เรากินอาหารแบบไหน​

เรากินอาหารแบบไหน​

อาหารคือชีวิต! ความหมายตามตัวอักษร​ก็คือสิ่งที่ร่างกายของเราเป็น มันคือความเกี่ยวข้องโดยตรงระหว่างตัวเราและสิ่งแวดล้อม​ มันคือไฟแห่งชีวิต​ พลังงานที่ขับเคลื่อนมาจากพืชและสัตว์​ต่างๆมาสู่ตัวเราและพลังงานดังกล่าวก็กลับสู่พืชและสัตว์​ต่างๆ​ มันเป็นธาตุอาหารและแร่ธาตุ​ต่างๆที่ถูกหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลานับตั้งแต่ช่วงแรกเริ่ม​ของวัฏจักร​ชีวิต อาหารคือทุกอย่างและทุกอย่างก็คืออาหาร​ (Food is everything and everything is food)

พวกเราพยายามกินอาหารที่มีในสวนให้มากสุดเท่าที่จะเป็นไปได้​ ตอนนี้พวกเรายังต้องซื้อเฉพาะ​บางอย่างที่เรายังไม่สามารถ​ปลูกเองได้หรือสิ่งที่เรายังผลิตเองไม่ได้​ อาทิเช่น​ กระเทียมใหญ่​ หอมหัวแดง​ น้ำตาลมะพร้าว​ ซอสซีอิ้ว​ ซอสน้ำมันหอย​ และปลาร้า​ (เอะทำไมยังไม่มีปลาร้า? ก็เพราะว่า​ยังไม่มีปลาพอสำหรับทำปลาร้าเองรอให้มีปลาในบ่อน้ำมีเยอะอีกสักหน่อยจะลองทำดู)​

พวกเราแลกเปลี่ยนข้าวสาร​กับครอบครัวของ​ กานต์​และเรากินมัน​ 5 นาที​ (ซึ่งเป็นมันสำปะหลังชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย​ ปลูกง่ายโตเร็วไม่ต้องการดินดีเท่าไหร่​ ไม่ต้องดูแลเท่าไหร่ก็ได้กินอิ่มแล้ว)​ เมื่อเวลาเรารู้สึกไม่อยากกินข้าวหรือข้าวสารหมดเราก็จะกินมัน​ห้านาทีแทนข้าวอิ่มมากเหมือนกัน!

พวกเราจะกินอาหารป่า​ (กล่าวคือกินพืชผักป่าหรือสัตว์ป่า)​ ให้เยอะมากเท่าที่จะเป็นไปได้​ และไม่กินคาร์โบไฮเดรต​มากจนเกินไป​ (ซึ่งมันจะง่ายมากกว่าเมื่อตอนที่เรามีกล้วยเยอะๆเหมือนที่สวนเดิม)​ และเรากินผลไม้ดิบ​ (ผลไม้สุกก็กิน)​ และกินพืชผักสดเยอะเช่นกัน​ โดยจะกินร่วมกันกับทุกมื้ออาหาร​เรากินผักกินใบหลายชนิด​ส่วนมากจะเป็นผักป่าที่เกิดเอง​ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและกินแทนผักเมนูสลัด​ (คืออาหารที่มีผักสดหลายชนิดผสมกันและราดน้ำส้มสายชูที่หมักเองด้วยวิธีธรรมชาติ​จากผลไม้ตามฤดูไว้รับประทานร่วมกัน​ น้ำส้มสายชูจาก​ ลองกองและมังคุดอร่อยมากๆ)​

เรากินอาหารมังสวิรัติ​เกือบจะทุกวันและเพียงแค่บางครั้งเช่นถ้าเราอยากตกปลา​หรือล่าสัตว์​ ในโอกาสพิเศษ​และช่วงฤดูที่มีแมลงเราก็กินเนื้อสัตว์​ด้วย

เกลือ​ (Salt)  ​ เราใช้เกลือน้อยมาก เนื่องจากผลกระทบ​ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ​ (ตัวอย่างเช่น​ เป็นสาเหตุ​ให้เกิดโรคความดันโลหิต​สูง​ ​(hypertension)​ โรคอ้วน​ (obesity)​ โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด​ (cardiovascular)​ และโรคไต​ (kidney diseases) โรคต่างๆนี้ต่างก็ถูกประเมิน​ค่าต่ำไป​ หรือคาดไม่ถึงด้วยซ้ำว่ามันมาจากการบริโภค​เกลือเกินความจำเป็นต่อร่างกาย! ถ้าคุณสั่งอาหารเย็นเป็นประจำ​ โดยเฉลี่ย​ของร้านอาหารในเมืองลอสแองเจลิส (Los Angeles) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา​ คุณจะได้กินเกลือเยอะมากเท่ากับชนเผ่าป่าชาว​ Yanomami​ ที่กินตลอดทั้งปีโดยเฉลี่ย! สิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามนุษย์​ไม่ต้องการบริโภค​เกลือเป็นจำนวนมากและความต้องการที่จะปรุงแต่งอาหารด้วยเกลือด้วยจำนวนอันน้อยนิดเราก็สามารถ​หามาได้จากอาหารป่า​ พวกเราทำการทดลองทำเกลือจากพืช​ เช่นการเผารากหรือเผาเปลือกต้นไม้และใช้ผงขี้เถ้า​ที่ได้ใช้เป็นเกลือแทน เนื่องจากว่าเกลือในรูปแบบเช่นนี้นั้นมีประโยชน์​ไม่เป็นอันตราย​ต่อสุขภาพ​ของคุณ​ เกลือที่ทำจากเศษพืชมีส่วนประกอบหลักคือโพแทสเซียม​ (ส่วนมากเป็น​ KCl -​โพแทสเซียม​คลอไรด์ ) ไม่ใช่เกลือโซเดียม​ที่เป็นโซเดียมคลอไรด์​(NaCl) หรือเกลือแกงเหมือนอุตสาหกรรม​เกลือ​ เกลือที่ได้จากพืชผัก​ยังมีส่วนประกอบของแร่ธาตุ​อาหาร ปริมาณ​น้อยซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการเผาผลาญ​อาหารของร่างกายเรา​นั่นเอง​ นี่คือวิธีการทำเกลือแบบธรรมชาติ​ถ้าคุณไม่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งทะเล​ กลุ่มคนป่าทั่วโลกใช้ผงขี้เถ้าของพืชบางชนิด​ (เช่น​ ต้นนุ่น​ ต้นมะละกอ​ ต้นข้าวโพด​ และอื่นๆ)​ ใช้แทนเป็นเกลือเพื่อปรุงรสอาหารหรือใช้สำหรับจิ้มกินกับอาหาร

น้ำตาล​ (Sugar)  มันอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมาอธิบายว่าทำไมพวกเราถึงไม่ใช้น้ำตาลทรายขาว​ (refined sugar) ณ​ ตอนนี้ต่างก็เป็นสิ่งที่เข้าใจร่วมกันว่าน้ำตาลคือเป็นสิ่งที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย​ แต่ลืมคิดไปว่ามันอันตราย​มากที่สุด​ (ในกรณีของสัดส่วนที่ซับซ้อนมันส่งผลให้น้ำตาลเป็นสารเสพติด​ทั่วโลก)​ สวนเราใช้น้ำตาลก็ต่อเมื่อเราทำใช้เป็นส่วนผสมของผลไม้กวนหรือแยมและไวน์​ เราใช้น้ำตาลปีบที่ทำจากมะพร้าวหรือลูกตาล​ (ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ทำมาจากการต้มคั้นเอาน้ำหวานออกจากดอกไม้ของพืชตระกูลปาล์ม​ชนิดต่างๆ)​ และใช้ในปริมาณที่พอเหมาะเสมอ​ นอกจากการใช้น้ำตาลปีบแล้วเราจะใช้หญ้าหวาน​ (Stevia rebaudiana) ที่เราปลูกเองในสวนเพื่อใช้ผสมรสหวานในเครื่องดื่ม​เช่น​ ต้มผสมในกาแฟและน้ำชา​ เนื่องจากหญ้าหวานไม่ส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อฟัน​ น้ำหนัก​ ระบบภูมิคุ้มกัน​หรือระดับน้ำตาลในเลือด​ ฉะนั้นคนที่ควบคุมน้ำหนักอยู่หรือคนที่ดูแลสุขภาพ​รวมถึงคนที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งกินน้ำตาลไม่ได้แต่หญ้าหวานคือทางเลือกที่ดีที่สุด​ หวานแบบธรรมชาติ​และหายห่วงเรื่องผลกระทบ​ที่จะตามมาได้เลย ทั้งปลูกง่าย​ โตเร็ว​ ใช้ดี​ ใช้สะดวก​ อร่อยมากด้วย!

พวกเราทำให้มั่นใจได้ว่าอาหารที่เรากินส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้​ นั่นหมายถึงการหลีกเลี่ยง​การใช้วัตถุดิบ​ที่หาไม่ได้ตามท้องถิ่น​หรือที่หาไม่ได้จากในสวน “เราออกเก็บหาอาหารด้วยความตระหนัก​รู้​ (คือเราเอาใจใส่และระวังเสมอว่าเราไม่เก็บเยอะจนเกินไป)​” เราเก็บเกี่ยวและกินพืชผักและผลไม้ต่างๆตามฤดูกาลเท่านั้น!

ตัวอย่างอาหารบางส่วนที่พวกเราชื่นชอบและรับประทาน​กัน:  รูปภาพเมนูอาหารที่เรากินจะเอามาอัพเดต​กันเรื่อยๆ!! 

 

ซุปหน่อไม้​ (Soop nor Mai)  ถือเป็นอาหารเมนูหนึ่งที่เป็นอาหารที่กินได้อย่างยั่งยืนมากที่สุดในประเทศเขตร้อนก็คือ​ หน่อไม้​ สวนเรามีไม้ไผ่เยอะ​ ดังนั้น​ ตอนที่เป็นฤดูเก็บเกี่ยว​หน่อไม้เราก็จะกินเมนูนี้แบบวันเว้นวันกันเลยทีเดียว​ และก็ไม่เคยเบื่อกันเลยเชียว เมนูซุปหน่อไม้เป็นอาหารพื้นบ้านของภาคอีสานถือเป็นเมนูที่ขาดไม่ได้เลย หน่อไม้สามารถ​ทำอาหารได้หลากหลายเมนู​ เช่น​ แกงหน่อไม้​ (แกงใส่น้ำยานางและไข่มดแดงจะแซ่บมากๆ)​ ต้มหรือลวกหน่อไม้กินกับน้ำพริก​ ผัดเผ็ดหน่อไม้​ ทำเป็นหน่อไม้ดองไว้สำหรับทำแกงส้มหน่อไม้​ และอื่นๆอีกมากมายแล้วแต่ความชอบของแต่ล่ะคน​ สำหรับวิธีการทำอาหารกับหน่อไม้คาดว่าทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีหรือถ้าไม่รู้จักก็จะมีวิธีการทำหรือขั้นตอนการทำอาหารกับหน่อไม้ก็มีกรรมวิธีสำหรับการประกอบเมนูอาหารอย่างหลากหลาย​ ถ้าจะให้อธิบายถึงสูตรลับของสวนฟื้นฟู​ฯคงจะยาวเกินไปเพราะว่าจะเป็นวิธีทำแบบดั้งเดิมสูตรลับมาจากครอบครัวเรา​ แต่คุณสามารถ​ทำอะไรก็ได้กับหน่อไม้แล้วแต่ความชอบ​ส่วนตัว!

 

แกงอ่อมปลาไหล​ (Gaeng om plaa laai)  เมนูที่แปลกประหลาด​อย่างน่าทึ่งนี้คือเมนูที่เรากินค่อนข้างบ่อยตอนที่เราจับปลาไหลได้จากบ่อน้ำของเรา​ เดฟ​ คิดว่ามันคือปลาที่อร่อยมากที่สุดในโลก!!! และปลาไหลมันกินง่ายซะเหลือเกินเนื่องจากปลาไหลไม่มีก้างเลยมีแค่กระดูกสันหลัง​ อ่อมปลาไหลก็เป็นอาหารอีสานอีกเมนูหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าพ่อครัวซะส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าทำไมแต่แม่ครัวจะไม่ค่อยชอบเท่าไหร่อาจจะเป็นเพราะว่า​กลิ่นคาวที่แรงมาก​ แต่ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการทำ​ ถ้าใส่เครื่องเทศดับกลิ่นคาวลงไปมันก็เป็นปลาที่อร่อยดีจริงๆ​ นอกจากนำเอาปลาไหลมาทำแกงอ่อมแล้วก็ยังสามารถ​นำไปประกอบอาหารเมนูอื่นๆได้อย่างหลากหลายเช่นกัน​ อาทิเช่น​ ผัดเผ็ดปลาไหล​ ต้มยำต้มแซ่บปลาไหล​ น้ำพริกปลาไหล​ ปิ้งย่างปลาไหล​ หมกปลาไหลใส่หน่อไม้ก็ยังได้อีก เป็นต้น​ ทั้งนี้ปลาไหลยังถือเป็นปลาชนิดเดียวที่จับยากมากที่สุดอย่างสมชื่อเพราะตัวมันลื่นมากจับยังไงก็จับไม่อยู่ต้องเชี่ยวชาญ​และรู้วิธีจริงๆถึงจะจับอยู่​ ส่วนวิธีการหาก็เหมือนกันกับปลาชนิดอื่นๆ​ ตกเบ็ดแต่ต้องเบ็ดสั้นที่คันเบ็ตทำจากไม้ไผ่แบบบ้านๆก็ใช้ได้แล้วเหยื่อก็จะเป็นไส้เดือนหรือด้วงขาว​ หรือบางพื้นที่เขาก็จะมีวิธีแบบอื่นๆแล้วแต่ใครจะมีวิธีการใด​ เมนูแกงอ่อมปลาไหลถ้าอยากให้อร่อยๆแบบอีสานแท้ๆต้องแกงใส่ผักขมหรือยอดมะระขี้นกเยอะๆให้มีรสขมสักหน่อยก็จะอร่อยมากยิ่งขึ้น!

 

แกงอ่อมนก​ (Gaeng om nok)  เมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้นกตัวเล็กหรือตัวกำลังเป็นหนุ่มมาเราก็จะนำมาทำแกงอ่อมนก​ เมนูเด็ดของสวนฟื้นฟูฯ​ อาหารอีสานจานโปรดของเราและคาดว่าคงเป็นอาหารจานโปรดของอีกหลายๆคน​เช่นกัน เนื่องจากว่าความกลมกล่อม​ของเนื้อนกและเครื่องเทศที่มีรสชาติ​จัดจ้านร่วมกันกับผักชีลาวหรือหัวหอมแดงที่ใส่เข้าไปเข้ากันดีจริงๆ​ กินแกงอ่อมนำกับข้าวเหนียว​นึ่งร้อนๆ​ แซ่บอิหลีเด้อ! นกยังสามารถ​ทำอาหารได้อีกหลายอย่างตามแต่ถนัดกันเลยทีเดียว​ ที่สวนเราส่วนมากถ้าไม่ทำแกงอ่อมก็จะเป็นปิ้งย่างและทำเมนูลาบซะส่วนใหญ่!

 

ซุปขนุน​ (Soop khanun)  อาหารพื้นบ้านอีสานอีกเมนูหนึ่ง​ เมนูที่แสนอร่อยเมนูนี้ทำให้พวกเรากินอิ่มจนเกินไปครั้งแล้วครั้งเล่า​ เมนูซุปต่างๆเครื่องปรุงหลักๆที่ข่ดไม่ได้เลยก็คือพริกป่น​ ข้าวขั้วและผักหอมต่างๆ​ เมนูซุบขนุน​นี้ก็เช่นกัน​ ทำจากขนุนดิบที่ยังไม่แก่เกินไป​ ต้มให้สุกพอดีไม่ถึงเหละหรือเปื่อย​จนเกินไป​ ตำเนื้อที่ต้มสุกแล้วให้เข้ากันดี​ในครก และต้มน้ำปลาร้าเพื่อใส่เป็นน้ำพริกและตำผสมกับเนื้อขนุนที่ตำไส้แล้วใส่ผักหอมต่างๆลงไปแต่เมนูนี้จะขาดผักสะระแหน่​ไม่ได้เลยเพราะถ้าไม่ใส่มันจะไม่หอมเท่าไหร่​ จะเน้นรสชาติ​เผ็ดและนัวๆเข้าไว้เพราะเนื้อขนุนจะดูดเอาน้ำพริกปลาที่ตำไว้ไปจนหมดเหลือรสชาติ​จืดๆถ้าปรุงเครื่องไม่เข้มมากพอ​แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเนื้อขนุนมีเยอะหรือไม่​ ซุปขนุนกินด้วยกันกับข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆและผักสดต่างๆได้อย่างเอร็ดอร่อย​!

 

แกงเห็ดป่า​ (Gaeng het paa)  ในฤดูเก็บเห็ด​ แกงเห็ดป่าคือ​เมนูโปรดของเรา​ หลายคนคงจะรู้จักชื่อเห็ดป่ากันดี​ ที่เรารู้จักและเคยไปเก็บตอนเป็นเด็กจนกระทั่ง​ตอนนี้ก็ยังหาโอกาสไปเก็บเห็ดในป่าอยู่เลย​ ชอบมากกินแกงเห็ดป่า​ ที่รู้จักดีก็จะเป็​นเห็ดเผ่งหวาน​ เห็ดแดง​ เห็ดเผ่งแดง​ เห็ดน้ำหมาก​ เห็ดถ่าน​ เห็ดไค  เห็ดหน้างัว​ เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก็จะมีหลายชนิด​ เห็ดระโงก​ เห็ดเผาะ​ ในแก่งเห็ดป่านี้ก็จะมีเห็ดเหล่านี้อยู่ด้วย​ เห็ดป่านานาชนิดนี้ยังสามารถ​นำไปต้มหรือนึ่งและตำเป็นน้ำพริกเห็ดได้อีกด้วยหรือเอาไปทำเป็นเมนูซุปเห็ดป่าก็ย่อมได้​ สำหรับวิธีการทำแกงเห็ดป่าก็จะเหมือนกับแกงเห็นเลี้ยงแต่จะต้องต้มนานกว่าเพื่อให้แน่ใจว่ามันสุกดีจริงๆบางคนถ้าธาตุของร่างกายไม่แข็งแรงอาจจะแพ้เห็ดป่าได้ถ้าต้มไม่สุกดี​ ใส่ยอดผักชะอมและยอดแมงลัก​เพื่อเติมกลิ่นหอมอันกลมกล่อม​เข้าไปก็อร่อยจนวางมือไม่ลงแล้วล่ะ!  (คลิกที่นี่รายชื่อเห็ดป่าที่กินได้)

แกงส้มป่า​ (Gaeng som paa)  เมนูแกงส้มเป็นอาหารไทยโดยทั่วไปและแกงส้มในแบบของเราคือแกงส้มป่าเนื่องจากว่าเราใข้วัตถุดิบ​ที่หาได้จากป่าและวิธีการทำก็จะเป็นแบบพื้นบ้าน​ เช่น​ แกงส้มปลาใส่ใบชะม่วง​ แกงส้มหยวกกล้วยใส่ใบมะขามหรือมะขามเปียก​ แกงส้มต้นตะเกียบ​ที่เราพึ่งจะได้รู้จักตอนที่ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี!

 

ตำน้ำพริกแมงคาม​ (Nam Prik Maeng Khaam)  ในฤดูแมงคามเราก็จะกินน้ำพริกแมงคามบ่อยมากและกินกับผักสดที่เรามีในสวนหรือผักป่าที่หาได้ตามชายป่าชายเขาข้างๆสวนของเรา​ เมนูนี้ก็เป็นอาหารอีสานอีกเช่นกัน​ คนอีสานจะรู้จักกันดี​ กินอร่อยมาก  รสชาติ​ดี​ ถ้าไม่ตำน้ำพริกก็แค่ขั้วใส่เกลือนิดหน่อยและกินเล่นกับข้าวเหนียว​ เนื่องจากเป็นอาหารอีหารพื้นบ้านแต่ล่ะท้องถิ่นก็จะมีวีธีทำแตกต่างกันออกไป​ แต่ที่สวนเราก็จะใช้สูตร​เด็ดที่เรียนมาจากครอบครัว​อีกแล้ว​ เคยทำมาอย่างไรเราก็จะปรุงอาหารแบบที่เรารู้จัก​ จะขออธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับขั้นตอนการทำอาหารเมนูนี้สักหน่อย​ ถือได้ว่าเป็นเมนูที่หายากไม่มีในร้านอาหารนะถ้าที่บ้านคุณมีแมงคามห้ามพลาดเลยเชียว!

ขั้นตอนแรก​: ไปเก็บแมงคามก่อนตอนเช้าๆแมงคามก็จะเกาะอยู่ตามใบไม้ของต้นไม้ที่มันชอบกินที่สวนเราที่นี่มันชอบกินใบต้นมะไฟและใบถั่วพร้า​ ที่อีสานถ้าจำไม่ผิดมันจะชอบกินใบต้นคอม​ (ชื่ออีสานชื่อภาษากลางยังไม่ทราบ)​

ขั้นตอนที่สอง: เก็บแมงคามใส่ถังแช่น้ำไว้สักสองสามชั่วโมงให้มันถ่ายมูลออกจะได้ไม่ขมเท่าไหร่จากรสชาติ​ใบไม้ที่มันกิน

ขั้นตอนที่สาม: เอาออกจากถังล้างน้ำอีกสักครั้งและเตรียมกะทะใส่ไฟไว้ใส่น้ำเล็กน้อยพอน้ำเดือดใส่แมงคามลงไปในกะทะใส่เกลือนิดเดียวพอให้มันไม่จืดนัก​ ขั้วใส่กะทะใช้ทับพีคนไปมาให้เข้ากันแล้วปิดฝาหม้อไว้ให้มันสุกดีๆจากนั้นหากน้ำเริ่มแห้งแล้วก็เป็นอันว่าเสร็จ

ขั้นตอนที่สี่: เอาออกจากกะทะปล่อยให้มันไม่ร้อนเท่าไหร่แล้วเอาแมงแคงมาดึงหัวออก​ ถอดปีกและขามันออกเพราะถ้าเอาไปตำทั้งตัวเลยมันจะกินยาก​ ขามันชอบติดฟันคนที่ฟันมีรูหรือช่องปากไม่ค่อยแข็งมันจะทรมาน​นิดหน่อยเวลากิน​ ปีกก็ชอบติดฟัน​ หัวมันแข็งและมีเนื้อไม้เยอะเท่ากับตัว​มันนัก​ ฉะนั้นจำเป็นมากที่จะต้องเอาหัว​ปีกและขามันออกไปให้หมด​ เหลือไว้แค่ตัวสำกรับเอามาตำในครกให้ละเอียดร่วมกันกับเครื่องพริกป่นหัวหอมแดงกระเทียม​ ​ และข้าวขั้ว​ ต้มน้ำปลาร้าใส่ตระไคร้และขมิ้นไว้

ขั้นตอนสุดท้าย: นำเอาตัวแมงคามที่ตำละเอียดแล้วมาผสมกับน้ำพริกปลาร้าที่ต้มไว้คนให้เข้ากันดีๆในครกและใส่ผักสะระแหน่​และหอมแดงสดใบต้นหอมหรือผักหอมอะไรก็ได้ที่คุณชอบใส่ข้าวขั้วและตำให้เข้ากันอีกทีชิมดูว่าได้รสชาติ​ที่คุณต้องการหรือยังถ้าอร่อยแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้น​สำหรับเมนูน้ำพริกแมงคาม!

 

แกงผักขี้เหล็ก​ (Gaeng Khee Lek)  เมนูนี้คือสำหรับชาวต่างชาติ​มันจะเป็นอาหารที่ขมสุดๆแต่ก็ยังเป็นอาหารที่มีรสชาติ​อร่อยอย่างน่าประหลาด​ใจ​ ใบอ่อนและยอดของผักขี้เหล็กต้องต้มสองน้ำเพื่อที่จะขจัดเอารสขมออกไปสักหน่อย​ และน้ำที่ต้มครั้งแรกเสามารถ​นำมาดื่มเป็นน้ำชาได้​ มีรสชาติ​ขมมากๆ​ แต่ก็เป็นชาสมุนไพร​ชั้นเลิศเลยทีเดียว​ ใช้เป็นยาระบายได้ดี​ นอกจากนี้ถ้ามีดอกผักขี้เหล็กก็นำเอามาต้มรวมกันได้  บางคนอาจจะแกงใส่หนังวัวแห้งหรือหอยเชอรรี่หอยขม​ หรือแกงใส่แคปหมู​ ก็เข้ากันดีนะ​ แกงผักขี้เหล็กกินร้อนๆกับข้าวเหนียว​ แซ่บๆกันไปเลย!

 

แพนเค้ก​จากมันห้านาที​ (Cassava pancakes)  วิธีการทำแพนเค้กจากมันห้านาทีนี้เราได้รู้จักมาจากคนป่าชาว​ Yanomami​ ของป่าดงดิบอเมซอน​

 

ตำเมล็ดขนุน/ตำเมบ็ดจำปาดะ​ (Mashed Jackfruit/Cempedak seeds)  ขนุนและจำปาดะกินได้สองครั้ง​ ครั้งแรกกินเนื้อสุกแล้วก็กินเมล็ด​ โดยการต้มเมล็ดให้สุก​ สามารถ​กินเมล็ดที่ต้มสุกแล้วเป็นอาหารว่างได้อย่างอิ่มท้อง​ หรือทำอาหารจากเมล็ดที่ต้มสุกแล้วเหมือนเมนูนี้ตำเมล็ดขนุนหรือตำเมล็ดจำปาดะ​ โดยปอกเปลือก​ด้านนอกออกแล้วนำไปตำในครกให้ละเอียดดีตำรวมกันกับเครื่พริกป่นกระเทียมหอมหัวแดง​ ผักหอม​ สะระแหน่​ พริกไทย​ กระปิและใส่มะเขือพวงนิดหน่อยหรือใส่อะไรก็ไก้ที่คุณมีเพื่อเพิ่มรสชาติ​ตามชอบ​ เมื่อตำรวมกันเสร็จก็จิ้มกินกับผักสดทุกชนิด​ กินกับใบชะพลู​อร่อยเข้ากันดีมาก​ ถือเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ​อีกเมนูหนึ่งของสวนเรา ลองตำกินกันดูได้ถ้าไม่อยากกินแค่เมล็ดเปล่าๆ!

 

เมนูอาหารที่เรากินยังไม่หมดเพียงแค่นี้! ​ ยังมีอีกหลากหลายเมนูที่เราสามารถ​นำเอาวัตถุดิบ​จากป่าหรือจากพืชผักและผลไม้รวมถึงธัญญาหาร​ชนิดต่างๆที่เรามีหรือที่เราหาได้ตามธรรมชาติ​มาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย​ ถ้าคุณชื่นชอบการทำอาหารประเภทผสมผสาน​คุณก็จะไม่เคยต้องกินอาหารแบบซ้ำๆอีกต่อไป​  อาหารอีสานพื้นบ้านถือเป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับอาหารป่าเพราะว่าอาหารอีสานเป็นอาหารที่ต้องใช้วัตถุดิบ​ที่มีในธรรมชาติ​หรือหาได้ง่ายๆตามท้องถิ่นและเครื่องปรุงรสต่างๆก็ไม่เยอะนักเมื่อเทียบกับอาหารไทย​  เช่น​ ไข่มดแดง​ แมงกินูน​ แมลงชนิดต่างๆ​ ตั้กกะแตน​ ผักป่า​ เห็ดป่า​ มันป่า​ ยอดเครือหวาย หน่อไม้​ชนิดต่างๆ​ที่หาได้ตามธรรมชาติ​เหล่านี้ล้วนนำมาทำเป็นอาหารพื้นบ้านอีสาน​ได้อย่างง่ายดาย​ เพียงแค่ต้องมีปลาร้าและเกลือสำหรับปรุงรสชาติ​ของอาหารอีสานให้อร่อยมากขึ้นแต่นอกจากเรื่องเครื่องปรุงแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะต้องพิถีพิถัน​นัก​ ผู้เขียนเองก็เป็นคนอีสานก็เลยเทใจให้กับอาหารบ้านเกิดของตน​  อาหารอีสานทำง่าย​ วิถีความเป็นอยู่ของคนอีสานก็กินอยู่กันอย่างเรียบง่าย​ จึงต้องการที่ยึดอาหารพื้นบ้านอีสานเอาไว้ให้เป็นอาหารหลักของสวนของเราต่อไป​ สำหรับเมนูอื่นๆที่เราทำกินจะทะยอย​เอามาอัพเดต​กันเรื่อยๆยังมีอีกหลากหลายเมนูที่อยากจะเอามาแบ่งปันกับคุณ! รอติดตามกันได้เรื่อยๆ!

No comments.