เกษตรกรรมถาวร​

เกษตรกรรมถาวร​

“บิล มอลลิสัน (Bill Mollison) บิดาแห่งการทำเกษตรผสมแบบถาวร ได้กำหนดแนวคิดไว้ดังต่อไปนี้
เกษตรกรรมแบบถาวร (Permaculture) คือการออกแบบอย่างตระหนักรู้ กล่าวคือ เป็นการออกแบบทางการเกษตรอย่างมีความรับผิดชอบและบำรุงผลผลิตให้กับระบบนิเวศ ด้วยความหลากหลายด้วย การสร้างความมั่นคงและสร้างความยืดหยุ่นของระบบนิเวศตามธรรมชาติ ถือเป็นการบูรณาการพื้นที่ทำกินได้อย่างกลมกลืน และเอื้อประโยชน์ให้ทั้งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดและทุกสายพันธุ์ได้มีแหล่งอาหาร มีแหล่งที่อยู่อาศัย มีแหล่งพลังงานเพื่อใช้สรอยร่วมกัน และมีสิ่งของทั้งที่ป็นวัตถุหรือที่ไม่ใช่วัตถุอื่นๆไว้ใช้ตามความจำเป็นตามแนวทางที่ยั่งยืน”

“บิล มอลลิสัน (Bill Mollison)” นักนิเวศวิทยา บิดาแห่งการทำเกษตรกรรมถาวรหรือเกษตรกรรมยั่งยืน ได้คิดค้นแนวทางแห่งการทำเกษตรกรรมถาวร ที่เรียกว่า (Permaculture หรือ เพอร์มาคัลเจอร์) ขึ้นร่วมกันกับ เดวิด โฮล์มเกรน (David Holmgren) นักออกแบบสิ่งแวดล้อม ชาวออสเตรเลีย เขาทั้งสองคนมีความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างกลมกลืนและอย่างยั่งยืน คำว่า permaculture มาจากคำผสมสองคำ คำแรกคือ permanent หมายถึง “ถาวรหรือคงทนยั่งยืน” คำที่สองคือ agriculture หมายถึง “เกษตรกรรม” ซึ่งนำทั้งสองคำมารวมกันก็จะได้ความหมายคือ เกษตรกรรมถาวรหรือเกษตรกรรมยั่งยืนนั่นเอง!

การปฏิวัติเกษตรกรรมและเหตุผลว่าทำไมเราถึงจำเป็นต้องใช้หลักการของเกษตรกรรมยั่งยืน (The Agricultural “Revolution”, and why we need Permaculture)

นับตั้งแต่แรกเริ่มของวัฒนธรรมของมนุษย์ เมื่อครั้นที่มนุษย์ได้สับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการใช้ชีวิตแบบชนเร่ร่อนตามแหล่งอาหาร (nomadic foraging) มาใช้ชีวิตอยู่แบบทำเกษตรกรรมอยู่ที่เดิม (sedentary farming) ในอารยธรรมเมโสโปเตเมียที่เรียกกันว่า “พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” (Fertile Crescent ประมาณ 10,000-8,000 ปีที่แล้ว) มนุษย์ได้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากในการปรับตัวให้เข้ากับการดำเนินชีวิตแบบใหม่นี้ เกษตรกรรมยั่งยืนคือ การทำเกษตกรรมรร่วมกันกับธรรมชาติ คือการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจว่าธรรมชาติทำงานอย่างไร ธรรมชาติต้องการอะไร โดยการยอมรับธรรมชาติและพยายามที่จะปรับเปลี่ยนการกระทำของเราเพื่อที่จะทำงานร่วมกันได้ ดังนั้นทั้งธรรมชาติและตัวเราก็จะมีความสุขไปด้วยกัน

ธรรมชาติต้องการอะไร (What Nature wants)
ในพื้นที่ใดๆก็ตามที่มีน้ำฝนเพียงพอมันง่ายนักที่พอจะรู้ได้ว่าธรรมชาตินั้นต้องการอะไรจริงๆ การปล่อยที่ดินสักแห่งไว้โดยไม่มีการเข้าไปรบกวนและสำรวจพื้นที่ดังกล่าวประมาณสัก 20-30 ปี หรือประมาณสักหนึ่งศตวรรษ คุณก็จะพบว่าธรรมชาติจะมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นได้ด้วยตัวเองเพื่อที่จะแปรสภาพไปเป็นป่าหนาทึบหรือป่าดิบชื้น (Rainforest) ถ้าคุณลองปล่อยให้พื้นที่ใดๆก็ตามไว้เช่นที่กล่าวไปโดยไม่เข้าไปรบกวนเลยพื้นที่นั้นๆก็จะกลายไปเป็นป่าดิบชื้นได้ในที่สุด “ดังนั้นเราสามารถพูดได้ว่านี่คือสิ่งที่ธรรมชาติต้องการและนั่นก็คือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ” ถ้าเราปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ ครั้งแรกต้นไม้ป่าเบิกนำก็จะเกิดขึ้นเองและจะเป็นต้นไม้ที่บำรุงดิน จากนั้นเมื่อสารชีวมวลในดินถูกเก็บสะสมเพียงพอเหล่าไม้พุ่มต่างๆและไม้ป่ายืนต้นก็จะเริ่มเติบโตขึ้นมาตามๆกัน นั่นก็คือวิถีที่ต้นไม้เติบโตไปเรื่อยๆและเป็นวิถีของการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตอย่างหลากหลายสายพันธุ์ในเบื้องต้น แม้กระทั่งทะเลสาบเมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษและเป็นพันๆปีก็ยังกลับกลายไปเป็นผืนป่าได้ โดยลำดับแรกสารวัตถุอินทรีย์จะสะสมและเติมทะเลสาบทับถมจนเป็นตะกอนและชั้นตะกอนที่ทับถมกันอยู่นี้ก็จะกลายไปเป็นหนองน้ำแล้วก็จะกลายเป็นทุ่งโล่งหรือทุ่งพุ่มไม้เต้ย ซึ่งเป็นแหล่งที่ดินมีสารอาหารเยอะมากที่สุด นั่นจึงส่งผลให้มันกลายไปเป็นผืนป่าแห่งใหม่นั่นเอง!

 

คำอธิบายรูป กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผืนป่าผ่านช่วงระยะเวลา 6 ลำดับขั้น (Forest succession over time in six stages)
1. เนื้อหินเปล่า (Bare Rock)
2. หญ้ามอส (Mosses Grasses)
3. หญ้าที่มีอายุหลายปี หรือหญ้าที่มีทุกฤดูกาล (Grasses Perennials)
4.พันธุ์ไม้ป่าเบิกนำ (Woody Pioneers)
5. พันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้เร็ว (Fast Growing Trees)
6. ป่าสมบูรณ์ (Climax Forest)

  • การเจริญเติบโตของผืนป่าเพิ่มพูนขึ้นผ่านช่างระยะเวลาเบื้องต้นส่งผลให้เกิด Increases over time
    ความหลากหลายทางชีวภาพหรือความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต (Biodiversity)
  • ชีวมวลซึ่งเกิดจากวัสดุซากพืชและสารที่ย่อยสลายมาจากพืช เช่น ต้นไม้และส่วนที่เหลือจากพืชผล ของเสียจากสัตว์ Biomass
  • และระดับชั้นของพื้นดิน Soil Layer

พวกเราชื่นชอบการทำงานของธรรมชาติและเราไม่เพียงแต่จะอาศัยอยู่อย่างเดียว เราต้องการที่จะช่วยธรรมชาติทำงานได้อย่างบรรลุเป้าหมายของมัน! คำว่า Permaculture หมายถึงทำงานร่วมกันกับธรรมชาติ ดังนั้น เราจึงช่วยดูแลที่ดินส่วนของพวกเราให้มีระบบนิเวศที่มั่นคงและอุดมสมบูรณ์ กล่าวคือเราช่วยทำให้เป็น (ผืนป่า) ได้เร็วมากยิ่งขึ้น และสิ่งที่เราจะได้กลับมานั้นจะมีความพิเศษยิ่ง นั่นก็คือการมีผลไม้และพืชผักที่กินได้ตามป่าโดยทั่วไปในที่สุด

เราไม่ได้อยู่โดยลำพังบนโลกใบนี้ ยังมีสัตว์อีกหลายพันล้านสายพันธุ์และทุกๆสายพันธุ์ต่างก็ต้องการอยู่อาศัยและเป็นส่วนหนึ่งของการผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่นี้ร่วมกันกับพวกเราทั้งหมดต่างก็มีส่วนร่วมด้วย เราไม่พยายามที่จะลดจำนวนของสัตว์ชนิดต่างๆที่เป็นเพื่อนกับเรา เราไม่ล่าจนพวกเขาสูญพันธุ์หรือไม่ขับไล่พวกเขาออกไปจากสวนเรา เราเต็มใจที่จะแบ่งปันอาหารกับพวกเขา ดังนั้น พวกเขาก็เช่นกันสามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับพวกเราได้ต่อไปและยังถือเป็นการอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของชีวิตบนโลกใบนี้เอาไว้อีกด้วย

เกษตรกรรมทั่วไปได้สร้างกองทัพไว้ต่อสู้กับเหล่าแมลงและวัชพืชชนิดต่างๆด้วยสารเคมี เพียงแค่ต้องการได้ผลกำไรเพิ่มขึ้นอีก 5-10 เปอร์เซ็นต์ แต่สวนฟื้นฟูฯของเรานั้นจะแบ่งปันส่วนที่เป็นของแมลงอย่างยุติธรรมและส่วนที่เหลือจากแมลงกัดกินจะเป็นของเรา ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะได้เก็บเกี่ยวมากกว่าที่ต้องการเสมอ!

แนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืนในแบบของ บิล มอลลิสัน ก็จะพูดถึง ความสำคัญของการออกแบบ และมีความเชื่อว่า การออกแบบสภาพแวดล้อมด้วยองค์ประกอบที่ดีจะทำให้ธรรมชาติทำงานได้เต็มที่และรวดเร็วกว่าการรอให้ธรรมชาติกลับคืนสู่ความสมดุลด้วยตนเอง โดยกล่าวถึงหัวใจสำคัญของการทำเกษตรกรรมยั่งยืนคือจะยึดหลักการอยู่ 3 อย่าง คือ “รักษ์โลก รักษ์มนุษย์ และแบ่งปันส่วนเกิน” แนวทางการทำเกษตรของ บิล มอลลิสัน จะเน้นที่ “การลงมือกระทำ” เพื่อวางองค์ประกอบต่างๆในจุดและเวลาที่เหมาะสม เพื่อช่วยเสริมการทำงานของธรรมชาติ แนวคิดนี้จะมุ่งเน้นที่เป้าหมายการทำงานร่วมกันกับธรรมชาติ เน้นความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ และการลด “การกระทำ” ของมนุษย์ในระยะยาว ทั้งนี้ บิล มอลลิสัน จะเน้นการจัดรูปแบบโดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่เรื่อง “พลังงาน” ถ้าหากวางรูปแบบไม่ดี ก็จะมีการใช้พลังงานมากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียพลังงาน การใส่แรงหรือใส่อะไรเข้าไปในระบบของสิ่งแวดล้อมมากเกินไป แม้ว่าจะทำให้ผลผลิตเกิดมากขึ้น แต่ก็จะทำให้เสียพลังงานมากด้วยเช่นกัน และยังทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกด้วย ฉะนั้นในการทำสวนไร่นา หรือสวนผลไม้ หรือทำเกษตรอะไรก็ตามแต่ ถ้าหากว่าต้องลงแรงมากเกินไป ก็แสดงว่ามีความไม่สมดุลของการใช้พลังงาน

หลักการพื้นฐานของการทำเกษตรกรรมยั่งยืนนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ทางด้าน:
ระบบนิเวศวิทยา ความยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์หรือการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ!

เนื่องจากว่าระบบการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันนี้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะใช้สารเคมีกับทุกอย่างที่พวกเขาทำการเพาะปลูกและเกษตรกรดังกล่าวมักจะเน้นในเรื่องของผลผลิตและผลกำไรให้ได้มากที่สุด ซึ่งนั่นก็จะแลกมาด้วยการทำลายธรรมชาติ การทำลายระบบนิเวศ การเข้าไปควบคุมธรรมชาติให้เป็นไปตามความประสงค์ของตนเพียงผู้เดียว จึงส่งผลให้ธรรมชาติขาดความอุดมสมบูรณ์ สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆรวมถึงมนุษย์ด้วยจึงไม่มีแหล่งที่อยู่อาศัยสมบูรณ์และสุ่มเสี่ยงต่อเรื่องสุขภาพและสัตว์หลายชนิดก็ใกล้จะสูญพันธุ์ไปเสียแล้ว รูปแบบการทำเกษตรเช่นนี้ก่อให้เกิดมลพิษทั้งทาง ดิน น้ำ และทางอากาศ กล่าวคือก่อให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมมากถึงขั้นกับไม่มีหน้าดินและดินไม่มีชีวิตเลยในระยะยาว ดังนั้นทางออกก็คือ เราจำเป็นต้องหยุดการทำเกษตรกรรมแนวนี้และหันมาลองทำเกษตรกรรมยั่งยืนหรือเกษตรกรรมธรรมชาติแทน

เพื่อที่จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศที่ถูกทำลายไปให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้ง ซึ่งหลักการและแนวคิดของเกษตรกรรมยั่งยืนจะไม่ถือเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง แต่จะยึดถือเอาธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือการเข้าไปศึกษาและเรียนรู้ว่าระบบนิเวศตามธรรมชาติที่สมบูรณ์นั้นทำงานร่วมกันอย่างไร “การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่ใหญ่กว่าด้วยการตั้งฐานตัวเองให้อยู่เพียงส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติมากกว่าการเข้าไปวางตัวเป็นใหญ่ในระบบนิเวศและควบคุมทุกอย่างเอง”

หลักการและแนวทางของเกษตรกรรมยั่งยืนประกอบไปด้วย:

• การทำงานร่วมกันกับธรรมชาติโดยการสำรวจและเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราหรือไม่ขัดแย้งกับแนวทางของธรรมชาติ
• การปลูกพืชผักและผลไม้รวมถึงต้นไม้ป่าแบบผสมผสานเพื่อสร้างความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตตามวัฏจักรของระบบนิเวศ เช่น ถ้าหากปลูกพืชผักก็ให้ปลูกร่วมกันหลายชนิดในแปลงผักและเลือกพืชผักชนิดที่สามารถเติบโตร่วมกันได้ดี เช่น ปลูกผักกาด ผักคะหน้า ผักชีลาว ผักชีฝรั่ง ต้นหอม ต้นกระเทียม ผักที่เป็นต้นเล็กๆต่างๆสามารถปลูกร่วมกันได้กับต้นพริก มะเขือพวงหรือมะเขือเปราะชนิดต่างๆ ดังนั้นก็จะเห็นว่าในแปลงผักหนึ่งแปลงจะมีผักหลายชนิดโตร่วมกันได้และไม่แย่งอาหารกันแต่กลับเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ กล่าวคือต้นกระเทียม ต้นหอม ผักชีฝรั่งจะมีกลิ่นแรงสำหรับเหล่าแมลงต่างๆที่ชอบกินมะเขือหรือใบผักกาดต่างๆเมื่อปลูกร่วมกันก็จะลดปัญหาศัตรูพืชได้และไม่จำเป็นต้องใช้ยาจำกัดศัตรูพืชเลย! วิธีการนี้เจ๋งสุดๆ
• การใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ระหว่างพืชน้ำ แมลง และสัตว์น้ำต่างๆที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น สวนฟื้นฟูฯของเราจะใช้ขี้โคลนจากริมบ่อน้ำที่ลอยตัวอยู่เหนือน้ำและเกาะกันแน่นเป็นก้อน นำขี้โคลนออกมาใส่ให้ต้นไม้และนำมาผสมกับดินในแปลงผัก โดยขี้โคลนที่ว่านี้จะมีสารอาหารเยอะมากเนื่องจากเป็นเศษพืชน้ำ เศษไม้เศษใบไม้ มูลสัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในบ่อและในบริเวณบ่อ ซากพืชที่ทับถมกันอยู่จนกลายเป็นดินนิ่มละเอียดและถือได้ว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากกระบวนทางธรรมชาติโดยแท้
• เน้นการปลูกพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมาก และเป็นพืชหรือต้นไม้ที่มีอายุยาวนาน เช่น เน้นปลูกพืชผักพื้นบ้านหรือผักป่า เน้นปลูกผลไม้พื้นบ้านหรือผลไม้ป่าที่โตง่ายและแข็งแรงเหมาะสมกับสภาพของ ดิน น้ำ อากาศ หรือหากต้องการปลูกผลไม้จากต่างแดนก็จะต้องศึกษาชนิดผลไม้นั้นๆว่าจะเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเราหรือไม่ นั่นก็จะช่วยให้เราไม่เสียเวลาไปกับการลงทุนซื้อผลไม้จากต่างแดนไปโดยเปล่าประโยชน์
• จัดสภาพแวดล้อมให้เกื้อกูลกันเพื่อที่จะให้ระบบสามารถดูแลกันเองตามธรรมชาติได้ เช่น การเลี้ยงไก่ไว้กินแมลงรบกวน เลี้ยงเป็ดไว้กินวัชพืช หรือเพื่อช่วยในการพรวนดิน เป็นต้น
• ปลูกพืชหลายชั้นในพื้นที่เดียวกัน นับตั้งแต่พืชหัว ไปจนถึงไม้ยืนต้น ซึ่งการทำสวนแนวนี้ก็สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตในลักษณะของป่าอาหารได้ (Food forest) เป็นต้น

การแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็นโซนตามความบ่อยในการใช้งาน ซึ่งการแบ่งโซนจะแบ่งออกเป็น 5 โซนพื้นฐาน ดังนี้
• โซนที่ตั้งเป็นโซนฐานหรือ (zone 0) ก็คือโซนที่อยู่อาศัย โซนนี้จะต้องออกแบบบ้านเป็นอย่างดีกล่าวคือสร้างบ้านให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อแบ่งบริเวณให้กับสัตว์เลี้ยงได้อาศัยอยู่กับเราได้ เช่น น้องแมวหรือสุนัข การจัดโครงสร้างบ้านเป็นบ้านไม้ หรือบ้านไม้ไผ่มุงหลังคาจากหญ้า เพื่อมีอากาศถ่ายเทสะดวกตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเรื่องการใช้พัดลมหรือต้องติดเครื่องปรับอากาศ!

โซนแรก (zone 1) เป็นโซนที่อยู่ติดกับบ้านที่เราจะใช้อยู่บ่อยๆ เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว ผลไม้และสมุนไพร สำหรับปรุงอาหารเอาไว้ใกล้ๆบ้านและใกล้ชิดกับเราเพื่อที่จะสามารถดูแลได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
คลิกอ่านการแบ่งโซนที่เหลือ

• ระบบกักเก็บน้ำ และการบริหารจัดการน้ำ เน้นการใช้แรงโน้มถ่วงของโลกให้เป็นประโยชน์ เช่นการขุดคลองไส้ไก่กระจายไปตามพื้นที่เพื่อช่วยให้รักษาความชุ่มชื้นของดินไว้ ประโยชน์จากการขุดคลองน้ำเล็กๆนี้จะช่วยกักเก็บเศษดินที่ไหลมากับน้ำในฤดูฝนได้ดีมาก จาก ภาพด้านล่างนี้คือคลองที่เราขุดไว้เป็นการชะลอน้ำไม่ให้ไหลแรงจนเกินไปในฤดูฝน เนื่องจากสวนของเราอยู่บนสันเขาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำคลองตันน้ำไว้ และในขณะเดียวกัน หน้าดินก็จะไม่ไปกับน้ำเยอะจนเกินไป เศษดินเล็กๆก็จะตกลงในคลองน้ำนนี้และถ้าในคลองเริ่มมีเศษดินมากเกินไปเราก็มาขุดออกไปใส่ให้ต้นไม้ที่เราปลูกไว้เพราะนั่นคือสารอาหารที่ต้นไม้ต้องการ ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากก็คือคลองน้ำนี้จะเป็นตัวเปิดโอกาสให้น้ำซึมเข้าไปในชั้นดินได้ดีและได้เยอะมาก ชั้นดินก็จะกักเก็บน้ำดังกล่าวไว้เพื่อไม่เสียความชุ่มชื่นในดินมากเกินไปในฤดูร้อน กรณีนี้ก็จะช่วยเรื่องการประหยัดน้ำได้เยอะในเวลาที่ขาดแคลนน้ำใช้ ต้นไม้ที่ปลูกไว้บริเวณคลองน้ำก็จะไม่ขาดน้ำเพราะในดินยังมีน้ำนั่นเอง

“โดยหลักของความถาวรของการเพาะปลูกก็คือ เมื่อมีการนำผลผลิตอออกมาจากดิน ก็ต้องเอาอาหารกลับคืนสู่ดิน จึงจะสามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดไป”

ณ ปัจจุบันนี้เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ แต่ในเมืองไทยเราจะรู้จักหรือคุ้นชินกับการทำเกษตรผสมผสานหรือการทำเกษตรพอเพียงมากกว่า แต่ในเรื่องของแนวคิดและแนวปฏิบัติค่อนข้างจะสอดคล้องกัน
หัวใจสำคัญของการทำเกษตรกรรมยั่งยืนนี้ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องมีพื้นที่เยอะแยะ เพียงแค่มีที่ดินเล็กๆหรือบริเวณรอบรั้วบ้านก็สามารถที่จะนำเอาหลักการทำเกษตรกรรมยั่งยืนไปปรับใช้ได้อย่างลงตัวและเพียงพอต่อการใช้สอยในครัวเรือนได้

เทคนิคสำคัญของการดูแลดินก็คือ

• การปลูกพืชตระกลูถั่วเพื่อที่จะนำมาทำเป็นปุ๋ยพืชสดหรือแห้งก็ใช้ได้เช่นกัน พืชตะกลูถั่วอาทิเช่น ถั่วมะแฮะ ต้นแคฝรั่ง ต้นกระถิ่นบ้านที่กินยอดและฝัก ต้นกระถิ่นณรงค์ ต้นกล้วย ต้นขี้เหล็กและพืชตระกูลถั่วกลุ่มอื่นๆที่สามารถตรึงไนโตรเจนลงสู่ดินได้ เมื่อพืชตระกูลถั่วเหล่านี้โตแล้วก็สามารถนำเอาส่วนที่เป็นใบหรือกิ่งก้านตัดลงมาคลุมหน้าดินเอาไว้เพื่อใช้เป็นปุ๋ยสดและปุ๋ยแห้งให้กับต้นและพืชผักไม้ได้เป็นอย่างดี (ปุ๋ยสดจะมีไนโตรเจนมากกว่าแต่ปุ๋ยแห้งไม่มีไนโตรเจน) ถือเป็นหลักการสำคัญมากที่สุดของการทำเกษตรกรรมยั่งยืนของ บิล มอลลิสัน นั่นก็คือ การดูแลดิน การทำให้ดินอุดมสมบูรณ์และเต็มไปด้วยสารอินทรีย์วัตถุในดินได้แล้วไม่ว่าเราจะเพาะปลูกอะไรลงไปในดินพืชผลเหล่านั้นก็จะเจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรงมากกว่าการไม่ดูแลเอาใจใส่เรื่องดิน ปัญหาเรื่องดินในแต่ละภูมิภาคหรือในแต่ล่ะพื้นที่ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น ดินเค็ม ดินเปี้ยว ดินทรายล้วน ดินเหนียวล้วน ดินภูเขาที่มีกรวดหินเยอะ อีกอย่างก็คือดินไม่อุ้มน้ำและดินไม่มีสารอาหารเลย เหตุผลเหล่านี้คืออุปสรรคต่อการเพาะปลูกพืชผักและผลไม้รวมถึงไม้ป่าบางชนิดเลือกที่จะเติบโตได้ดีในดินที่ไม่เปี้ยวไม่เค็มและไม่อุ้มน้ำ แต่พืชพันธุ์อีกหลายชนิดก็เลือกที่จะเติบโตได้ดีในดินเปี้ยว ดินเหนียวและดินอุ้มน้ำ ฉะนั้นแล้วจึงมีความสำคัญมากที่ผู้เพาะปลูกจะต้องรู้ว่าดินในพื้นที่ของตนเป็นอย่างไรและต้องการที่จะเพาะปลูกะอะไรบ้าง ดินเหมาะสมกับพืชผักและผลไม้ชนิดนั้นๆหรือไม่ ถ้าหากเข้าใจเรื่องดินและดูดินให้เหมาะสมกับสิ่งที่เพาะปลูกไปแล้วทุกอย่างก็จะเติบโตได้ง่ายขึ้นตามกระบวนการของธรรมชาติและงานของมนุษย์ก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆนั่นเอง!

• การปลูกพืชหมุนเวียน
หลักในการปลูกพืชหมุนเวียนก็คือการแบ่งแปลงเพาะปลูกออกเป็นโซน เช่น โซนผักสวนครัว โซนผักกินใบและกินฝัก โซนผักกินหัวและดอก และทำการปลูกพืชผักดังกล่าวสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ล่ะฤดูกาลเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวพืชผักชนิดที่จะปลูกใหม่ก็จะต้องไม่ซ้ำกับพืชผักที่พึ่งปลูกไปแล้วเพื่อเป็นการบำรุงดินและการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ตัวอย่างเช่น ถ้าทำแปลงผักเสร็จและยังไม่เคยปลูกอะไรมาก่อนในแปลงนั้น ก็จำเป็นที่จะต้องปลูกพืชตระกูลถั่วลงไปก่อนเพื่อทำการปรับสภาพดินและบำรุงดิน เนื่องจากว่าพืชตระกูลถั่วสามารถตรึงเอาธาตุไนโตรเจนในดินขึ้นมาบำรุงหน้าดินได้และเกื้อกูลพืชผักอื่นๆให้เติบโตได้ดีและแข็งแรงตามลำดับ

• การคลุมหน้าดิน
การใช้เศษใบไม้ต่างๆหรือเศษฟางข้าวรวมไปเศษหญ้าแห้งปกคลุมหน้าดินในแปลงเพาะปลูกเอาไว้มีความสำคัญมากเพื่อช่วยเก็บน้ำหรือน้ำค้างในตอนเช้าไว้เพื่อว่าดินจะได้มีความชุ่มชื้นเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนการคลุมหน้าดินจะต้องทำมากกว่าในฤดูอื่น หากพืชผักที่เราเพาะปลูกไว้ในฤดูร้อนขาดน้ำก็จะส่งผลให้พืชผลเหล่านั้นเติบโตได้ยากหรือไม่โตเลยนั่นก็จะทำให้เราเสียแรง เสียเวลา และไม่มีพืชผักให้กินหรือมีไม่เพียงพอ เราจึงต้องไปซื้อที่ตลาดซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าเขาปลูกที่ไหน เขาปลูกอย่างไร เขาใช้สารเคมีอะไรบ้างบำรุงพืชผลนั้นๆมา ด้วยรายได้อันน้อยนิดหากออกไปตลาดบ่อยขึ้นเราก็จะมีปัญหาเรื่องทุนทรัพย์ตามมา นั่นจึงเป็นวิธีการที่ใช้ได้เพื่อจะช่วยให้เรามีพืชผักเพียงพอได้เองในฤดูร้อน อย่าลืมเรื่องการคลุมหน้าดินกันเลยทีเดียว!

แนวคิดที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ (การมองปัญหาให้เป็นทางออก หรือ the problem is solution)

กล่าวคือ ทุกๆปัญหาย่อมมีทางออก การนำเอาปัญหานั้นๆมาศึกษาและหาทางออกด้วยวิธีการที่เอื้อและเกื้อกูลต่อระบบนิเวิศโดยรวม ตัวอย่างเรื่องการมองปัญหาให้เป็นทางออกของสวนฟื้นฟูฯ อาทิเช่น

• การใช้สอยขี้โคลนจากบ่อน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งปัญหาก็คือ บ่อน้ำของสวนเราอยู่ต่ำจากภูเขาเมื่อน้ำจากป่าไหลลงมากับเศษไม้เศษใบไม้รวมถึงดินชั้นบนที่ถูกพัดมากับน้ำในฤดูฝน สิ่งเหล่านี้จะมารวมตัวกันที่บ่อน้ำของเราซึ่งทำให้บ่อน้ำเต็มไปด้วยเศษอินทรีย์วัตถุเหล่านั้นเมื่อมีเศษใบไม้ เศษดิน และเศษไม้ต่างเยอะจนเกินไปจึงส่งผลให้น้ำในบ่อไม่ค่อยใสสะอาดและไม่ลึกมากพอสำหรับลงว่ายน้ำ หรือลงอาบน้ำได้ ดังนั้น ทำอย่างไรน้ำจึงจะใสสะอาดและทำอย่างไรเราถึงจะลงว่ายน้ำและลงอาบน้ำในบ่อของเราได้อย่างสะดวกสบาย นั่นคือปัญหาและทางออกก็คือ เราต้องเอาเศษอินทรีย์วัตถุเหล่านั้นออกจากบ่อน้ำเพื่อที่จะช่วยให้น้ำได้มีอากาศถ่ายแทมากขึ้นและเพื่อปรับคุณภาพของน้ำไปในตัว แล้วเราจะเอาออกไปทิ้งที่ไหนล่ะ? ก็เห็นได้ชัดเจนว่าต้นผลไม้ที่และพืชผักที่เราเพาะปลูกไว้ยังขาดสารอินทรีย์ในดินอีกมาก จึงพบกับทางออกที่ได้ประโยชน์อัมหาศาล นั่นก็คือการนำเอาขี้โคลนจากริมบ่อออกรวมถึงนำเอาเศษไม้เศษใบไม้ต่างๆออกจากบ่อแล้วนำเอาไปใส่ให้กับต้นผลไม้และในแปลงผักที่เราจะทำการเพาะปลูกหรือแม้กระทั่งใส่เข้าไปในแปลงที่เพาะปลูกไปแล้วเพื่อเป็นการเพิ่มสารอาหารให้กับดินและช่วยสร้างชั้นดินให้สูงขึ้นเพื่อลดปัญหาเรื่องน้ำไหลหลากในฤดูฝน ซึ่งสวนฟื้นฟูฯของเราตั้งอยู่บนเนินเขาสูงชันพอควรเมื่อถึงฤดูฝนน้ำไหลรวดเร็มพัดพาเอาหน้าดินจากต้นไม้ไปบ้าง เราจึงนำเอาปัญหานี้มาศึกษาและได้ทางออกที่คุ้มค้าและไม่สูญเสียอะไรเลย กล่าวคือ สารอาหารที่มีในขี้โคลนก็จะไปช่วยบำรุงผลไม้และพืชผักของเราให้งอกงามได้รวดเร็วและแข็งแรง ใต้ต้นผลไม้บริเวณที่ชันเราจะใส่ขี้โคลใต้ต้นและดูว่าดินชั้นลงทางไหนก็จะใส่ขี้โคลนตามชั้นดินเป็นรอบเหมือนครึ่งวงกกลใต้ต้น การกระทำเช่นนี้จะช่วยสร้างหน้าดินให้สูงขึ้นเท่ากันได้ในที่สุดและน้ำที่ไหลลงเร็วในฤดูฝนก็จะไหลน้อยกว่าเนื่องจากพื้นดินจะลดความชันลงไปเรื่อยๆหน้าดินชั้นใหม่ที่ได้นี้ก็จะอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดีและช่วยยึดเกาะเอาเศษใบไม้เศษไม้ต่างๆที่มากับน้ำไว้ใต้ต้นผลไม้ต่างๆ นั่นก็จะเป็นนปุ๋ยธรรมชาติให้ต้นไม้นั้นๆต่อไปเมื่อมันย่อยสลายกลายเป็นดินในที่สุด ดังสำนวนไทยที่ว่า “ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว” แต่เราได้มากกว่าสองตัวนะจากวิธีการมองปัญหาให้เป็นทางออก!
• ปัญหาเรื่องดินไม่สมบูรณ์เราก็จะต้องพิจารณาว่าดินไม่ดีมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เคยเพาะปลูกพืชผักหรือผลไม้มาแล้วกี่รุ่นและที่สำคัญใช้วิธีการเพาะปลูกประเภทใดหากเคยเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาหลายปีแล้วแน่นอนว่าดินจะไม่ค่อยมีสารอาหารเท่าไหร่หากต้องการที่จะบำรุงดินให้มีสารอาหารมากขึ้นจำเป็นต้องสร้างความหลากหลายในการเพราะปลูกก่อน หยุดใช้สารเคมีเพื่อที่เหล่าแมลงในดิน จุลินทรีย์และไส้เดือนสามารถอาศัยอยู่ในดินได้เพื่อทำหน้าที่พรวนดินของพวกเขา ถ้าทำเช่นนี้ได้ดินของเราก็จะเริ่มมีสารอาหารเรื่อยๆ ดินจะอุ้มน้ำมากขึ้น และเมื่อแมลงกลับมาอยู่ในระบบนิเวศได้สักระยะทุกอย่างจะกลมกลืนกันมากขึ้น ที่สำคัญต้องหยุดการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวและเปลี่ยนมาปลูกพืชหมุนเวียนแทนสำหรับปรับหน้าดินให้มีสารอาหารมากขึ้น โดยจะเน้นพืชการปลูกตระกูลถั่วก่อน เนื่องจากโตง่ายแข็งแรงและแทบจะไม่ต้องดูแลเลย
• ปัญหาหนักของการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้สารเคมีไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าหญ้า เป็นต้น สารเคมีเหล่านี้จะทำลายหน้าดินและใต้ดินในระยะยาวส่งผลให้ดินเค็มดินเปรี้ยวหรือดินแข็งมากจนเกินไปและขาดสารอินทรีย์วัตถุในดินไป สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อาศัยอยู่ในดินเมื่อไม่มีสิ่งหล่อเลี้ยงก็จะอยู่ไม่รอด เช่นไส้เดือนดินหรือแมลงต่างๆที่อาศัยอยู่ในดินซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการพรวนดินและเพิ่มสารอาหารให้กับดินจากมูลไส้เดือนหรือมูลของแมลงที่เข้าไปช่วยย่อยสะลายเศษใบไม้ใบหญ้าหรือเศษฟางให้เป็นสารอินทรีย์วัตถุต่อดิน และช่วยให้เกิดเม็ดดินที่ช่วยให้ดินอุ้มน้ำดีและระบายน้ำได้ดีรวมถึงช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นแจ่กระบวนการดังกล่าวนี้จะไม่เกิดขึ้นเมื่อมีการใช้สารเคมีตลอดเวลาจึงส่งผลกระทบต่อดิน
• พื้นดินที่ไม่มีร่มเงาเลยก็เช่นกัน มักจะส่งผลให้ดินขาดสารอาหารเนื่องจากดินขาดความชื้นสิ่งมีชีวิตเล็กๆในดินก็ไม่อาจจะอยู่รอดได้และดินก็จะไม่ดูดน้ำเนื่องจากไม่มีรากต้นไม้ที่คอยช่วยยึดจับดินเอาไว้และคอยดูดซับน้ำทั้งจากอากาศและใต้ดินเอาไว้หล่อเลี้ยงตนและสัตว์อื่นๆ จึงจำเป็นที่จะต้องปลูกต้นไม้เพื่อสร้างร่มเงาให้กับดินและสิ่งมีชีวิตเล็กๆในดิน เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ดินก็จะมีความชุ่มชื้นมากขึ้นสัตว์เล็กๆก็จะกลับมาอยู่ในดินคอยบำรุงและเพิ่มสารอาหารในดินไปเรื่อยๆโดยการปลูกพืชหมุนเวียน
• การไถพรวนดินด้วยรถไถขนาดใหญ่และการเผาเศษฟางข้าวหรือต้นหญ้าก็เช่นกัน ส่งผลให้ดินขาดสารอาหารเนื่องมาจากทุกๆครั้งที่มีการไถพลิกหน้าดินรากพืชหรือรากต้นไม้ขนาดเล็กก็ถูกตัดขาดไปหรือมากยิ่งกว่านั้นคือการไถกลบหน้าดินคือทำให้ทุกอย่างเป็นเนื้อเดียวกันและปล่อยทิ้งไว้จนกว่าฤดูเพาะปลูกจะมาถึงสารอาหารที่ถูกแผดเผาจากแสงแดดก็ลอยขึ้นสูอากาศไปเปล่าๆทิ้งไว้แต่เนื้อดินที่ขาดสารอาหาร ส่วนการเผาตอฝางข้าวหรือต้นหญ้าทิ้งไปก็เช่นกันแทนที่จะปล่อยทิ้งไว้ให้มันเป็นปุ๋ยบำรุงหน้าดินแต่กลับเผามันไปหมดเพียงแค่ว่าต้องการความรวดเร็วและความทันใจ! แต่หารู้ไม่ว่าคุณกำลังเผาสารอาหารทิ้งไปเปล่าๆ ทุกครั้งที่มีการเผาแล้วไถกลบมันคือการทำลายหน้าดินเป็นอย่างหนัก กล่าวคือดินไม่ได้รับสารอาหารใหม่เข้าไปและถูกพลิกร่างกายเสมอไม่เคยมีเวลาหยุดพักและรักษาตัว ดินจึงไร้ซึ่งชีวิตและสารอาหารหรือหมดคุณภาพในที่สุด ถ้าใช้วิธีการนี้ก็หนีไม่พ้นการนำเอาปุ๋ยเคมีเข้ามาบำรุงพืชหรือผักที่ทำการเพาะปลูกไว้ตลอดไป! ดังนั้นแนวทางในการแก้ปัญหานี้ก็แสนจะง่ายดายเพียงแค่ต้องหยุดเผาตอฝางข้าวหรือต้นหญ้าและหยุดไถพรวนดินด้วยรถไถขนาดใหญ่ เมื่อเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวก็ปล่อยให้ตอฝางข้าวและหญ้าเน่าเปลื่อยไปเอง หรือปล่อยเป็นทุ่งเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงวัวเลี้ยงควายหรืออะไรก็ได้เพื่อที่จะได้มูลสัตว์เหล่านั้นมาบำรุงดิน และปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการเน่าเปลื่อยของตอฟางข้าวและจากหญ้านั้นก็จะเป็นสารอาหารที่จะตัวช่วยบำรุงหน้าดินไปเรื่อยๆ ส่วนเรื่องขนาดรถไถนั้นถือเป็นการยากยิ่งนักเนื่องจากปัจจุบันนี้ถ้าหากไม่ไถพรวนดินก็ไม่สามารถเพาะปลูกอะไรได้เลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์! เนื่องจากจะเน้นเรื่องรายได้เป็นหลัก ซึ่งจะแตกต่างจากการเพาะปลูกเพื่อกินเองหรือสำหรับเลี้ยงตนและครอบครัว ในสมัยก่อนชาวไร่ชาวนาทำการเพาะปลูกข้าวด้วยการไถพรวนดินโดยการใช้วัวหรือควายไถดิน เมื่อเทียบกับการใช้รถไถขนาดใหญ่ ใช้วัวใช้ควายไถดินยังทำลายหน้าดินน้อยกว่า เนื่องจากความเร็วในการไถจะน้อยกว่า น้ำหนักที่ทับลงหน้าดินก็ไม่หนักมากเมื่อเทียบกับรถไถคันใหญ่ แล้วทางออกคืออะไร? (อ่านต่อเกษตรกรรมแบบไม่กระทำ)

ความยั่งยืน (Sustainability)
เนื่องจากเรื่องของระบบเกษรตกรรมที่ได้ทำลายล้างสภาพแวดล้อมและตามมาด้วย สังคมอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลา 8,000 ปีมาแล้ว เราไม่คิดว่าเรื่องความยั่งยืนจะเพียงพอสำหรับการรับมือ เราจำเป็นต้องรักษาเยียวยา เพื่อที่จะฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมของพวกเรา พวกเราจะต้องทำการสร้างขึ้นมาใหม่ (regenerative) หรือทำการปฏิรูปขึ้นมาใหม่กันเพิ่มมากขึ้น เรากำลังพยายามที่จะสร้างวิถีชีวิตขึ้นใหม่และสร้างวัฒนธรรมที่รักษาโลก เช่นการต่อต้านวิถีการดำเนินชีวิตแบบผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
ข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาที่นิยมกัน จนถึง ณ ตอนนี้ต่างก็ไม่ให้คำมั่นสัญญาได้เลย ข้อเสนอส่วนใหญ่มักขึ้นอย่กับแนวคิดแบบผิดๆที่ทำให้เราตกอยู่ในสภาวะอันยุ่งงเหยิงนี้ตั้งแต่แรก ตัวอย่างเช่น มันชัดเจนว่าแนวคิดดังกล่าวมันเป็นความตั้งใจที่ดี แต่มันกลับอยู่ภายใต้การสำรวจแบบปิดมากกว่าแบบไม่น่าชื่นชมอย่างเรื่องเป้าหมายของความยั่งยืนที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรสหประชาชาติ (United Nations) oxymoron of “Sustainable Development”
รูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียกกันว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นรูปแบบการใช้ชีวิตที่ห่างไกลออกไปจากเรื่องความยั่งยืน เราชื่นชอบและพอใจกับรูปลักษณ์ของอารยธรรมหลายอย่าง แต่นั่นก็ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่ว่า ชีวิตของชาวศิวิไลซ์คือการใช้ชีวิตแบบทำลายและแบบสุรุ่ยสุร่าย โลกใบนี้อาจจะสามารถหล่อเลี้ยงผู้คนบางส่วนที่ใช้ชีวิตในแบบทำลายและสุรุ่ยสุร่ายได้แต่ โลกนี้ไม่สามารถหล่อเลี้ยงได้ทั้ง 7.5 พันล้านคนของพวกเราในการดำรงชีวิตเช่นนั้นได้อย่างแน่นอน ถ้าจำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ทุกๆคนต่อสู้ดิ้นรนเพื่อที่จะใช้ชีวิตตามมาตรฐานของชาวตะวันตก ปัญหาทุกอย่างที่เรามีตอนนี้จะเป็นปัญหาที่เลวร้ายขึ้นไปอีก อุตสาหกรรมการเกษตณทำลายล้างโลกใบนี้ การตัดไม้ทำลายป่าและการสูญเสียชั้นหน้าดินนั้นต่างก็อยู่ในปัญหาที่ใหญ่มากสุดที่พวกเราได้สร้างมันขึ้นมากับการทำเกษณตรกรรมเชิงเดี่ยว มันไม่มีวิธีการเดียวที่ถูกต้องสำหรับการใช้ชีวิตของผู้คน แต่เราเชื่อว่าบางวิธีการก็ผิดโดยแท้ การบังคับในการจ้องทำลายฐานที่ดินของคุณ โดยการกอบโกยเอาเงิน (อ่าน: การจินตนาการ) ผลกำไรจากการทำลายดินที่หล่อเลี้ยงอาหารของคุณ การทำให้น้ำที่คุณดื่มเน่าเสียและการก่อมลพิษในอากาศที่คุณหายใจคือหนึ่งในการทำลายดังกล่าว ในทางกลับกัน เกษตรกรรมแบบถาวรคือไม่ใช่การทำกำไร ในคู่มือการออกแบบเกษตรกรรมถาวร โดย บิล มอลลิสัน กล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วในบทนำว่า การทำผลกำไรทางเงินนั้นไม่ใช่เป้าหมายหลักของการทำเกษตรกรรมถาวร ซึ่งเสาะหาที่จะสร้างความมั่นคงและการดูแลเอาใจใส่สำหรับที่ดินเป็นลำดับแรก จากนั้นเพื่อที่จะเอื้อประโยชน์ในระดับครัวเรือนและความจำเป็นระดับท้องถิ่น และหลังจากจุดนั้นถึงจะเป็นการผลิตส่วนที่เหลือสำหรับขายหรือสำหรับแลกเปลี่ยน
อะไรที่จำเป็นนั้นไม่ใช่เพียงแค่ทางเลือกของการดำรงชีวิต แต่เป็นวัฒนธรรมน่าอยู่ซึ่งตรงข้ามกับแนวทางของอารยธรรมปัจจุบัน ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหลายๆวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองทั่วโลกที่ยังไม่ถูกทำลายล้างจนสิ้นซากจากความก้าวหน้าและความพัฒนา
ในทางตรงกันข้ามกับความคิดเห็นอันเป็นที่นิยม หลักการของเกษตรกรรมถาวรนั้นไม่ใช่เพียงแค่ความยั่งยืน มันคือการสร้างขึ้นใหม่ หรือการปฏิรูปขึ้นใหม่ (regenerative) เพื่อที่จะเข้าใจว่าเรื่องนี้หมายถึงอะไร อันดับแรกพวกเราจะต้องมองเข้าไปใกล้ๆว่า ความยั่งยืนคืออะไร ดิกชั่นนารี่ของ Oxford Dictionary กำหนดความหมายของความยั่งยืนว่า สามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ในระดับหนึ่งหรือในอัตราเฉพาะ โดยพื้นฐานมันหมายถึงว่า คุณสามารถทำบางสิ่งบางอย่างครั้งแล้วครั้งเล่าได้ ถ้าสภาพนั้นๆเอื้อให้มันเป็นได้ แต่มันยังหมายถึงว่าอีกว่า ถ้าบางสิ่งบางอย่างยั่งยืน มันไม่ได้ดีไปกว่าหรือแย่ไปกว่า ดังนั้นจริงๆแล้วมันก็ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะดีไปหมด

Toby Hemenway พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
ลองจินตนาการดูว่าถ้าหากมีบางคนถามคุณว่า เรื่องคู่ครองของคุณเป็นอย่างไรบ้าง? และคุณตอบไปว่า โอ้ อืม มันก็มั่นคงดี…มันได้ใช่ดีไปหมดซะทุกอย่าง!
ความเสื่อมถอย ‘Degenerative’ คือเรื่องที่เป็นการทำลาย เช่น โรงงานต่างๆ เขื่อนต่างๆ รถยนต์ เครื่องบิน และอารยธรรมสมัยใหม่เองที่เป็นตัวสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศ
การสร้างขึ้นใหม่หรือการปฏิรูปขึ้นใหม่ ‘Regenerative’ ในทางตรงกันข้าม คือเรื่องที่จะช่วยพัฒนาปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ที่มันจะทำให้เรื่องต่างๆดีขึ้นมากกว่าที่มันเป็นอยู่ เรื่องป่าคือตัวอย่างที่ดีสุดสำหรับระบบการสร้างขึ้นใหม่ หรือ regenerative system)

No comments.