บทรีวิวหนังสือ: การร่วมมือกับจุลินทรีย์

บทรีวิวหนังสือ: การร่วมมือกับจุลินทรีย์

บทรีวิวหนังสือ: การร่วมมือกับจุลินทรีย์

บทรีวิวหนังสือ การร่วมมือกับจุลินทรีย์: คู่มือการทำสวนเกษตรอินทรีย์กับห่วงโซ่อาหารในดิน

Teaming with Microbes: The organic gardener’s guide to the soil food web เขียนโดย Jeff Lowenfels & Wayne Lewis

หนังสือเล่มนี้เป็นอีกหนึ่งเล่มจากเล่มก่อนที่เขียนขึ้นโดยนักเขียนท่านเดียวกันจากหนังสือ การทำงานร่วมกันกับสารอาหาร ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกเล่มที่น่าทึ่งมาก เนื่องจากมีเนื้อหาเจาะลึกลงไปในเรื่องห่วงโซ่อาหารในดินที่สร้างความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบและเอื้อผลประโยชน์อันมากมาย จากการร่วมมือกันกับห่วงโซ่อาหารในดิน

สิ่งที่คุณจะได้รับรู้ต่อไปนี้จะทำให้คุณมองเห็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วที่อาศัยอยู่ในดินแตกต่างไปจากเดิมอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะมันเกิดขึ้นแล้วกับผู้เขียนรีวิวหนังสือเล่มนี้ มาตามอ่านดูกันว่า หนังสือเล่มนี้จะให้ความรู้และสร้างความเข้าใจกับคุณผู้อ่านกี่ยวกับอะไรบ้าง

เหมือนเช่นเคยทางผู้เขียนรีวิวจะขอสรุปพอสังเขปให้กับท่านผู้อ่าน แต่เล่มนี้ได้สรุปจากเนื้อหาเกือบจะทุกบท ซึ่งจะค่อนข้างยาวนิดหน่อย แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เนื้อหาสาระที่ผู้เขียนรีวิวได้สรุปมาให้นั้น จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านที่กำลังมองหาแนวทางในการเริ่มต้นทำสวนเกษตรอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี มาเริ่มกันเลย!

เนื่องจากว่าสารเคมีและปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ต่างๆล้วนแล้วแต่ฆ่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในดิน หรือ Microorganisms และยังขับไล่สัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่านั้นออกไปจากดินอีกด้วย ความจริงแล้ว ทุกสิ่งอย่างที่เป็นสารเคมีหรือสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลองนั้นคือสารที่ฆ่าร่างแหของเชื้อรา หรือ Fungal hyphae อาทิเช่น รา และเห็ด ที่มันปกคลุมและปกป้องรากพืชอยู่ หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจะอธิบายเกี่ยวกับเรื่องดินและเรื่องห่วงโซ่อาหารในดิน หรือ Soil food webs  ส่วนที่สองอธิบายเกี่ยวกับการร่วมมือกับห่วงโซ่อาหารในดินของคุณได้อย่างไร ซึ่งทั้งสองส่วนจะมุ่งเน้นไปทางด้าน ชีววิทยา หรือ biology และจุลินทรีย์วิทยา หรือ microbiology ของดิน ความสัมพันธ์ระหว่างดินกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในดิน และผลกระทบของพวกเขาต่อต้นพืช ดังนั้น ถ้าคุณอยากเป็นคนทำสวนเกษตรเก่งๆ คุณจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่าอะไรบ้างที่จะเข้าไปในดินของคุณ

รูปภาพระบบห่วงโซ่อาหารในดิน*

ภาพแสดงห่วงโซ่อาหารในดิน ที่มา:USDA-NRCS

สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจะกินเหยื่อมากกว่าหนึ่งชนิด นี่คือห่วงโซ่อาหารในดินที่แสดงให้เห็นว่า ใครกินใคร ทั้งบนดินและในดิน  สิ่งแวดล้อมของดินในแต่ละพื้นที่จะมีสิ่งมีชีวิตในดินแตกต่างกันออกไป นั่นหมายความว่า ห่วงโซ่อาหารในดินก็จะแตกต่างกันด้วย

ของเหลวที่ไหลซึมออกจากรากพืช หรือ Root exudates  จะอยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาล) และโปรตีน ของเหลวนี้จะดึงดูดและหล่อเลี้ยงแบคทีเรียและเชื้อราที่มีประโยชน์อยู่ในดิน ในส่วนล่างสุดของห่วงโซ่อาหารในดินก็คือแบคทีเรียและเชื้อรา ขณะที่พวกเขาถูกดึงดูดและมากินของเหลวดังกล่าว พวกเขาก็จะถูกกินโดยจุลินทรีย์ที่ใหญ่กว่า ตัวที่กินเชื้อราและแบคทีเรียก็คือโพรโตซัว หลายชนิดที่อาศัยอยู่ในดิน

กล่าวคือ โพรโตซัวกินแบคทีเรียและเชื้อราก็เพื่อได้รับคาร์บอนพื่อนำเอาไปขับเคลื่อนการทำงานของระบบเผาผลาญอาหาร ทั้งเชื้อราและแบคทีเรียก็เป็นเหมือนปุ๋ยกระสอบเล็กๆที่สะสมธาตุไนโตรเจนและสารอาหารอื่นๆเก็บไว้ในตัว ซึ่งได้มาจากของเหลวที่ไหลซึมออกจากรากพืชและจากเซลล์ผิวราก ตัวโพรโตซัวและไส้เดือนฝอยทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวกระจายปุ๋ยที่ปล่อยสารอาหารออกมาจากตัวแบคทีเรียและเชื้อรา โพรโตซัวและไส้เดือนฝอยจะมากินเชื้อราและแบคทีเรียตามโคนรากพืชและบริเวณรอบๆโคนรากพืช พวกเขาจะย่อยของที่พวกเขาต้องการนำไปใช้ และมูลของพวกเขาจะมีคาร์บอนและสารอาหารอื่นๆอยู่ในรูปของเสีย 

โพรโตซัวและไส้เดือนฝอยจะถูกกินกลับคืนโดยสัตว์ขาข้อ / สัตว์ขาปล้อง หรือ Arthropods นั่นก็คือสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังทั้งหลาย เช่น แมงมุม ตะขาบ กิ้งกือ เหล่าแมลงต่างๆ สัตว์เหล่านี้ต่างก็กินกันเองด้วย และยังเป็นอาหารของสัตว์อื่นอีกด้วย เช่น นกและงู  พูดง่ายๆได้ว่า ดินก็เปรียบเสมือนร้านอาหารจานด่วนร้านใหญ่ๆร้านหนึ่ง ในแง่ของการกินและถูกกินทั้งหมด ในจำนวนหรือสมาชิกของสิ่งมีชีวิตต่างๆในห่วงโซ่อาหารต่างก็เคลื่อนย้ายตัวเพื่อจับหาเหยื่อและสร้างเกาะป้องกัน ในขณะที่พวกเขาทำเช่นนั้นมันก็ส่งผลต่อดินด้วย

พูดถึงแบคทีเรีย พวกเขามีขนาดเล็กมาก พวกเขาจึงจำเป็นที่จะต้องยึดเกาะสิ่งของเอาไว้ หรือถูกพัดพาไปเพื่อดึงดูดกับพวกตัวเอง  แบคทีเรียผลิตเยางหมือกที่ทำให้ชิ้นเศษดินแต่ล่ะส่วนติดแน่นเข้าไว้ด้วยกัน  ร่างแหของเห็ดราก็เช่นเดียวกัน เดินทางผ่านเศษดิน และทำให้ดินเหนียวแน่นและผูกมัดกันไว้เป็นเนื้อเดียวกัน

              ไส้เดือน แมลงต่างๆ หนู ตัวตุ่น และสัตว์อื่นๆที่เจาะรูในดินต่างก็เคลื่อนย้ายตัวเพื่อหาอาหารและสร้างที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย รูโพรงต่างๆของสัตว์เหล่านี้ทำให้กลายไปเป็นทางไหลผ่านเข้าออกของน้ำและอากาศในดิน จากนั้นสมาชิกของห่วงโซ่อาหารในดินก็จะจัดเตรียมสารอาหารต่างๆไปให้รากพืชตามบริเวณโคนราก หรือ Rhizosphere  นั่นก็จะทำให้ดินมีโครงสร้างชั้นดินมากขึ้น

เมื่อสมาชิกของห่วงโซ่อาหารในดินตายไปพวกเขาก็จะกลายเป็นอาหารหล่อเลี้ยงสมาชิกตัวอื่นๆในชุมชนใต้ดินและบนดิน สารอาหารที่เก็บสะสมไว้ในร่างกายของพวกเขาก็จะถูกส่งต่อไปยังสมาชิกอื่นๆในชุมชนของพวกเขา ห่วงโซ่อาหารที่สมบูรณ์จะไม่ถูกทำลายโดยเชื้อราที่มาจากจำพวกพยาธิ เพราะในห่วงโซ่อาหารที่สมบูรณ์นี้จะอุดมไปด้วยความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูงมากคือจะมีเหยื่อและมีผู้ล่าเสมอ ถ้าหากมีอย่งหนึ่งอย่างใดเยอะมากเกินไปมันก็จะไม่สมดุลกัน นี่จึงส่งผลให้ต้นพืชได้รับปัญหาไปด้วย

ชุมชมของสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายสูงจะช่วยควบคุมผู้ก่อเหตุร้ายหรือผู้ก่อปัญหาเสมอ โดยปกติแล้วต้นไม้ที่มีอายุหลายปี และไม้พุ่มต่างๆจะชอบดินที่ถูกครองโดยเชื้อรา ในขณะที่พืชล้มลุก พืชดอก และพืชผักอายุสั้น รวมถึงหญ้าต่างๆ จะชอบโตในดินที่ถูกครองโดยแบคทีเรียมากกว่า จากงานศึกษาพบว่า ดินที่เป็นด่าง หมายถึง มีไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของแอมโนเนียถูกปล่อยลงสู่ดินและดินถูกครอบโดยแบคทีเรีย ซึ่งช่วยให้แบคทีเรียที่สามารถตึงก๊าสไนโตรเจนในอากาศอยู่รอดได้ต่อไป กรดที่เชื้อราผลิตขึ้นตามที่พวกเขาเข้ามาแทนที่ของแบคทีเรียจะช่วยลดค่า ความเป็นกรดและด่าง หรือ ค่า ph ในดินและลดจำนวนของแบคทีเรียในดินที่เชื้อราเข้าครอบครอง  ไนโตรเจนส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ในรูปของแอมโมเนียในดินที่ถูกครองโดยเชื้อรา

ผลกระทบทางลบต่อห่วงโซ่อาหารในดิน ได้แก่ การใช้สารคมีและปุ๋ยเคมี  การใช้ยาฆ่าหญ้าและวัชพืช ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา  ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่ในดินและบนดิน สารพิษเหล่านี้ เป็นพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในดิน มันขับไล่สัตว์อื่นๆที่ไม่ชอบกลิ่นให้ออกไปจากดิน และมันเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมนั้นๆไป ทั้งเชื้อราและแบคทีเรียที่สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศจะไม่สร้างความสัมพันธ์นี้กับต้นพืชเลย  ถ้าหากต้นพืชได้รับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยสังเคราะห์ของไนโตรเจนแล้ว พืชก็จะแยกความช่อยเหลือของจุลินทรีย์ต่างๆในการได้รับสารอาหารออกไป นั่นก็ส่งผลให้จำนวนประชากรของจุลินทรีย์สำคัญๆลดน้อยลงไปตามลำดับ ปัญหาใหญ่ก็คือ คุณจะต้องใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยสังเคราะห์ตลอดไป และใช้ยาเคมีกำจัดทุกสิ่งอย่างอื่นที่คุณไม่ต้องการทิ้งไป เนื่องจากว่า ความสมดุลและความหลายหลายของห่วงโซ่อาหารในดินถูกแทนที่ด้วยการใช้สารเคมี

ห่วงโซ่อาหารใดๆก็ตาม จะสมบูรณ์และแข็งแรงได้ก็ต่อเมื่อ มันเชื่อมโยงติดกัน ถ้าเกิดช่องโหว่ขึ้น ระบบก็จะพังทะลายลงและหยุดทำงานที่เหมาะสมไป

โดยค่าเฉลี่ยแล้วดินดีจะแบ่งออกเป็น ส่วนที่เป็นแร่ธาตุต่างๆในธรรมชาติ 45 เปอร์เซนต์ และเป็นสารอิทรีย์วัตุอีก 5 เปอร์เซนต์ ตามที่ทั้งพืชและสัตว์บนพื้นผิวดินตายและถูกย่อยสลายไปโดยเชื้อราและแบคทีเรีย มันก็จะแปรสภาพเป็นดินดำ หรือ ฮิวมัส humus อุดมไปด้วยคาร์บอน สีเหมือนกาแฟ นึกภาพถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการทำปุ๋ยหมัก มันก็คือดินดำๆที่ประกอบขึ้นด้วยห่วงโซ่โมเลกุลของคาร์บอนที่ยากต่อการทำให้แตกย่อยลง

ดินไร่ดินสวนที่มีดินดีจะประกอบไปด้วย ทราย 30-50 เปอร์เซ็นต์ เศษตะกอนดิน หรือ silt 30-50 เปอร์เซ็นต์ และดินเหนียวอีก 20-30 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงสารอินทรียวัตถุอีก 5-10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เรื่องโครงสร้างของดิน ประเภทของดิน ขนาดและเนื้อของดินแต่ละประเภทจึงมีความสำคัญต่อลักษณะของดินอย่างเห็นได้ชัด โดยโครงสร้างของดินจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพและทางเคมีของดิน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียงตัวกันของโครงสร้างดินก็คือ ดินเหนียวและดินดำ เวลามองไปดูดินเราก็จะไม่เห็นดินที่เป็นชิ้นๆ แต่ราจะเห็นดินที่เป็นเศษน้อยใหญ่รวมกันอยู่มากกว่า โครงสร้างทางชีววิทยาในดินผลิตกาวเหนียวๆที่ผูกมัดเศษดินเป็นก้อนๆเข้าไว้ด้วยกัน แบคทีเรีย เชื้อรา และไส้ดือนต่างก็ผลิตน้ำตาลหลายๆโมเลกุล ที่เป็นยางเหนียวๆไว้ยึดเกาะแร่ธาตุต่างๆและความชื้นไว้ด้วยกันให้เป็นก้อนๆ

โครงสร้างของดินดี จะอุ้มน้ำได้ดี น้ำไหลซึมสะดวก มีสัตว์น้อยใหญ่จำนวนมาก มีน้ำและสารอาหารอันหลากหลายสูง สิ่งมีชีวิตทั้งบนดินและในดินต่างก็เจริญเติบโตได้ดี ส่วนดินไม่ดีก็คือสิ่งที่ตรงข้ามกัน แต่ที่หนักไปกว่านั้นคือ ความเครียดในสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ยุคปัจจุบันทำให้พบสิ่งมีชีวิตในดินน้อยลงและก็จะพบเจอกับปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ลดลงอย่างรุนแรง ซึ่งนั่นทำให้ผู้คนนำเอาสารเคมีมาใช้เพิ่มสูงมากขึ้น

วิธีการกินของแบคทีเรีย พวกเขากินอาหารโดยตรงผ่านทางผนังซลล์ ซึ่งถูกย่อยเป็นส่วนๆแล้วของโปรตีนที่ช่วยในการขนส่งในระดับโมเลกุล ภายในผนังเซลล์ของแบคทีเรีย คือส่วนผสมของน้ำตาล คาร์บอน โปรตีน และไอออน ของเหลวที่ไหลซึมออกมาจากรากพืชคือหารจานโปรดของแบคทีเรียในดิน

พวกเขาจะย่อยอินทรียวัตถุต่างๆที่อยู่บนดิน น้ำตาล ไขมัน กรดอะมิโน  มันคือโมเลกุลพื้นฐานสามกลุ่มของแบคทีเรียซึ่งจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของพวกเขา แบคทีเรียใช้เอมไซม์ย่อยและทำให้โมเลกุลใหญ่ๆแตกย่อยลง แต่ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นก่อนที่แบคทีเรียจะกินเข้าไปในตัว ทั้งนี้แบคทีเรียก็มีอยู่หลากหลายชนิดมาก และจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แบคทีเรียกลุ่มที่อยู่ได้โดยปราศจากอากาศ หรือ  Anaerobic bacteria  และแบคทีเรียกลุ่มที่อยู่ได้ด้วยอากาศ Aerobic bacteria ทั้งสองกลุ่มนี้สามารถตรึงก๊าสไนโตรเจนทั้งในอากาศและในดินได้ แบคทีเรียจึงทำหน้าที่สำคัญหลักๆสำหรับการกินอาหารของพืช

อาร์เคีย หรือ Archaea  (ar-key-ah) คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดและรูปร่างคล้ายกับแบคทีเรีย ประโยชน์ของอาร์เคีย ก็คือ พวกเขาเป็นตัวย่อยอินทรีย์วัตถุบนดินและในดินเช่นเดียวกับแบคทีเรีย พวกเขานำสารอาหารที่จำป็นต่อชีวิตพืชกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง อาร์เคียบางชนิดได้สารอาหารโดยการปลดปล่อยสารอาหารจากก้อนหินใหญ่ๆ พบชนิดนี้ตามบริเวณที่มีภูเขาไฟประทุ ขณะที่พวกเขาย่อยอินทรียวัตถุต่างๆพวกเขาจะปล่อยก๊าสมีเทนออกมาด้วย ซึ่งคิดเป็น 10-25 เปอร์เซนต์

เชื้อรา หรือ Fungi มีอยู่มากกว่า 100,000 ชนิดที่แตกต่างกันไป หลายๆคนคงจะเคยเห็นและเคยสัมผัสกับเชื้อรามาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจุดขาวๆหรือดูเป็นเหมือนร่างแหปะการัง หรืออยู่ตามเปลือกไม้ หรือตามรากพืช ที่เกิดจากการติดเชื้อราในดิน เชื้อรา หรือ เชื้อเห็ดราก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชาวไร่สวนไม่ค่อยให้ความสำคัญ และพวกเขาทำหน้าที่หลักๆในห่วงโซ่อาหารในดิน โดยปกติแล้วเชื้อราจะโตมาจากดอกเชื้อหรือสปอร์ ไปสู่การสร้างเป็นเส้นร่างแห Hyphae ร่างแหแต่ล่ะเส้นจะเชื่อมโยงกันกับเซลล์ที่อยู่อย่างอิสระ และปิดกั้นจากเซลล์อื่นๆ

ข้อได้เปรียบหลักๆของเชื้อราก็คือ พวกเขาไม่ต้องมีเมือกยางเหนียวๆและน้ำ สำหรับการเคลื่อนย้ายไปตามดิน พวกเขาสามารถสร้างสะพานร่างแหกระจายเชื้อไปตามระยะสั้นๆต่อไปเรื่อยๆจนเชื้อขยายออกไปได้ไกลมากจากต้นกำเนิดแรก ความสามารถในการขนส่งและลำเรียงสารอาหารของเชื้อราจึงเหนือกว่าแบคทีเรีย ตอนที่ปลายสุดของเส้นร่างแหพบกับเหยื่อมันก็จะเคลือบตัวเหยื่อเพื่อดูดเอาสารอาหารและกระจายมันกลับไปตามเส้นร่างแห และจากนั้นสารอาหารที่อยู่ในเส้นร่างแหก็จะค่อยไหลผ่านเข้าไปยังตัวหลักของเชื้อรา เมื่อสารอาหารเข้าสู่ร่างกายของเชื้อราแล้ว สารอาหารก็จะเคลื่อนย้ายไม่ได้อีก การตายของเชื้อราหมายถึงว่า สารอาหารที่อยู่ในตัวเชื้อราก็จะถูกนำเอาไปใช้ต่อโดยสมาชิกตัวอื่นๆของห่วงโซ่อาหารในดิน เชื้อราคือตัวที่ปล่อยสารที่ทำให้สิ่งต่างๆพุพัง ในห่วงโซ่อาหาร เอมไซม์ที่พวกเขาปล่อยออกมามารถย่อยสลายได้หลายอย่าง เช่น ปีกแมลง กระดูกสัตว์ แม้แต่โปรตีนที่อยู่ในเล็บนิ้วมือและเล็บนิ้วเท้า ผลพลอยได้ที่เหลือจากการย่อยของเชื้อราก็จะเป็นอาหารของแบคทีเรียต่อไป

เชื้อราสร้างความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันกับพืชมาเป็นเวลากว่า 450 ล้านปีแล้ว พืชต่างๆเริ่มเติบโตขึ้นบนผิวโลกเพียงแค่หลังจากเชื้อราเข้าไปอยู่ โดยเริ่มต้นกับพืชน้ำก่อน ฉะนั้นพืชต่างๆจะไม่ได้รับสารอาหารต่างๆเลยถ้าไม่มีเชื้อรา เชื้อราชนิดสำคัญที่รู้จักกันดีก็คือ เชื้อรา Mycorrhizae ที่สร้างความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันกับรากพืช ซึ่งมีอยู่สองแบบ ได้แก่ Ectomycorrhizal fungi และ Endomycorrhizal fungi ซึ่งแบบแรกจะโตอยู่ใกล้พื้นผิวของรากพืชและสามารถสร้างร่างแหรอบๆรากพืชได้ ชนิดนี้จะสร้างความสัมพันธ์กับไม้เนื้อแข็งและในป่า ส่วนแบบที่สองจริงๆแล้วจะโตและขยายร่างแหภายในรากพืชและขยายออกด้านข้างไปสู่ดินอีกด้วย เชื้อราชนิดนี้มักพบตามพืชผัก หญ้าอายุสั้น พืชอายุหลายปี ไม้พุ่มและไม้เนื้ออ่อน

คาร์โบไฮเดตรในรูปของน้ำตาลที่เชื้อราได้จากรากพืชพวกเขาจะเอาไปใช้ต่อขยายร่างแหเชื้อราไปเรื่อยๆและแบ่งปันสารอาหารกับต้นพืชตามบริเวณที่พวกเขาแพร่กระจายไป นอกจากนี้ยังมีเชื้อราชนิดที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชอีกด้วย มันเรียกว่า  Endophytes ที่สร้างความสพันธ์แบบพึ่งพากันโดยไม่ทำลายต้นพืชเจ้าบ้าน มันช่วยฆ่าแมลงที่เข้ามาเจาะรูหรือจู่โจมต้นพืช บางชนิดก็ผลิตสารต่อต้านพยาธิให้กับพืชและทำให้พืชทนทานต่อโรคที่มาจากพืชเองได้

สาหร่าย หรือ Algae คือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสามารถสังเคราะห์แสงได้ พวกเรามักจะพบเห็นสาหร่ายแทบจะทุกพื้นที่ เช่น ตามบ่อน้ำ ตามทะเล ตามแม่น้ำและคลองน้ำ หรือในตู้กระจกเลี้ยงปลา สาหร่ายมีอยู่ 3 ชนิดหลักๆ นั่นก็คือ สาหร่ายทะเล สาหร่ายแม่น้ำ และสาหร่ายตามผืนป่า ชนิดสุดท้ายมักพบตามพื้นดิน พวกเขาพูกพิจารณาว่าเป็นพืชดั้งเดิม  เพราะสังเคราะห์แสงเองได้และผลิตอาหารกินเองได้ สาหร่ายจะไม่พึ่งพาอินทรีย์วัตถุในดินหรือสมาชิกอื่นๆในห่วงโซ่อาหารเหมือนกับที่เชื้อราและแบคทีเรียทำ สาหร่ายและเชื้อรายังสร้างความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันอีกด้วย คือ เชื้อราเตรียมพื้นที่ชุ่มชื้นไว้และบางครั้งก็ปกป้องสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่สาร่ายอาศัยอยู่ เพื่อแลกกับอาหารที่ถูกสังเคราะห์โดยสาหร่าย

ราเมือก หรือ Slime molds  อาศัยอยู่ตามเขื่อน ตามใบไม้ เศษไม้พุพัง มูลสัตว์  หรือในเห็ดที่กำลังเน่าเสียและอยู่ตามอินทรีย์วัตถุอื่นๆ พวกเขาใช้ทั้งชีวิตตามไล่ล่าแบคทีเรียและยีสต์ในดิน ราเมือกมีอยู่หลายร้อยชนิดที่ดูเหมือนเชื้อราในหลายๆทาง แต่ส่วนใหญ่จะต่างกันเรื่องวิธีการกินของพวกเขา ไป ในมุมมองของห่วงโซ่อาหารในดิน ราเมือกจะป็นตัวที่ช่วยหมุนเวียนสารอาหารและช่วยผูกมัดเศษดินเข้าไว้ด้วยกัน

โพรโตซัว หรือ Protozoa  คือสิ่งมีชีวิตเซลล์ดียวที่มีนิวเคลียสเหมือนกับเชื้อรา เป็นสมาชิกของโดเมน Eukarya พวกเขาไม่สามารถสร้างอาหารองได้ กินแบคทีเรียเป็นอาหาร บางครั้งก็กินเชื้อรา ส่วนน้อยมากที่จะกินโพรโตซัวตัวอื่น มันมีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรียซึ่งทำให้แบคทีเรียซ่อนตัวได้ตามรูโพรงดินเล็กๆ มีโพรโตซัวกว่า 60,000 ชนิดเป็นที่รู้จักแล้ว ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในดิน ส่วนน้อยจะอาศัยอยู่ในบ่อน้ำ หน้าที่สำคัญหลักๆของพวกเขาในห่วงโซ่อาหารก็คือ การผลิตของเสีย เมื่อโพรโตซัวกินแบคทีเรีย หรือเชื้อรา ของเสียเหล่านั้นจะประกอบไปด้วยคาร์บอน สารประกอบที่ถูกเก็บไว้เฉพาะจุด แต่สารเหล่านี้จะถูกทำให้กลายเป็นแร่ธาตุอาหารอีกครั้งหนึ่ง และทำให้พืชนำอาไปใช้ได้ ในรูปของสารประกอบไนโตรเจนรวมถึงแอมโมเนีย

การเปลี่ยนแร่ธาตุให้เป็นสารอาหารมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของพืชในระบบธรรมชาติ สิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ทำกันในยุคนี้ก็คือเข้าไปรบกวนหรือทำลายห่วงโซ่อาหารในดิน ถ้าคุณไม่ห็นด้วยก็ลองพิจารณาดูว่า ไนโตรเจนมากถึง 80 เปอร์เซนต์ที่พืชต้องการนั้น ได้มาจากของเสียที่ผลิตโดยแบคทีเรียและโพรโตซัวที่กินเชื้อรา

ไส้เดือนฝอย หรือ Nematodes  ผิวนอกสุดของไส้เดือนเรียกว่า ผิวกำพร้า ทำหน้าที่ปกป้องทั้งทางกายภาพและทางเคมีภาพของตัวไส้เดือน ไส้เดือนฝอยหรือไส้เดือนตัวกลม ที่จริงแล้ว คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีเยอะมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองมาจากสัตว์ขาข้อหรือสัตว์ขาปล้อง (Arthropods) ไส้เดือนฝอยมีมากถึง 20,000 ชนิด ที่ถูกค้นพบแล้ว ไส้เดือนฝอยช่วยรักษาโรคพยาธิในรากพืช มีการจำแนกไส้เดือนตามลัษณะพฤติกรรมของพวกเขา ได้แก่ ไส้เดือนฝอยที่กินรากพืช หรือ Herbivore (plant-eating) Nematodes สามารถสร้างยางเหนียวในรากหรือในปมรากพืช  ต่อมาคือ ไส้เดือนฝอยที่กินแบคทีเรีย หรือ Bacterivores ชนิดนี้จะมีส่วนปากแบบพิเศษคือปกติแล้วจะเป็นรูกลวงๆ มันสามารถกินแบคทีเรียได้เป็นจำนวนมากในเวลาหนึ่งชั่วโมง อีกชนิดหนึ่งคือ ไส้เดือนฝอยที่กินเชื้อราหรือเห็ดรา หรือ Fungivores ชนิดนี้จะมีปากแหลมๆเหมือนเข็มสำหรับใช้เจาะเข้าไปในผนังเซลล์ของเส้นร่างแหเชื้อรา ฉะนั้น ไส้เดือนฝอยที่กินแบคทีเรียและเชื้อราสามารถเปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นสารอนินทรีย์ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ไส้เดือนฝอยต้องการไนโตรเจนน้อยกว่าโพรโตซัว พอมันกินโพรโตซัวมันก็จะปล่อยไนโตรเจนในรูปของแมโมเนียลงสู่บริเวณโคนรากพืชได้มากกว่า การเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่อื่นของไส้เดือนฝอยก็จะขนส่งเชื้อราและแบคทีเรียที่ติดตัวอยู่ไปไกลจากแหล่งเดิมของพวกเขาด้วย

สัตขาข้อ / สัตว์ขาปล้อง หรือ Arthropods ได้แก่ แมลงต่างๆ แมลงปีกแข็ง แมงมุม  สัตว์ที่มีขาเป็นข้อต่อและมีลำตัวเป็นปล้องๆ สร้างขึ้นมาจากสาร chitin ซึ่งเป็นสารเดียวกันที่สร้างผนังเซลล์ของเชื้อรา เช่น กระดองปู เปลือกกุ้ง เปลือกกุ้งมังกร เช่นเดียวกับผิวกำพร้าของไส้เดือนฝอย มันช่วยเป็นเกาะป้องกันและทำให้พวกเขามีตัวเบา หน้าที่สำคัญของสัตว์ขาข้อหรือสัตว์ขาปล้องที่อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน คือจะเป็นตัวที่ฉีกบดเศษอาหาร พวกเขาเคี้ยวและฉีกบดอินทรีย์วัตถุต่างๆอย่างต่อเนื่องและทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ ทั้งแบคทีเรียและเชื้อราต่างก็เข้ามากินเศษเล็กๆเหล่านั้นเพิ่มขึ้นเพราะง่ายต่อการกิน ตอนที่สัตว์ขาข้อฉีกบดอาหารและเคลื่อนย้ายตัวไป พวกเขาก็รับส่งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่างๆไปด้วย ส่งผลให้กิจกรรมของสัตว์ขนาดเล็กจิ๋วเพิ่มขึ้นด้วยถ้าพวกเขาพาไปถึงแหล่งที่อุดมไปด้วยอาหาร สัตว์ขาปล้องจำพวกปลวกและแมลงหางดีดจะรับผิดชอบในเรื่องการนำเอาสารอาหารกลับมาใช้ใหม่ ได้สูงถึง   30 เปอร์เซ็นต์ จากใบไม้และไม้เนื้อแข็ง พวกเขาช่วยเติมเต็มส่วนที่ว่างเปล่าในดิน มูลของพวกเขาเป็นปุ๋ยชั้นเยี่ยมให้กับดินและต้นพืช

ตัวไร หรือ ตัวเห็บไร (Mites)  มีสัตว์ขาปล้องหลายชนิดครอบครองหน้าที่ของห่วงโซ่อาหารในดิน หนึ่งในนั้นก็คือ ตัวไร มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่  ไร oribatid mites ชนิดนี้บางส่วนก็กินไส้เดือนฝอย ส่วนอื่นๆจะกิน แมลงหางดีดที่ตายแล้ว แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะกินเชื้อรา สาหร่ายบนดินและวัสดุพืชที่พุพัง เนื่องจากมีอยู่จำนวนมากในดิน พวกเขาจึงเป็นผู้ย่อยสลายอาหาร หรือ decomposers และเป็นผู้ที่นำอาหารกลับมากินอีกครั้ง หรือ recyclers ชนิดที่ 2 คือนักล่าหลักๆในดิน เรียกว่า ไร gamasid mites มีหลายพันตัวในดินหนึ่งตารางหลา และขึ้นอยู่กับแหล่งอาหารที่สามารถนำไปใช้ได้ ถ้ามีชนิดนี้หมายความว่าดินสมบูรณ์

แมลงหางดีด หรือ Springtails เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญมากในห่วงโซ่อาหารในดิน จัดอยู่ในกลุ่มแมลงที่ขยันขันแข็งมากในดิน พวกเขาไม่มีปีกแต่ทำหางที่ดูเหมือนซ่อม ซึ่งนั่นทำให้มันทรงตัวได้ดี พวกเขากินเชื้อเราและอินทรีย์วัตถุที่พุพัง บางครั้งก็กินไส้เดือนฝอย และส่วนที่เหลือของสัตว์ที่ตายแล้วและพวกเขาเองคืออาหารจานโปรดของตัวไร

ปลวกและมด หรือ Termite & Ant เป็นอีกสองชนิดที่มีจำนวนอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในห่วงโซ่อาหาร ปลวกและมดต่างก็ไม่เป็นญาติกัน แม้ว่าจะดูคล้ายๆกัน มดเป็นญาติกับผึ้งและตัวต่อ โดยปกติแล้ว มดมีดวงตา มีขายาว มีลำตัวขดงอ มีกะดองที่แข็งแรง ตรงกันข้ามกับปลวก ที่มองไม่เห็น มีลำตัวนิ่มและมีขาสั้น การฉีกบดอาหารของทั้งมดและปลวกจะช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุบนดิน ปลวกจะกินวัสดุที่ประกอบด้วยเซลลูโลส หรือ cellulose เป็นส่วนใหญ่ พวกเขาทำหน้าที่ฉีกบดอาหารให้เป็นชิ้นเล็กๆและปล่อยให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้ามากินต่อ ทั้งมดและปลวกสร้างบ้านโดยการผสมชั้นหน้าดินและชั้นใต้ดินเข้าด้วยกัน ในกรณีของมด จะผสมดินเข้าด้วยกันมากถึง 6 ตันต่อ 1 ปี ในประเทศเขตร้อน  การทำงานส่งเสริมกันของมดและปลวกก็คือช่วยกันผสมดินได้ดีมาก รูอุโมงค์ของมดและปลวกช่วยสร้างทางไหลผ่านเข้าออกของน้ำและอากาศ และบ่อยครั้งเป็นทางชอนไชของรากพืชอีกด้วย

ไส้เดือนดิน หรือ Earthworms คือสัตว์ที่พบเห็นได้บ่อยและมากที่สุดของห่วงโซ่อาหารในดิน ไส้เดือนคือเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดในการทำไร่สวน มีอยู่หลายชนิด ไส้เดือนดินทั่วๆไปที่เป็นรู้จักกันแล้วมีอยู่กว่า 7,000 ชนิด โดยประมาณ ทีมงานของไส้เดือนสามารถคลื่อนย้ายดินได้มากถึง 18 ตันต่อปี ในการออกหาอาหารของพวกเขา ไส้เดือนดินจะไม่ทำหน้าที่หลักๆในดินตามผืนป่า เหมือนกับที่พวกเขาทำให้กับดินตามไร่สวน

พวกเขาสามารถแพร่กระจายตัวไปยังพื้นที่ใหม่ๆ อยู่รอดและเพิ่มจำนวนได้มากมายมหาศาล ไส้เดือนจะมีทั้งสองเพศในตัวเดียว แต่ล่ะตัวจะมีท่อยางเหนียวๆทางส่วนล่างของลำตัว ซึ่งเป็นที่เก็บไข่และอสุจิ เวลาไส้เดือนผสมพันธุ์ก็จะเลื้อยพันตัวเข้าหากันจนกว่าท่อยางเหนียวๆจะมาบรรจบกัน และมันก็จะปล่อยอสุจิไปผสมกับไข่ของอีกตัวและอสุจิของตัวนั้นก็จะปล่อยออกไปผสมกับไข่ของอีกตัว การผสมไข่จึงเกิดขึ้น จากนั้นไข่ก็จะอยู่ในฝักเหมือนดักแด้ และพร้อมผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือน 

หน้าที่สำคัญของไส้เดือนดินก็เหมือนกับกับไส้เดือนฝอย คือฉีกบดอาหาร ฉีกศษอิทรีย์วัตถุต่างๆ ทำให้ดินมีรูผ่านของอากาศและน้ำ ทำให้ดินร่วนชุ่ยและดินอุ้มน้ำ เคลื่อนย้ายอินทรียวัตถุและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วไปทั่วพื้นดิน ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดินและส่งเสริมการเติบโตของรากพืช ถึงแม้ว่าไส้เดือนดินจะไม่มีดวงตา เซลล์รับรู้ในผิวของพวกเขาไวต่อแสงมาก ปากของพวกเขาคือส่วนที่เป็นรูกลวงๆซึ่งเป็นคอยหอยที่เป็นกล้ามเนื้อแข็งแรงแต่ไม่มีฟัน พวกเขากินแบคทีเรียเป็นหลักจึงไม่น่าแปลกใจเลยตามบริเวณที่มีไส้เดือนเยอะๆ โดยปกติแล้วก็คือดินที่ถูกครองด้วยแบคทีเรียนั่นเอง อาหารอื่นๆของไส้เดือนดินก็คือ เชื้อรา ไส้เดือนฝอย โพรโตซัวและอินทรีย์วัตถุตามแหล่งที่พวกเขาอาศัยอยู่

สารอาหารที่ย่อยจากแบทีเรียในลำไส้ของไส้เดือนก็จะถูกดูดซับไปยังเลือดของไส้เดือน และเศษอาหารใดๆก็ตามที่ถูกย่อยไม่หมดก็จะถูกขับออกไปเป็นของเสียหรือมูล มูลไส้เดือนมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินที่ไม่มีไส้เดือนอยู่ถึง 50 เปอร์เซ็น นี่คือการเพิ่มพูนและการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของดิน มันช่วยเพิ่มประจุไออนที่ตรึงจับอินทรีย์วัตถุบนผิวดินได้มากขึ้น สารอื่นๆจึงสามารถจับตรึงสารอาหารที่ผ่านมากับไส้เดือน เอมไซม์ย่อยที่ได้จากแบคทีเรียในลำไส้ของไส้เดือนจะปล่อยพันธะเคมีหลายอย่างมากเพื่อยึดจับกับโมเลกุลของสารอาหารและป้องกันไม่ให้พืชเอาไปใช้เสียก่อน  ดังนั้น ในมูลไส้เดือนจะมีธาตุฟอสฟอรัสสูงกว่าเป็น 7 เท่า กับดินธรรมดาที่ไม่มีมูลไส้เดือน มีธาตโพแทสเซียมมากกว่า 10 เท่า มีธาตุไนโตเจนมากกว่า 5 เท่า มีธาตุแมกนีเซียมมมากกว่า 3 เท่า และมีธาตุแคลเซียมมากกว่า 1.5 เท่า เศษใบไม้บนพื้นดินตามป่า หรือตามไร่สวน แม้แต่ตามสนามหญ้า โดยปกติแล้วจะใช้เวลา 1 ปี หรือบางครั้งก็ 2 ปี ในการเน่าเปื่อยโดยไม่มีไส้เดือนมาช่วยฉีกบดมัน แต่กลับใช้เวลาเพียง 3 เดือนถ้ามีไส้เดือนมาช่วยฉีกบดเศษใบไม้ตามบริเวณต่างๆ การชอนไชไปตามดินที่แข็งๆของไส้เดือนก็สามารถสร้างทางเดินให้กับรากพืชได้ พวกเขาช่วยหมุนเวียนสารอาหารและช่วยไถพรวนดินตามธรรมชาติ

ตัวทากหรือหอย (Gastropods): Slugs & Snails  ทากและหอยบ่อยครั้งก็เรียกว่า Mollusks ส่วนมากจะไม่ค่อยพบตามไร่สวน แต่มักจะพบความสัมพันธ์ของพวกเขากับสัตว์น้ำจืดและน้ำเค็ม โดยเฉพาะกับ หอยลาย หอยนางลม มีอยู่ประมาณ 40,000 ชนิด ทั้งตัวทากและหอยคือสัตว์ที่มีทั้งสองเพศในตัวเดียว พวกเขาผสมพันธุ์เองได้ ส่วนใหญ่จะผสมไข่และอสุจิกับอีกตัว ทำให้การผสมพันธุ์แต่ละครั้งสามารถวางไข่ได้มากถึง 100-200 ไข่ และวางไข่ได้ 6 ครั้งต่อปี  เมื่ออายุครบ 6 เดือนก็จะพร้อมผสมพันธุ์ได้ และจะโตเต็มวัยเมื่ออายุถึง 2 ปี คุณอาจจะคิดว่า พวกเขากินแค่ ผักกาดหอมและกะหล่ำปลี แต่ทั้งตัวทากและหอยต่างก็กิน เชื้อรา สาหร่าย ไลเคน (lichens สิ่งมีชีวิตสองชนิดในตัวเเดียวที่เป็นทั้งสาหร่ายและราอยู่ร่วมกันด้วยภาวะพึ่งพากัน) และอินทรีย์วัตถุที่กำลังพุพังอีกด้วย  เชื่อหรือไม่ว่าพวกเขาไม่ได้เล็มกินอาหารอยู่แค่บนผิวพืช มีรายงานว่า ตัวทากใช้เวลาเพียง 5-10 เปอร์เซนต์ อยู่บนดิน ส่วนใหญ่จะอยู่ใต้ดินและหาอาหารในดิน

หน้าที่ของพวกเขาในห่วงโซ่อาหารก็คือ  พวกเขาช่วยเร่งการย่อยสลายและช่วยฉีกบดอาหารเหล่านั้นให้เป็นเศษเล็กๆเพื่อเปิดทางให้แบคทีเรียและเชื้อราเข้ามากัดกินต่อ การเดินทางในดินของพวกเขาช่วยทำให้เกิดทางผ่านของอากาศ น้ำและรากพืช ยางเมือกใสๆที่พวกเขาผลิตและปล่อยลงดินขณะที่เคลื่อนย้ายตัวไปช่วยให้ดินติดแน่นกัน

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อคลาน และนก มีอยู่จำนวนมากนับไม่ถ้วนที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ จึงไม่ขอลงรายละเอียดในรื่องของชนิดและสายพันธุ์ แต่จะกล่าวถึงผลประโยชน์ของพวกเขาต่อห่วงโซ่อาหารในดิน มูลของสัตว์เหล่านี้จะเป็นแหล่งอาหารให้กับสมาชิกตัวอื่นๆของห่วงโซ่อาหารในดิน ซึ่งสัตว์ที่กินมูลของพวกเขาก็จะขับของเสียของมาในรูปของสารอาหารอีกทอดหนึ่ง

แล้วมนุษย์อยู่จุดไหนของห่วงโซ่อาหารในดิน?

จากมุมมองของผู้เขียนบทความนี้เอง เห็นว่ามนุษย์ก็มีความสำคัญต่อห่วงโซ่อาหารเป็นอย่างมาก เพราะทุกสิ่งมีวิตชีวิตต่างก็มีบทบาทและหน้าที่ของการดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ นั่นก็คือ เราเป็นตัวช่วยหลักๆได้ด้วย เช่น ช่วยฟื้นฟูและอนุรักษร์พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ให้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งในสิ่งแวดล้อมที่ถูกรบกวนมาก่อนได้ มูลของมนุษย์ อุดมไปด้วยจุลิทรีย์ แบคทีเรียและเชื้อรา และที่สำคัญคืออุดมไปด้วยสารอาหารมากมายมายที่เกิดจากการกินอันหลากหลายของพวกเราเองที่จะนำไปเป็นปุ๋ยบำรุงดินและต้นพืชรวมถึงหล่อเลี้ยงสมาชิกตัวอื่นๆในห่วงโซ่อาหารได้เช่นกัน

เครื่องมือสำหรับการฟื้นฟูและบำรุงรักษาดิน: เมื่อทราบแล้วว่ามีอะไรบ้างที่อยู่ในดินของคุณ มันก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องทำสิ่งที่ควรจะทำเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตนว่า ห่วงโซ่อาหารได้ช่วยในเรื่องผลิตสารอาหารและเป็นเกาะป้องกันที่ดีมากสุดให้กับต้นพืชแล้ว  การทำปุ๋ยหมัก และการคลุมหน้าดิน หรือ Compost and Mulch ทั้งสองอย่างนี้ช่วยฟื้นฟูห่วงโซ่อาหารในดินให้กลับคืนมาได้ง่ายๆ และมันคือการจัดการแบบไม่ต้องใช้ปุ๋ยคมี ทั้งทำปุ๋ยหมักและคลุมหน้าดินจะช่วยหล่อเลี้ยงจุลินทรีย์ต่างๆที่หล่อเลี้ยงต้นพืช

การทำปุ๋ยหมักที่เหมาะสมจะประกอบไปด้วยชนิดของแบคทีเรีย เชื้อรา โพรโตซัว ไส้เดือนฝอย มันจะอุดมไปด้วยอินทรียวัตถุมากมาย ซึ่งเป็นทั้งแหล่งอาศัยและหล่อเลี้ยงพวกเขาในกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักที่ทำเสร็จแล้วจะไม่มีกลิ่นแย่ๆเลย มีสีดำ มันควรที่จะมีกลิ่นหอมสดใหม่เหมือนดินในป่า

การคลุมหน้าดินด้วยวัสดุดิบๆ หรือ organic mulches ก็เช่นกัน มีประสิทธิภาพสูงต่อห่วงโซ่อาหารในดิน วัสดุดิบๆ หมายถึง วัสดุที่มีตามธรรมชาติ อุดมไปด้วยคาร์บอนและไนโตรเจน ใบไม้ เศษหญ้าและเศษไม้ สิ่งเหล่านำไปใช้เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิตในดิน

ปุ๋ยฟอสฟอรัสส่วนใหญ่ จะผูกมัดไว้ในดินกับแคลเซียม แมกนีเซียม เหล็กและอะลูมิเนียม เพื่อสร้างฟอสเฟรตที่ไม่ละลายน้ำ ฟอสฟอรัสในรูปนี้พืชจะไม่สามารถนำไปใช้ได้  ส่วนฟอสฟอรัสที่ถูกละลายโดยเชื้อราและแบคทีเรีย พวกเขาผลิตกรดอินทรีย์ ที่สามารถเปลี่ยนฟอสฟอรัสในรูปที่ไม่ละลายน้ำให้เป็นฟอสฟอรัสในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้

ฉะนั้น การร่วมมือกับห่วงโซ่อาหารในดินคือวิถีธรรมชาติของการเจริญเติบโตของทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินและบนดิน

ทั้งหมดที่ได้อธิบายไปนั้นก็คือบทสรุปคร่าวๆและเป็นบทรีวิวของหนังสือเล่มนี้ หากคุณผู้อ่านบทรีวิวหนังสือเล่มนี้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้นแล้ว ก็ขอให้สนุกกับการทำไร่สวนและการ่วมมือกับห่วงโซ่อาหารในดินด้วยกันตลอดไป

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดบทรีวิวฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่ (มีเนื้อหาละเอียดมากกว่าในหลายๆประเด็นจากบทความนี้)

คลิกเพื่อดาวน์โหดเอกสาร


คุณชอบบทความชิ้นนี้ไหม? ถ้าบทความแนว “มุ่งอธิบายแนวคิดเป็นองค์รวม” มีประโยชน์ต่อคุณอยู่บ้าง สามารถร่วมสนับสนุนงานเขียนของเราได้ ผ่านการส่งปัจจัยบริจาค (ตามคุณค่าที่คุณได้รับ) งานเขียนแนวนี้เกิดขึ้นมาจากความตั้งใจที่เรามุ่งสร้างความเข้าใจใหม่ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นให้กับผู้คนในสังคม ด้วยการสละเวลาส่วนตนของเราเองเพื่อเป็นกระบอกเสียงในแบบที่แตกต่างไปจากมุมมองเดิมในอดีต ติดต่อส่งความคิดเห็น หรือ อยากวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนได้โดยตรงที่อีเมล์ [email protected] หรือต้องการส่งปัจจัยบริจาคให้กับโครงการอิสระของเรา โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ สวนฟื้นฟูวิถียั่งยืน ได้โดยสแกนคิวอาร์โคดด้านล่างนี้ โครงงานของเรายังอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งไม่มีรายได้เป็นประจำ เราขอขอบคุณทุกท่านมากยิ่งที่สนับสนุนผลงานของเรา ทุกการบริจาคถือเป็นแรงผลักดันให้เราได้ศึกษาค้นคว้างานวิจัย เขียนบทความ แปลงาน และแบ่งปันความรู้ในแบบองค์รวมให้กับผู้คนในสังคมสืบต่อไป!