ผู้คนถามเรากันอยู่บ่อยๆว่าอะไรที่นำพาพวกเราไปสู่จุดแปลงของการใช้ชีวิตใน “แบบธรรมดา” อย่างรุนแรงไว้ข้างหลัง และเริ่มทำโครงการเกษตรกรรมยั่งยืน กล่าวคือการใช้ชีวิตด้วยความสะดวกสะบายต่างๆที่ได้จากธรรมชาติ
แน่นอนว่ามันก็มีหลายเหตุผล แต่หลักการพื้นฐานที่ซ่อนอยู่ของเรื่องก็คือ ด้วยความรู้สึกที่ว่ามันมีบางสิ่งบางอย่างที่ผิด ตั้งแต่แรกเลยมันก็คือความรู้สึกนี้ เพียงแค่ผ่านช่วงเวลาหลายปีมานี้เท่านั้นที่ได้ไขข้อข้องใจว่าอะไรกันที่ผิด
นักเขียนชื่อ เดเนล์ คินน์ (Daniel Quinn) กล่าวไว้ดังนี้
พวกเราต่างก็เป็นเชลยศึกของระบบอารยธรรม ซึ่งบังคับให้คุณทำลายล้างโลกต่อไปไม่มากก็น้อย เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ (“We are “captives of a civilizational system that more or less compels you to go on destroying the world in order to live)
นับตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มของอารยธรรม เมื่อประมาณ 8,000 ปีที่แล้ว มนุษย์สมัยก่อนคือผู้ที่ไม่ได้มีการพิจารณาถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ที่ได้ทำลายธรรมชาติอย่างเป็นระบบโดยการใช้เลห์กลอุบายกับเรื่องทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และนอกจากที่กล่าวไปแล้วก็คือยังเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมของพวกเขาเองเพื่อความประสงค์ของการเห็นแก่ตัว เราชาวมนุษย์คือผู้ควบคุมอย่างชาญฉลาด ดวงตาของพวกเรานำทางให้มือของพวกเราวางกรอบสิ่งแวดล้อมของพวกเราให้เหมาะสมกับความต้องการของพวกเรา จากแนวคิดแบบใหม่ที่ได้กลายมาเป็นเรื่องที่เข้าใจร่วมกันหลังจาการตั้งถิ่นฐานและสับเปลี่ยนจากรูปแบบการดำเนินชีวิตด้วยการออกหาอาหารแบบชนกึ่งแร่ร่อน (semi-) nomadic ไปสู่การทำเกษตรกรรมแบบอยู่ที่เดิม (sedentary agricultural) มนุษย์จึงคิดกับตัวพวกเขาเองว่าได้แยกออกจากการอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มชน มนุษย์เป็นนักล่าสัตว์ แต่ไม่เป็นเหยื่อ เป็นตัวกิน แต่ไม่เคยตกเป็นเหยื่อเลย
หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม แนวโน้มของความแตกแยกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปสู่จุดที่การทำลายล้างของพวกเราส่งผลกระทบไปยังระบบพื้นฐานของโลก สัตว์ประมาณ 10,000 สายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไปทุกปี every year (ค่าประมาณการบางส่วนระบุไว้สูงมากเท่ากับ 200 สายพันุธ์ต่อวัน) เราสูญเสียชั้นหน้าดินโดยเฉลี่ยเป็นสนามฟุตบอล 30 สนามต่อนาที 30 soccer fields of top soil per minute ผืนป่าดิบชื้นแอมะซอนที่กำลังถูกตัดป่าในอัตราประมาณสนามฟุตบอล 50 สนามต่อนาที 50 soccer fields per minute ทรัพยากรต่างๆที่ไม่สามารถแทนที่ได้ต่างก็ถูกขุดเจาะและถูกเผาในระดับความเร็วอย่างเร่งรัดกว่าเท่าที่เคยมีมา ประมาณของก๊าชเรือนกระจกที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นก็ส่งผลให้เกิดการคุกคามของสายพันธุ์พืชและสัตว์มากขึ้นตามลำดับและทำลายความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น
ปัญหา: ความล้มเหลวทางสภาพอากาศ (The Problem: Climate Breakdown)
อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าเรื่องความล้มเหลวของสภาพอากาศนั้นคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดสำหรับยุคสมัยของพวกเรา และที่จริงแล้วสำหรับเผ่าพันธุ์มนุษยชาติเอง เรามนุษย์ยุคสมัยใหม่และอารยธรรมของพวกเราได้สร้างสภาวะที่เป็นจุดจบของยุคที่สภาพอากาศยังคงที่ หรือที่เรียกกันว่า ยุคโฮโลซีน (Holocene) ยุคโฮโลซีนคือยุคทางธรณีวิทยาที่สภาพอากาศค่อนข้าคงที่ เริ่มขึ้นหลังจากาการสิ้นสุดของยุคไพลสโตซีนเมื่อ 11,700 ปีก่อนปัจจุบัน ความเป็นไปได้ที่เพิ่มขึ้นและความรุนแรงของเหตุการณ์ทางสภาพอากาศที่ผันผวนอย่างรุนแรง อาทิเช่น ภัยแล้ง ภัยพายุมรสุม และภัยน้ำท่าม สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดผู้ลี้ภัยจากสภาพอากาศนับร้อยล้านคน นั่นก็จะนำไปสู่เหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ความรุนแรงด้านความขาดแคลนอาหารในทุกภาคส่วนของโลก การแยกสลายตัวของรัฐชาติและในท้ายที่สุดก็คือ การล่มสลายของอารยธรรมโลกนั่นเอง ปริมาณของก๊าชคาร์บอนจำนวนมากที่ถูกกักเก็บไว้อย่างปลอดภัยใต้พื้นดิน (ในรูปของ ซากฟอสซิสไฮโดคาร์บอน อย่างเช่น ถ่านหิน น้ำมันดิบ หรือก๊าช) ในพืชและในดินที่ถูกบังคับขุดเจาะออกมาและระเหยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจำนวนหนึ่งที่ระเหยออกมานั้นก็ถูกดูดซึมซับไว้ในมหาสมุทรนั่นส่งผลให้เกิดความเป็นกรดในน้ำทะเลและความเป็นไปได้ต่อการล่มสลายของระบบนิเวศทางทะเลทั้งหมด (สาหร่ายทะแลคือผู้เคราะห์ร้ายตัวแรก)
ความไม่รู้จักพอของวัฒนธรรมนี้ที่มีความต้องการมากกว่าและมีความหิวโหยเรื่องเครื่องจักรมากขึ้นและเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีสูงซึ่งก่อให้เกิดมลพิษบนภาคพื้นผิวดวงจันทร์ขนาดมหึมาโดยการไม่ยอมรับจากการขุดเจาะเหมืองแร่และการผลิตของกลุ่มธาตุโลหะที่หายาก หรือ rare earth minerals (REMs) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเป็นต้องสร้างชิ้นส่วนประกอบที่ต้องใช้ไฟฟ้าของเครื่องประดิษฐ์ทั้งหลายที่ใช้ประจำวัน เราจะต้องหยุดวัฒนธรรมที่เผาผลาญโลก และหากเราทำเช่นนี้ได้เร็วขึ้นก็จะมีโอกาสที่ดีกว่าสำหรับเราและสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆที่เราแบ่งปัน ชีวมณฑล หรือชั้นอากาศสำหรับหายใจร่วมกัน เหล่านักคิดชั้นนำและเหล่านักวิชาการในวงกว้าง ได้ลงบทสรุปที่ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจำเป็นจะต้องเกิดขึ้น ณ ตอนนี้ มันค่อนข้างเป็นไปได้ว่ามันสายเกินไปแล้วและจุดพีคหรือจุดสูงสุดที่ไม่สามารถเอากลับคืนมาได้อีกนั้นก็มีช่องโหว่เสียแล้ว
(ตัวอย่างสำหรับพิจารณา เพียงแค่การดำเนินการเรื่องพลังงานที่มีอยู่สำหรับใช้สร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น ถนนหนทาง ทางรถไฟ สนามบิน โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ก็จะปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Co2 ได้มากพอที่จะทำให้มันพุ่งทะลุเป้าการปล่อยออกมาได้ emit enough CO2 to breach emmision targets และ จากการคาดการณ์เรื่องนักเดินทางท่องเที่ยวทางอากาศก็จะเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่าในเวลาอี 20 ข้างหน้า ) air travel is projected to double มันจึงได้นำมาสู่จุดที่เหล่านักวิชาการบางส่วนได้ตั้งคำถามอย่างจริงจังกับเรื่องความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่จะดำเนินต่อไป
มีอยู่สองสองมุมมองหลักๆที่ส่งผลให้พวกเราหันหลังให้กับการใช้ชีวิตในแบบเดิมและกลับมาใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย นั่นก็คือ
เพราะว่า พวกเราต้องการที่จะใช้ชีวิตแบบนี้ (Because we want to) และพวกเราจะต้องใช้ชีวิตในแบบนี้ (Because we have to)
เพราะเราต้องการที่จะใช้ชีวิตแบบนี้ (Because we want to)
ก็เนื่องมาจากว่ามันมีเรื่องดีๆนับไม่ถ้วนเลยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ที่ทำให้มันอยู่เหนือกกว่าเกณฑ์ที่ถูกพิจารณาว่าเป็นบรรทัดฐานทั่วโลกแห่งอุตสาหกรรม
เรื่องความอิสระ (Freedom)
เมื่อเราพูดถึงความอิสระ มันมีเหตุผลที่จะกำหนดว่าความอิสระนั้นคืออะไรตอนที่เราใช้คำนี้ เนื่องจากว่าคำจำกัดความก็จะขึ้นอยู่กับว่าคุณถามใครเป็นอย่างมาก (มันมีผู้คนจากข้างนอกนั่นที่ให้คำจำกัดความของความอิสระ เฉกเช่นว่า ความอิสระคือ ความอิสระแห่งตลาดทุนนิยม free market capitalism และ “ความอิสระที่จะบริโภคอะไรก็ตามที่คุณต้องการ!”) มนุษย์โดยทั่วไปแล้วจะไม่ชอบให้ถูกบอกว่าต้องทำอะไร ดังนั้น ความอิสระสามารถหมายถึงว่า ความอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ตามที่คุณต้องการ หรือในความหมายกลับกัน มันยังหมายถึงการมีความอิสระในการทำลายธรรมชาติและการนำเอาชีวิตอื่นมาตามใจชอบได้อีกด้วย เริ่มดูกันที่กฏข้อแรก
“ความอิสระของฉันสิ้นสุดลงตอนที่ความอิสระของคุณเริ่มขึ้น” มีเพียงแค่กฏข้อนี้เท่านั้นที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกนำมาใช้กับมนุษย์ ถ้าหากเราอยากจะใช้มันกับสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์และแม้กระทั่งใช้มันกับพืช เราจะต้องจำกัดขอบเขตของคำจำกัดความของความอิสระให้มากขึ้นว่า ความอิสระไม่สามารถรุกรานกับระบบนิเวศได้มากเกินไป และดังนั้นมันก็จะเข้าใกล้กับความมั่นคงยั่งยืนได้มากขึ้น มันไม่ได้หมายความว่าคุณไม่สามารถที่จะตัดต้นไม้หรือยิงธนูใส่กวางได้ มันแค่หมายความว่า คุณจะกระทำสิ่งเหล่านั้นก็ต่อเมื่อคุณจะต้องทำมันจริงๆ ไม่ใช่แค่ทำเพื่อสนุก และไม่ใช่ทำตอนที่ความจำเป็นพื้นฐานของคุณเป็นที่พึงพอใจแล้ว
สิ่งที่ตามมาก็คือ ความอิสระจะต้องถูกจำกัดความไว้เสมอในความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ (และอยู่ภายในข้อจำกัดของมันเอง) ถ้าหากคำจำกัดความของความอิสระหนึ่งๆอยู่ในรูปที่ไม่เชื่อมติดกันและไม่ได้รับอิทธิพล หรือไม่ได้อยู่ในขีดจำกัดของสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆแล้วนั้น โอกาสต่างๆที่จะเกิดขึ้นก็จะสูง ที่คุณจะทำลายปัจจัยพื้นฐานของชีวิตที่คุณพึ่งพาอาศัยอยู่ ได้แก่ อากาศ น้ำ อาหาร สภาพอากาศ ตามที่ปรากฏในบันทึกทางประวัติศาสตร์ กว่า 8,000 ปีของอารยธรรม
แต่การวางข้อจำกัดในทางเลือกของคุณจากสิ่งแวดล้อมของคุณนั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะรู้สึกว่าตนมีความอิสระน้อยตลอดเวลา ความจริงก็คือ มันสามารถมีความอิสระได้ในขีดจำกัด ตาบใดที่ขีดจำกัดนั้นเป็นสิ่งที่กำหนดเองในเรื่องที่เราสนใจมากสุด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะยาว) และไม่สร้างความลำบากใจให้กับความเป็นอยู่ที่ดีของเรามากเกินไป อาจจะความอิสระที่แท้จริงก็คือการที่ไม่ต้องเลือกตั้งแต่แรก แต่เป็นการทำไปตามความลื่นไหลของมันเอง (“following the Tao”) ตามแนวทางแหล่งลัทธิเต๋า โดยปราศจากการที่ไม่ถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่คุณไม่อยากทำ
ความเป็นจริงและการอธิบายอย่างมีเหตุมีผลของคำจำกัดความนี้มาจาก Theodore J. Kaczynski ผู้ที่ให้คำจำกัดความของความอิสระไว้ ดังนี้
“ความอิสระหมายถึง การอยู่ในความควบคุม (ไม่ว่าจะเป็นระดับส่วนบุคคลหรือการเป็นสมาชิกของกลุ่มคนเล็กๆ) ของประเด็นเรื่องชีวิตและความตายของการดำรงอยู่หนึ่งๆ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการต่อต้านป้องกันเหตุคุกคามอะไรก็ตามที่อาจจะมีในสภาพแวดล้อมหนึ่งๆ ความอิสระหมายถึง การมีอำนาจซึ่งไม่ใช่อำนาจที่ใช้สำหรับควบคุมผู้อื่น แต่เป็นอำนาจที่จะควบคุมสถานการ์ของชีวิตตนเอง”
ประเภทของความอิสระนี้ไม่สามารถบรรลุผลได้ในเมืองต่างๆ เนื่องจากการที่ต้องพึ่งพาการใช้น้ำจากเทศบาลเมือง ก๊าซหรือแก๊ช และไฟฟ้า ต้องพึ่งพาตลาดห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารสำหรับเรื่องอาหาร และต้องพึ่งพาการใช้แรงงานเพื่อมีรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายทุกอย่างนี้ สำหรับพวกเรา การใช้ชีวิตอยู่ในเมืองคือสิ่งตรงกันข้ามกับความอิสระ การที่จะได้มาซึ่งความอิสระที่แท้จริงนั้นเป็นไปไม่ได้เลยในโลกปัจจุบันนี้ กล่าวคือในโลกแห่งพรมแดน ในโลกแห่งรัฐชาติ ตำรวจตรวจตรา ในโลกแห่งพาสสปอต์และวีซ่า บัตรประชาชน บัตรประกันสังคม และ ในโลกแห่ง “สมาร์ทโฟน” และในโลกเทคโนโลยีที่มีอยู่ทุกหนแห่ง
แต่ด้วยการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายเราได้เข้าใกล้ถึงความอิสระโดยแท้เท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะที่ยังติดต่อกับโลกภายนอกอยู่
สุขภาพ (Health)
สุขภาพดีมีอยู่สามเสาหลัก ได้แก่
การควบคุมการบริโภค (Diet)
การออกกำลังกาย (Exercise)
ความสุ่มเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม (Environmental exposure)
เสาหลักสุดท้ายบ่อยครั้งจะไม่เป็นที่ตระหนักรับรู้กันเท่าไหร่ และเมื่อเร็วๆนี้เองที่ถูกจัดเข้าเป็นคุณสมบัติของการมีสุขภาพชีวิตที่ดี โดยนักมานุษยวิทยา ชื่อ สก็อต คาร์ เน Scott Carney ในหนังสือของเขาที่เรียกว่า “What Doesn’t Kill Us” (Rondale, 2017). เขายกข้อถกเถียงว่า นอกเหนือจากเรื่องอาหรป่าและการใช้ชีวิตแบบยุ่งเหยิง เราจำต้องมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น ความหนาว หรือความอุ่น (จำไว้ว่าครั้งหน้าที่คุณเปิดแอร์) หรือช่วงสั้นๆของอาการเหน็ดเหนื่องอย่างมาก ประเภทของความสุขสบายดังกล่าวที่สังคมนี้ได้ประดิษฐ์ทำโฆษณานั้น คือสิ่งที่เป็นตัวกระทำอันตรายต่อสุขภาพของพวกเรา มันสร้างมนุษย์ให้เป็นคนที่ใช้สิ่งของมากเกินไป เป็นคนที่ใจร้อนมากเกินไปและเป็นคนที่มีแรงกระตุ้นน้อย ในคำกล่าวของ คาร์เน
เราที่สวนฟื้นฟู้ฯอยากจะเพิ่มเติมว่า ความสุ่มเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม (environmental exposure) แน่นอนว่ามันไม่ได้แสดงให้เห็นเพียงแค่ด้านลบและทางสภาวะสุ่มเสี่ยงหนักๆเท่านั้น แต่มันแสดงให้เห็นถึงทางด้านบวกและความสบายใจได้อีกด้วย ที่จริงแล้วมันค่อนข้างง่าย ถ้าคุณอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย (ตัวอย่างเช่น อยู่ข้างกับโรงงานผลิตน้ำมัน โรงงานยางพารา เหมืองขุดบ่อน้ำมันปิโตเลียม หรือเหมืองถ่านหิน) โอกาสสุ่มเสี่ยงก็จะสูง ไม่ว่าคุณจะพยายามอย่างไรก็ตาม สุขภาพของคุณก็จะเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมของคุณ ถ้ามองในทางตรงกันข้าม คุณอาศัยอยู่ในระบบนิเวศของป่าที่อุมดมสมบูรณ์และแข็งแรง คุณก็จะมีกายภาพที่แข็งแรงกว่าโดยอัตโนมัติ (เพราะว่า เรื่องของอากาศบริสุทธิ์ แสงแดด และอื่นๆ) และทางด้านจิตวิทยา (จะมีปัญหาทางจิตน้อยหรือไม่มีความเครียดหรือความกังวลใจ) ซึ่งไม่เหมือนกับความรู้สึกที่อัดแน่นที่เราต่างประสบกันอยู่อย่างต่อเนื่องในเมืองที่แออัดมากเกินไป
ทั้งสามเสาหลักนั้นคือความสอดคล้องกันและเป็นการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิผล เพื่อเสริมผลประโยชน์ให้กับสุขภาพ และถ้าหากคุณอยากได้ประโยชน์มากที่สุด คุณควรจำดำเนินการให้ครบทั้งสามอย่าง หนทางที่ง่ายดายมากที่สุดนี้สามารถบรรลุผลได้ด้วยการใช้ชีวิตอย่างง่าย ด้วยการพึ่งพาตนเองและอยู่อย่างอิสระในธรรมชาติ
Bruno Manser บูรโน เมนเซอร์ เขียนในบันทึกชีวิตของเขาในช่วงระหว่าง 6 ปี ที่เขาอาศัยอยู่กับชนพื้นเมืองชาวปีนัน Indigenous Penan hunter-gatherers of Malaysia ชนล่าสัตว์และเก็บของป่า ในประเทศมาเลเซีย ไว้ดังนี้
“การทดลองของฉันได้นำพาฉันกลับคืนสู่ถิ่นกำเนิด ไปสู่ชีวิตของการงดดื่มและความสงบเสงี่ยมเจียมตัว สภาพแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์และอาหารที่เพียงพอคือสภาพภายนอกสำหรับเรื่องความสุข เขาพร่ำบ่นกับเรื่องอาหารที่เต็มท้องและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบสุขก็ยังคงพร่ำบ่น ถึงแม้ว่าโลกเป็นของเขาแล้วกว่าครึ่งใบ”
“My experiment leads me back to the origin, to a life of abstinence and modesty. A healthy environment and enough food are the external conditions for happiness — he who complains with a full stomach and in a peaceful environment will still complain even if he owns half the world.”
ความสุขสบาย (Comfort)
ความสุขสบายคือหลักการที่ถูกสร้างขึ้นอย่างกว้างขวางโดยอุตสาหกรรมโฆษณาชวนเชื่อสำหรับวัตถุประสงค์ของการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้กับพวกเรามากขึ้นและทำให้เราอ่อนแอและน่าสังเวชไปในตัว มันไม่มีเหตุผลทางทฤษฎีที่จะเชื่อว่าต้องนอนบนที่นอนที่กว้างเป็นสิบนิ้ว ในราคาหนึ่งพันดอลลาล์ จะทำให้การนอนหลับของพวกเราดีกว่า หรือจะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีกว่า (แต่มันเป็นความเชื่อแบบบอดๆในเรื่องเงินตรามากกว่า)
เราเชื่อเรื่องความจริงและรูปแบบความยั่งยืนโดยแท้ของความสุขสบายก็คือ จะพบเห็นได้จากการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในธรรมชาติ ความสุขสบายคือ การนอนเล่นในเปลนั่งเล่นของคุณในตอนเช้า ดื่มน้ำชาและนั่งดูฝูงนกบินหยอกล้อเล่นกันและกินอาการ ความสุขสบายไม่ใช่การที่จะต้องขับรถออกไปยังห้างสรรพสินค้า แต่เป็นการเดินเล่นทอดน่องในสวนของคุณแทนต่างหาก และเก็บเอาอาหารของคุณจากพืชนั้นๆโดยตรง ความสุขสบายคือการมีวันหยุดพักผ่อนตอนไหนก็ได้ที่ต้องการแล้วก็ออกไปหาตกปลา
การใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตัวเองในแบบธรรมชาติคือรางวัลความสำเร็จมากกว่าใครก็ตามที่ทำงานประจำในเมืองจะจินตนาการถึงได้ แต่ชีวิตก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ง่ายมากเกินไป และมันก็จะเกิดความเบื่อหน่ายได้เร็วถ้าชีวิตจะเป็นเช่นนั้น มันไม่มีความสนุกสนานอันใดที่จะมีมากไปกว่าการที่คุณสามารถเลี้ยงชีพตนเองได้ ด้วยการเดินแตร่ในสวนแล้วก็เก็บหาอาหารได้เพียงพอสำหรับวันนั้น การเลี้ยงเพียงตัวคุณเองและชุมชนรอบข้างของคุณโดยทั่วไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีความพยายามเท่าไหร่นัก ไม่ว่าคุณอาศัยอยู่ที่ไหนก็ตาม (เมื่อเทียบกับการทำงานวันล่ะแปดชั่วโมง) สร้างบ้านของตัวคุณเอง อยู่อาศัยในบ้านแต่ล่ะวันกับคนที่คุณรัก และซ่อมแซ่มเมื่อมันจำเป็นต้องซ่อมมันจะเติมเต็มคุณด้วยความสนุกและความภูมิใจมากกว่าที่พักที่เป็นห้องพักแบบอพาร์ทเม้นต์ ห้องใต้หลังหลา ตึกแถว หรือแมนชั่นในเมืองที่จะเคยมอบความรู้สึกนี้ให้กับคุณได้
ถึงแม้ว่าบ้านที่คุณสร้างเองอาจจะแลดูมีความเชี่ยวชาญน้อยกว่า (ซึ่งเป็นเพียงวิธีการพูดของคนที่มองโลกในแง่ร้ายว่าโดดเด่นมากกว่า) รูปแบบการใช้ชีวิตโดยการพึ่งพาตนเองจะให้ของขวัญกับคุณโดยการมีอิสระมากขึ้น มีเวลาว่างมากขึ้น ได้ตัดสินใจเองมากกว่าที่คุณจะเห็นจากที่ไหนก็ตามในโลกแห่งการจ้างงาน
แต่ขอชี้แนะ: ขณะที่ใช้ชีวิอย่างนเรียบง่ายในธรรมชาติเป็นเรื่องที่ดีมากกว่าชีวิตในเมืองในแง่ของการถูกคุกคามจากมลพิษ ความเครียด และภัยสุขภาพอื่นๆ มันเป็นมากกว่าความเรียบง่ายและงดงามเท่านั้นและปราศจากความเครียดในบางครั้ง มันก็ต้องการให้เราสังเวยความเสียสละในระดับหนึ่ง เราคงจะต้องเลือดออก เหงื่อออก และร้องไห้ไปกับเวลาเพื่อที่จะเอาชนะอุปสรรคได้ มือของพวกเราคงจะเป็นแผลพอง เราคงจะตัดและทำให้ตัวเองมีรอยฟกซ้ำ แต่ในคราวเดียวกันนั้นเราจะจดจำได้ว่ามันรู้สึกดีขนาดไหนในการมีชีวิตอยู่ ทุกๆครั้งที่เป็นแผลเล็กๆหรือมีแผลที่รังครวญใจ (เช่นโดนหนามทิ่มตำเท้า) ตอนที่มันหาย เราจะได้พลังกลับคืนมาอีกครั้ง และทุกๆครั้งเราจะรู้สึกว่าตัวส่วนหนึ่งของเราได้เกิดใหม่ ทุกๆครั้งที่แผลมันปิดแห้งไปเราก็จะได้ความเชื่อมั่นเล็กๆน้อยๆในตัวของเรากลับคืนมา และความสามารถในการเยียวยารักษาของร่างกายเราเอง เราจะรู้สึกผูกพันธ์กับตัวเองกับสิ่งรอบข้างตัวเรามากขึ้น และจะกลายมาเป็นคนที่มีความมั่นใจด้วยการใช้ร่างกายของเราเอง เราจะกลายมาเป็นคนที่มีลักษณะทางกายภาพที่แข็งแรงขึ้นและดูกล้าแกร่งมากขึ้น และเราจะได้รับภูมิปัญญาและความรู้เร็วมากกว่าที่เราคาดไว้ เมื่อเวลาผ่านไป เราจะได้เรียนรู้เยอะมาก เราจะควบคุมทักษะได้อย่างเชี่ยวชาญ และเราก็จะรู้สึกพึงพอใจกับตัวเราเองได้มากขึ้น เราจะค้นพบได้อีกครั้งว่าการเป็นมนุษย์นั้นคืออะไร และมันจะรู้สึกดีขนาดไหนในการเป็นส่วนหนึ่งของ ความสวยงามนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจอันน่าอัศจรรย์นี้ และเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศอันใหญ่โตมโหราญอย่างดาวเคราะที่เรียกว่า โลก (Planet Earth)
พวกเราจะต้องใช้ชีวิตในแบบนี้ (Because we have to)
ในการที่จะมีความหวังสักอย่างสำหรับอนาคต เราจะต้องกลับคืนสู่แหล่งที่อยู่อาศัย หรือกลับคืนสู่ที่ดินกันเป็นจำนวนมาก ที่ดินหรือที่อยู่อาศัยนั้นกำลังเรียกร้องหาพวกเรา มันต้องการพวกเรา เราจะต้องเข้าใจและยอมรับความต้องการของธรรมชาติเองและกระทำตามอย่างสอดคล้อง ถ้าคุณอาศัยอยู่ในระบบนิเวศที่ธรรมชาติถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ถูกรบกวน ระบบนั้นก็จะทำให้เกิดผืนป่าขึ้นมา ดังนั้น นี่ก็คือสิ่งที่คุณควรจะทำ
พวกเราทุกคนมีบรรพบุรุษที่ ณ จุดหนึ่งเคยมี หรือ มีบรรพบุรุษที่เป็นผู้พิทักษ์ป่าด้วยวิถีทางอย่างเป็นเอกลักษณ์และพวกเขามีความรอบรู้ทางโลกอย่างน่าชื่นชมมากในเรื่องของการเลี้ยงชีพและการมีวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องป่าที่อุดมสมบูรณ์
(All of us have ancestors that were at one point or another forest dwellers with unique and highly sophisticated modes of subsistence and a rich forest)
และตอนนี้ มันก็ขึ้นอยู่กับพวกเราที่จะเป็นผู้ฟื้นคืนความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับที่ดินหรือแหล่งที่อยู่อาศัย เราจะต้องย้อนกลับไปเรียนรู้ เพื่อที่จะใช้ชีวิตอยู่ เพื่อจะใช้ชีวิตกับ เพื่อใช้ชีวิตจาก และเพื่อผืนป่า
การเคลื่อนไหวทางด้านการกลับคืนสู่ที่ดิน ของช่วงปี ค.ศ. 1960-70 นั้นเป็นแนวความคิดที่เยี่ยมยอดมาก แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่ใหญ่และไม่อยู่คงทนได้มากพอ และในบางกรณีก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไหร่ เหตุผลหนึ่งในยุคนั้นก็คือยังมันมีความรุนแรงทางด้านความไม่ปลอดภัยของอนาคตและความไม่มั่นคงของสภาพอาศน้อยมากกว่า นอกจากนั้นก็คือบางครั้งความคิดของคนที่ทำการเคลื่อนไหวกลับคืนสู่ที่ดินเหล่านั้นก็ยังคงติดอยู่กับแนวคิดแบบศิวิไลซ์ที่อันตราย ด้วยแนวความคิดที่ถือเอามุษย์เป็นใหญ่ของการปกครองและการควบคุมเลี้ยงดู รวมถึงเรื่องการขาดความตระหนักในคุณค่ามนุษย์ในยุคสมัยก่อน
ที่จริงแล้วการกลับคืนสู่ที่ดินค่อนข้างเป็นเรื่องธรรมดาในอดีตที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ และเป็นการโต้ตอบกับ เรื่องความอดอยาก โรคระบาด สงคราม และการบังคับตามกฎหมายได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกันกับช่วงระหว่างและช่วงหลังการล่มสลายของอารยธรรมก่อนหน้านี้ที่ประวัติศาสตร์ทางอารยธรรมเรียกว่า ยุคมืด “Dark Ages” นั้นอาจจะเป็นช่วงที่ผู้คนมีเวลาว่างมากกว่า ไม่มีการบังคับต้องจ่ายภาษีให้กลุ่มคนร่ำรวยในเมืองและเหล่าผู้นำทหาร และเป็นช่วงที่มีความอิสระส่วนบุคคล มีการปกครองตนเอง และมีฐานวัฒนธรรมแห่งธรรมชาติมาอย่างเฟื่องฟู
No comments.