นิเวศ​วิทยาเชิงลึก

นิเวศ​วิทยาเชิงลึก

นิเวศวิทยาเชิงลึก

นิเวศวิทยาเชิงลึก หรือ Deep Ecology  คือ หลักปรัชญาทางนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนคุณค่าของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่เอื้อประโยชน์ของพวกเขาต่อความจำเป็นของมนุษย์ โดยมีจุดยืนในทางตรงกันข้ามกับแนวทางหลักๆ เช่น แนวคิดตามโลกทัศน์ที่ยึดถือเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง (anthropocentric worldview) ซึ่งมีต้นกำเนิดในแนวคิดของเกษตรกรรมที่ได้บังเกิดขึ้นมาตั้งแต่แรกเริ่มของอารยธรรม เมื่อ 8,000 ปีที่แล้ว  เนื่องจากมันชัดเจนแล้วว่ารูปแบบการจำลองในปัจจุบันไม่สามารถใช้งานได้ในระยะยาวกับบริบททางนิเวศวิทยาในวงกว้าง (คิดดูเกี่ยวกับเรื่องความล้มเหลวทางสภาพอากาศ หรือ Climate Breakdown และวิกฤติการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6  หรือ the Sixth Mass Extinction Event ที่เป็นผลมาจากน้ำมือของมนุษย์ชาวศิวิไลซ์ โดยการตัดไม้ทำลายป่า การทำลายล้างแหล่งที่อยู่อาศัย การสูญเสียชั้นหน้าดิน อุตสาหกรรมเหมืองแร่ สภาวะมลพิษ และอื่นๆ)  การสร้างโครงสร้างของสังคมสมัยใหม่ให้กลับคืนมาอีกอย่างจริงจังได้นั้นคือความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เราได้สร้างความเสียหายไว้แล้วต่อสิ่งแวดล้อมของพวกเราเอง การสร้างโครงสร้างดังกล่าวควรที่จะเกิดขึ้นอย่างสอดคล้องกันในบทสรุปของ นิเวศวิทยาเชิงลึก กล่าวคือ ด้วยการฟื้นฟูชุมชนต่างๆเพื่อที่จะวางพวกเขาไว้ในบริบททางนิเวศวิทยา เช่น การสร้างแรงบันดาลใจมาจากชุมชนของชนพื้นเมืองทั่วโลก ความเข้าใจอย่างท่องแท้ของนิเวศเชิงลึกเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ชนเผ่าพื้นเมืองรู้จักเรื่องนี้มาตั้งแต่ช่วงเริ่มแรก (ถ้าคุณถามพวกเขาดู) หรือนับมาตั้งแต่ช่วงไม่กี่แสนปีเป็นอย่างน้อย ถ้าไม่นานกว่านั้นนะ (ถ้าคุณถามกับนักมนุษยวิทยา) วัฒนธรรมของชนพื้นเมืองทั่วโลกนั้นไม่ได้หลงลืมจุดยืนของตนในจักรวาล พวกเขามองเห็นภาพที่ใหญ่กว่า และมองได้อย่างชัดเจนมากกว่าบรรดานักวิชาการหรือบรรดานักคิดทั้งหลายในปัจจุบันนี้ และพวกเขายังคงอาศัยอยู่ในบริบททางนิเวศวิทยาได้อย่างเป็นเอกลักษณ์มาจนถึงทุกวันนี้ (อย่างน้อย จากเศษเสี้ยวที่เหลือจากชาวอารยชนที่ยังไม่ได้ทำลายล้างพวกเขา)

นิเวศวิทยาเชิงลึกถกเถียงว่า โลกธรรมชาติคือ ความสมดุลที่ละเอียดอ่อนของความสัมพันธ์ระหว่างกันอันซับซ้อนในเรื่องการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่พึ่งพาการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆภายในระบบนิเวศ ด้วยการเข้าแทรกแซงของมนุษย์ หรือด้วยการทำลายทางโลกธรรมชาติซึ่งทำให้เกิดการคุกคาม ฉะนั้นแล้ว การคุกคามนั้นไม่ใช่เพียงแค่กับมันษย์แต่จะเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่สร้างชุมชนทางธรรมชาติ ตัวอย่างที่ชัดเจนมากสุดก็คือ การตัดไม้ทำลายป่า (deforestation) การเข้าร่วมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยการต่อต้านการดำรงชีพ ชุมชนผืนป่าที่กำลังเติบโต ที่ส่งผลให้ธารน้ำเหือดแห้งและชั้นดินถูกพัดพาไปยังมหาสมุทร  ที่มันหยุดเมฆฝนจากการก่อตัวเป็นฝนและ ที่ฆ่าสิ่งมีชีวิตนับพันล้านไป รวมถึงคร่าแหล่งที่อยู่อาศัยทั้งหมดของพวกเขาด้วยเช่นกัน ครั้งหนึ่งที่คุณได้ไปถึงจุดเริ่มต้นเฉพาะ เช่น จุดสุดท้าย หรือ Tipping Point  ระบบนิเวศมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจากสภาพที่ซับซ้อนไปยังสภาพที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งในกระบวนการนี้ พวกเขาจะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพส่วนใหญ่และสูญเสียความยืดหยุ่นไปด้วย เรากำลังจะเป็นพยานได้เกี่ยวกับรื่องนี้ในแถบป่าดิบชื้นแอมะซอน ที่ซึ่งมีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างอาละวาด จะเปลี่ยนแปลงผืนป่าจากป่าดิบชื้นไปเป็นกึ่งป่าทุ่งหญ้าแห้งแล้งในอีกเร็วๆนี้ เราได้เป็นพยายานให้กับผืนป่าใต้ท้องทะเลมาแล้ว เช่น การสูญเสียแนวประการังทั่วโลก

หลักทฤษฎีสำคัญของนิเวศวิทยาเชิงลึก คือ ความเชื่อที่ว่า สภาพความเป็นอยู่ของสิ่งแวดล้อมทั้งหมดควรที่จะได้รับความเคารพและยกย่องเหมือนการมีหลักศีลธรรมและสิทธิชอบธรรมโดยกฏหมาย เพื่อการดำรงอยู่และเจริญเติบโต ผึ้งเป็นผู้ที่ผสมเกสร คือตัวอย่างหนึ่งที่นิยมกัน โดยปกติแล้วเรื่องสำคัญที่น่ากังวลจะวางอยู่ในการที่ว่ามนุษย์จะได้รับอาหารเพียงพอได้อย่างไรเพื่อที่จะทำในสิ่งที่เราทำกันต่อไป (กล่าวคือ ในการทำลายสิ่งแวดล้อม) ดังนั้น บรรดานักวิศวกรและบรรดานักลงทุนได้มีแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น การสร้างผึ้งจากหุ่นยนต์ หรือ การจ้างคนใช้แรงงานเพื่อที่จะผสมเกสรต้นผลไม้ด้วยมือ  แน่นอนล่ะว่า การสูญเสียตัวผสมเกสรที่มีประสิทธิภาพส่วนใหญ่ไปนั้นจะไม่ได้มีผลกระทบต่อมนุษย์เท่านั้น (และที่โดนอย่าเห็นได้ชัดก็คือ พืชต่างๆ) แต่ยังกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆด้วย ทั้งแบบทางตรงและแบบทางอ้อม เช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานและแมลงอีกด้วย สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเป็นมากกกว่า “แหล่งทรัพยากร resources” พวกเขาต่างก็เป็นเพื่อนและเป็นศัตรู เป็นเพื่อนร่วมงานและก็เป็นคู่แข่งขัน แต่ที่สำคัญมากสุดก็คือว่า พวกเขาเป็นพวกพ้องและญาติพี่น้องกับเรา และมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชนพื้นเมืองต่างก็รู้จักมาโดยตลอด พวกเราทั้งหมดได้ถือกำเนิดขึ้นมาจาก แม่ผู้ยิ่งใหญ่ Great Mother เดียวกัน (Great Mother ในที่นี้หมายถึงธรรมชาติ) และพวกเราทั้งหมดคือลูกหลานของเธอ พวกเราทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุและสสารเดียวกันที่ถูกใช้ไปแล้วและถูกนำกลับมาใช้อีกนับมาตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกของเวลา เธอไม่รักใครไปมากกว่าคนอื่น กล่าวคือ มดตัวที่เล็กมากที่สุดก็เท่ากับปลาวาฬสีน้ำเงิน และ ไลเคน หรือ เห็ดราที่ขึ้นตามต้นไม้หรือก้อนหินก็เท่ากันกับต้นไม้เรดวูด และเธอได้จัดเตรียมไว้ให้ลูกหลานของเธอด้วยทุกๆอย่างที่เราต้องการ

อะไรที่ทำให้นิเวศเชิงลึก “เป็นเชิงลึก”  ก็คือมันมองดิ่งลึกลงไปมากกว่าในความเป็นจริง ณ ปัจจุบันของความสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับโลกธรรมชาติ และรวมถึงเรื่องความรู้สึกต่างๆ อารมณ์ต่างๆ และเรื่องทางจิตวิญญาณ และดังนั้น จึงมาถึงบทสรุปที่ว่า เป็นเชิงลึก หรือ (“deep”) ก็คือการยึดตามหลักปรัชญาของนิเวศวิทยาเองได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าหลักนิเวศวิทยาแบบทั่วไป หลักนิเวศวิทยาด้วยแนวคิดเแบบลดทอน ซึ่งถือเป็นเพียงแค่เรื่องธรรมดาๆและเป็นไปตามเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แขนงหนึ่งของวิชาชีวิวิทยา

นิเวศเชิงลึก คือเรื่องที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อของนักสิ่งแวดล้อมนิยมที่ถือเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง หรือ anthropocentric environmentalism (ซึ่งแนวคิดนี้จะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้เพียงเพื่อการเข้าเอารัดเอาเปรียบโดยมนุษย์และสำหรับจุดประสงค์ของมนุษย์) แนวคิดนี้ถูกทำให้เป็นแนวคิดย่างถาวรโดย องค์กรสหประชาชาติ หรือ (the UN)  โดย เดวิด แอตเทนบะระ หรือ (David Attenborough) โดยหน่วยงานและองค์กรรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม กรีนพรีช หรือ Greenpeace และ กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF (World Wide Fund for Nature) เนื่องจากนิเวศเชิงลึกมีพื้นฐานอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างอย่างรุนแรงของสมมติฐานทางหลักปรัชญา

นิเวศเชิงลึกนำเอาแนวคิดแบบองค์รวมมาใช้มากกว่า เกี่ยวกับโลกมนุษย์ที่ดำรงชีวิตอยู่และแสวงหาเพื่อนำมาใช้กับชีวิต ความเข้าใจที่ว่าส่วนต่างๆที่แยกออกจากระบบนิเวศ (รวมถึงมนุษย์) ทำงานร่วมกันทั้งหมด เหมือนกับแนวคิดของ James Lovelock’s Gaia Hypothesis หรือ เจมส์ เลิฟลอค  ของทฤษฎีกายา (ที่เชื่อว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีปฏิสัมพันธ์กับโลก) มันประกอบไปด้วย แนวคิดพื้นฐานสำหรับสภาวะทางสิ่งแวดล้อม สำหรับนิเวิศวิทยา  สำหรับลัทธินับถือวิญญาณยุคใหม่ (neo-animist) สำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงด้านสิ่งแวดล้อม (eco-radical) สำหรับผู้นิยมอนาธิปไตยแนวนิเวศ (green anarchist) สำหรับการเคลื่อนไหวของลัทธิอนาธิปไตยที่มีคตินิยมแบบดั้งเดิม (anarcho-primitivist movements) และสำหรับการส่งเสริมและการสนับสนุนหลักการใหม่ของหลักจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม เรื่องมุมมองและแนวคิดที่สนับสนุนการอนุรักษ์ความเป็นผืนป่า การควบคุมจำนวนประชากรมนุษย์ การดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย การฟื้นฟูสภาพและการค้นพบได้อีกครั้งทางจิตวิญญาณและความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงติดกัน  

Arborphilia
Trees are wonderful beings ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มหัศจรรย์ยิ่ง
คำนี้ย่อมาจากคำว่า Dendrophilia โดยคำว่า Arborphilia แปลตรงๆได้ว่า หลงไหลเรื่องต้นไม้love of trees”

ต้นไม้คงจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยึดหลักปฏิบัติที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้งได้มากที่สุด พวกเขาเป็นผู้ให้อย่างมากมายและเป็นผู้รับเพียงน้อยนิด พวกเขาให้ออกซิเจนสำหรับเราได้หายใจ เป็นตัวกรองน้ำสำหรับเราได้ดื่มน้ำ ให้ของขวัญกับพวกเราจากพืชผล จากใบ จากโคน จากกิ่งก้าน และจากราก ของพวกเขา พวกเขามีชีวิตอยู่ได้เป็นร้อยปี บางครั้งเป็นพันปี และบ่อยครั้งทนทานต่อสภาวะต่างๆที่มากเกินไปสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น อาทิเช่น ภัยแล้งอันรุนแรง หรือเรื่อง wildfires.

เรื่องการปีน คือหนึ่งในเรื่องที่ดีที่สุดของการออกกำลังกายทุกรูปแบบ (ถ้ามันไม่ใช่เป็นเรื่องที่ดีมากที่สุด) และมันทำให้คุณแข็งแรงรวมถึงร่างกายสามารถยึดหยุ่นได้ คนที่ปีนบ่อยๆจะมีความสัมพันธ์รักใคร่อันลึกซึ้งกับธรรมชาติ ความจริงแล้วเรื่องนี้คือหนึ่งในเหตุผลที่คุณมักจะได้ยินกันบ่อยๆตอนที่มีคนถามคุณว่าทำไมถึงชอบปีน มันทำให้คุณรู้สึกได้ถึงความสัมพันธ์กับธรรมชาติ และถ้าคุณปีนต้นไม้มันก็จะทำให้คุณรู้สึกมีความสัมพันธ์กันต้นไม้นั้น ถ้าคุณทำการเก็บเกี่ยวผลไม้ ความเพลิดเพลินอันลึกซึ้งของการเก็บเกี่ยวอาจจะทำให้คุณรู้สึกขอบคุณสำหรับของขวัญที่ต้นไม้นี้มอบให้คุณ และเรื่งแปลกๆที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยให้ต้นไม้ทำผลไม้ที่กินอร่อยโดยไม่ได้ใส่อะไรเลย แต่เป็นเรื่อง ดิน อากาศ แสงแดด และ ฝูงผึ้ง ไส้เดือน และเหล่าแมลงต่างๆที่ร่วมด้วยช่วยกันทั้งหมด ขณะที่ทำการปีนนั้นมันอาจจะจะเกิดขึ้นได้แบบว่า ต้นไม้ทำการสื่อสารกับคุณด้วยซ้ำ: ถ้าคุณฟังดูอย่างระมัดระวังและเอาใจใส่ ต้นไม้ส่วนใหญ่เตือนคุณก่อนที่กิ่งของมันกำลังจะหักจากน้ำหนักตัวของคุณ เช่น คนที่มีน้ำหนักตัวเยอะๆ ต้นไม้จะทำเสียงโอดโอยหรือแตกหักเพื่อที่จะทำให้คุณเห็นว่าเขาอุ้มคุณไว้ได้อีกไม่นาน


While climbing it may happen that the tree even communicates with you: if you listen carefully and pay attention, most trees warn you before a branch is going to break under your weight: like a person that carries a heavy load the tree groans/creeks to show you he can’t hold you much longer.

นักเขียนชื่อ Paul Shepard เขียนในหนังสือของเขา ชื่อเรื่อง “Coming Home to the Pleistocene” ไว้ว่า เราชาวมนุษย์ ตามที่แต่ก่อนเป็น นักปีนที่แป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม primate climbers อาจจะยังเป็นเช่นนั้นจากเรื่องทางด้านจิตวิทยากับทางด้านสัญชาตญาณที่หลงไหลเรื่องต้นไม้ ในแง่ของความปลอดภัยและสิ่งดีๆทุกเรื่องที่เกิดขึ้น

 มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นที่ชี้แนะว่า พืชต่างๆมีรูปแบบของความเฉลียวฉลาดอย่างแน่นอน พวกเขาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ (ตัวอย่างเช่น เรื่อง ร่างแหที่เชื่อมโยงติดกันของเชื้อรา  internet-like network of fungi) และแม้กระทั่งว่ามีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวบางอย่างอีกด้วย ต้นไม้ที่เป็นต้นแม่จะสำผัสรับรู้และเลี้ยงดูต้นลูกของพวกเขา และบ่อยครั้งจะมีการใช้กลยุทธ์แบบเท่าเทียมกันในระหว่างและภายในชนิดเดียวกัน แบบความสัมพันธ์จากพืชหนึ่งไปยังอีกพืชหนึ่ง ซึ่งวางอยู่ในทางตรงกันข้ามกับแนวคิดแบบเดิมที่ว่า ต้นไม้ต่างก็ต่อสู้กันแข่งขันและกันเท่านั้นเพื่อที่จะได้แสงแดง สารอาหาร น้ำ และอื่นๆ (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หลักการอยู่รอดที่เหมาะสม

บนภาคพื้นดินระบบทุนนิยมปกครอง แต่ ในดินเครือข่ายสังคมนิยมควบคุม
กล่าวโดย Ian Baldwin, molecular biologist นักอณูชีวิวิยา

คำว่า Ecosexuality คือคำที่ถูกกำหนดใช้โดยนักเขียนหลายท่านของหนังสือในชื่อเรื่องว่า “Ecosexuality – When Nature Inspires the Arts of Love สำหรับพวกเราโดยพื้นฐานแล้วมันหมายถึง การหลงรักกับโลก เหมือนเป็นการต่อต้านในการมองว่าโลกเป็นวัตถุที่ไม่มีชีวิต โลกมีไว้เพื่อโดนเอาเปรียบสำหรับการใช้สอยของมนุษย์ โลกทัศน์ที่ถือเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง (anthropocentric worldview) คือศัตรูของกลุ่มคนที่มีแนวคิดแบบ ecosexuality (ecosexuality คือ การนิยามอัตลักษณ์ทางเพศใหม่ของผู้ที่หลงรักและเกิดอารมณ์ทางเพศต่อธรรมชาติ) เนื่องจากโลกทัศน์ที่ถือเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางจะมองแค่มนุษย์เป็นตัวหนุนหลักของจักรวาลและโลกเป็นเพียงแค่สถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สามารถถูกควบคุมไว้ให้มันตรงกับความปราถนาของใครคนหนึ่ง ถึงแม้ว่าคุณยอมรับมันแต่ไม่พอใจกับการยอมรับธรรมชาติที่ให้อากาศหายใจ ให้น้ำดื่มดินสำหรับพวกเรา สิ่งเหล่านี้ยังไม่เพียงพอสำหรับพวกเรา

นักเขียน Charles Eisenstein เขียนไว้ว่า คู่รักไม่ได้พูดว่า ฉันเป็นห่วงเกี่ยวกับคุณเพราะว่า ถ้าหากไม่มีคุณ ใครจะซักเสื้อผ้าให้ฉัน? ความรักมีไว้สำหรับใครที่เป็นคนที่รักทั้งในและของพวกพวกเขาเอง แล้วการที่มีคนรักนั้น คนหนึ่งจะต้องเห็นความเป็นตัวตนของอีกคนหนึ่ง แนวคิดของพวกเราได้ทำให้พวกเรามองไม่เห็นความเป็นอยู่ของโลกและของสิ่งที่อาศัยอยู่ในโลกและอยู่บนโลกโดยส่วนใหญ่ ในการรักษ์โลกเราจะต้องมองเห็นมันเป็นตัวตนไม่ใช่เห็นเป็นวัตถุ บางคนบอกว่า การทำให้เป็นรูปธรรมของสตรี คือนัยสำคัญที่ต้องมาก่อนสำหรับเรื่องการ
ขืมขืน เรื่องเดียวกันอาจจะเป็นจริงสำหรับโลกก็ได้

มันหมายถึงการหลงรักกับโลกอีกครั้ง จงอย่าลืมไปว่า ครั้งหนึ่งพวกเราทั้งหมดได้หลงรักกับโลกไปแล้ว เหมือนที่มันยังเป็นแบบนั้นท่ามกลางชนเผ่าดั้งเดิม ผู้คนที่ไม่ได้สูญเสียความสัมพันธ์กับธรรมชาติไป ซึ่งมันคือเรื่องที่เป็นไปตามธรรมชาติในตัวพวกเราทุกคน

No comments.