สวนของพวกเราตั้งอยู่ในอณาเขตของสันเขาของ “ทิวเขาบรรทัด” (Cardamom Mountains) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเทือกเขากระวาน บริเวณทางทิศเหนือของภูเขาเล็กๆเป็นส่วนของภูเขาคลองเครือหวาย เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย (ขสป.คลองเครือหวาย) ที่ อำเภอโป่งน้ำน้อน จังหวัด จันทบุรี (ซึ่งจังหวัดนี้ยังเรียกได้ว่าเป็นจังหวัดแห่งทุเรียน) พวกเราอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองแต่ก่อน ชาวชอง กลุ่มวัฒนธรรมชนล่าสัตว์-เก็บของป่า ที่ใช้ภาษากลุ่มย่อยเป็นภาษาเปียริก หรือ Pearic language group เบื้องหลังของสวนเราเป็นผืนป่าทอดยาวเหยียดไปจนถึงประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร สวนของเราตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ที่ระดับความสูง 640 เมตร ภูเขาที่เราอยู่สูงประมาณ 300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ถือว่าเป็นสวนที่อยู่สูงสุดในละแวกนี้ กับภาพทิวทัศน์อันแสนงดงามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ
ภาพทิวทัศน์จากในสวนสามารถมองเห็นภูเขาสอยดาวใต้ด้วย
เจมส์ ซี สก็อตต์ James C. Scott ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ศิลปะวิถีของการไม่ถูกปกครอง: ประวัติศาสตร์อนาธิปไตยของคนไร้รัฐในเอเชียอาคเนย์ (The Art of Not Being Governed – An Anarchist History of Upland Southeast Asia)
เขาได้เรียกเทือกเขาที่แผ่ขยายมาจากทางภาคตะวันออกของประอินเดีย ลาดตัวผ่านมายังประเทศพม่า ประเทศลาวและมาจนถึงประเทศไทยลาดตัวลงต่ำไปยังประเทศกัมพูชา ว่าเป็นเขตโซเมีย “Zomia” อาณาจักรโซเมีย (หมาถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบสูง ที่มีการใช้ภาษาในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อยู่หลายภาษา โซ (zo) หมายถึง ห่างไกล หรืออาศัยอยู่บนภูเขา มิ (Mi) หมายถึง ผู้คน ดังนั้น คำว่า มิ-โซ (Mi-zo) และ โซ-มิ (Zo-mi) คือกลุ่มคำที่ใช้อธิบายถึงลักษณะของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตแดนเอเชียอาคเนย์ เพื่อกำหนดเกี่ยวกับชาวเขาที่อาศัยอยู่บนพื้นที่ห่างไกลและอยู่บนพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ยากลำบากที่จะเข้าถึง) และเราชอบการใช้ชื่อที่ดังกล่าว เนื่องจากว่ามันไม่ได้มีการยืนยันการใช้คำใหม่และการดำรงอยู่อย่างมีเหตุผลของคนที่ถือรัฐชาติเป็นส่วนใหญ่ (nation-state) และมันอธิบายแบบเชิงภูมศาสตร์ ไม่ใช่แบบเขตแดนที่ได้มาจากการเข้าครอบครอง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และสงครามระหว่างชายแดนที่ตัดผ่านบริเวณที่มีกลุ่มคนชาติพันธุ์และพื้นที่อื่นๆ
ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมีทุกอย่างที่คนปราถนาที่จะมี อาทิเช่น ป่าดงดิบชื้นอันแน่นหน่า น้ำตกอันสวยงามต่างๆและภูเขาอันสูงตระหง่านอย่างยิ่งใหญ่ ส่งผลให้เป็นเป็นพื้นที่ที่น่าอยู่อาศัยเป็นอย่างยิ่ง สภาพอากาศก็ค่อนข้างจะอบอ้าวเป็นอย่างน้อย (ถ้าอากาศไม่ร้อน) ตลอดทั้งปี (กระนั้นก็ค่อนข้างจะเย็นสบายในยามกลางคืนในช่วงเดือนมกราคม) และยังมีฤดูมรสุมอันยาวนาน ซึ่งหมายถึงมีฝนตกมากกว่าเมื่อเที่ยบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย สามารถที่จะปลูกพืชผักได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย
ขณะที่ได้มีจัดจำแนกประเภทตามทางการว่าเป็น ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา หรือ ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Tropical savanna climate) หรือเป็นสภาพอากาศแบบชื้นและแห้ง (tropical wet and dry) ตามระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินให้แทนด้วยตัวอักษร “Aw” และ “As” (หมายถึงภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา) เนื่องจากถูดจัดได้ว่าเป็นฤดูแล้ง สวนของพวกเราอยู่ตรงกลางระหว่าง Aw/As และ สภาพอากาศแบบ Af (tropical rainforest climate) คือเขตภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้นที่ยังสามารถทำการเพาะปลูกได้เช่นกัน ตัวอย่างผลไม้ที่โตได้ดีในสภาพอากาศนี้คือ ทุเรียน
ณ อำเภอโป่งน้ำร้อน ที่เราอาศัยอยู่ มันสำคัญมากเนื่องในโอกาสนี้เพราะว่าบริเวณที่เป็นหุบเขาเป็นร่องน้ำสำหรับการก่อตัวเป็นเมฆฝนและภูเขาต่างๆดูดซับเมฆฝนในระดับต่ำเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ที่นี่เราจึงได้มีฝนค่อนข่างชุกชุมและมันไม่เคยแห้งจนเกินไปในฤดูร้อน
ทางอำเภอใกล้เคียง อำเภอสอยดาว (ถ้าที่นั้นไม่มีภูเขา) สภาพอากาศที่นั้นจะแตกต่างกันมาก ที่นั่นคุณจะเห็นว่ามันเป็นป่าไม้ผัดใบ (deciduous forests) ที่ทิ้งใบไปทั้งหมดในฤดูแล้ง ส่งผลให้ที่นั่นการปลูกสวนลำใยและสวนมะม่วงกันอย่างหนาแน่น ในขณะที่มันแห้งเกินไปสำหรับการปลูกทุเรียน
หากท่านใดมีความประส่งที่จะเดินทางมาเที่ยวชมสวนของเรา สามารถติดต่อเข้ามาก่อนเพื่อจะได้ทราบว่าทางสวนเราจะเปิดรับคนเข้ามาเที่ยวชมสวนหรือไม่ หลังจากติดต่อเรียบร้อยแล้วหากเป็นช่วงที่เราเปิดสวนให้ผู้คนเข้าเยี่ยมชมอยู่ท่านก็สามารถเดินทางมาถึงได้อย่างสะดวก แต่เมื่อท่านเดินทางมาถึงทางแยกที่ต้องขึ้นไปบนสวนเรามันก็ยังสะดวกอยู่จนกระทั่งท่านไปถึงจุดสิ้นสุดของถนนคอนกรีต หลังจากนั้นจะเป็นถนนดินแดงและหิน ซึ่งจะเพิ่มแค่ความระมัดระวังในการขับรถมากขึ้น เนื่องจากว่าเป็นถนนในซอยจึงไม่กว้างมากและบางครั้งมีเด็กๆเล่นกันอยู่ริมถนนหรือบางครั้งก็จะมีสุนัขนอนเล่นอยู่กลางถนนไปหมด จึงจำเป็นที่จะต้องระวังมาก หลังจากผ่านจุดนี้ไป ท่านก็จะต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้นไปอีกเนื่องจากถนนเส้นนี้จะเป็นถนนที่สูงขึ้นเรื่อยๆเพราะเป็นแนวสันเขา ท่านจะต้องมาด้วยรถยนต์ที่สูงกว่าเพราะรถยนต์ที่ไม่สูงนักจะขับขึ้นเนินเขานี้ไม่ได้ และหากท่านเดินทางมาในช่วงฤดูฝนจริงๆ ก็อาจจะลำบากนิดหน่อยเพราะความลื่นของถนนบนเนินเขาและบางครั้งก็เกิดเหตุการณ์เช่นว่า ฝนตกหนักมาก น้ำในคลองก็ล้นเอ่อจนไม่สามารถขับรถยนต์ผ่านได้ต้องจอดรอบนถนนก่อนให้ระดับน้ำลงถึงจะขับลงต่อได้ หลังจากท่านขับรถผ่านเนินเขาแล้วก็อีกประมาณ 100 เมตรก็ถึงทางแยกเข้าสวนของเราแล้ว เพียงแค่นี้ท่านก็มาถึงสวนเราได้อย่างปลอดภัยกันทุกคน!
No comments.