ลัทธิเต๋า (Taoism) หรือศาสนาเต๋า
คำคมบางส่วนของ เต้าเต๋อจิง (Tao Te Ching)
Empty yourself of everything. Let the mind rest at peace. The ten thousand things rise and fall while the Self watches their return. They grow and flourish and then return to the source. Returning to the source is stillness, which is the way of nature. The way of nature is unchanging. Knowing constancy is insight. Not knowing constancy leads to disaster. Knowing constancy, the mind is open. With an open mind, you will be openhearted. Being openhearted, you will act royally. Being royal, you will attain the divine. Being divine, you will be at one with the Tao. Being at one with the Tao is eternal. And though the body dies, the Tao will never pass away. -Tao Te Ching
ปล่อยว่างตัวคุณจากทุกสิ่งอย่าง ปล่อยให้จิตสงบนิ่งอยู่บนความผาสุข หมื่นพันสิ่งอย่างเกิดขึ้นและตกลงขณะที่ตัวตนมองดูการกลับไปของมัน พวกเขาเติบโตและเฟื่องฟูและกลับคืนสู่ต้นกำเนิด การกลับคืนสู่ต้นกำเนิดคือความนิ่ง ซึ่งเป็นหนทางแห่งธรรมชาติ หนทางแห่งธรรมชาติมิอาจเปลี่ยนแปลงได้ การหยั่งรู้ถึงความคงตัว คือเชาวน์ปัญญา การไม่หยั่งรู้ถึงความคงตัว คือความหายนะ การหยั่งรู้ความคงตัว จงเปิดดวงจิต ด้วยการเปิดดวงจิต คุณจะเป็นคนสัตย์ซื่อ การเป็นคนสัตย์ซื่อ คุณจะปฏิบัติด้วยความภักดี ด้วยความภักดี คุณจะบรรลุไปสู่จิตวิญญาณ การเข้าถึงจิตวิญญาณ คุณจะเป็นหนึ่งเดียวกับเต๋า การเป็นหนึ่งเดียวกับเต๋าคือการอยู่อย่างชั่วนิรันดร์ และถึงแม้ร่างกายจะตายไป แต่เต๋าจะไม่เคยตายจากไป
(แปล โดย กานต์ / หากสำนวนไม่ตรงกับบทที่คุณเคยรู้จักหรือได้ยินมานั้นต้องขอเรียนว่า ผู้แปลได้แปลตามความเข้าใจของตน อาจจะไม่ไพเราะเท่ากับนักแปลบทกวี)
ลัทธิเต๋าคือศาสนาจีนโบราณ ประมาณ 2400 BP ปีก่อน นับจากช่วงเวลาที่อารยธรรมจีนเพิ่มขีดความเร็วขึ้นและในช่วงการใช้ความรุนแรง ระหว่างช่วงยุคสงครามระหว่างอาณาจักรและได้กลายมาเป็นสิ่งที่ครอบคลุมทั้งหมด โดยได้รับอิทธิพลมาจาก ยุคแรกๆของโรงเรียนแห่งนักธรรมชาตินิยม (เรียนอีกชื่อหนึ่งว่า โรงเรียนแห่งหยินและหยาง “School of Yin-Yang”) ลัทธิเต๋า คือ ระบบความเชื่อที่ยึดติดกับธรรมชาติอย่างแน่นแฟ้น คำว่า เต๋า (ซึ่งแปลได้ว่า หนทาง หรือ วิถีทาง ) คือโดยพื้นฐานแล้วเป็นเพียงแค่นามธรรมสำหรับ การทำงานของธรรมชาติในระดับเอกภพ จึงทำให้เกิดคำว่า Tao-ism (แปลตามตัวได้ว่า หนทางแห่งหนทาง หรือเส้นทางเดินแห่งเส้นทางเดิน วิถีแห่งธรรมชาติ หนึ่งในทฤษฎีหลักของลัทธิเต๋าก็คือ อู๋เหวย หรือ“wu wai” (ในเชิงวรรณกรรม คือ การไม่กระทำ หมายถึง ไม่มีการกระทำ) ซึ่งเน้นย้ำถึงการกลับคืนสู่สภาพของสิ่งมีชีวิตของสรรพสิ่ง ปลดปล่อยการควบคุมทิ้งไป ลบล้างเรื่องการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกพืชผัก และเป็นการปล่อยให้ธรรมชาติเป็นผู้นำทางให้เรา มันจึงสอดคล้องกับแต่ล่ะมุมมองและทุกๆด้านของชีวิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตอนที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของเราเอง ตัวอย่างเช่น when we do gardening ชาวนาชาวญี่ปุ่นคุณ มาชาโนบุ ฟูกูโอกะ( Masanobu Fukuoka) ได้พัฒนาวิธีการของ “do-nothing farming” มาจากแนวคิดพื้นฐานของลัทธิเต๋านั่นเอง นอกจากนี้แล้ว ลัทธิเต๋าได้นำเสนอบทวิจารณ์ของอารยธรรมเป็นครั้งแรก บทเขียนของลัทธิเต๋าทำให้มันชัดเจนว่า พวกเขาให้คุณค่าต่อช่วงเวลาก่อนที่มีอารยธรรมและจึงได้ทำให้มันเป็นเป้าหมายของชาวลัทธิเต๋าในการกลับคืนสู่ระดับของความสงบสุขนี้ นักปรัชญาร่วมสมัยชื่อ เติ้งหมิง ดาว (Deng Ming Dao) ได้เขียนคำอธิบายไว้อย่างเยี่ยมยอดในหนังสือของเขาในปี 1983 ชื่อเรื่องว่า The Wandering Taoist ซึ่งกล่าวไว้ดังนี้ “มนุษย์ในช่วงเวลาอันยาวนานก่อนที่จะมีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ เคยเป็นส่วนหนึ่งของสภาวะอันสมดุลทางธรรมชาติและมนุษย์ดำรงอยู่อย่างกลมกลืนกับความลื่นไหลแห่งจักรวาล ตอนนั้นไม่มีลัทธิเต๋า เนื่องจากว่าเวลานั้นมนุษย์ไม่ได้แบ่งแยกตนออกจากความเป็นเต๋า หลักคำสอนจึงไม่มีความจำเป็นนัก แต่เหล่ามนุษย์ในยุคปัจจุบันนั้น ในความหยิ่งยโสของพวกเขาได้ทำให้พวกเขาแยกออกจากกัน พวกเขารักษาระยะห่างตัวเองจากหนทางแห่งเต๋า ความแตกต่างและความตระหนักรู้ได้บังเกิดขึ้น จากนั้นจึงต้องสร้างสรรค์หลักการขึ้นโดยบรรดานักปราชญ์เพื่อที่จะนำพามนุษย์กลับคืนสู่สภาพเดิม ในการที่จะทำลายความตระหนักรู้ของมนุษย์ถือเป็นการแบ่งแยกบางสิ่งออก และเพื่อที่จะกลับไปสู่สภาวะสมดุลของหนทาง อารยธรรมจึงเป็นรูปธรรมของความหยิ่งทะนงของมนุษย์ ดังนั้นลัทธิเต๋าได้ปรากฏขึ้นมานับตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มของอารยธรรม” คำอธิบายอย่างตรงไปตรงมาและอย่างซื่อสัตย์ของ “ชีวิตก่อนมีอารยธรรม” มาจากงานเขียนหนึ่งจากงานเขียนแรกๆและถือว่ามีอิทธิพลมากที่สุดของลัทธิเต๋า โดยจอมนักปราชญ์ชาวจีน ชื่อ จวงจื่อ Chuang Tzu เขียนไว้ดังนี้ “ในวันที่ธรรมชาติมีความสมบูรณ์ มนุษย์ต่างก็อยู่อย่างเงียบงันในการเคลื่อนไหวตัวของพวกเขาและท่าทางของพวกเขาแลดูสงบสุขุม ณ เวลานั้นมันยังไม่มีทางเดินผ่านขึ้นบนภูเขา ไม่มีเรือ ไม่มีสะพานบนแม่น้ำ ทุกสิ่งทุกอย่างทำขึ้นเองในท้องถิ่นจากธรรมชาติ บรรดานกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแผ่ขยายพันธุ์ ต้นไม้ พุ่มไม้ได้เติบโตงอกงามขึ้น สำหรับในวันที่ธรรมชาติสมบูรณ์ มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่กับบรรดานกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างๆ มันไม่มีความแตกต่างเรื่องชนิดของพวกเขา ใครสามารถรู้ได้ถึงความแตกต่างระหว่างสุภาพบุรุษและสามัญชนธรรมดา?” เขาเขียนไว้ที่อื่นๆอีกว่า “ในยุคสมัยนี้ หยิน และ หยาง คือความกลมกลืนและความสงบสุข และบรรดาผีสางและวิญญาณอันชั่วร้ายไม่ได้ก่อความปั่นป่วน ฤดูกาลทั้งสี่คือสัดส่วนที่เหมาะสมยิ่ง สิ่งมีชีวิตจำนวนมหาศาลไม่ถูกทำลาย ทุกชีวิตได้หลบหนีความตายก่อนถึงเวลาอันสมควร แม้กระทั่งว่ามนุษย์ได้มีความรอบรู้ พวกเขาก็ไม่รู้ว่าจะใช้มันกับอะไร มันคือสิ่งนี้ที่เรียกว่าการอยู่ในสภาวะความเป็นหนึ่งเดียวอย่างสุดเหวี่ยง ในยุคสมัยนี้ หลายๆสิ่งอย่างทำเสร็จได้โดยไม่มีใคร และทำสำเร็จได้โดยตัวพวกเขาเองตลอดเวลา” ลัทธิเต๋าได้ตระหนักรับรู้ถึงแนวโน้มการทำลายล้างโดยธรรมชาติให้กับอารยธรรมสมัยใหม่ (เหมือนกับการเพิ่มขึ้นของความไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่ได้กล่าวไปด้านบน) และแม้กระทั่งหยั่งรู้ได้ล่วงหน้าถึงบทสรุปของปรากฏการณ์อย่างสภาอากาศเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ผ่านช่วงเวลากว่านับพันปีก่อนที่มันจะเกิดขึ้น ตามที่เห็นได้ในข้อมความจากบทเขียนนอกของ นักเขียน จวงจื่อ Chuang Tzu (หรือ Zhuangzi) ดังนี้ “ดังนั้น เบื้องบนความงดงามของร่างกายบนสรวงสวรรค์คือความเลือนลาง เบื้องล่าง พลังแห่งพื้นดินและพลังแห่งผืนน้ำคือการลุกไหม้ ในขณะที่ระหว่างอิทธิพลของฤดูกาลทั้งสี่อยู่ในความโกรธเกลี้ยว” ลัทธิเต๋าแรกเริ่มนั้นป็นหนึ่งในอีกหลายกลุ่ม ผู้คนที่ได้พยายามที่จะได้ความปราถณาชีวิตของมนุษย์อันตัดขาดกันไม่ได้ ซึ่งเชื่อมต่อเหล่ามนุษย์เข้ากับส่วนที่เหลือของจักรวาล ชีวิตของมนุษย์ที่ชาวศิวิไลซ์ได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะ ตัดออกและฝังไว้ภายใต้หลายชั้นเชิงของการถือตนเป็นสำคัญ ความกลัว และเลห์เหลี่ยม ลัทธิเต๋า,v’เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นการเชื่อมโยงติดกันและมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน และเห็นทุกสิ่งอย่างเป็นเหมือนการมีต้นกำเนิดมาจากสิ่งเดียวกัน (ในความเชื่อที่ทางวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันภายหลังกับเรื่องทฤษฏีบิ๊กแบง ‘Big Bang Theory’) วิธีการหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น เพื่ออธิบายเกี่ยวกับตำนานแห่งสรรพสิ่ง “Creation Myth” จากแนวคิดของลัทธิเต๋าคงจะเป็นดังต่อไปนี้ ในครั้นแรกเริ่มนั้น มีเพียงแค่เต๋าเดียวที่นั่งอยู่ตลอดไปในความไม่สิ้นสุดที่ไม่จบสิ้น เต๋าเกิดความเหนื่อยล้ากับเรื่องนี้ จึงแบ่งตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่า เล่นซ่อนตัวและหาตัวด้วยวิธีการปรากฏตัวหลากหลายวิธีของมันเอง จนกระทั่งมันได้กลายมาเป็นนับหมื่นพันสิ่งอย่าง “ten thousand things” นั่นคือสำนวนจีนซึ่งหมายถึงบางอย่างเช่น ทุกสิ่งอย่างที่มี หรือหลายสิ่งหลายอย่างจำนวนมหาศาล นี่หมายถึงว่า ถ้าฉันมีปฏิสัมพันธ์กับคุณ (หรือกับส่วนใดก็ได้ในสิ่งแวดล้อมของฉัน) เราทั้งสองนั้นอยู่ทางโลกและปรากฏตัวอยู่ไม่ถาวรของสิ่งหนึ่งและสิ่งเดียวกัน นั่นก็คือความเป็นอมตะของลัทธิเต๋า อะไรก็ตามที่ฉันได้ทำให้คุณ (หรือทำให้สิ่งแวดล้อมของฉัน) ฉันก็ทำให้ตัวฉันเอง สำหรับความเป็นเราแต่เป็นส่วนอื่นๆของหลุมเดียวกัน การมองแบบองค์รวม มุมมองทางนิเวศวิทยาเชิงลึกของธรรมชาติได้รับการสนับสนุนมาจาก จวงจื่อ Chuang Tzu ในคำเปรียบเทียบ ดังนี้ “จงใช้ม้ามากกว่าการทำให้เห็นว่าม้านั้นไม่ใช่ม้า ใช้อะไรที่มันไม่ใช่ม้า สวรรค์และโลกคือความหมายเดียวกัน นั่นก็คือ นับหมื่นพันสิ่งอย่าง หลายสิ่งอย่างจำนวนมหาศาลนั้นคือม้าตัวหนึ่ง” ความหมายของเรื่องนี้ก็คือว่า ถ้าหากคนบางคนที่มีทัศนคติแบบลดทอน (reductionist) หรือมีทัศนคติแบบคนยุคใหม่ ตามหลักความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ได้ยืนกรานไว้เช่นว่า ม้าก็ม้า (ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้นและไม่มีอะไรน้อยไปกว่านั้น) คุณอาจจะตอบไปว่า “มันไม่ใช่หญ้าด้วยรึ มันไม่ใช่แม่น้ำด้วpรึ และมันไม่ใช่ลมด้วยรึ?” หากไม่มีหญ้าให้ม้ากิน น้ำที่ม้าต้องดื่มและลมที่ม้าต้องหายใจล่ะ นั่นคงจะชัดเจนแล้วว่าคงไม่มีทางที่ม้าตัวนั้นจะมีอยู่ได้ ดังนั้น ลัทธิเต๋า คือหลักคำสอนที่มีประโยชน์ อย่างสัตย์จริง รอบรู้ และเป็นเหมือนบทกวีเพื่อมองดูไปยังโลกและ งานเขียนของลัทธิเต๋าคืองานเขียนที่เต็มไปด้วย ภูมิปัญญาและแรงบันดาลใจ
No comments.