การแลกเปลี่ยนของกินของใช้กับเพื่อนบ้านหรือกับคน​อื่นๆ

การแลกเปลี่ยนของกินของใช้กับเพื่อนบ้านหรือกับคน​อื่นๆ

เศรษฐกิจแห่งการแลกเปลี่ยนของกินของใช้ (Gift Economy)

หนทางแบบดั้งเดิม (The primitive way)

สำหรับสังคมโดยส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ มันเคยมีเพียงหนึ่งรูปแบบเของศรษฐกิจ นั่นก็คือ เศรษฐกิจแห่งการแลกเปลี่ยนขิงกินของใช้ หรือ (the gift economy) รูปแบบเศรษฐกิจนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากที่มันดำเนินต่อมาเรื่อยเป็นเวลาหลายแสนปี (ถ้าไม่ใช่มันถึงเป็นล้านปี) จนถึงกระทั่งวัตนธรรมของพวกเราได้เผชิญหน้ามันด้วยชัยชนะและแทนที่มันด้วยระบบทุนนิยม  (หรือด้วยลักษณะใดก็ตามของแต่ก่อนที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนในเวลานั้น) ที่จริงแล้ว มันไม่ควรจะถูกเรียกว่า ‘เศรษฐกิจ economy’ เนื่องจากมันมีความเหมือนกันเพียงน้อยนิดกับรูปแบบของเศรษฐกิจต่างๆ การวางสัญลักษณ์ของ ‘ความเป็นศิวิไลซ์ civilized หรือผู้มีอารยธรรม’ ไว้บนการกระทำและการปฏิบัติของชนพื้นเมืองนั้นถือเป็นการทำให้เข้าใจผิดและทำให้แตกแยกกัน และบ่อยครั้งมักนำมาใช้สำหรับการอ้างเหตุผลแก้ตัวของการกล่าวถึง ‘ความเป็นธรรมชาติ หรือ naturalness’ ของระบบการแสวงหาผลประโยชน์ คำว่า ‘เศรษฐกิจ หรือ economy’ ถูกนำมาใช้ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติได้มาไม่นานนัก และ ณ ปัจจุบันนี้หากมองย้อนกลับไปยังการให้ตราสัญญาลักษณ์ทางธรรมเนียมปฏิบัติแบบดั้งดิม เหมือนเช่นเดียวกันกับ จักรวรรดิอังกฤษได้ทำการค้นพบประเทศออสเตรเลียและอ้างว่ามันคืออาณาเขตของพวกเขาเอง โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าใครอาศัยอยู่ที่นั่นมาก่อน  นั่นคือการปฏิบัติของชาวอาณานิคม วัตฒนธรรมดั้งเดิมมอบสิ่งของให้เป็นเหมือนของขัวญต่างๆ โดยปล่อยให้ผู้รับเป็นคนเลือกเองว่าอะไร ถ้ามีอะไร ที่จะป็นของให้กลับคืน ด้วยวิธีการนี้ ผู้คนสามารถปล่อยให้ความรู้สำนึกในบุญคุณและมิตรไมตรีนำทางให้พวกเขาและการกระทำแต่ทุกๆอย่างคือ การกระทำแบบส่วนตัวและกระทำด้วยตนเอง

ในประเทศไทยนั้น ส่วนหนึ่งของประเพณีนี้ยังคงดำรงอยู่ (เรียกว่าประเพณีการให้ ของฝาก) มันถือเป็นเรื่องธรรมดาสามัญในการที่จะเอาของฝากเล็กๆน้อยๆหรือของที่ละลึกต่างๆไปฝากคนที่คุณจะไปเยี่ยมเยือน ถึงแม้ว่าไม่ได้มีใครคาดคิดว่าตนจะได้รับของฝากใดๆ เช่น การให้ของฝากงานแต่งงาน งานวันปีใหม่ หรือวันสำคัญๆของบุคคลที่คุณรัก หรือของฝากสำหรับการมีน้ำใจเล็กๆน้อยๆให้กับคนอื่นที่ไม่รู้จักหรือพึ่งจะรู้จักกัน ป็นต้น การให้ของฝากหรือให้ของขวัญถือเป็นการแสดงถึงความมีน้ำใจและเป็นมิตรต่อกันและกัน ซึ่งคาดว่าทุกท่านจะรู้สึกได้เมื่อคิดเกี่ยวกับเรื่องของฝาก ผู้ให้รู้สึกดีและผู้รับก็รู้สึกซึ้งในน้ำใจ มันถือเป็นการสร้างความสัมธ์อันลึกซึ้งได้ในระดับหนึ่ง โดยฉพาะอย่างยิ่งในระดับครอบครัวและวงศาคณาญาติ รวมถึงเพื่อนมิตรสหายต่างๆ มันคือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน ในอดีตเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกันก็จะแลกเปลี่ยนของกินของใช้กันแบบไม่ต้องจ่ายเงิน ใครมีอะไรเยอะก็เอามาฝากกัน และเวลาขาดอะไรคุณก็จะยังอยู่รอดได้ เพราะสินน้ำใจที่เคยทำมา ซึ่งถือเป็นประเพณีหนึ่งที่มีคุณค่ามากยิ่งและควรค่าแก่การรักษาสืบทอดกันต่อไป นอกจากนี้ ประเพณีการให้ของฝากนี้ยังคงพบเห็นได้ทั่วๆไปทั้งในภูมิภาคเอเชียอีกด้วยซึ่งแต่ละประเทศก็จะให้ของแตกต่างกันไป

พวกเราแลกเปลี่ยนของฝากหรือของขวัญกับเพื่อนๆและกับพื่อนบ้านกันอยู่ป็นประจำ เนื่องจากสวนของเรามีของกินมากเกินพอ หลายๆครั้งที่เราไม่สามารถที่จะกินทุกอย่างหมดได้เอง (พวกเราไม่ชอบการนำเอาของกินไปขาย ดังนั้นเราจึงทำเป็นของฝาก) ตัวอย่างเช่น เรื่องหน่อต้นกล้วยที่มักจะออกลูกพร้อมๆกันและส่วนมากก็จะสุกพร้อมๆกัน ซึ่งเราก็จะกินกันไม่ทัน มันจึงถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่นำมาใช้ได้ในชุมชน ด้วยการยกระดับความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความมีน้ำอกน้ำใจในละแวกใกล้ชิดที่คุณอาศัยอยู่ ยิ่งถ้าคุณไม่ได้คาดว่าจะได้ของฝากอะไร วันนั้นมันก็จะทำให้วันของคุณสดใสไปทั้งวันได้

ของที่พวกเราให้เป็นของฝากอยู่ป็นประจำ ได้แก่ ของที่เราได้วันหนึ่งที่มันมากเกินพอสำหรับพวกเรา ดังนี้

  • กล้วยต่างๆ
  • ปลา (โดยเฉพาะฤดูร้อนที่น้ำลดลงอยู่ในระดับต่ำ ง่ายต่อการจับปลา)
  • พืชผักหลายชนิด
  • ผลไม้แปลกๆที่ไม่มีในแถบนี้
  • สมุนไพรแห้ง ได้แก่ อบเชยตากแห้ง หญ้าหวานแห้ง ดอกระเจ๊ยบแห้ง ใบมิรต์แห้ง
  • ต้นหญ้าหวาน ต้นมินต์ ต้นผลไม้ต่างๆ สมันไพรที่แบ่งได้สำหรับปลูกต่อ

ของต่างๆที่ราได้รับกลับ อาทิเช่น

  • น้ำผึ้งป่า
  • เนื้อหมู่ป่าที่มีตับติดมาด้วย
  • เนื้องูเหลือมบางส่วน
  • ตัวบ่าง จากเพื่อนบ้าน
  • ผลไม้พื้นบ้าน สมุนไพรพื้นบ้าน อาหารทำเองบางโอกาส

ทำไมรื่องขายจึงยากลำบาก? ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าด้ารศีลธรรมและความมีเหตุมีผล การแลกเปลี่ยนของเคยปฏิบัติกันมาเป็นขนมธรรมเนียมบางอย่าง ที่คุณทำกับศัตรูของคุณในกลุ่มชนพื้นเมือง พวกเขาไม่แลกเปลี่ยนของกันกับเครือญาติ ตามที่ นักเขียนชื่อว่า Fredy Pearlman เขียนไว้ในหนังสือชื่อเรื่องว่า “Against His-story Against Leviathan” ไว้ดังนี้

บุคคลหนึ่งคนให้สิ่งของ เช่นเดียวกันกับเขาร้องเพลงหรือเล่าเรื่องราวต่างๆ หรือจินตนาการถึงครือญาติของธอ ผู้รับอาจะหรือไม่อาจจะตอบแทนกลับคืนในโอกาศอื่นบางครั้ง การให้คือแหล่งที่มาของความพึงพอใจ เราจะถูกดึงตัวออกไปไกลจากเรื่องนี้ เราจะไม่เข้าใจเรื่องนี้เลย นั่นจะถือป็นปมด้อยของพวกเรา ไม่ใช่ขิงเธอ เธอจะแลกเปลี่ยนสิ่งของกับแค่ศัตรูเท่านั้น ถ้ากลุ่มปรปักษ์กลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลออกไป หากพวกเขามีบางสิ่งบางอย่างที่เธอต้องการ เธอและชายลูกพี่ลูกน้อยที่แข็งแรงจะออกไปยังกลุ่มปรปักษ์นั่นกับบางสิ่งบางอย่างที่พวกเขาอาจจะต้องการ เธอเสนอแนะของขวัญของตน และหากคู่ปรปักษ์มีของที่จะมอบให้เธอที่ดีกว่า เธอก็จะเดินกลับหมู่บ้านมากับของขวัญของตนที่ถือไป ในไม่ช้าหลังจากการปรากฏขึ้นของเมืองแรกที่ชื่อว่า Ur เมืองเออร์ [หนึ่งในเมืองแรกๆของอารยธรรมเมโสโปตเมียช่วงแรกเริ่ม เมื่อ 3,800 ปีที่แล้ว] การแลกเปลี่ยนของกลายมาเป็นเรื่องที่แพร่หลาย ตอนนี้ทุกคนเป็นศัตรูต่อกันและกันอย่างแท้จริง

ระบบทุนิยม (และการขยายตัวเพิ่มขึ้นของอารยธรรมเอง) พยายามที่จะหมุนพวกเราทั้งหมดให้เป็นคู่แข่งขันกัน จนถึงขั้นว่าเป็นศัตรูกันก็ได้  พวกเราไม่ชอบวิธีของการสร้างความรู้สึกทางลบและการกีดกันชุมชมและความไม่เห็นแก่ตัว

มีการใช้เงินมากกว่ามาเป็นเวลานานแล้ว แทนที่จะทำเป็นการให้ของฝากหรือให้ของขวัญหรือแลกเปลี่ยนของกินของใช้กัน การใช้เงินจึงส่งผลให้บุคคลหล่านั้นมีปัญหาทางการเงินและบ่อบครั้งกิดขึ้นกับคนที่จำป็นต้องใช้มากจริงๆ เรื่องนี้ก่อให้กิดความเสียหายอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อมันป็นเรื่องอาหาร เนื่องจากความเสียเปรียบทางด้านของเศรษฐกิจ (เราไม่มีสวนอาหารของตัวอง) พวกเขาก็จะมีสุขภาพไม่แข็งแรงนักเนื่องจากไม่สามารถหาซื้ออาหารคุณภาพและอาหารสุขภาพได้ในมื้ออาหารที่กินเป็นประจำ จึงทำให้สถานการณ์ของพวกเขาย่ำแย่ลง  ความอัตคัตคือกับดัก และการแลกเปลี่ยนของแบบที่ต้องใช้เงินคือความไม่ยุติธรรม

เนื่องจากว่าพวกเราไม่ชอบการลดลงของอะไรก็ตามให้อยู่ในจำนวนของตัวเลขเท่านั้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งค่าของบางอย่างให้อยู่ในคุณค่าหรือราคามารตฐาน) พวกเราพิจารณาราคาของอะไรที่มีในสวนที่มอบให้เราอย่างเหมาะสมเท่ากับค่าเป็นศูนย์ และพวกเรายังคิดอีกว่าของเหล่านั้นมันไม่ใช่ของที่เราสร้างขึ้นมาเองแต่มันป็นพืชผักหรือต้นผลไม้เองที่สร้างผลผลิตนั้นๆให้กับพวกเรา แทนที่จะกำหนดมันให้อยู่ในลักษณะของทฤษฏีทางตัวเลข เรากลับพิจารณาทุกๆส่วนของผลผลิตให้เป็นแบบแต่ล่ะอย่างล้วนล้ำค่าและมีคุณค่า นั่นคือการทำให้มันมีราคาที่เหมาะสมอย่างไม่มีวีนสิ้นสุดนั่นเอง

No comments.