขึ้นลดความรุนแรงลง เช่น นักการเมืองยอมรับอย่างไม่ลังเลใจกับแผนการรับมือทางสภาพอากาศที่จะเริ่มต้นขึ้นได้ในทศวรษหน้า แต่กลับไม่อยากจะทำแก้ไขรับมือกับมันในช่วงที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่ในห้องทำงาน บรรดาภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่ทรงอำนาจทั้งหมดก็มัวยุ่งอยู่กับเรื่องมุ่งทำผลกำไรส่วนตนมากเกินไป ที่จะให้ความสนใจกับเรื่องที่จะเกิดขึ้นในไตรมาสข้างหน้า เรื่องสุดท้ายที่อุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ต้องการก็คือ เข้าครอบครองส่วนแบ่งทางการผลิตอาหารเพียงผู้เดียว และเรื่องการใช้คำศัพท์ อย่างเช่น “การกระจายอำนาจ decentralization” “ระดับท้องถิ่น local” “ปลอดสารเคมีพิษ organic” กลับเป็นเหมือนคำสาปแช่งสำหรับพวกเขา เราไม่สามารถไว้วางใจให้กลุ่มรัฐบาล กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ หรือกลุ่มคนจากภาคเกษตรกรรมมาช่วยเหลือเราได้เลย ดังนั้น เราจึงต้องคิดหาคำตอบให้กับตัวเราเอง
ในส่วนของตอนบทนำ หรือ Introduction เราจะอธิบายให้คุณเกี่ยวกับ แนวคิดพื้นฐานของขอบข่ายงาน การอธิบายโดยสรุปย่อของสถานการณ์ที่เราได้เรียนรู้มาและที่เราปฏิบัติกันอยู่แล้ว รวมถึงอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และการคาดการณ์ในอนาคตอีกด้วย เมื่อคุณอ่านบทนำผ่านไปได้ (ซึ่งค่อนข้างเป็นเชิงเทคนิคและจืดชืด) คุณก็จะได้พบกับวิธีการเชิงปฏิบัติกันมากขึ้น ที่จริงแล้ว บางบทตอนของงานเขียนชิ้นนี้จะอ่านได้เป็นเหมือนเป็นตำราปรุงอาหารเลยทีเดียว! อันดับแรกเลย เราจะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง อาหารหลักประเภทต่างๆ (staple foods) ที่ได้มาจากวิถีการบริโภคอาหารของเราเอง และเป็นจานหลักของอาหารแต่ละมื้อ (ขอบอกเป็นนัยไว้ว่า เราจำเป็นต้องมองในเชิงที่มากไปกว่าอาหารประเภทข้าว) และจะมั่นใจได้อย่างไรถึงการได้รับสารอาหารโดยทั่วไปอย่างเหมาะสม เราจะอธิบายถึงเทคนิคพื้นฐานเชิงปฏิบัติบางส่วน เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนระบบอาหารให้เข้ากับสภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนไป และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นตามธรรมชาติของระบบอาหารขึ้นด้วย เราจะพาไปสำรวจถึงหัวใจสำคัญของกรอบแนวคิดนี้ อาทิเช่น เรื่องความหลากหลาย (diversity) พลังงานและการใช้สอยทรัพยากร (energy and resource usage) ลดการเติบโต (de-growth) และการอนุรักษ์ (conservation) เราจะพูดคุยพาดพิงถึงเรื่องนโยบายต่างๆที่ใช้งานได้อีกด้วย ซึ่งมันจะช่วยทำให้มีความมั่นคงทางอาหารสูงขึ้น (และส่งผลประโยชน์อื่นๆในอีกหลายด้าน)
ถึงอย่างไร เราก็จะกลับมาที่ประเด็นสำคัญที่เรามุ่งมั่นตั้งใจทำอยู่อีกครั้ง นั่นก็คือเรื่อง ความมั่นคงทางอาหาร food security และจะได้เห็นว่ามันเกี่ยวข้องกันทั้งหมดยังไง ตามคำกล่าวที่ว่า we are what we eat หรือ เราเป็นสิ่งที่เรากิน ซึ่งเป้าหมายของคำกล่าวนี้ก็คือ อยากจะให้ผู้คนในสังคมมีแนวคิดและมีวิธีเพาะปลูกอาหารเลี้ยงชีพให้หลากหลายยิ่งขึ้น คำกล่าวนี้เปรียบเทียบถึงว่า ถ้าเรากินอะไร เราก็จะเป็นเหมือนสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าคนส่วนใหญ่กินเพียงข้าวเป็นหลัก คนในสังคมก็จะเป็นเหมือนนาข้าว (คือไม่มีความหลากหลาย ไม่ต่างกัน และดูเหมือนกันหมด) แต่ถ้าเรากินอาหารได้หลากหลายมากกว่า เช่น ถ้าเราได้กินอาหารจากสวนป่าอาหาร (ซึ่งมีของกินหลากหลายมากกว่า คือมีพืชผักผลไม้นานาชนิด มีพืชกินหัว อย่าง มันพื้นบ้านและมันป่าหลายสิบชนิด มีสัตว์ป่า มีเห็ด และมีแมลงต่างๆที่กินได้) ตัวเราเองจะกลายเป็นคนที่มีความหลากหลายทั้งในด้านความคิดและวิถีการเลี้ยงชีพของตนได้มากขึ้นนั่นเอง
สารบัญ (Contents)
- ตอน Zero: บทนำ – ปัญหาคืออะไร? (What’s the Problem?)
- ตอนที่ 1: การทำสวนป่าอาหาร – เราเรียนรู้อะไรจากธรรมชาติได้บ้าง (Creating a Food Jungle – What Nature can teach us)
- ตอนที่ 2: ความหลากหลายของอาหารหลัก – ขนุน และผลไม้ตระกูลขนุน (Jackfruit and Artocarpus spp.)
- ตอนที่ 3: ความหลากหลายของอาหารหลัก – มันห้านาที มันเทศและหัวมันป่าหลายชนิด (Cassava, yams and various wild tubers)
- ตอนที่ 4: ความหลากหลายของอาหารหลัก – กล้วย (Bananas)
- ตอนที่ 5: ความหลากหลายทางอาหาร – แหล่งของโปรตีน (Protein sources)
- ตอนที่ 6: ความหลากหลายทางอาหาร – ความสำคัญของพืชพรรณป่า (The importance of wild plants)
- ตอนที่ 7: การปรับปรุงดิน – ความสามารถในการกักเก็บน้ำในดิน (Water retention capacity)
- ตอนที่ 8: การปรับปรุงดิน – ชีวมวล หรือแหล่งกักเก็บพลังงาน และคาร์บอนในดิน (Biomass and soil carbon)
- ตอนที่ 9: การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม – จากทัศนะที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง ไปเป็นทัศนะที่ยึดเอาธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง (Anthropocentrism to Biocentrism)
- ตอนที่ 10: การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม – ลดการเติบโต แทนที่การพัฒนาและความก้าวหน้า (Degrowth instead of Progress & Development)
- ตอนที่ 11: ข้อเสนอแนะทางนโยบาย – การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างสุดขีด (Radically reduce emissions)
- ตอนที่ 12: ข้อเสนอแนะทางนโยบาย – พักหนี้ หรือ ลบหนี้ของกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (Freeze or erase student loan debts)
- ตอนที่ 13: ข้อเสนอแนะทางนโยบาย – การปฏิรูปการใช้ที่ดิน (Land reform)
คุณชอบบทความชิ้นนี้ไหม? ถ้าบทความแนว “มุ่งอธิบายแนวคิดเป็นองค์รวม” มีประโยชน์ต่อคุณอยู่บ้าง สามารถร่วมสนับสนุนงานเขียนของเราได้ ผ่านการส่งปัจจัยบริจาค (ตามคุณค่าที่คุณได้รับ) งานเขียนแนวนี้เกิดขึ้นมาจากความตั้งใจที่เรามุ่งสร้างความเข้าใจใหม่ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นให้กับผู้คนในสังคม ด้วยการสละเวลาส่วนตนของเราเองเพื่อเป็นกระบอกเสียงในแบบที่แตกต่างไปจากมุมมองเดิมในอดีต ติดต่อส่งความคิดเห็น หรือ อยากวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนได้โดยตรงที่อีเมล์ [email protected] หรือต้องการส่งปัจจัยบริจาคให้กับโครงการอิสระของเรา โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ สวนฟื้นฟูวิถียั่งยืน ได้โดยสแกนคิวอาร์โคดด้านล่างนี้ โครงงานของเรายังอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งไม่มีรายได้เป็นประจำ เราขอขอบคุณทุกท่านมากยิ่งที่สนับสนุนผลงานของเรา ทุกการบริจาคถือเป็นแรงผลักดันให้เราได้ศึกษาค้นคว้างานวิจัย เขียนบทความ แปลงาน และแบ่งปันความรู้ในแบบองค์รวมให้กับผู้คนในสังคมสืบต่อไป!
No comments.